วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การนับอายุเกษียณ


การนับอายุเกษียณ 

-----------
............กระผมเขียนถึงผู้เกษียณอายุราชการไปว่า คนเกิด 1 ตุลาคม ไม่ได้เกษียณ 30 กันยายน แต่
จะอยู่รับราชการได้อีก 1 รอบปี ไปเกษียณ 3 กันยายน ปีถัดไป มีคนทักว่าไม่ใช่ มีการแก้ไขแล้ว ให้
เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน ปีนั้นเลย ส่วนคนเกิดวันที่ 2 ตุลาคม ถึจะได้อยู่ทำราชการ
ต่อไปอีก 1 รอบปี
..........ก่อนนั้นเราถือว่า 30 กันยายน คือสิ้นปีงบประมาณ คนเกษียณ ก็คงเป็นไปตามขอบเขตเวลา
ของปีงบประมาณ เมื่อมีคนทักก็เลยต้องตรวจสอบ และพบว่ามีการแก้ไขโดยมติ ครม. สาระสำคัญ ดังนี้ 

วิธีการนับอายุบุคคลในปัจจุบัน 

1. ได้มีมติคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือสำ นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0205/ ว 42 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2538 มีมติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2509 เรื่องการนับ เวลาราชการของผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปี และหลักเกณฑ์การคำ นวณเกษียณอายุราชการตามนัยหนังสือ สำ นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0403/ว 83 ลงวันที่ 14 กันยายน 2509 และให้ถือปฏิบัติการ นับอายุบุคคลและการพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำ เหน็จบำ นาญข้าราชการตามนัยหนังสือ กระทรวงการคลัง ที่ กค 0513/ว 58 ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2537 เรื่องการนับอายุบุคคล
2. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0513/ว 58 ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2537 เรื่องการ นับอายุบุคคล ให้ถือปฏิบัติในการนับอายุบุคคลตามนัยตามมาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ (ที่แก้ไขใม่และใช้บังคับในปัจจุบัน) ซึ่งบัญญัติว่า “การนับอายุบุคคลให้เริ่มนับตั้งแต่ วันเกิด... ฯลฯ” โดยให้เริ่มนับสำ หรับบุคคลที่เกิดในวันที่ 1 ตุลาคม 2477 จะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ในวันที่ 30 กันยายน 2537 และต้องพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำ เหน็จบำ นาญใน วันที่ 1 ตุลาคม 2537 ส่วนผู้ที่เกิดวันที่ 1 ตุลาคม 2478 และวันที่ 1 ตุลาคม ของปี ต่อ ๆ ไป ก็ให้ ถือหลักการนับอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำ เหน็จบำ นาญข้าราช การตามนัยดังกล่าวข้างต้น 

วิธีการนับอายุบุคคลในปัจจุบันแตกต่างจากการนับอายุบุคคลในอดีตอย่างไร 
--------------
............เดิมการนับอายุบุคคลถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2509 คือ มิให้นับวันเกิดเป็นวันแรกแห่งการคำ นวณอายุ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 158 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ซึ่งใชอ้ ยู่ในขณะนั้น ดังนั้น ผู้ที่เกิดในวันที่ 1 ตุลาคม 2449 จะต้องเริ่มนับอายุตั้งแต่วัน ที่ 2 ตุลาคม 2449 และจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2509 จึงทำ ให้สามารถ รับ ราชการต่อไปได้อีก 1 ปี จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2510 และพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2510 เพราะมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติบำ เหน็จบำ นาญ พ.ศ.2494 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติว่า “ข้าราชการซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจากราชการ เมื่อ สิ้นปีงบประมาณที่อายุ 60 ปีบริบูรณ์...”
..........แต่สำหรับการนับอายุบุคคลในปัจจุบันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2538 ให้นับตามมาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งตรวจชำ ระใหม่และใช้บังคับอยู่ใน ปัจจุบัน ซึ่งกำ หนดว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด... จึงเป็นการนับเร็วขึ้นกว่าเดิม 1 วัน ดังนั้น ผูที้่เกิดในวันที่ 1 ตุลาคม จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 30 กันยายน และต้องพ้นจาก ราชการเพราะครบเกษียณอายุในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 ตุลาคม ไม่มีโอกาสได้รับราชการต่อไปอีก 1 ปี เหมือนหลักเกณฑ์เดิมอีกต่อไป
.........ก็ถูกต้องตามที่มีคนทักท้วงครับ เลยขออนุญาตเขียนถึงการนับอายุเพื่อเกษียณ อีกครั้ง ผมเอง
สงสัยวาทำไม เกิด 1 ตุลาคม เกษียณ ปีนี้ ส่วนเกิด 2 ตุลาคม เกษียณ ปีถัดไป เลยตามหาข้อมูล และทบทวนการนับเวลา หลักการนับคือ เกิดเมื่อไรก็นับอายุทันที เกิด 1 ตุลาคม อายุเต็มเดือนเมื่อ 31 ตุลาคม อายุครบ ปีบริบูรณ์เมื่อถึง 30 กันยายน ปีถัดไป แต่คนเกิด 2 ตุลา จะครบปีบริบูรณ์เมื่อถึง
1 ตุลาคมปีถัดไป นั่นคือ คนเกิด 1 ตุลาคม อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เมื่อ 30 กันยายน นั่นเอง มิน่าถึง
มีการแก้ไข ขออภัยที่ได้โพสไปว่า 1 ตุลาคม จะอยู่ได้อีก 1 รอบ ต้อง 2 ตุลาคมครับถึงจะได้

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอถามหน่อย สมมุติคนนั้นเกิด 20 มกราคม 2509 แต่บรรจุรับราชการ 15 กันยายน 2559 จะต้องเกษียณ วันไหนค่ะ คือ วันที่ 19 มกราคม 2569 ใช่ไหม่ (ไม่ใช่ 30 กันยน 2569)ถูกต้องหรือเปล่าเพราะต้องเอา 60 ปีบริบูรณ์

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. “ข้าราชการซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจากราชการ เมื่อ สิ้นปีงบประมาณที่อายุ 60 ปีบริบูรณ์...”

      ลบ
  2. หลังจากปี 2538 จะเอาวันเกิดชนวันเกิด ไม่ใช่วันสิ้นปีงบประมาณ

    ตอบลบ