วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สวดปาฏิโมกข์


                                                   ประชุมฟังสวดพระปาฏิโมกข์

……หลวงพี่รูปหนึ่ง บวชได้สัก10 พรรษาแล้ว เดิมท่านเป็นศึกษานิเทศก์ ต่อมาศรัทธาก็เลยบวช
วันหนึ่งท่านมาเยี่ยมที่สำนักงาน ก็ได้สนทนาถามไถ่สุขทุกข์กัน เพื่อนคนอื่น ๆ ก็ไม่ค่อยมีใครอยาก
คุยด้วย เพราะกลัวจะใช้ ถ้อยคำไม่เหมาะกาละเทศะ สำหรับกระผมอยู่วัดมา 7 ปี พอคุยกับพระได้ 
ท่านเล่าถึงกิจวัตรที่ท่านปฏิบัติขณะบวชให้ฟัง ก็สนุกดี เพราะท่านจารึกไป ไปทั่วภูมิภาคช่วงหนึ่ง
ท่านพูดถึงสวดพระปาฏิโมกข์ ทำนองว่าสวดยาก กว่าจะจบใช้เวลากว่าชั่วโมงได้บุญมากถามไป
ถามมาคนอื่นสวดท่านแค่ไป ร่วมกิจกรรม บังเอิญกระผมเคยสวดปาฏิโมกข์ เลยรู้จักว่าไม่ได้สวด
เพื่อเอาบุญ ช่วงเข้าพรรษา ผมทบทวนปาฏิโมกข์ทุกวัน โยมจะเอาเครื่องรางของขลังมาฝากใส่ใน
บาตรที่ไม่ได้ใช้  เอาไว้ใส่ของพวกพระเครื่องรางต่าง ๆ วางหน้าแท่นกราบพระพุทธรูป เขาขอฝาก
ด้วย เต็มบาตรเลยแหละ ก็ขำ ๆนะ สวดปาฏิโมกข์ทบทวนทุกวันเวลาสวดจริงจะได้ไม่ผิดพลาดต้อง
หยุดบ่อย จะไปทำให้พระเครื่องขลังได้ตรงไหน ก็ไม่ขัดใจเขาหรอก ฝากก็ฝาก ของใครจำเอาเอง
แล้วกัน ออกพรรษาก็มาขอรับกลับไป
.......เรื่องการบวช...ผมบวชปี 2510 เข้าพรรษา กะออกพรรษาก็สึก วัดหมู่บ้านแหละครับมีพระ รูปเดียวอายุ 103 ปีแล้วทำกิจวัตรไม่ไหวสุขภาพไม่ดีด้วย มีพระบวชใหม่มาท่านก็มอบหมายให้ดูแลกันเอง มี
โยมที่เคยเป็น เจ้าอาวาสแวะมาสนทนาทุกเย็น แนะนำให้รู้จักกิจของพระ ก็ยินดีไม่เสียเวลา บังเอิญผมเป็นคนชอบ ศึกษาเล่าเรียน ก็ยินดีที่มีคนช่วยแนะนำ ต่อมาได้รื้อหนังสือในตู้มาอ่าน ได้ความรู้มากมาย ขนาดออกพรรษา ไปสอบนักธรรมตรีสอบได้ ทั้งที่ไม่มีครูสอน บ้าอ่านขนาดนั้นแหละ มีเล่มหนึ่งชื่อภิกขุปาฏิโมกข์ เป็นศีล  227 ข้อ ที่พระต้องสวดและเข้าฟังทุกวันพระใหญ่ ก็เลยท่องเล่น ๆแต่ก็ท่องได้จบทั้งเล่มแหละ ไม่ได้ไป สวดให้ใครฟังหรอก แค่ท่องจำเฉย ๆ สนุกท่องน่ะ วันพระก็ท่องทบทวน ถือเป็นการทบทวนศีล 227 ข้อไปในตัว เพราะกำลังอยาก เรียนนักธรรมตรี มีหลักสูตรวิชาวินัยต้องสอบด้วย จนพรรษาที่ 2 พระอาจารย์ ที่เป็นพระอนุสาวนาจารย์ทราบว่ากระผมสวดพระปาฏิโมกข์ได้ ก็เรียกไปพูดคุย และทดสอบ ดูว่าสวดได้จริงไหม ผมใช้เวลาสวด 40 นาที จบ ท่านชอบใจ เลยให้เตรียมตัวไว้ช่วยท่าน เพราะท่าน สวดมานานปี อยากพักบ้าง 
.......การสวดปาฎิโมกข์ เป็นการทบทวนศีล 227 ข้อ ดังนั้นทุกวันอุโบสถ คือกลางเดือนและสิ้นเดือนจะมีการสวดพระปาฏิโมกข์กัน วัดหนึ่ง ๆจะต้องมี พระที่สวดได้อย่างน้อย 1 รูป ถ้าไม่มี ต้องไปร่วมฟังกับวัดอื่นที่สวดได้ ถ้าไม่มีจริง ๆ ก็ทำอธิษฐานอุโบสถไปก่อน สวดปาฏิโมกข์เป็นสังฆกรรมคือกิจที่ ต้องทำโดยคณะสงฆ์อย่างน้อย 4 รูป น้อยกว่านั้นก็ทำไม่ได้
.....สวดปาฏิโมกข์พระภิกษุทุกรูปต้องเข้าร่วมประชุม ในสีมาที่กำหนดเป็น ที่ประชุม จะเป็นสีมาชั่วคราวหรือสีมาถาวรก็ได้ ถ้ามีภิกษุเข้าประชุมไม่ครบ การประชุมก็ทำไม่ได้ ขืนทำไปก็เป็น สังฆกรรมวิบัติ ถ้าจำเป็นเช่น เจ็บป่วย ก็ต้องแจ้งคณะสงฆ์ยินยอมให้มีการประชุม เรียกว่าการให้ฉันทะและการให้ ปาริสุทธิ์ มอบให้พระภิกษุรูปอื่นนำไปแจ้งคณะสงฆ์ เช่นภิกษุเจ็บป่วยเข้าร่วม ประชุมฟังสวดปาฏิโมกข์ไม่ได้ พระรูปหนึ่งก็ไปรับฉันทะและปาริสุทธิ์พระป่วย ไปแจ้งที่ประชุมทราบ พระผู้ป่วยพึงกล่าวมอบปาริสุทธิ ว่า
..........“ปาริสุทธิง ทัมมิ, ปาริสุทธิง เม หะระ, ปาริสุทธิง เม อาโรเจหิ.” กระผมขอมอบปาริสุทธิแก่ท่าน ขอทานนำปาริสทธิข้าพเจ้าไป และขอได้ แจ้งแก่คณะสงฆฺทราบด้วย ความหมายก็ประมาณนี้ จากนั้นก็มอบฉันทะ พร้อมด้วยเลย ด้วยคำว่า
..........“ฉันทัง ทัมมิ, ฉันทัง เม หะระ, ฉันทัง เม อาโรเจหิ.” “ข้าพเจ้ามอบฉันทะ ขอท่านจงนำฉันทะของข้าพเจ้าไป ขอท่านจงบอก ฉันทะของข้าพเจ้า.”  “สุขุมาโล ภันเต ภิกขุ คิลาโน มัยหัง ฉันทัญจะ ปาริสุทธิญ จะ อะทาสิ, ตัสสะ ฉันโท จะ ปาริสุทธิ จะ มะยา อาหะตา, สาธุ ภันเต สังโฆ ธาเรตุ.” “ท่านเจ้าข้า สุขุมาโลภิกษุ อาพาธ ได้มอบฉันทะและปาริสุทธแก่ผม และ ผมนำฉันทะและปาริสุทธิ ของเธอมาแล้ว ขอสงฆ์จงทราบ.”
......บุพพกรณ์บุพพกิจ มีงานที่ควรทำก่อนประชุม และกิจสำคัญที่ต้องทำ เวลาสวดจะมีการสอบถาม จึงควรทราบและกระทำให้เรียบร้อยมี 9 เรื่องคือ ปัดกวาดสถานที่ประชุม จุดประทีปโคมไฟ ตั้งอาสนะ ตั้ง น้ำดื่มน้ำใช้ นำฉันทะ แจ้งที่ประชุม นำปาริสุทธิแจ้งที่ประชุม บอกฤดูกาลนับจำนวนภิกษุและสอน      ภิกษุนี 

..........(.การนับจำนวนภิกษุคือตรวจนับผู้ควรเข้าร่วมประชุม ไม่ใช่ผู้มีสีลวิบัติ หรือผู้กำลังถูกลงโทษยกวัตร ทั้งหมดอยู่ในหัตถบาส ) เมื่อทุกกิจเรียบร้อยแล้ว ก็แจ้งคณะสงฆ์อนุญาตให้มีการสวดปาฏิโมกข์
...........เมื่อที่ประชุมพร้อม ก็จะเริ่มสวดเป็นคำบาลี มีสวดสอบถามความพร้อม ของบุพพกรณ์บุพพกิจเป็นคำบาลี ผู้เข้าประชุมก็จะแจ้งให้ทราบจบแล้วก็เข้าสู การสวดบทนำ แจ้งวิธีการฟังพระปาฏิโมกข์ แล้วก็เริ่มสวดปาราชิก 4จนจบก็สอบ ถามถึงปาริสุทธิของผู้เข้าประชุม ถ้าไม่มีปัญหาก็ผ่านไปสวดสังฆาทิเสส 13 ข้อต่อไป จบสังฆาทิเสส ก็สอบถามปาริสุทธิเช่นกัน สวดบอกวิธีออกอาบัติ โดยย่อให้ทราบด้วย ถ้าไม่มีภิกษุต้องอาบัติ ทักท้วง ก็ผ่านไปสวดหัวข้อ ต่อไปจนจบ 227 ข้อ
...........ช่วงที่สวดจะมีการสอบทานผู้สวดด้วยว่าสวดถูกอักขระพยัญชนะหรือ ไม่ สวดผิดให้หยุดย้อนไปสวดใหม่ จึงต้องมีผู้สอบทานไปด้วยขณะสวด มีคน ถามว่าฟังปาฏิโมกข์ได้บุญมากใช่ไหม อันนี้ต้องถามว่าแล้วฟังเพื่ออะไร ถ้าฟังเพื่อจะเอาบุญ ก็ไม่น่าจะได้ เพราะไม่มีกิจกรรมไหนทำให้เกิดบุญ แต่ ที่พระประชุมสวดปาฏิโมกข์ ก็เพื่อให้พระทบทวนศีล 227 ข้อกัน ศีลมากข้อ ต้องหยุดทบทวนกันทุก 15 วัน การทบทวนต้องรู้จักศีลทุกข้อ ฟังสวดไป นึกทบทวนตัวเองได้ละเมิดศีลข้อไหนบ้าง ศีลที่แสดงอาบัติแล้วหลุดไป ไม่ ค่อยมีปัญหา เพราะกำหนดให้แสดงอาบัติก่อนเริ่มประชุมแล้ว แต่ปาราชิก สังฆาทิเสส อนิยต นิสสัคคียปาจิตตีย์ แสดงอาบัติไม่หลุด เพราะมีวิธีออก อาบัติเฉพาะ ส่วนปาราชิกนั้นล่วงแล้วไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุม แล้วอย่างนี้จะไป เรียกหาบุญจากตรงไหน คนจะได้บุญน่าจะเป็นผู้สวดมากกว่า
.......อ่านหนังสือได้ไหม หาคนท่องจำไม่มี เขามีบันทึกเทปด้วย ฟังจาก เทปก็น่าจะดีกว่าอ่านหนังสือ เรื่องนี้คงตอบไม่ได้ ให้คณะสงฆ์ท่านตอบเอง จะเหมาะกว่า ส่วนตัวแล้วเห็นว่าไม่เหมาะ ใช้แทนการ  สวดไม่ได้ ยกตัวอย่าง วัดมีพระบวชใหม่ สวดอภิธรรมไม่ได้ งานศพขอเปิดเทปแทน โยมโอเคไหม อาตมา บวชใหม่ให้พรไม่ได้ อ่านยถาสัพพีอวยพรให้พอใหม ทุกคนตอบได้อยู่แล้ว ทางที่ดีรีบท่อง      บ่นเถอะครับ เดือนเดียวก็สวดได้ อย่างช้าก็ 3 เดือน ได้แน่นอน 

...........หมายเหตุ เรื่องปาฏิโมกข์ มีรายละเอียดในหนังสือภิกขุปาฎิโมกข์ หามาอ่าน ศึกษารายละเอียดได้ ถ้ายังไม่พอหาหนังสือวินัยมุขเพื่อดูวิธี การทำสังฆกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น กระผมเขียนถึงเรื่องนี้ ไม่ได้ มีเจตนาจะสอนสังฆราชหรอก บังเอิญมีญาติพี่น้องท่านบวชใหม่ก็สนทนากัน ถึงกิจที่พระท่านต้องทำ เท่านั้นเอง ก็บันทึกเอาไว้ เผื่อมีคนถามอีกจะได้ตอบ เหมือน ๆเดิม