วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

นวโกวาท คิหิปฏิบัติ



นวโกวาท........เนื้อหาส่วนที่เรียกว่า คิหิปฏิบัติ สำหรับพระนวกะที่บงชชั่วคราว ศึกษาให้เข้าใจ เมื่อลาสิกขาไปแล้ว ก็นำไปใช้ประโยชนฺได้
------------------------------------------------------------------------




จตุกกะ
กรรมกิเลส คือ กรรมเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง
๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง.
๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม.
๔. มุสาวาท พูดเท็จ.
กรรม ๔ อย่างนี้ นักปราชญ์ไม่สรรเสริญเลย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๕.
อบายมุข คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ๔ อย่าง
๑. ความเป็นนักเลงหญิง.
๒. ความเป็นนักเลงสุรา.
๓. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน.
๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร.
โทษ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประกอบ.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๖.
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง (๑)
๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี ในการศึกษา 
เล่าเรียนก็ดี ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี.
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้
เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตน ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี.
๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว.
๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟูมฟายนัก.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๔.
สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ภายหน้า ๔ อย่าง (๒)
๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น.
๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือรักษากายวาจาเรียบร้อยดี ไม่มีโทษ.
๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น.
๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น
๑. ในบาลีใช้ว่า ธรรม ๔ ประการ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขในปัจจุบัน.
๒. ในบาลีใช้ว่า ธรรม ๔ ประการ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขในภายหน้า.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๗.
มิตตปฏิรูป คือ คนเทียมมิตร ๔ จำพวก
๑. คนปอกลอก.
๒. คนดีแต่พูด.
๓. คนหัวประจบ.
๔. คนชักชวนในทางฉิบหาย.
คน ๔ จำพวกนี้ ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร ไม่ควรคบ.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.
๑. คนปอกลอก มีลักษณะ ๔
(๑) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว.
(๒) เสียให้น้อย คิดเอาให้ได้มาก.
(๓) เมื่อมีภัยแก่ตัว จึงรับทำกิจของเพื่อน.
(๔) คบเพื่อเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.
๒. คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔
(๑) เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย.
(๒) อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย.
(๓) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้.
(๔) ออกปากพึ่งมิได้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๐
๓. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔
(๑) จะทำชั่วก็คล้อยตาม.
(๒) จะทำดีก็คล้อยตาม.
(๓) ต่อหน้าว่าสรรเสริญ.
(๔) ลับหลังตั้งนินทา.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๐.
๔. คนชักชวนในทางฉิบหาย มีลักษณะ ๔
(๑) ชักชวนดื่มน้ำเมา.
(๒) ชักชวนเที่ยวกลางคืน.
(๓) ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น.
(๔) ชักชวนเล่นการพนัน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๐.
มิตรแท้ ๔ จำพวก
๑. มิตรมีอุปการะ.
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์.
๓. มิตรแนะประโยชน์.
๔. มิตรมีความรักใคร่.
มิตร ๔ จำพวกนี้ เป็นมิตรแท้ ควรคบ.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๑. มิตรมีอุปการะ มีลักษณะ ๔
(๑) ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว.
(๒) ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว.
(๓) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้.
(๔) เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔
(๑) ขยายความลับของตนแก่เพื่อน.
(๒) ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่งพราย.
(๓) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ.
(๔) แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๓. มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔
(๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
(๒) แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี.
(๓) ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
(๔) บอกทางสวรรค์ให้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๔. มิตรมีความรักใคร่ มีลักษณะ ๔
(๑) ทุกข์ ๆ ด้วย.
(๒) สุข ๆ ด้วย.
(๓) โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน.
(๔) รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.
สังคหวัตถุ ๔ อย่าง
๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน.
๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน.
๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น.
๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว.
คุณทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔๒.
สุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง
๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์.
๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค.
๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้.
๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๐.
ความปรารถนาของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง
๑. ขอสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางที่ชอบ.
๒. ขอยศจงเกิดมีแก่เราและญาติพวกพ้อง.
๓. ขอเราจงรักษาอายุให้ยืนนาน.
๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๘๕.
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย มีอยู่ ๔ อย่าง
๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา.
๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล.
๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน.
๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๘๑.
ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะสถาน ๔
๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว.
๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า.
๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ.
๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน.
ผู้หวังจะดำรงตระกูล ควรเว้นสถาน ๔ ประการนั้นเสีย.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๓๖.
ธรรมของฆราวาส ๔
๑. สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน.
๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน.
๓. ขันติ อดทน.
๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่ตนที่ควรให้ปัน.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.
ปัญจกะ
ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์ ๕ อย่าง
แสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว
๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข.
๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข.
๓. บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ.
๔. ทำพลี ๕ อย่าง คือ
ก. ญาติพลี สังเคราะห์ญาติ.
ข. อติถิพลี ต้องรับแขก.
ค. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย.
ฆ. ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีภาษีอากรเป็นต้น.
ง. เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา.
๕. บริจาคทานในสมณะพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๘.
ศีล ๕
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป.
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม.
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ.
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท.
ศีล ๕ ประการนี้ คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๒๖.
มิจฉาวณิชชา คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง
๑. ค้าขายเครื่องประหาร.
๒. ค้าขายมนุษย์.
๓. ค้าขายสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร.
๔. ค้าขายน้ำเมา.
๕. ค้าขายยาพิษ.
การค้าขาย ๕ อย่างนี้ เป็นข้อห้ามอุบาสกไม่ให้ประกอบ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๓๒.
สมบัติของอุบาสก ๕ ประการ
๑. ประกอบด้วยศรัทธา.
๒. มีศีลบริสุทธิ์.
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล.
๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา.
๕. บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา.
อุบาสกพึงตั้งอยู่ในสมบัติ ๕ ประการ และเว้นจากวิบัติ ๕ ประการ ซึ่งวิปริตจากสมบัตินั้น.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๓๐.
ฉักกะ
ทิศ ๖
๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา.
๒. ทิกขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์.
๓. ปัจฉิมทิศ คือทิศเบื้องหลัง บุตรภรรยา.
๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร.
๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว.
๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องต้น สมณพราหมณ์.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา บุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ.
(๒) ทำกิจของท่าน.
(๓) ดำรงวงศ์สกุล.
(๔) ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก.
(๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน.
ที. ปาฏิ. ๑๐/๒๐๓.
มารดาบิดาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕
(๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
(๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
(๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา.
(๔) หาภรรยาที่สมควรให้.
(๕) มอบทรัพย์ให้ในสมัย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
๒. ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์ ศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยลุกขึ้นยืนรับ.
(๒) ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้.
(๓) ด้วยเชื่อฟัง.
(๔) ด้วยอุปัฏฐาก.
(๕) ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
อาจารย์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕
(๑) แนะนำดี.
(๒) ให้เรียนดี.
(๓) บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง.
(๔) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง.
(๕) ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย (คือจะไปทางทิศไหนก็ไม่อดอยาก).
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
๓. ปัจฉิมทิส คือทิศเบื้องหลัง ภรรยา สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา.
(๒) ด้วยไม่ดูหมิ่น.
(๓) ด้วยไม่ประพฤติล่วงใจ.
(๔) ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้.
(๕) ด้วยให้เครื่องแต่งตัว.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
ภรรยาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕
(๑) จัดการงานดี.
(๒) สงเคราะห์คนข้างเคียงของผัวดี.
(๓) ไม่ประพฤติล่วงใจผัว.
(๔) รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ไว้.
(๕) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยให้ปัน.
(๒) ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ.
(๓) ด้วยประพฤติประโยชน์.
(๔) ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ.
(๕) ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
มิตรได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕
(๑) รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว.
(๒) รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว.
(๓) เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พึ่งพำนักได้.
(๔) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ.
(๕) นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว นายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง.
(๒) ด้วยให้อาหารและรางวัล.
(๓) ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้.
(๔) ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน.
(๕) ด้วยปล่อยในสมัย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
บ่าวได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕
(๑) ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย.
(๒) เลิกการงานทีหลังนาย.
(๓) ถือเอาแต่ของที่นายให้.
(๔) ทำการงานให้ดีขึ้น.
(๕) นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้น ๆ.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์ กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยกายกรรม คือทำอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
(๒) ด้วยวจีกรรม คือพูดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
(๓) ด้วยมโนกรรม คือคิดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
(๔) ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน.
(๕) ด้วยให้อามิสทาน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
สมณพราหมณ์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖
(๑) ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว.
(๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
(๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม.
(๔) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
(๕) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม.
(๖) บอกทางสวรรค์ให้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๖.
อบายมุข คือเหตุเครื่องฉิบหาย ๖
(๑) ดื่มน้ำเมา.
(๒) เที่ยวกลางคืน.
(๓) เที่ยวดูการเล่น.
(๔) เล่นการพนัน.
(๕) คบคนชั่วเป็นมิตร.
(๖) เกียจคร้านทำการงาน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
๑. ดื่มน้ำเมา มีโทษ ๖
(๑) เสียทรัพย์.
(๒) ก่อการทะเลาะวิวาท.
(๓) เกิดโรค.
(๔) ต้องติเตียน.
(๕) ไม่รู้จักอาย.
(๖) ทอนกำลังปัญญา.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
๒. เที่ยวกลางคืน มีโทษ ๖
(๑) ชื่อว่าไม่รักษาตัว.
(๒) ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย.
(๓) ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ.
(๔) เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย.
(๕) มักถูกใส่ความ.
(๖) ได้ความลำบากมาก.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๓. เที่ยวดูการเล่น มีโทษตามวัตถุที่ไปดู ๖
(๑) รำที่ไหนไปที่นั้น.
(๒) ขับร้องที่ไหนไปที่นั้น.
(๓) ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั้น.
(๔) เสภาที่ไหนไปที่นั้น.
(๕) เพลงที่ไหนไปที่นั้น.
(๖) เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั้น.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๔. เล่นการพนัน มีโทษ ๖
(๑) เมื่อชนะย่อมก่อเวร.
(๒) เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป.
(๓) ทรัพย์ย่อมฉิบหาย.
(๔) ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ.
(๕) เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน.
(๖) ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๕. คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษตามบุคคลที่คบ ๖
(๑) นำให้เป็นนักเลงการพนัน.
(๒) นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้.
(๓) นำให้เป็นนักเลงเหล้า.
(๔) นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม.
(๕) นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
(๖) นำให้เป็นคนหัวไม้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๖. เกียจคร้านทำการงาน มีโทษ ๖
(๑) มักให้อ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
(๒) มักให้อ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน.
(๓) มักให้อ้างว่า เวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน.
(๔) มักให้อ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน.
(๕) มักให้อ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
(๖) มักให้อ้างว่า ระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน.
ผู้หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์ พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย ๖ ประการนี้เสีย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.

นวโกวาท วินัยบัญญัติ

...........นวโกวาท  ส่วนที่ว่าด้วยวินัยพระภิกษุ สาระสำคัณคือศีล 227 ข้อ ที่พระภิกษุต้องศึกษาและปฏิบัติ
..................................





วินัยบัญญัติ
อนุศาสน์ ๘ อย่าง 
นิสสัย ๔ อกรณียกิจ ๔
ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต เรียกนิสสัย มี ๔ อย่าง 
คือ เที่ยวบิณฑบาต ๑ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๑ อยู่โคนไม้ ๑ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑.
กิจที่ไม่ควรทำ เรียกอกรณียกิจ มี ๔ อย่าง 
คือ เสพเมถุน ๑ ลักของเขา ๑ ฆ่าสัตว์ ๑ พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ๑ กิจ ๔ อย่างนี้ บรรพชิตทำไม่ได้.
สิกขาของภิกษุมี ๓ อย่างคือ 
ศีล สมาธิ ปัญญา
ความสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย ชื่อว่า ศีล
ความรักษาใจมั่น ชื่อว่าสมาธิ
ความรอบรู้ในกองสังขาร ชื่อว่าปัญญา.
โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม 
เรียกว่า อาบัติ
อาบัตินั้นว่าโดยชื่อ มี ๗ อย่าง คือ 
ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฎ ๑ ทุพภาสิต ๑.
ปาราชิกนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากภิกษุ
สังฆาทิเสสนั้นต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้
อาบัติอีก ๕ อย่างนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึงพ้นได้
อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติเหล่านี้ ๖ อย่าง คือ 
ต้องด้วยไม่ละอาย ๑ 
ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ ๑ 
ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง ๑ 
ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ 
ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ 
ต้องด้วยลืมสติ ๑
ข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ซึ่งยกขึ้นเป็นสิกขาบท 
ที่มาในพระปาติโมกข์ ๑ 
ไม่ได้มาในพระปาติโมกข์ ๑
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้น คือ 
ปาราชิก ๔ 
สังฆาทิเสส ๑๓ 
อนิยต ๒ 
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ 
ปาจิตตีย์ ๙๒ 
ปาฏิเทสนียะ ๔ 
เสขิยะ ๗๕ 
รวมเป็น ๒๒๐ 
นับทั้งอธิกรณสมถะด้วยเป็น ๒๒๗.
ปาราชิก ๔
๑. ภิกษุเสพเมถุน ต้องปาราชิก
๒. ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก ต้องปาราชิก. 
๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องปาราชิก. 
๔. ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม (คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์) ที่ไม่มีในตน ต้องปาราชิก.
สังฆาทิเสส ๑๓
๑.ภ ิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส. 
๒. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส. 
๓. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง ต้องสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส. 
๕. ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส.
๖. ภิกษุสร้างกุฎีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ จำเพาะเป็นที่อยู่
ของตน ต้องทำให้ได้ประมาณ โดยยาวเพียง ๑๒ คืบพระสุคต โดยกว้างเพียง ๗ คืบ วัดใน
ร่วมใน และต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี
ต้องสังฆาทิเสส
๗. ถ้าที่อยู่ซึ่งจะสร้างขึ้นนั้น มีทายกเป็นเจ้าของ ทำให้เกินประมาณนั้นได้ แต่ต้องให้
สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ต้องสังฆาทิเสส
๘. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
๙. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส.
๑๐. ภิกษุพากเพียรเพื่อจะทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อ
จะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส
๑๑. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้
ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.
๑๒. ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น
ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.
๑๓. ภิกษุประทุษร้ายตระกูล คือประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับว่าติเตียนสงฆ์ ภิกษุ
อื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.
อนิยต ๒
๑. ภิกษุนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อได้มาพูดขึ้นด้วยธรรม ๓ อย่าง
คือ ปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น
หรือเขาว่าจำเพาะธรรมอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น. 
๒. ภิกษุนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อได้มาพูดขึ้นด้วยธรรม ๒ อย่าง คือ 
สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น หรือเขาว่า
จำเพาะธรรมอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ 
แบ่งเป็น ๓ วรรค มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท
จีวรวรรค ที่ ๑
๑. ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้เพียร ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าล่วง ๑๐ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒. ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ.
๓. ถ้าผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ๆ ประสงค์จะทำจีวร แต่ยังไม่พอ ถ้ามีที่หวังว่าจะได้มาอีก พึงเก็บ
ผ้านั้นไว้ได้เพียงเดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้ให้เกินเดือนหนึ่งไป แม้ถึงยังมีที่หวังว่า
จะได้อยู่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๔. ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า ต้องนิสสัคคิย
ปาจิตตีย์.
๕. ภิกษุรับจีวรแต่มือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๖. ภิกษุของจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มี
สมัยที่จะขอจีวรได้ คือ เวลาภิกษุมีจีวรอันโจรลักไป หรือมีจีวรอันฉิบหายเสีย.
๗.ในสมัยเช่นนั้น จะขอเขาได้ก็เพียงผ้านุ่งผ้าห่มเท่านั้น ถ้าขอให้เกินกว่านั้น ได้มา ต้อง
นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๘. ถ้าคฤหัสถ์ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา เขาพูดว่า เขาจะถวายจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ภิกษุนั้นทราบ
ความแล้ว เข้าไปพูดให้เขาถวายจีวร
๙. ถ้าคฤหัสถ์ผู้จะถวายจีวรแก่ภิกษุมีหลายคน แต่เขาไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ภิกษุไปพูดให้
เขารวมทุนเข้าเป็นอันเดียวกัน ให้ซื้อจีวรที่แพงว่าดีกว่าที่กำหนดไว้เดิม ได้มา ต้องนิสสัคคิย
ปาจิตตีย์.
๑๐. ถ้าใคร ๆ นำทรัพย์มาเพื่อค่าจีวรแล้วถามภิกษุว่า ใครเป็นไวยาวัจกรของเธอ ถ้าภิกษุต้อง
การจีวร ก็พึงแสดงคนวัดหรือ อุบาสกว่า ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ครั้นเขามอบ
หมายไวยาวัจกรนั้นแล้ว สั่งภิกษุว่า ถ้าต้องการจีวร ให้เข้าไปหาไวยาวัจกร ภิกษุนั้นพึงเข้าไป
หาเขาแล้วทวงว่า เราต้องการจีวร ดังนี้ ได้ ๓ ครั้ง ถ้าไม่ได้จีวร ไปยืนแต่พอเขาเห็นได้ ๖ ครั้ง
ถ้าไม่ได้ขืนไปทวงให้เกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ถ้าไปทวงและ
ยืนครบกำหนดแล้วไม่ได้จีวร จำเป็นต้องไปบอกเจ้าของเดิมว่า ของนั้นไม่สำเร็จประโยชน์
แก่ตน ให้เขาเรียกเอาของเขาคืนมาเสีย.
โกสิยวรรคที่ ๒
๑.ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมเจือด้วยไหม ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 
๒.ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่ พึงใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน ขนเจียมขาวส่วนหนึ่ง ขนเจียมแดงส่วน
หนึ่ง ถ้าใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนขึ้นไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๔.ภิกษุหล่อสันถัตใหม่แล้ว พึงใช้ให้ได้ ๖ ปี ถ้ายังไม่ถึง ๖ ปี หล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
. เว้นไว้แต่ได้สมมติ.
๕.ภิกษุจะหล่อสันถัต พึงตัดเอาสันถัตเก่าคืบหนึ่งโดยรอบมา ปนลงในสันถัตที่หล่อใหม่ เพื่อ
จะทำลายให้เสียสี ถ้าไม่ทำดังนี้ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๖.เมื่อภิกษุเดินทางไกล ถ้ามีใครถวายขนเจียม ต้องการก็รับได้ ถ้าไม่มีใครนำมา นำมาเองได้
เพียง ๓ โยชน์ ถ้าให้เกิน ๓ โยชน์ไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๗.ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม ต้องนิสสัคคิย
ปาจิตตีย์.
๘.ภิกษุรับเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดี ทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๙.ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ คือของที่เขาใช้เป็นทองและเงิน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๐.ภิกษุแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคฤหัสถ์ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ปัตตวรรคที่ ๓ 
๑.บาตรนอกจากบาตรอธิษฐานเรียกอติเรกบาตร อติเรกบาตรนั้น ภิกษุเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน
เป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้ล่วง ๑๐ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่ถึง ๑๐ นิ้ว ขอบาตรใหม่แต่คฤหัสถ์ ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ได้
มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุรับประเคนเภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง 
๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้ล่วง ๗ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๔.เมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่อีกเดือนหนึ่ง คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๗ จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
ได้ เมื่อฤดูร้อนเหลืออยู่อีกกึ่งเดือน คือตั้งแต่ขึ้นค่ำหนึ่งเดือน ๘ จึงทำนุ่งได้ ถ้าแสวงหาหรือ
ทำนุ่งให้ล้ำกว่ากำหนดนั้นเข้ามา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว โกรธ ชิงเอาคืนมาเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นชิงเอามาก็ดี ต้องนิสสัคคิย
ปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุขอด้ายแต่คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคิย
ปาจิตตีย์.
๗.ถ้าคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา สั่งให้ช่างหูกทอจีวร เพื่อจะถวายแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุไป
กำหนดให้เขาทำให้ดีขึ้นด้วยจะให้รางวัลแก่เขา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๘.ถ้าอีก ๑๐ วันจะถึงวันปวารณา คือตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ถ้าทายกรีบจะถวายผ้าจำนำ
พรรษา ก็รับเก็บไว้ได้ แต่ถ้าเก็บไว้เกินกาลจีวรไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. กาลจีวรนั้นดังนี้ 
ถ้าจำพรรษาแล้วไม่ได้กรานกฐิน นับแต่วันปวารณาไปเดือนหนึ่ง คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน 
๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าได้กรานกฐินนับแต่วันปวารณาไป ๕ เดือน คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง
เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๔.
๙.ภิกษุจำพรรษาในเสนาสนะป่าซึ่งเป็นที่เปลี่ยว ออกพรรษา แล้ว อยากจะเก็บไตรจีวรผืน
ใดผืนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อมีเหตุก็เก็บไว้ได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้ให้เกิน ๖ คืน
ไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ได้สมมติ.
๑๐.ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
มุสาวาทวรรคที่ ๑ มี ๑๐ สิกขาบท 
๑.พูดปด ต้องปาจิตตีย์.
๒.ด่าภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.
๓.ส่อเสียดภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.
๔.ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน ถ้าว่าพร้อมกัน ต้องปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกันกับอนุปสัมบัน เกิน ๓ คืน ขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับผู้หญิง แม้ในคืนแรก ต้องปาจิตตีย์.
๗.ภิกษุแสดงธรรมแก่ผู้หญิง เกินกว่า ๖ คำขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์. [๑]
๘.ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง แก่อนุปสัมบัน ต้องปาจิตตีย์.
๙.ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน ต้องปาจิตตีย์. [๒]
๑๐.ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดิน ต้องปาจิตตีย์
*****๑. เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย
     ๒.เว้นไว้แต่ได้สมมติ
ภูตคามวรรคที่ ๒ มี ๑๐ สิกขาบท
๑.ภิกษุพรากของเขียวเกิดอยู่กับที่ ให้หลุดจากที่ ต้องปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งพูดกลบเกลื่อนก็ดี นิ่งเสียไม่พูดก็ดี
ถ้าสงฆ์สวดประกาศข้อความนั้นจบ ต้องปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทำการสงฆ์ ถ้าเธอทำโดยชอบ ติเตียนเปล่า ๆ
ต้องปาจิตตีย์.
๔.ภิกษุเอาเตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ ของสงฆ์ไปตั้งในที่แจ้งแล้ว เมื่อหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บ
เองก็ดี ไม่ใช่ให้ผู้อื่นเก็บก็ดี ไม่มอบหมายแก่ผู้อื่นก็ดี ต้องปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุเอาที่นอนของสงฆ์ปูนอนกุฎีสงฆ์แล้ว เมื่อหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช่
ให้ผู้อื่นเก็บก็ดี ไม่มอบหมายแก่ผู้อื่นก็ดี ต้องปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุรู้อยู่ว่า กุฎีนี้มีผู้อยู่ก่อน แกล้งไปนอนเบียด ด้วยหวังจะให้ผู้อยู่ก่อนคบแคบใจเข้า
ก็จะหลีกไปเอง ต้องปาจิตตีย์.
๗.ภิกษุโกรธเคืองภิกษุอื่น ฉุดคร่าไล่ออกจากกุฎีสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์.
๘.ภิกษุนั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี บนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี อันมีเท้าไม่ได้ตรึงให้แน่น ซึ่งเขาวางไว้
บนร่างร้านที่เขาเก็บของในกุฎี ต้องปาจิตตีย์.
๙.ภิกษุจะเอาดินหรือปูนโบกหลังคากุฎี พึงโบกได้แต่เพียง ๓ ชั้น ถ้าโบกเกินกว่านั้น ต้องปา
จิตตีย์.
๑๐.ภิกษุรู้อยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์ เอารดหญ้าหรือดิน ต้องปาจิตตีย์
โอวาทวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท
๑.ภิกษุที่สงฆ์ไม่ได้สมมติ สั่งสอนนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์.
๒.แม้ภิกษุที่สงฆ์สมมติแล้ว ตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้วไป สอนนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุข้าไปสอนนางภิกษุณีถึงในที่อยู่ ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่นางภิกษุณีเจ็บ.
๔.ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นว่า สอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ต้องปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุให้จีวรแก่นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน.
๖.ภิกษุเย็บจีวรของนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นเย็บก็ดี ต้องปาจิตตีย์.
๗.ภิกษุชวนนางภิกษุณีเดินทางด้วยกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ทางเปลี่ยว.
๘.ภิกษุชวนนางภิกษุณีลงเรือลำเดียวกัน ขึ้นน้ำก็ดี ล่องน้ำก็ดี ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ข้ามฟาก.
๙.ภิกษุรู้อยู่ฉันของเคี้ยวของฉัน ที่นางภิกษุณีบังคับให้คฤหัสถ์เขาถวาย ต้องปาจิตตีย์. เว้น
ไว้แต่คฤหัสถ์เขาเริ่มไว้ก่อน.
๑๐.ภิกษุนั่งก็ดี นอนก็ดี ในที่ลับสองต่อสอง กับนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์.
โภชนวรรคที่ ๔ มี ๑๐ สิกขาบท
๑.อาหารในโรงทานที่ทั่วไปไม่นิยมบุคคล ภิกษุไม่เจ็บไข้ ฉันได้แต่เฉเพาะวันเดียวแล้ว ต้อง
หยุดเสียในระหว่าง ต่อไปจึงฉันได้อีก ถ้าฉันติด ๆ กันตั้งแต่สองวันขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์.
๒.ถ้าทายกเขามานิมนต์ ออกชื่อโภชนะทั้ง ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ 
อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปรับของนั้นมาหรือฉันของนั้นพร้อมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ต้อง
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย คือ เป็นไข้อย่าง ๑ หน้าจีวรกาลอย่าง ๑ เวลาทำจีวรอย่าง ๑ เดินทาง
ไกลอย่าง ๑ ไปทางเรืออย่าง ๑ อยู่มากด้วยกันบิณฑบาตไม่พอฉันอย่าง ๑ โภชนะเป็นของ
สมณะอย่าง ๑.
๓.ภิกษุรับนิมนต์แห่งหนึ่ง ด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ไปฉันในที่นิมนต์
นั้น ไปฉันเสียที่อื่น ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ยกส่วนที่รับนิมนต์ไว้ก่อนนั้นให้แก่ภิกษุอื่น
เสีย หรือหน้าจีวรกาลและเวลาทำจีวร.
๕.ภิกษุฉันค้างอยู่ มีผู้เอาโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้า มาประเคน ห้ามเสียแล้ว ลุก
จากที่นั่งนั้นแล้ว ฉันของเคี้ยวของฉันซึ่งไม่เป็นเดนภิกษุไข้ หรือไม่ได้ทำวินัยกรรม ต้อง
ปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุรู้อยู่ว่า ภิกษุอื่นห้ามข้าวแล้ว [ตามสิกขาบทหลัง] คิดจะยกโทษเธอ แกล้งเอาของเคี้ยว
ของฉันที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ ไปล่อให้เธอฉัน ถ้าเธอฉันแล้ว ต้องปาจิตตีย์.
๗.ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงวันใหม่ 
ต้องปาจิตตีย์.
๘.ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารซึ่งรับประเคนไว้ค้างคืน ต้องปาจิตตีย์.
๙.ภิกษุขอโภชนะอันประณีต คือ ข้าวสุก ระคนด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ปวารณา เอามาฉัน ต้องปาจิตตีย์.
๑๐.ภิกษุกลืนกินอาหารที่ไม่มีผู้ให้ คือยังไม่ได้รับประเคน ให้ล่วงทวารปากเข้าไป ต้อง
ปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่น้ำและไม้สีฟัน.
อเจลกวรรคที่ ๕ มี ๑๐ สิกขาบท
๑.ภิกษุให้ของเคี้ยวของฉัน แก่นักบวชนอกศาสนา ด้วยมือตน ต้องปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุชวนภิกษุอื่นไปเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน หวังจะประพฤติอนาจาร ไล่เธอกลับมาเสีย
ต้องปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุสำเร็จการนั่งแทรกแซง ในสกุลที่กำลังบริโภคอาหารอยู่ ต้องปาจิตตีย์.
๔.ภิกษุนั่งอยู่ในห้องกับผู้หญิง ไม่มีผู้ชายอยู่เป็นเพื่อน ต้องปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุนั่งในที่แจ้งกับผู้หญิงสองต่อสอง ต้องปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุรับนิมนต์ด้วยโภชนะทั้ง ๕ แล้ว จะไปในที่อื่นจากที่นิมนต์นั้น ในเวลาก่อน
ฉันก็ดี ฉันกลับมาแล้วก็ดี ต้องลาภิกษุที่มีอยู่ในวัดก่อนฉันก็ดี ถ้าไม่ลาก่อนเที่ยวไป
ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย คือจีวรกาล และเวลาทำจีวร
๗.ถ้าเขาปวารณาด้วยปัจจัยสี่เพียง ๔ เดือน พึงขอเขาได้เพียงกำหนดนั้นเท่านั้น 
ถ้าของให้เกินกว่ากำหนดนั้นไป ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีก หรือปวารณา
เป็นนิตย์.
๘.ภิกษุไปดูกระบวนทัพที่เขายกไปเพื่อจะรบกัน ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุ.
๙.ถ้าเหตุที่ต้องไปมีอยู่ พึงไปอยู่ได้ในกองทัพเพียง ๓ วัน ถ้าอยู่ให้เกินกว่ากำหนดนั้น
ต้องปาจิตตีย์
๑๐.ในเวลาที่อยู่ในกองทัพตามกำหนดนั้น ถ้าไปดูเขารบกันก็ดีหรือดูเขาตรวจพลก็ดี
ดูเขาจัดกระบวนทัพก็ดี ดูหมู่เสนาที่จัดเป็นกระบวนแล้วก็ดี ต้องปาจิตตีย์.
สุราปานวรรคที่ ๖ มี ๑๐ สิกขาบท
๑.ภิกษุดื่มน้ำเมา ต้องปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุจี้ภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุว่ายน้ำเล่น ต้องปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุหลอนภิกษุให้กลัวผี ต้องปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุไม่เป็นไข้ ติดไฟให้เป็นเปลวเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นติดก็ดีเพื่อจะผิง ต้องปาจิตตีย์. 
ติดเพื่อเหตุอื่น ไม่เป็นอาบัติ.
๗.ภิกษุอยู่ในมัชฌิมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งประเทศอินเดีย ๑๕ วัน จึงอาบน้ำ
ได้หนหนึ่ง ถ้ายังไม่ถึง ๑๕ วันอาบน้ำ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็น. ในปัจจันต
ประเทศ เช่นประเทศเราอาบน้ำได้เป็นนิตย์ ไม่เป็นอาบัติ.
๘.ภิกษุได้จีวรใหม่มา ต้องพินทุด้วยสี ๓ อย่าง คือ เขียวคราม โคลน ดำคล้ำ อย่างใด
อย่างหนึ่งก่อน จึงนุ่งห่มได้ ถ้าไม่ทำพินทุก่อนแล้วนุ่งห่ม ต้องปาจิตตีย์.
๙.ภิกษุวิกัปจีวรแก่ภิกษุหรือสามเณรแล้ว ผู้รับยังไม่ได้ถอนนุ่งห่มจีวรนั้น ต้องปาจิตตีย์.
๑๐.ภิกษุซ่อนบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ประคดเอว สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ของ
ภิกษุอื่น ด้วยคิดว่าจะล้อเล่น ต้องปาจิตตีย์.
สัปปาณวรรคที่ ๗ มี ๑๐ สิกขาบท
๑.ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ต้องปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุรู้อยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์ บริโภคน้ำนั้น ต้องปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุรู้อยู่ว่า อธิกรณ์นี้สงฆ์ทำแล้วโดยชอบ เลิกถอนเสียกลับทำใหม่ ต้องปาจิตตีย์.
๔.ภิกษุรู้อยู่ แกล้งปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุรู้อยู่ เป็นอุปัชฌายะอุปสมบทกุลบุตรผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ต้องปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุรู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้ซ่อนภาษีเดินทางด้วยกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์.
๗.ภิกษุชวนผู้หญิงเดินทางด้วยกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์.
๘.ภิกษุกล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวด
ประกาศข้อความนั้นจบ ต้องปาจิตตีย์ 
๙.ภิกษุคบภิกษุเช่นนั้น คือ ร่วมกินก็ดี ร่วมอุโบสถสังฆกรรมก็ดี ร่วมนอนก็ดี ต้อง
ปาจิตตีย์.
๑๐.ภิกษุเกลี้ยกล่อมสามเณรที่ภิกษุอื่นให้ฉิบหายแล้ว เพราะโทษที่กล่าวคัดค้าน
ธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ให้เป็นอุปัฏฐากก็ดี ร่วมกินก็ดี ร่วมนอนก็ดี ต้องปาจิตตีย์ 
สหธรรมิกวรรคที่ ๘ มี ๑๒ สิกขาบท
๑.ภิกษุประพฤติอนาจาร ภิกษุอื่นตักเตือน พูดผัดเพี้ยนว่า ยังไม่ได้ถามท่านผู้รู้ก่อน 
ข้าพเจ้าจักไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ต้องปาจิตตีย์.ธรรมดาภิกษุผู้ศึกษา ยังไม่รู้สิ่งใด
ควรจะรู้สิ่งนั้น ควรไต่ถามไล่เลียงท่านผู้รู้.
๒.ภิกษุอื่นท่องปาติโมกข์อยู่ ภิกษุแกล้งพูดให้เธอคลายอุตสาหะ ต้องปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุต้องอาบัติแล้วแกล้งพูดว่า ข้าพเจ้าพึ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่าข้อนี้มาในพระปาติ
โมกข์ ถ้าภิกษุอื่นรู้อยู่ว่า เธอเคยรู้มาก่อนแล้วแต่แกล้งพูดกันเขาว่า พึงสวดประกาศ
ความข้อนั้น เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้ว แกล้งทำไม่รู้อีก ต้องปาจิตตีย์.
๔.ภิกษุโกรธ ให้ประหารแก่ภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุโกรธ เงื้อมือดุจให้ประหารแก่ภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุโจทก์ฟ้องภิกษุอื่น ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้องปาจิตตีย์.
๗.ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญให้เกิดแก่ภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์.
๘.เมื่อภิกษุวิวาทกันอยู่ ภิกษุไปแอบฟังความ เพื่อจะได้รู้ว่าเขาว่าอะไรตนหรือพวก
ของตน ต้องปาจิตตีย์.
๙.ภิกษุให้ฉันทะ คือความยอมให้ทำสังฆกรรมที่เป็นธรรมแล้ว ภายหลังกลับติเตียน
สงฆ์ผู้ทำกรรมนั้น ต้องปาจิตตีย์.
๑๐.เมื่อสงฆ์กำลังประชุมกันตัดสินข้อความข้อหนึ่ง ภิกษุรูปใดอยู่ในที่ประชุมนั้น
จะหลีกไปในขณะที่ตัดสินข้อนั้นยังไม่เสร็จ ไม่ให้ฉันทะก่อนลุกไปเสีย ต้อง
ปาจิตตีย์.
๑๑.ภิกษุพร้อมกับสงฆ์ให้จีวรเป็นบำเหน็จ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งแล้ว ภายหลัง
กลับติเตียนภิกษุอื่นว่า ให้เพราะเห็นแก่หน้ากัน ต้องปาจิตตีย์.
๑๒.ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่ทายกเขาตั้งใจจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล ต้องปาจิตตีย์.
รัตนวรรคที่ ๙ มี ๑๐ สิกขาบท
๑.ภิกษุไม่ได้รับอนุญาตก่อน เข้าไปในห้องที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จอยู่กับ
พระมเหสี ต้องปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุเห็นเครื่องบริโภคของคฤหัสถ์ตกอยู่ ถือเอาเป็นของเก็บได้เองก็ดี 
ให้ผู้อื่นถือเอาก็ดี ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ของนั้นตกอยู่ในวัด หรือในที่อาศัย
ต้องเก็บไว้ให้แก่เจ้าของ ถ้าไม่เก็บ ต้องทุกกฎ.
๓.ภิกษุไม่บอกลาภิกษุอื่นที่มีอยู่ในวัดก่อน เข้าไปบ้านในเวลาวิกาล ต้อง
ปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่การด่วน.
๔.ภิกษุทำกล่องเข็ม ด้วยกระดูกก็ดี ด้วยงาก็ดี ด้วยเขาก็ดี ต้องปาจิตตีย์. ต้อง
ต่อยกล่องนั้นเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.
๕.ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่ 
ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึง
แสดงอาบัติตก.
๖.ภิกษุทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องปาจิตตีย์. ต้องรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.
๗.ภิกษุทำผ้าปูนั่ง พึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้นยาว ๒ คืบ พระสุคต 
กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้
ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.
๘.ภิกษุทำผ้าปิดแผล พึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้น ยาว ๔ คืบพระสุคต 
กว้าง ๒ คืบ ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณเสีย
ก่อน จึงแสดงอาบัติตก.
๙.ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้นยาว ๖ คืบพระสุคต
กว้าง ๒ คืบครึ่ง ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณ
เสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.
๑๐.ภิกษุทำจีวรให้เท่าจีวรพระสุคตก็ดี เกินกว่านั้นก็ดี ต้องปาจิตตีย์. ประมาณ
จีวรพระสุคตนั้น ยาว ๙ คืบพระสุคต กว้าง ๖ คืบ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสีย
ก่อน จึงแสดงอาบัติตก.
ปาฏิเทสนียะ ๔
๑.ภิกษุรับของเคี้ยวของฉันแต่มือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ด้วยมือของตนมาบริโภค ต้อง
ปาฏิเทสนียะ.
๒.ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ถ้ามีนางภิกษุณีมาสั่งทายกให้เอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ถวาย เธอพึงไล่
นางภิกษุณีนั้นให้ถ้อยไปเสีย ถ้าไม่ไล่ ต้องปาฏิเทสนียะ.
๓.ภิกษุไม่เป็นไข้ เขาไม่ได้นิมนต์ รับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็น
เสขะ มาบริโภค ต้องปาเทสนียะ.
๔.ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าเป็นที่เปลี่ยว ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวของฉัน ที่ทายกไม่ได้
แจ้งความให้ทราบก่อน ด้วยมือของตนมาบริโภค ต้องปาฏิเทสนียะ.
เสขิยวัตร
วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาเรียกว่าเสขิยวัตร เสขิยวัตรนั้น จัดเป็น ๔ หมวด หมวดที่ ๑ เรียก
ว่าสารูป หมวดที่ ๒ เรียกว่าโภชนปฏิสังยุต หมวดที่ ๓ เรียกว่าธัมมเทสนาปฏิสังยุต หมวด
ที่ ๔ เรียกว่า ปกิณณกะ.
สารูปที่ ๑ มี ๒๖
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งห่มให้เรียบร้อย. ไปในบ้าน.
๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งห่มให้เรียบร้อย. ไปนั่งในบ้าน.
๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดี ไปในบ้าน.
๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดี ไปนั่งในบ้าน.
๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักระวังมือเท้าด้วยดี ไปในบ้าน.
๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักระวังมือเท้าด้วยดี ไปนั่งในบ้าน.
๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในบ้าน
๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปนั่งในบ้าน
๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในบ้าน
๑๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปนั่งในบ้าน
๑๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะ ไปในบ้าน
๑๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่หัวเราะ ไปนั่งในบ้าน
๑๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน
๑๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปนั่งในบ้าน
๑๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย ไปในบ้าน
๑๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกาย ไปนั่งในบ้าน
๑๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่ไกวแขน ไปในบ้าน
๑๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่ไกวแขน ไปนั่งในบ้าน
๑๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ ไปในบ้าน
๒๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่สั่นศีรษะ ไปนั่งในบ้าน
๒๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน
๒๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปนั่งในบ้าน
๒๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน
๒๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน
๒๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้าไปในบ้าน
๒๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
โภชนปฏิสังยุตที่ ๒ มี ๓๐
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ.
๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร.
๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก
๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจับรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร.
๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ.
๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร.
๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง.
๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก.
๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป.
๑๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากจะได้มาก.
๑๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน.
๑๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ.
๑๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.
๑๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
๑๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก เราจักไม่อ้าปากไว้ท่า.
๑๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอานิ้วมือสอดเข้าปาก. 
๑๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อข้าวอยู่ในปาก เราจักไม่พูด.
๑๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โยนคำข้าเข้าปาก.
๑๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
๒๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย.
๒๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง.
๒๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตรหรือในที่นั้น ๆ.
๒๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบสิ้น
๒๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ.
๒๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ.
๒๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
๒๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
๒๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
๒๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ.
๓๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน.
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตที่ ๓ มี ๑๖
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีร่มในมือ.
๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีไม่พลองในมือ.
๓.ฯลฯ มีศัสตราในมือ.
๔.ฯลฯ มีอาวุธในมือ.
๕.ฯลฯ สวมเขียงเท้า.
๖.ฯลฯ สวมรองเท้า.
๗.ฯลฯ ไปในยาน.
๘.ฯลฯ อยู่บนที่นอน.
๙.ฯลฯ นั่งรัดเข่า.
๑๐.ฯลฯ พันศีรษะ.
๑๑.ฯลฯ คลุมศีรษะ
๑๒.ฯลฯ เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะ.
๑๓.ฯลฯ เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง.
๑๔.ฯลฯ เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่.
๑๕.ฯลฯ เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.
๑๖.ฯลฯ เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในทาง.
ปกิณณกะที่ ๔ มี ๓
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะ.
๒.ฯลฯ เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะบ้วนเขฬะ ลงในของเขียว.
๓.ฯลฯ เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลงในน้ำ.
อธิกรณ์ ๔
๑.ความเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย เรียกวิวาทาธิกรณ์.
๒.ความโจทกันด้วยอาบัตินั้น ๆ เรียกอนุวาทาธิกรณ์.
๓.อาบัติทั้งปวง เรียกอาปัตตาธิกรณ์.
๔.กิจที่สงฆ์จะพึงทำ เรียกกิจจาธิกรณ์.
อธิกรณสมถะ มี ๗ 
ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น เรียกอธิกรณสมถะ มี ๗ อย่าง คือ:-
๑. ความระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ในที่พร้อมหน้าบุคคล ในที่พร้อม
หน้าวัตถุ ในที่พร้อมหน้าธรรม เรียก สัมมุขาวินัย.
๒. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ว่า เป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อจะไม่ให้
ใครโจทด้วยอาบัติ เรียกสติวินัย.
๓. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุ ผู้หายเป็นบ้าแล้วเพื่อจะไม่ให้ใครโจท
ด้วยอาบัติที่เธอทำในเวลาเป็นบ้า เรียกอมูฬหวินัย.
๔. ความปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ เรียกปฏิญญาตกรณะ
๕. ความตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ เรียกเยภุยยสิกา.
๖. ความลงโทษแก่ผู้ผิด เรียกตัสสปาปิยสิกา.
๗. ความให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระความเดิม เรียกติณวัดถารกวินัย.
สิกขาบทนอกนี้ ที่ยกขึ้นเป็นอาบัติถุลลัจจัยบ้าง ทุกกฎบ้าง ทุพภาสิตบ้าง เป็นสิกขาบท
ไม่ได้มาในพระปาติโมกข์.