วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

หัดแต่งกาพย์



.......วันนี้ 28 มิถุนายน 2561 อยากเล่าประสบการณ์การแต่งกาพย์สู่กันฟัง โดยเฉพาะท่านที่ชอบอ่านบทร้อยกรองที่กระผมเขียน ซึ่งแต่งด้วยกาพย์มาก กว่าร้อยกรองชนิดอื่น บททักทาย อวยพรวันเกิด บันทึกเรื่องราว ชอบใช้กาพย์ มากกว่าโคลงกลอน สาเหตุเพราะถนัด โดยเฉพาะกาพย์ยานี กาพย์ชนิด อื่น ๆ ก็แต่งบ้างแต่ไม่มาก


.......แต่งกาพย์ก็เหมือนร้อยกรองชนิดอื่น ๆ นั่นแหละ สิ่งแรกคือจดจำแผน ผังบังคับ บทกาพย์ยานีที่ช่วยผมจำแผนผังบังคับได้ดี...ได้แก่
.......พระเสด็จโดยแดนชล.........ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
........กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย.......พายอ่อนหยับจับงามงอน ฯ
........ทบทวนแผนผังบังคับจากบทนี้ บทหนึ่งมี 2 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรควางข้างหน้า 5 คำ ข้างหลัง 6 คำ รวมวรรคหน้า + หลัง บาทละ 11 คำ เวลาอ่านจังหวะจะเป็น 2-3 และ 3-3 เช่นนี้ทุกบาท สังผัสนอกคือบังคับว่า.....
........สัมผัสบังคับ คำท้ายวรรคที่หนึ่ง ส่งให้คำที่ 3 วรรคที่ 2
........สัมผัสบังคับ คำท้ายวรรคที่ 2 ส่งสัมผัสห้ำท้ายวรรคที่ 3 จบบังคับ
........คำท้ายบทจะส่งสัมผัสให้บทถัดไป ตรงคำท้ายวรรคที่ 2
........ข้อสังเกต วรรคที่ 3 และวรรคที่ 4 ไม่มีบังคับสัมผัสแบบกลอนแปด
........ความไพเราะของกาพย์ยานี นิยมใช้สัมผัสในช่วย ตัวอย่างที่ยกมาจัด
เป็นกาพย์ที่แต่งได้ไพเราะมาก
.........1..วรรคที่ 1 สัมผัสพยัญชนะ ด 3 คำ
.........2. วรรคที่ 2 สัมผัสพยัญชนะ ฉ 2 คำ
.........3. วรรคที่ 3 สัมผัสพยัญชนะ ก 2 คำ พยัญชนะ พ 2 คำ และมี
สัมผัสสระเสียง แอว 2 คำ
........4. วรรคที่ 4 มีสัมผัสเสียงสระ อับ 2 คำ สัมผัสพยัญชนะ ง 2 คำ
........หมายเหตุ สัมผัสในที่เกิดมากมายเช่นนี้ มิใช่กฏหรือข้อบังคับ แต่เป็นรสนิยมของผู้แต่ง ท่านทราบกาพย์ยานี จะมีความไพเราะมากขึ้น ถ้า
........มีสัมผัสใน ประเภทสัมผัสพยัญชนะ มากกว่าสัมผัสสระ
........เสียงท้ายวรรคในบทหนึ่ง ๆ เป็นไปตามธรรมชาติ การอ่านทำนองเสนาะจะคล่องรื่นไหลดี ถ้าวรรคที่ 2 ลงด้วยเสียงสูง โดยเฉพาะเสียงจัตวา วรรคอื่น ๆส่วนมากมักเป็นเสียงสามัญ ส่วนเสียงอื่นก็มีบ้าง
.........ลองแต่งกาพย์ยานี..........บังคับมีตามแผนผัง
.........สิบเอ็ดคำระวัง................แต่งให้ครบตามกระบวน
.........แต่งให้ครบจำนวนคำตามแผนผัง ไม่ได้นึกถึงความไพเราะ ได้สัมผัสในคู่เดียวคือ แผนผัง คำมันบังคับเสียง ผ 2 คำ จะลองเสริมสัมผัสในเพิ่ม
..........กรองกานท์กาพย์ยานี.......คำควรมีพบแผนผัง
..........สิบเอ็ดพากเพียรยัง...........ลงคำครบจบกระบวน
..........เสริมสัมผัสในมีทุกวรรค อ่านรื่นมากขึ้น เลยได้ข้อสรุปว่าแต่งกาพย์ยานี ต้องรู้จังหวะการอ่านออกเสียงของกาพย์ ตือ 2-3 และ 3-3 อย่าให้มีคำคร่อมจังหวะ เพราะจะอ่านสะดุด เช่น
..........พระเสด็จโดยแดนชล พระเสด็จ 3 พยางค์ แต่มีสองคำ เสด็จพยางค์แรกเสียง ลหุ ลงจังหวะกาพย์ 2 คำ เลยไม่ติดขัด
..........พระดำเนินโดยทางเรือ ดำ ถือเป็นลหุจริง แต่เสียงหนัก ทำให้คร่อมจังหวะต้องอ่าน พระดำ...เนิน โดยทางเรือ กลายเป็น 6 คำ ผิดฉันทลักษณ์วรรคหน้า 5 คำ จังหวะ 2+3
...........กาพย์ยานีสิบเอ็ด...........คำ กาพย์ยานี คร่อมจังหวะ 2+3
...........เฉลิมขวัญวันเกิด............คำ เฉลิมขวัญ อ่านแยกไม่ได้ คร่อมจังหวะ
...........สดุดีราชัน....................คำ สดุดี คร่อมจังหวะ
...........จากตัวอย่างจะพบว่า จำนวนคำวรรคหน้ากำหนดให้มี 5 คำ/พยางค์กาพย์ยานีสิบเอ็ด เฉลิมขวัญวันเกิด และคำ สดุดีราชา จำนวนคำครบตามบังคับแต่อ่านจังหวะ 2-3 ไม่รื่นติดจังหวะต้องอ่านฉีกคำ กาพย์ยา...นีสิบเอ็ดเฉลิม...ขวัญวันเกิด สดุ...ดีราชา อ่านได้แต่ดู ตลกดี จัดคำลงให้พอดีกับ
จังหวะจะอ่านเพราะกว่า
...........นับคำกาพย์ยานี อ่าน 2-3 ได้
...........เฉลิมวันเกิดนุช...เฉลิมอ่านลำพังไม่ต้องพ่วงคำขวัญ
...........ราชันสดุดี..........อ่าน2-3 ได้
...........กรณีวรรคหลังกำหนดมี 6 คำ จังหวะ 3-3 ก็ควรเลือกคำลงให้พอดีถ้ามีคำคร่อม ก็จะทำให้อ่านสะดุด ไม่เพราะ เช่น
...........กระบวนจะยาตรา.........มหากษัตริย์ดำเนิน
...........ชลมารคพระก็เพลิน......ชมปลาชมนกมากมี
...........ปลาชะโดสวาย.............ปลากรายปลาเค้าแปลกสี
...........ปลาสลาดกระดี.............ปลาเสือปลาแรดกดคัง
...........จำนวนคำใส่วรรคหน้า 5 วรรคหลัง 6 บังคับสัมผัสก็ตามแผน แต่อ่านยังไงก็ไม่เป็นกาพย์ยานี 11 ให้ เพราะจังหวะคำวางไม่ดีนั่นเอง ลองปรับจังหวะให้เป็น 2-3 และ 3-3 ดู
............กระบวนจะยาตรา อ่าน 2- 3 ได้.....ขัตติยาจักดำเนิน อ่าน 3-3 ได้
............ชลมาร์คพระเพลิดเพลิน อ่าน 2-3 ได้ ปรับคำนิดหน่อยให้สัมผัส พ
.............มัตสยานานามี อ่าน 3-3 ได้
.............ชะโดแลสวาย อ่าน 2-3 ได้
.............งามปลากรายเค้าหลากสี อ่าน 3-3 ได้
.............สลาดปลากระดี่...อ่าน2-3 ได้
.............แรดกดคังโน่นเสือปลา อ่าน 3-3 ได้
.......กระบวนจักยาตรา................ขัตติยาจักดำเนิน
.......ชลมาร์คพระเพลิดเพลิน........มัตสยานานามี
.......ชะโดแลสวาย.....................งามปลากรายเค้าหลากสี
........สลาดปลากระดี่..................แรดกดคังโน่นเสือปลา
........พอจัดคำลงจังหวะได้ อ่านก็เป็นกาพย์ยานี 11 ได้ทันทีเหมือนกัน แสดงว่าจังหวะของกาพย์ยานี 11 สำคัญไม่น้อย เวลาฝึกแต่ง นอกจากจะจดจำจำนวนคำแล้ว ยังต้องรู้จังหวะแต่ละวรรคด้วยจะช่วยให้กาพย์ อ่านง่ายขึ้น
.........สรุปสาระจากเรื่องที่นำเสนอคือ แต่งกาพย์ยานี 11 ทุกบาทมีจังหวะเป็น2-3 และ 3-3 คล้ายกันตลอด ผู้ฝึกแต่งควรวางคำให้ตรงจังหวะการอ่านด้วย จะช่วยให้กาพย์ที่แต่งอ่านคล่องมากขึ้น กาพย์จะอ่านเพราะถ้ามีสัมผัสในย จะใช้สัมผัสสระก็ดี สัมผัสพยัญชนะ ก็เพราะ กวีที่แต่กาพย์ยานี อ่านเพราะมาก ๆ พบว่าท่านนิยมสัมผัสในเป็นสัมผัสพยัญชนะมากกว่าสัมผัสสระ......... ดูกาพย์อย่างอื่นมั่ง

ลองแต่งกาพย์สุรางคนางค์

.......ผมใช้วิธีเดิม ๆ ครับ คือหาบทกาพย์ที่จำได้มาศึกษาแผนผังบังคับ เคยดูแผนผังกาพย์สุรางคนางค์ จะมี 4 บรรทัด บรรทัดแรกวางไว้วรรคเดียว ที่เหลือวาง 2 บรรทัดบทที่จำได้ดีจากกาพย์พระไชยสุริยาครับ
................................พระชวนนวลนอน
เข็ญใจไม้ขอน ...........เหมือนหมอนแม่นา
ภูธรสอนมนต์..............ให้บ่นภาวนา
เย็นค่ำร่ำว่า.................กันป่าไภยพาล
..............................วันนั้นจันทร
มีดารากร..................เป็นบริวาร
เห็นสิ้นดินฟ้า...............ในป่าท่าธาร
มาลีคลี่บาน................ใบก้านอรชร
.............................. เย็นฉ้ำน้ำฟ้า
ชื่นชะผะกา............... วายุพาขจร
สาระพันจันทน์อิน.......รื่นกลิ่นเกสร
แตนต่อคลอร่อน.........ว้าว่อนเวียนระวัน
..........กำหนดแต่งวรรคละ 4 คำ จำนวน 7 วรรค ลงตัว 28 คำตามชื่อกาพย์ วางจังหวะคำแบบ2-2 ทุกวรรค สัมผัสนอกหรือบังคับ ดังนี้
.........1. คำท้ายวรรคแรกส่งให้คำท้ายวรรคที่ 2 จบ ไม่ต่อไปวรรค 3
.........2..คำท้ายวรรค 3 รับสัมผัสระหว่างบท และส่งต่อคำท้ายวรรคที่ 5
.........3. คำท้ายวรรคที่ 5 ส้งสัมผัสให้คำท้ายวรรคที่ 6 จบสัมผัสบังคับ
.........กาพย์ท่านสุนทรภู่ แถมสัมผัสเกินมาที่ไหนบ้าง (คำท้ายวรรค 2....วรรค 3)อย่างด้วยก็ได้ บอกไว้ตรงนี้เพื่อทราบเฉย ๆ(คำท้ายวรรค 6 ....วรรค 7) แผนผังไม่ระบุให้มี ท่านสุนทรภู่แถมมา อ่านไพเราะดี จะเอา แผนผัง วางแบบนี้ จะดูง่ายไม่ตาลาย


.........ความไพเราะกาพย์ใช้สัมผัสในช่วย สัมผัสพยัญชนะใข้ได้ทุกวรรค ส่วนสัมผัสสระควรระวังอย่าใช้เสียงสระเดียวกันกับสระที่เป็นสัมผัสบังคับ เหมือนตัวอย่างที่ยกมา ทำให้สัมผัสเลื่อน สัมผัสเฝือ ท่านสุนทรภู่ชอบสัมผัสในอยู่แล้วท่านก็แต่งเอาไพเราะเป็นสำคัญ ส่วนเรา ๆ แต่งตามแบบแผนไปก่อน เก่งแล้วค่อยลองนอกแบบ
.....................................................ลงธารชมปลา
..................ยากนักแลหา..............น้ำมันขุนมัว
...................เห็นน้ำกระเพื่อม.........แลเลื่อมชวนหัว
..................คงจักเห็นตัว................กลับเป็นก้อนดิน
......................................................เด็กยิงกระสุน
..................หนังยางยิงวุ่น..............เสียวหัวลูกหิน
..................โดนเจ็บจริงแท้.............คงแย่ลูกบิน
...................แสบแสนสุดสิ้น............คงได้ด่ากัน
.......................................................ลอยเต็มท่าธาร
....................ถุงซองปลาหวาน.........ขยะสาระพัน
....................พลาสติคกระดาษ.........ประหลาดนักขัน
.....................อีกหน่อยคลองตัน.......ขยะเต็มมากมาย
........................................................อยากให้ช่วยกัน
.....................จัดที่จัดสรร................ขยะเหลือหลาย
.....................ทิ้งให้เป็นที่.................มิมีวุ่นวาย
......................ขจัดอันตราย.............ขยะควบคุม
........................................................บ้านเรือนสดใส
....................ขยะหายไป..................มลพิษมิรุม
.....................ต้นหญ้าเริ่มงอก...........ไม้ดอกไม้พุ่ม
.....................มินานครอบคลุม...........เต็มบ้านเต็มเมือง
........................................................จัดระเบียบดี
.....................คัดรูปคัดสี...................ประเทิงประเทือง
....................งามตางามใจ.................ดอกไม้ขาวเหลือง
....................แลรุ่งแลเรือง.................จัดให้ดูงาม

..........กาพย์สุรางคนางค์ แต่ยากตรงจัดสัมผัสตามแผน ถ้าจัดวางแบบนี้จะสังเกตง่ายหน่อยท้ายวรรคหนึ่งส่งท้ายวรรคสอง ตัด ท้ายวรรคสามรับสัมผัสบทก่อนหน้าและท้ายวรรค ห้าวรรคห้าส่งให้วรรค หก และตัดแค่นี้ แถวหน้า 3 วสรรค มีส่งสัมผัสวรรคเดียวคือวรรค 4
ข้อสังเกตเพื่อจำง่าย มีสัมผัส 3 เส้นทางคือ

..............1. คำท้ายวรรคที่ 1 ส่งคำท้าย ววรค 2 ตัดไม่ส่งต่อ

..............2. คำท้ายวรรค 3 รับสัมผัสบทก่อนน้า และส่งให้คำท้ายวรรค 5 ส่งต่อไปท้ายวรรค หก

..............3. คำท้ายวรรค 4 ส่งคำสองวรรคห้า

.............กาพย์จังหวะ 2-2 อ่านสนุกดี จัดสัมผัสก็ไม่ยากเกินไป น่าจะลองแต่งเล่นดู ชมนก ชมไม้

ชมปลา ก็ง่ายดี ลองดูครับ


ลองกาพย์ฉบังมั่ง

..........ฉบัง 16 เป็นกาพย์ที่ผมจำได้มากมาย จะเอามาเป็นแบบศึกษาแผนผังบังคับเลยไม่ยากจากบทสวดมนต์ประจำสัปดาห์ครับ จากบทสวดมนต์วันศุกร์ที่โรงเรียนน่ะครับ


สวดระลึกธรรมคุณ

(นำ) ธรรมะคือคุณากร...............(รับพร้อมกัน) ส่วนชอบสาธร

ดุจดวงประทีปชัชวาล...............

แห่งองค์พระศาสดาจารย์...............ส่องสัตว์สันดาน

สว่างกระจ่างใจมนท์...............

ธรรมใดนับโดยมรรคผล...............เป็นแปดพึงยล

และเก้ากับทั้งนฤพาน...............

สมญาโลกอุดรพิสดาร...............อันลึกโอฬาร

พิสุทธิ์พิเศษสุกใส...............



เป็นกาพย์ฉบัง 16 สบายผมเลย การจัดจังหวะ 2 คำตลอด เป็น 2-2-2....2-2...2-2-2 เป็น 3 วรรครวมคำ 6+4+6 เป็น 16 คำพอดี สัมผัสบังคับ ดังนี้

.........1. คำท้ายวรรคแรก ใช้รับสัมผัสระหว่างบทด้วย

.........2. สัมผัสในบทมีคู่เดียวคือ คำท้ายวรรที่หนึ่ง ส่งให้คำท้ายวรรคที่ สอง

........จากตัวอย่าง คงแต่งไม่ยาก เพราะจังหวะคำเป็นคู่ ๆ ชมนก ชมปลา ง่ายดี

เพราะส่วนมากชื่อพยางค์เดียว

..........ปลาช่อนปลาหมอปลาหลด..............ปลานิลปลากด

...........ปลาบู่ปลาคังปลากราย

...........นกเขานกขาบปีกลาย.......................นกเจ่าตัวร้าย

...........นกยางอีลุ่มกาแวน

..........สรุปจะแต่งกาพย์ฉบังให้นึกบทสวดมนต์เอาไว้แทนแผนผังบังคับ จังหวะคำเป็นคู่ ๆ 3 วรรค 6-4-6 คำ สัมผัสบังคับในบทมีคู่เดียว คำท้ายวรรคหนึ่ง ไปคำท้ายวรรคสองคำท้ายบทส่งให้คำท้ายวรรคที่สองบทถัดไป....สัมผัสในนิยมสัมผัสพยัญชนะมากกว่าสัมผัสสระ



เมือผมฝึกแต่งร่าย


ถ่ายที่สวนนงนุช พัทยา

.........สมัยไปเรียนเทศน์ พระอาจารย์แนะนำว่าการเทศน์ที่ดี ต้องเลือกสรรถ้อยคำ ที่สุภาพ เรียบร้อย ถูกต้องในเนื้อหา ท่วงทำนองไพเราะ น่าสนใจ ก็เข้าใจนะที่ท่าน แนะนำ แต่ทำไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะสำนวนโวหารที่มีสัมผัสต่อเนื่องกันไป ท่านก็แสดง เป็นตัวอย่าง บ่อย ๆ...เช่น

.........สวัสดีญาติโยมทั้งหลาย....ทุกท่านหมายสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา ณเพลา นี้อาตมภาพจักสาธก และหยิบยกเอาคำพุทธภาษิต.....ที่โบราณลิขิตเป็นคำบาลีเอาไว้ มีใจความว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ...อัตถวโรแห่งภาษิตอันแยบยล ความว่าตนแลเป็น ที่พึ่งแห่งตน......สาธูชนทั้งหลาย....อาตมภาพขอขยายอรรถให้ชัดเจน.....โยมจะได้ แลเห็นแหละเข้าใจได้โดยง่าย.....ดังจะสาธยายธรรมต่อไป..ฯลฯ ด้วยประการฉะนี้ ฝึกเทศน์อยู่สามปี ได้บ้าง ตกหล่นบ้าง ก็พยายามปรับปรุงแก้ไข เมื่อสอนภาษาไทย
ถึงได้ทราบสำนวนการแสดงธรรมเทศนาที่พระอาจารย์สอนให้เทศน์ ก็คือคำร้อยกรอง ประเภทร่ายยาวนั่นเอง นึงถึงทีไรก็อดภูมิใจไม่ได้

.........เมือไปเปิดตำราร้อยกรองหาอ่านฉันทลักษณ์คำประพันธ์ชื่อ ร่ายยาว พบว่าเป็น คำประพันธ์ที่เน้นสำนวนคำสละสลวย จำนวนคำแต่ละวรรค มากบ้าง น้อยบ้าง ไม่เท่ากัน มีการร้อยคำระหว่างวรรคต่อเนื่องกันไปจากคำท้ายวรรคหน้า ไปยังคำที่1/2/3 วรรคถัด ไป จะยาวกี่วรรดไม่จำกัด ร่ายยาวนี้ใช้แต่งเทศน์ หรือบทสวด ที่ต้องว่าเป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ เทศน์ธรรมวัตร เมื่อจบความตอนหนึ่งๆมักลงท้ายด้วยคำว่า นั้นแล ฉะนี้แล นั้นเถิด นี้แล ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้น เมื่อจะเขียนแผนผังรายยาว จะเป็น ดังนี้


........เห็นแผนผังแล้วก็ชักคันไม้คันมือ ขอลองหน่อย เพราะยังไงก็คงง่ายกว่าเทศน์ เนื่องจากมีเวลาแก้ไข เทศน์ว่าปากเปล่านี่นา แก้ไม่ได้ ผิดก็ผิดไปเลย ขอลองหน่อย
.......โอมจะขอสาธยาย..........รายอย่างยาวคราวตรึกจะศึกษา........แลหาแผนผังฉันท ...ลักษณ์ประจักษ์ได้.......ใช้คำมากหลากสีสันพรรณนาความ........ตามกำหนดห้าคำนั่น ...อย่างน้อยดอก.......บอกเคยแต่งวรรคยี่สิบห้าหาลงยาก..........คนพูดมากเขียนเลยยาว ...สาวไปเรื่อยเฉื่อยดังลมพัด.......ส่วนสัมผัสมิหลงลืมท้ายทุกวรรคส่ง........ตรงคำต้นวรรคถัดไป....คำไหนก็ได้อย่าใกล้ท้ายวรรคแหละจึ่งควร.....ครบกระบวรร่ายยาวถึงคราวจะจบลง... ฉันนี้แล

..........ร่ายสุภาพ ก็คือร่ายธรรมดา ๆ ที่ครูอาจารย์ท่านกำหนดไว้ แต่งวรรคละ 5 คำ ยาวกี่วรรคก็ได้ ระหว่างวรรคร้อยสัมผัสต่อเนื่องกันไปตลอด ระหว่างคำท้ายวรรคหน้ากัน คำที่1/2/3 วรรคถัดไป จนกว่าจะจบ ให้จบด้วยโคลงสองสุภาพ หรือโคลงสามสุภาพ ดูจาก
แผนผังบังคับร่ายสุภาพจะเป็นดังนี้


........ก็ขอลองเขียนร่ายสุภาพ ดูบ้าง


.....สาธุจะข้อไหว้...คุณพระไตรพระพุทธ...พิสุทธคุณทั้งสาม....ตามตำนานบอกไว้ ..นัยบุพเพนิวาสน์ สามารถรู้จุติ.........วิชาชาญอุบัติ.........ปรมัตถ์กำจัด..ขัดอาสวะสิ้น.....หมดมลทินเกาะติด....จิตพิสุทธิ์พิสัย.....อัฏฐนัยวิทยา.....วิปัสสนาญาณ....ชาญมโนมยิทธิ......อติทิพย์โสต....รุ่งโรจน์ชาญเจโต........
ฯลฯ ทรงคุณจรณา.......เตวิชชาพรั่งพร้อม....งามหมู่พระ
แวดล้อม......ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ แลนา
.........ร่ายดั้น
.................ร่ายดั้นก็คือร่ายสุภาพ ถ้าจบด้วยโคลงสองสุภาพ ก็ถือเป็นร่ายสุภาพ ถ้าจบโดย โคลลงสองดั้น ก็เรียก ร่ายดั้น นึกว่าจะมีอะไรพิเศษถึงเรียกร่ายดั้น เมื่อเราเรียนโคลง ก็จะมีโคลง สุภาพ มีโคลงดั้น และโคลงกลบท โคลงที่นำมาต่อท้ายตอนจบเวลาแต่งร่ายมี 2 อย่างคือโคลง สองสุภาพ และโคลงสองดั้น เลยเป็นตัวกำหนดชื่อร่าย จบด้วยโคลงสองสุภาพ เรียกร่ายสุภาพ จบด้วยโคลงสองดั้น เรียกร่ายดั้น

.........(ทรงคุณจรณา)... เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหม่ะรัแวดล้อม ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ แลนา ที่ตัดมานี้
นับในวงเล็กด้วย คือโคลงสามสุภาพ ถ้านับแค่ เตวิชชาพรั่งพร้อม ไปจนจบ ก็เป็นโคลงสองสุภาพ
ยกมาแล้วก็จะแปลดงให้เป็นโคลงดั้น ตรงไหน
............1. ตัด วรรสุดท้าย 4 คำ เหลือสองคำคือ ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระแวดล้อม ยิ่งล้วน
............2.ย้ายคำโทให้ไปอยู่วรรคหน้า
................เตวิชชาพรั่งพร้อม....งามหมู่พระล้วนล้อม....ยิ่งงาม (เติมคำงาม อ่านได้ความพอดี)
ก็ได้โคลงสองดั้นตามต้องการ
.............3. โคลงสามดั้น..(ทรงคุณจรณา)... เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระล้วนล้อม ยิ่งงาม
............นำต้นแบบโคลงสองดั้นและโคลงสามดั้นมาให้ดุ
.............4. นำโคลงดั้นที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วในข้อ 2 หรือข้อ 3 ไปต่อท้ายร่ายสุภาพ ตรงที่ป้าย
ตัวอักษรสีแดง ก็จะจบร่ายด้วยคำว่า.....
.....เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระแวดล้อม ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ แลนา เรียกชื่อว่าโคลงสองสุภาพ
.... เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระล้วนล้อม ยิ่งงาม ดัดแปลงคำท้ายบท ให้มีคำโทคู่ และวรรค
ท้ายตัดเหลือ 2 คำ เรียกโคลงสองดั้น
เปรียบเทียบแผนผัง โคลงสอง

.....ทรงคุณจรณา.. เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระแวดล้อม ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ แลนา เรียกชื่อว่า

โคลงสามสุภาพ

......ทรงคุณจรณา... เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระล้วนล้อม ยิ่งงาม ดัดแปลงคำท้ายบท
ให้มีคำโทคู่ และวรรคท้ายตัดเหลือ 2 คำ เรียกโคลงสามดั้น

เปรียบเทียบแผนผังโคลงสาม
.........จากตัวอย่าง และแผนผัง จะเห็นได้ชัดเจนว่า จำนวนคำที่ใช้ ปกติวรรคละ 5 คำ และวรรค
ท้ายบทให้ 4 คำ ถ้ามี 3 วรรค ก็เป็นโคลงสอง มี สี่ วรรคเป็นโคลงสาม
.........ข้อสังเกต วรรคสุดท้ายมี 4 คำ เป็นโคลงสุภาพ วรรคสุดท้ายมี สองคำเป็นโคลงดั้น
.........โคลงดั้น ตัดคำวรรคท้ายออกสองคำ คำโทจะย้ายไปวรรคหน้า ทำให้มี โทคู่ สองคำที่
เหลือจึงคือแค่ คำเอกและคำสุภาพ
..........สัมผัสบังคับ ดูตามแผนผังก็พอทราบได้ โคลงสามที่เพิ่มมา 1 วรรค 5 คำ คำท้ายจะส่ง
สัมผัสให้วรรคถัดไป ตรงคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 คำท้ายวรรค 2 เป็นคำโท ส่งสัมผัสให้คำท้ายวรรค
ถัดไปที่เป็นคำโทเช่นกัน คำท้ายบท ส่งสัมผัสให้วรรคแรกบทถัดไป คำที่1 2 หรือ 3
...........กำลังเขียนถึงร่าย อยู่ ๆ ก็ตัดเข้าโคลงสองโคลงสาม เพราะคำลงท้ายของร่าย ต้องใช้
โคลงสองหรือโคลงสาม ถ้าจบด้วยโคลงสุภาพ ก็เป็นร่ายสุภาพ ถ้าจบด้วยโคลงดั้น ก็เรียกร่ายดั้น
ดังนั้นโคลงจึงเป็นตัวกำหนดชื่อร่ายสุภาพหรือร่ายดั้น
..........สรุปการแต่งร่าย มีสองรูปแบบคือ ร่ายที่ใช้ในการแสดงธรรมเทศนา ที่เรียกร่ายยาว ไม่ได้
จำกัดจำนวนคำต่อวรรค จัดให้พอดีกับการแสดงและการหายใจ ตกระหว่าง 5-15 คำกำลังพอดี
สัมผัสระหว่างวรรค จากคำท้ายวรรคหน้า ส่งให้วรรคถัดไป คำที่ 1 2 3 4 5 ตามแต่จะพอใจ แต่ก็
ไม่ใกล้คำสุดท้ายวรรคเกินไป แต่ยาวกี่วรรคก็ได้ จนกว่าจะจบเรื่อง และจบลงด้วยคำ เอวังก็มีด้วย
ประการฉะนี้ หรือใช้คำ ฉะนี้แล นั่นแล ก็ได้
.........ร่ายที่มีรูปแบบ กำหนดค่อนข้างชัดเจน วรรคละ 5 คำ แต่งยาวกี่วรรคแล้วแต่พอใจ ต้องมี
ส่งและรับสัมผัสระหว่างวรรคต่อวรรคไปตลอดจนจะจบเรื่อง ค่อยยกโคลงสามหรือคลองสองปิด
ท้ายแสดงว่าจบบทร่าย โคลงสองหรือโคลงสามที่นำมาปิดท้าย ถ้าเป็นโคลงสุภาพ ก็เรียกร่ายนั้น
ว่าร่ายสุภาพ ถ้าเป็นโคลงดั้น ก็เรียกร่ายดั้นด้วย
สวัสดีครับ 

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

หัดแต่งฉันท์


นกหรือหมู นะ ไปเที่ยว


..........เขียนเล่าประสบการณ์ครั้งหัดแต่งกลอน กาย์และโคลงแล้ว ยังขาดเรื่องฉันท์ ถามว่าเคยฝึกแต่งฉันท์ไหม เคยซิครับ หัดมากกว่าร้อยกรองอย่างอื่นด้วย เพราะมัน ยากจริง ๆ อย่างอื่นหัดวันสองวันแต่งได้ แต่ฉันท์นี่เล่นเป็นสัปดาห์เลย แถมลืมง่าย ด้วย คงเพราะเบื่อไม่อยากจำ ต่อมาเลยใช้วิธีบังคับ เขียนเล่านิทานมันไปเลย เลย ได้นิทานคำฉันท์มา 2 เรื่อง คือท้าวกำกาดำคำฉันท์ และปลาบูทองคำฉันท์ ตลกดี สมน้ำหน้าอยากแต่งยากนัก ยังไม่สะใจเอาอีก ขุนทึงขุนเทืองคำฉันท์ .....ตอนนี้ไม่กลัวมันแล้วจะฉันท์โหดขนาดไหนก็ไม่กลัว ผมฝึกอย่างไร.....
...........ทำไมกลัวแต่งฉันท์นัก ถามตัวเองได้คำตอบว่า....
...........(1) มีหลายฉันท์เหลือเกิน จะแต่งอะไรดีล่ะ ในตำรามีมากมายก็จริง แต่ที่ นิยมแต่งไม่กี่ชนิดหรอก เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ง่ายกว่าเพื่อนน่าจะเป็นอินทรวิเชียรฉันท์ ผมก็เริ่มที่ฉันท์นี้
...........(2) บังคับให้ใช้คำ ครุ ลหุ เห็นชื่อก็ถอดใจแล้ว อะไรเป็น ครุ อะไรเป็น ลหุ ต่อมาก็ทราบความจริงว่า ทุกคำ ทุก พยางค์ มันเป็น ครุ ลหุ อยู่แล้ว เราใช้คำโดย ไม่เคยถามตนเองเลยว่าคำนี้เป็น ครุ หรือ ลหุ โตจนแต่งงานมีลูกหลายคน ยังแยก ไม่ออก พอเอาจริงวิเคราะห์คำที่เราใช้นั่นแหละ มีคำอยู่ 2 ประเภท
พวกไม่มีตัวสะกด
...........คำในแม่ก กา ประสมสระสั้น เรียกคำลหุ มีเสียงเบา ถ้าประสมสระยาว เรียก คำครุ มีเสียงหนัก เช่น กะ-กา ติ-ตี ดุ-ดู
...........คำมีตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกว กก กด กบ ไม่มีคำลหุ เป็นครุล้วน
...........พอศึกษาครุ ลหุ เข้าใจดีแล้ว ทุกคำพูดที่ใช้ ก็บอกได้คำไหนเป็นครุ คำไหน เป็น ลหุ ถึงตอนนี้ที่เบื่อเรื่อง ครุ ลหุ ก็หมดไป
............(3) จำแผนผังบังคับไม่ได้ ติดมาจากตอนเรียน ครูเขียนผังใส่กระดานให้ดู ความจริงไม่ต้องไปหัดวาดตามครูหรอก นั่นครูสอนนักเรียน แต่เราจะเขียนฉันท์ เลือก ตัวอย่างมาซักบทสองบทก็ใช้ได้แล้ว เช่นจากบทสวดมนต์
.....................องค์ใดพระสัมพุทธ.......สุวิสุทธสันดาน
................ตัดมูลเกลศมาร..................บ่มิหม่น มิหมองมัว
..............จากตัวอย่าง วรรคแถวหน้าที่ 5 คำ คำที่ 3 เป็นลหุ วรรคด้านหลังมี 6 คำ ครุ ลหุ อย่างละครึ่ง คำที่ 1-2 และ 4 เป็นลหุ
ตรงกับแผนผังบังคับของ อินทรวิเชียรฉันท์ 11


...........ด้วยวิธีนี้เราสามารถท่องจำคำฉันท์อื่น ๆ และเอามาใช้วิเคราะหฺแผนผังและบังคับได้โดยง่าย เช่นบท ปางเมือ่พระองค์ปรมพุทธ เป็นวสันตดิลกฉันท์ เป็นต้น
.............(4)ปัญหาขัดข้องอย่างแรง คือไม่ลงมือฝึกซะที ผัดวันแล้ววันเล่า ต้อง กัดฟันแหละถึงจะได้ฝึก พอฝึกมาก ๆ ก็ติดเอง
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
……….ผมเริ่มฝึกอินทรวิเชียรฉันท์ 11 เพราะรูปร่างคล้ายกาพย์ยานี 11 มาก ลองสังเกตดูครับ
กาพย์ยานี 11
.................พระเสด็จโดยแดนชล.........ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
...........กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย............พายอ่อนหยับจับงามงอน ฯ
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
.................องค์ใดพระสัมพุทธ............ สุวิสุทธสันดาน
..........ตัดมูลเกลศมาร....................... .บ่มิหม่น มิหมองมัว

.........จำนวนคำเท่ากัน วรรคหน้า 5 คำ วรรหลัง 6 คำ จังหวะอ่าน 2-3 และ 3-3 เหมือนกันอีก ข้อแตกต่างคือ กาพย์ไม่บังคับครุ ลหุ แต่ฉันท์มีบังคับไว้ วรรคหน้าแทรก ลหุ ไว้คำที่ 3 วรรคหลัง คำที่ 1-2 และ 4 เป็นลหุ สัมผัสบังคับในบทมี 2 แห่งคือ คำ ท้ายวรรคแรก ส่งให้คำที่ 3 วรรคสอง คำท้ายวรรคที่สอง ส่งให้คำท้ายวรรคที่ 3 ระหว่างบทต่อบท คำทายบทแรก ส่งสัมผัสไปยังคำท้ายวรรคที่สองบทถัดไป
ลงมือฝึกแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ 11
........(1) ฝึกต่อคำ กลุ่มละ 5 คำ ให้คำที่ 1 -2 หรือ 3 รับสัมผัส
...........ต่อคำทีละห้า........มาลองเป็นไฉน........ไม่ยากนักลองดู....ก็จะรู้แปลกดี ........มีคนมาท้าทาย.......ง่ายหรือยากเชิญเลย.........เคยต่อเพียงสองคำ....พอจำได้ นึกขำ.......ลองทำนึกว่าหมู.........ดูแล้วมิง่ายเลย ฯ
............ลองฝึกกลุ่มละหกบ้าง.......ช่างยุ่งนักจักลองสรร.....สำคัญรับจับคำควร...ตามกระบวนการต่อคำ..........ทำเป็นแล้วก็มิยาก..........จะลำบากเพราะมิเคย
...........ฝึกต่อคำ ปกติเล่นกันทีละ 2 คำ เช่น พี่น้อง สองสาว ขาวผ่อง น้องนาง...ปรับมาเป็นต่อคำหลาย ๆพยางค์/คำ เอาไว้ใช้เวลานึกหาคำมาแต่งร้อยกรอง จะทำให้ นึกไม่ยาก และส่ง-รับ สัมผัสก็คล่อง
..........(2) ฝึกเลือกสรรคำสำหรับแต่งวรรคแถวหน้า จำนวน 5 คำ โดยให้คำที่ 3 เป็น ลหุ เป็นการพยิบวรรคหน้าของฉันท์มาฝึก เอาให้ชำนาญวางลหุคำที่ 3 ให้ได้ ...........ฝึกสรรจะนับคำ.........นำหน้าประกอบกัน..........คั่นกลางแหละคำเบา เขาขันเพราะสำเนียง......เสียงเพลงเพราะยิ่งนัก.....รักกันสมัคคี.... ดีใจเพราะพบพาน นานปีมิได้เห็น....เย็นจิตสนิทใน.......ใจหายมิวายห่วง.....ลงมือฝึกจริง ๆ จะพบว่า
มิยากที่จะกำหนด ลหุไว้ตำแหน่งคำที่ 3
..........(3) ฝึกเลือกคำสำหรับวรรคแถวหลังจำนวน 6 คำ ให้คำที่ 1-2 และ 4 เป็น ลหุ ค่อนข้างยาก ฝึกบ่อย ๆ ก็จะทำได้เอง ลองดู
.....ขณะนั่งมิใช่นอน.........ก็จะร้อนเพราะแดดแรง.........ฤจะแย่งหทัยเธอ...... มนะเพ้อพะวงหา........อุรพาละเมอหลง..........ก็พะวงมิรู้วาย......และขยายขจรไกล
..........ยากตรง 2 คำแรก ลหุ คู่ ค่อย ๆคิดหาไม่เกินความสามารถหรอก ได้สัก 5 กลุ่มคำก็ รู้แล้วว่าต้องวางอย่างไรจะตรงกับต้องการ 6 คำ ส่งและรับสัมผัสอย่างไร
..........(4) ฝึกจับคู่ วรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ แบบต่อคำ คำที่ 3 รับสัมผัส จะได้ฉันท์ คู่ละ 1 บาทพอดี
............เข้าป่าจะชมไพร...........เลาะไศลและแนวเนิน
............โน่นรุกขชาติชื่น...........แหละระรื่นสราญรมย์
.............มาลีก็เบ่งบาน.............มะลิลานพิลาสชม
.............แมงภู่วะวู่ว่อน..............เลาะขจรภิรมย์เชย
.............แต่นต่อมิรอช้า.............เพราะจะมาเสาะอาหาร
............ฝึกแบบนี้จะได้ทักษะการเลือกหาคำมาใช้ ฝึกวางคำลหุในตำแหน่งบังคับ และฝึก ส่ง-รับ สัมผัส ฝึกทีละ บาท ดูจะไม่ยากเกินไป
.............(5) ฝึก 2 บาท โยงสัมผัสให้เป้น ฉันท์ จากข้อ 4 ฝึกทีละบาท มาข้อ 5 ฝึกทีละ 2 บาท ให้มีสัมผัสระหว่างบาท จากคำท้ายบาทแรก ส่งให้คำท้ายวรรคแรก บาทถัดไป วรรพที่ 4 ไม่ต้องสัมผัส
............จำปีแหละจำปา..............มะลิลาผกากรอง
.............ลำเจียกกระเจียวปอง.......ก็จะเด็ดและเก็บกัน
ฝึกต่อ
..............ดอกดวนกะชวนชม...........ก็นิยมเพราะหอมหวน
...............บานชื่นจำปีชวน..............พิศชมภิรมย์ใจ
ฝึกต่อ
…………….งามพุทธชาติบาน.............ก็ละลานและหลากสี
...............จำปาแหละจำปี................ก็ระรื่นระเริงรมย์
............(6) ฝึกวางลหุในกลุ่มคำแบบต่าง ๆ การแต่งฉันท์ ยากเพราะบังคับลหุ บางฉันท์ลหุติด ๆกันหลายคำทำให้แต่งยากไปเลย ต้องฝึกบ่อย ๆให้ชำนาญ โดยนำแผนผังฉันท์ที่อยากแต่ง มาฝึกรวบรวมคำตามจำนวนคำแต่ละวรรค พร้อม กำหนดตำแหน่งครุ-ลหุให้ถูกต้อง ตัวอย่าง จะฝึกแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ไปหาแผนผัง มาดู ดังนี้



แผนผังการจัดคำของอินทรวิเชียรฉันท์มี 2 แบบ วรรคแถวหน้า 5 คำมีลหุตรงกลางวรรคแถวหลัง 6 คำ คำที่1-2และ4 เป็นลหุ ก็นำมาฝึกเล่น ได้
จัดกลุ่ม 5 คำ คำที่ 3 เป็นลหุ
...........ยินดีนะคุณพี่.............มีเงินสะดวกมาก.........ยากงานก็พากเพียร
ยากเรียนมิท้อถอย.........รอยบุญอดีตกาล......นานแล้วมิได้เจอ..เธออยู่สบายดี
เอามาฝึกแบบต่อปากต่อคำ สนุกดี ได้ฝึกวางคำลหุไปด้วย
จัดกลุ่มหกคำ ให้คำที่ 1-2 และ 4 เป็นลหุ
..........วิริยานะอาจารย์..........ก็จะทานติจีวร..........ผิจะสอนก็จักฟัง
ฤจะนั่งก็ยินดี........อรุโณสว่างแล้ว........มนแผ้วเจริญธรรม....ฤจะนำและสวดมนต์
เป็นการฝึกต่อปากต่อคำโดยนำแบบคำฉันท์วรรคหลัง 6 คำมาเล่น ยากหน่อย แต่ก็
ท้าทายดี
ลองแต่งให้ครบบท อินทรวิเชียรฉันท์ 11
..............เป็นคนก็พากเพียร.................ริจะเขียนจะอ่านสรรพ์
...........อ่านออกและเขียนกัน................ก็จะชาญชำนาญมี
..............อ่านออกและเขียนได้..............มนนัยก็เสริมศรี
............ทำการและงานดี......................จะฉลาดและแหลมคม
...............หากคร้านมิอ่านเขียน..............แหละจำเนียรมิควรสม
.............การงานมิรื่นรมย์.......................เพราะจะหนักและกินแรง

.........(7) ฉันท์อื่น ๆ มักจะวางครุ ลหุ แบบเดียวกับบาทที่ 1 บางครั้งก็พบฉันท์
ที่วรรคหน้าและวรรคหลังจำนวนคำเท่ากัน แถมวางครุลหุเหมือนกันอีก หยิบมาฝึก
ต่อคำเล่นได้สบาย ๆ เช่น




..........รูปแบบการวางครุ-ลหุ ของ มาณวกฉันท์ วรรคละ 4 คำ ครุล้อมลหุ 2 ไว้ตรง
กลาง วางเหมือนกันตลอดทุกวรรค จำวรรคเดียวใช้ได้ตลอด
เพลินอุรนัก.......จักจรไป.........ในชลธาร.........หาญจะดำลง.....ตรงขณะลอย
คอยนะสหาย........ว่ายก็สนุก........รุกก็จะเพลิน.....เกินจะประคอง....ลองนะพธู...ฯลฯ
ต่อคำกำหนดครุลหุ เลียนคณะมาณวกฉันท์ แบบนี้ก็แต่งมาณวกฉันท์ได้แน่
.............................มาณวฉันท์..............สรรคณะคำ
.............................สี่นะจะจำ................จังหวะละสอง
.............................ลงแหละนะคู่.............ดูกะทำนอง
.............................ตรงคณะคลอง...........อ่านก็เพราะดี
................................จังหวะเสนาะ...........เพราะขณะอ่าน
.............................เสียงจะผสาน.............รมย์จิตะมี
.............................ชื่นหทยา...................พาสุขศรี
..............................เย็นมนะที่..................ยินดุริยางค์





สาลินีฉันท์ 11 วรรคหน้าครุล้วน 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ วางแบบ ลหุ-ครุครุ สองครั้งได้ 6 คำพอดี
.........ฝึกต่อปากต่อคำเพื่อใช้แต่งสาลินีฉันท์ ต่อคำครุล้วน 5 คำ และกลุ่ม 6 คำแบบลหุครุครุ-ลหุครุครุ
ครุล้วน 5 คำ......แต่งฉันท์เรื่องมาก.....ยากที่บังคับ....จับวรรคทั้งห้า....ว่าหนักล้วนล้วน สมควรต้องฝึก......ตรึกตรองจงดี......มีคำมากมาย......วุนวายจับมา.....ห้าคำต่อกลุ่ม
....ฝึกแบบ ลหุครุครุ-ลหุครุครุ กลุ่ม 6 คำ จะทำการก็นานนัก......มิรู้จักนะชื่อไร......สะใบเองนะคุณพี่
มิรอรีจะรีบไป.....ก็ใครเขาจะรอเธอ........มิอยากเก้อก็รีบมา.......ทำนาหว่านผสานกัน
............ฝึกการสรรหาคำที่กำหนดครุลหุ ตามแบบบังคับของสาลินีฉันท์ได้แล้วทั้ง กลุ่ม5คำ และกลุ่ม 6 คำ แสดงว่าจะลองแต่งสาลินีฉันท์ ก้น่าจะไม่ยากเกินไป

ฝึกแต่งสาลินีฉันท์

............สั่งสมคำมากมี.........จะลองดีตริแต่งฉันท์
..........วรรคหน้าห้าคำนั้น.......ก็หนักล้วนสลับไป
...........แถวหลังก็หกคำ.........ลหุนำมิสงสัย
...........ยากหน่อยก็ทนได้.......สติมาก็ยินดี
.............ฉันท์ชนิดอื่น ๆ จะนำมาฝึกต่อปากต่อคำ ก็นำแผนผังบังคับมากาง ตรวจดูการวางครุลหุ แต่ละวรรค วางอย่างไร มีกี่แบบ เลือกมาฝึกทีละแบบ ทำแค่สองสามฉันท์ก็เบื่อแล้ว เพราะเข้าใจแล้วว่า การ วางครุลหุแต่งฉันท์ ไม่ได้ยากเกินไป จากนั้นแค่ดูแผนผังก็ลงมือแต่งได้เลย ไป ๆมา ๆ ก็เหมือนแต่กาพย์กลอนนั่นแหละครับ ลองดูสิ
.......จากตัวอย่างดังกล่าว การศึกษาแบบแผนฉันท์ คงไม่มีใครจะจดจำได้หมดหรอกเพราะฉันท์ทืมีมากหลายชนิด (93)คงมีบางฉันท์ที่เคยใช้เป็นบทสวดมนต์บ้าง บทท่องจำอาขยานบ้าง ที่พอจดจำได้ ส่วนฉันท์ที่จำไม่ได้ก็ต้องพึ่งแผนผังมากางดูแล้วลงมือแต่งตาม ผมก็ใช้วิธีนี้แหละครับ










วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

หัดแต่งโคลง




                                                     โต๊ะคอมที่นั่งทำงานทุกวัน
...........โคลงเป็นคำร้อยกรองที่ผมฝึกหลังจากกาพย์และกลอน ซึ่งแต่ละอย่างเขียน ไม่น้อยกว่าพันบท ทั้งเขียนเล่น บทสองบทหรือเต็มหน้ากระดาษ อย่างนี้เรียกเขียน เล่นสนุก ๆ และแบบเขียนเป็นเรื่องเป็นราว ยาว ๆ เช่น นิราศโตเกียว แต่งด้วยกลอน ยาว 70 หน้ากระดาษ A-4 นิทานอีสป 100 เรื่อง แต่งด้วยคำกาพย์ แต่เติมวรรคละ 6 คำ ให้อ่านสนุก ก็ถึงตอนนี้มั่นใจว่า กลอนแต่งได้แล้ว ต่อไปน่าจะหัดโคลงบ้าง ไม่มีลีลาอะไร หักคอเขียนเลย พาเพื่อนจาก ม.เกษตร ไปเที่ยวภูกระดึง ปี 2523 ตั้งใจเลยจะบันทึกด้วยโคลง ถามตัว เองว่าทำไม
กลัวโคลงนักหนา คงเพราะแบบนี้กระมัง
..........1. ที่ไม่ชอบโคลงเพราะคำเอก คำโท โดยเฉพาะคำ เอกโท คู่กันที่ต้องใช้ ในบาทที่ 2 และบาทที่ 4 แก้ปัญหาด้วยการฝึกหาคำเอก คำโท และคำ เอก+โท ฝึกค้นหาคำเอก คำ โท สมุดซักหน้า ดินสอ จดลงไป คำที่มีไม้เอก ๆ ๆ ๆ ๆนั่นแหละคำเอก ฝึกหาคำเอก คำโท และคำเอกโทชิดกัน จดในสมุดบันทึกดูว่าจะหายากไหม
...........
คำเอก น่า ย่า ข่า ตี่ พี่ สี่ ปี่ ป่า ปู่ เอาจริงพบว่า ไม่ยากนี่นา
ต่อไปก็เปลี่ยนจดคำที่มีไม้โทบ้าง เพราะนั่นเขาเรียกคำโท
............
คำโท ใกล้ ไข้ ก้อง ข้อง จ้อง ร้อง พ้อง รู สู้ ป้อง พอหาได้อยู่นะ
ต่อไปหาคำที่เป็นคู่ คำเอกและโท ได้น่าไม่เกินกำลังหรอก
............
คำ เอกโท เช่น พี่ป้า พี่น้อง พี่เชื้อ พ่อค้า แม่น้ำ แม่ค้า แต่งแต้ม ยั่วแย้ม
นึกว่าจะคิดไม่ออก ไหลมาเป็นน้ำหลากทีเดียว
..........คำตายแทนคำเอก เป็นการลดหย่อนให้ กรณีหาคำเอกไม่ได้ ให้ใช้แทนได้
..........
2. คำตาย ที่บอกว่าใช้แทนคำเอกได้ แบบไหน....   คำที่ผันวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา ผันยาก เลยเรียกว่าคำตาย ตัวอย่าง คำประสมสระสั้นในแม่ ก กา เช่นคำว่า
..........กะ กุ ติ รึ ลองผันด้วยไม้เอก ไม้โท....ดูซิว่าออกเสียงยากไหม ยากอย่างไร
.........คำที่มีตัวสะกด แม่ กก กด และ กบ เช่นคำว่า นก จก ตก รด ปด บด จบ รบ คบ คำพวกนี้ลองผันด้วยวรรณยุกต์ ดูแล้วจะรู้เองว่าผันยาก เป็นอย่างไร คำทั้งสองแบบนี้เองที่เขาเรียกคำตาย อนุโลมใช้แทนคำเอกได้
..........
.(3) คำสุภาพ ตั้งชื่อตามกติกาการแต่งโคลงที่มีบังคับให้ใช้คำ 3 อย่างคือ คำสุภาพ คำเอก 7 คำโท 4 นั่นแหละ คำสุภาพในที่นี้หมายถึงคำที่ไม่ปรากฏรูปวรรณยุกต์ ตัวอย่าง มี เยอะแยะไป ในแต่ละบรรทัด ดูเอาเองครับ คำไหนมีไม้เอก คำไหนมีไม้โท ไม้ตรี คำนั้น ๆ ก็เรียก คำเอก คำโทและคำตรี คำจัตวา ต่างกันไป ส่วนคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ก็เรียกคำสุภาพ แค่นี้เองครับ
............ลงมือฝึกหาคำชนิดต่าง ๆ คำสุภาพ คำเอก คำโท คำตาย จนมั่นใจว่ารู้จักดีแก้ปัญหาที่เคยคิดว่าเป็นอุปสรรคเรื่อง คำเอก คำโท คำเอก-โทและคำตาย ก็หมดไป
............4. ยังติดขัดอะไรอีก คงจะเป็นแผนผังบังคับ ก็ท่องจำกันบ่อย ๆนี่นา
-----------------บทนี้ก็ท่องจำ
.............เสียงลือเสียงเล่าอ้าง.......อันใด พี่เอย
........เสียงย่อมยอยศใคร...............ทั่วหล้า
........สองเขือพี่หลับไหล................ลืมตื่น ฤาพี่
........สองพี่คิดเองอ้า......................อย่าได้ถามเผือ
-----------------บทนี้ก็ท่องตามครูสั่ง
. ...........จากมามาลิ่วล้ำ..............ลำบาง
........บางยี่เรือราพลาง.................พี่พร้อง
........เรือแผงช่วยพานาง..............เมียงม่าน มานา
.........บางบ่รับคำคล้อง..................คล่าวน้ำตาคลอ

...........จากโคลงแม่บทที่ท่องตามครูสอนนี่แหละ เอามาวิเคราะห์แผนผังโคลงสี่สุภาพ
ได้เป็นอย่างดี ดังนี้

...........(1) จำนวนคำ วรรคแถวหน้ามี 5 คำ เท่ากันทุกบาท วรรคแถวหลัง สองคำยกเว้นบาทที่ 4 มีจำนวน 4 คำ บาทที่ 1 และ 3 เติมสร้อยได้ 2 คำ
...........(2) บังคับให้ใช้คำเอก 7 คำโท 4 อยู่ที่ไหนบ้าง
................เอก 7 (บาทที่ 1 คำที่ 4)...(บาทที่ 2 คำที่ 2 และคำที่ 6) (บาทที่ 3 คำที่ 3 และคำที่ 7) (บาทที่ 4 คำที่ 2 และคำที่ 6) รวม 7 คำ
.................โท 4 คำ อยู่บาทที่ 1 คำที่ 5 บาทที่ 2 คำที่ 7 บาทที่ 4 คำที่ 5 และคำที่ 7
..........(3). คำตายล่ะที่ใช้แทนคำเอกได้ ได้แก่ คำประสมสระเสียงสั้นใน แม่ ก-กาเช่น จะ ติ ล่ะ นะ ยุ ลุ มุ และคำสะกดด้วยแม่ กก กด และ กบ เช่น นัก รัก ปัก ปก รกเกียจ เรียบ ซักซ้อมอีกที ยังไปได้สบาย ๆนี่นา จะใช้ก็เมื่อจนใจหาคำเอกไม่ได้ ถ้ายังพอหาได้ก็ไม่ต้องใช้ครับ
...........(4) คำสุภาพ คือคำที่ไม่ปรากฏรูปวรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา เช่น พี่ ย่า นั่น เล่นเรียกคำเอก เพราะเห็น ไม้เอกกำกับอยู่ ส่วนคำ ร้อง น้อง ใช้ ไว้ เต้น เรียกคำโท เพราะเห็นไม้โทกำกับอยู่ ส่วนคำ กา หนู ดู เห็น เป็น คง ลง ถือเป็นคำสุภาพ ไม่มีรูปวรรณยุกต์...โคลงที่เราฝึกกันเป็นโคลงสุภาพครับ โคลงสี่สุภาพ บังคับให้ใช้ เอก 7 โท 4 พยายามใช้ให้พอดีครับ ถ้าเกินล่ะ เกินก็ไม่ผิด แต่ถ้าแต่งประกวดเอาคะแนน ก็กลายเป็นจุดเสียให้กรรมการหักคะแนนได้

............รู้จักแผนผังบังคับ ตำแหน่งคำเอกคำโท และลักษณะคำที่ใช้แล้ว ต่อไปก็น่าจะลงมือแต่งดูบ้าง ผมฝึกครั้งแรก ใช้วิธีกำหนดตำแหน่งคำเอก คำเอกโทในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับการหา คำเอกคำโทมาใช้นั่นเอง

ฝึกหาคำเอกคำโท

............คำเอกโทติดกัน สำหรับใช้ในบทที่ 1 คำที่ 4-5 บาทที่ 2 คำที่ 6-7 และบาทที่4คำที่ 6-7
............เอก-โท เช่น พี่น้อง ไม่รู้ อยู่บ้าน อ่านได้ ร่ำร้อง แก่นแก้ว อยู่บ้าน ต่างบ้านคำตาย+คำโท เช่น นกร้อง นักร้อง ขัดข้อง นักสู้ ขับสู้ ปกป้อง ปัดป้อง ปิดป้องลองไปมาก็พบว่า ไม่ยากอย่างที่คิด
ฝึกข้อความกำหนดตำแหน่งเอก โท ตัดมากแผนผังโคลงมาฝึก
.............ฝึกกำหนดตำแหน่งคำเอกคำโท โดยเฉพาะคำเอก-โท เมื่ออยู่ในบทโคลง
..............1.คำที่ 4-5 ในบาทที่ 1 ลองดูจะหายากไหม
..................จากมาเผือห่างห้อง จากนางเรียมร่ำร้อง แลหาเห็นแต่บ้าน  มากมายนักหมู่ต้น และไพรมากไผ้ขึ้น ชมนกเสียงหมู่แก้ว นานานกแขกเต้า
...............2. คำเอกอยู่ตำแหน่งคำที่ 2 ใน บาทที่ 2 เช่น อกพี่หมองมัวมล ขวัญพี่หายหนใด แลส่องสอดสายตา จดจ่อใจเจ็บเจียน ลวงล่อหลอกหยอกเอนรักแม่แทบขาดใจ รักแม่เทียมปฐพี
..............3. คำเอกอยู่ตำแหน่งคำที่ 3 ในบาทที่ 3 เช่นปลาทองไล่ปลาเงิน ปลาดุกซ่อนซอกหิน
ปลากาว่ายดังกา
..............4. ฝึกหาคำ สองคำ มีคำเอกอยู่หลัง เช่น นาแม่ รักพ่อ รักแม่ เห็นพี่  บาทที่ 3 คำที่ 6-7 ใช้
..............5. ฝึกหาคำ เอกคำโท คู่กัน คำท้ายบาทที่ 2 และคำที่6-7 บาทที่4 ต้องใช้เช่น พี่นี้ พี่เอื้อย ร่ำร้อง ตื่นเต้น แต่งให้ ส่องแจ้ง
............จากการฝึกเลือกคำมาใช้ เช่น คำเอก คำโท คำเอกชิดคำโท คำเอก ในตำแหน่งต่าง ๆผลที่ได้คือความคล่องตัวในการสรรหาคำมาใช้ ช่วยให้การแต่งโคลงสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น
ลงมือฝึกหัดแต่งโคลง
...............1. ลงมือเรียบเรียงข้อความให้เป็นเรื่องเป็นราว โดยจัดวางรูปแบบคล้ายโคลง ดร.อัมพร สุขเกษม เคยสอนให้ตอนเรียนปริญญาตรี ยังจำได้ดีครับ
1.1 เรียบเรียงถ้อยคำ วางรูปคล้ายโคลง
....................ตั้งใจจะไปชม.................ลำธาร
.................ริมฝั่งมีที่นั่ง........................ร่มไม้
.................แลดูหมู่ปลาใน...................ลำธาร
.................ปลาซิวปลาตะเพียน...........ปลาบู่ปลากราย
1.2 ปรับแก้ไข ให้เข้ากับรูปแบบโคลง
..................บาทที่ 1 ขาดคำเอกโท ตรงคำที่ 4 และ 5 ปรับแก้เป็น ใจหมายชมตั้งต่อ
..........................ได้ ใจหมายชมตั้งต่อ..........ลำธาร
...................บาทที่ 2 คำเอกคำโทอยู่ถูกที่แล้ว ขาดสัมผัสคำที่ 5 ปรับแก้ใหม่เป็น
ริมฝั่งพักสราญ........ร่มไม้
....................บาทที่ 3 ขาดสัมผัสคำที่ 5 คำที่ 6-7 ขาดคำเอก
....................................แลดูหมู่ปลาบาน.......ใจยิ่ง
....................บาทที่ 4 คำที่ 2 ต้องการเอก คำที่ 5 ต้องการคำโท คำที่ 6 และ7 ต้องการ
คำเอกและโท ปลาตะเพียนเป็นใบ้............อยู่ใกล้ปลากราย
.......................1.3 ปรับปรุงให้ดูดี สละสลาย
..............................ใจหมายชมตั้งต่อ..........ลำธาร
..........................ริมฝั่งพักสราญ...................ร่มไม้
...........................แลดูหมู่ปลาบาน................ใจยิ่ง
...........................ปลาตะเพียนเป็นใบ้............อยู่ใกล้ปลากราย

ตรวจกับแผนผังบังคับดู ใช่โคลงสี่สุภาพหรือยัง



..........การแต่งโคลงโดยยกร่างด้วยความเรียงธรรมดาก่อน จะช่วยให้ได้โคลงมีใจความรัดกุมเป็นเรื่องเป็นราว เมื่อชำนาญแล้วก็ไม่จำเป็น ลงมือแต่งได้เลย
...................2. การแต่งโคลงด้วยวิธีเลียนแบบ โคลงแม่บท เสียงลือเสียงเล่าอ้าง หรือจากมามาลิ่วล้ำ ท่องจำจนขึ้นใจ จะแต่งโคลงถ้านึกภาพไม่ออก เอกโท อยู่ตรงไหนถามโคลงหลักสองบทนี้ จะจำได้ทันที ถามบ่อย ๆที่สุดก็จำได้เอง ลงมือฝึกมาก ๆ ลองสัก 50 บท เชื่อได้เลยว่าแต่งโคลงสี่ได้แน่นอน
……………3.ความไพเราะของโคลง เมื่ออ่านโคลงที่มีความไพเราะ ลองถามตัวเองดูว่าทำไมคิดว่า ชอบ ไพเราะตรงไหน..........
.....................3.1 เสียงและความหมายของคำและข้อความ เพราะ กินใจ เช่นเสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
.....................3.2 สัมผัสใน ทั้งสัมผัสสระ สัมผัสพยัญชนะ เช่น จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
......................3.3 ใจความดี ถูกใจ กระทบใจ เช่น โคลงหลักทั้ง 2 บท อ่านเมื่อใดก็ชอบ ได้แก่บท เสียงลือเสียงเล่าอ้าง กับบท จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
......................3.4 ความสามารถในการเล่นคำ คำเดียวหลายความหมาย พ้องรูปพ้องเสียง
......................3.5 ใช้คำอุปมาอุปไมย คมคาย
......................3.6 ใช้สำนวนโวหารที่รู้กันทั่วไป
......................3.7 ใช้คติธรรมคำสอนแทรกในบทโคลง
.............โคลงสี่สุภาพ เป็นหลักให้โคลงชนิดอื่น ๆ ได้ โดยการตัดบางบาท บางวรรคปรับแก้สัมผัส ผมเคยตัดต่อให้เป็นโคลงสอง โคลงสาม วิวิธมาลี โคลงบาทกุญชรตลอดจนโคลงดั้นต่าง ๆ ถ้าเราแต่งโคลงสี่สุภาพคล่องแล้ว การแต่งโคลงชนิดอื่น ๆก็ไม่ยากแล้ว ดังนั้นจึงควรฝึกแต่งโคลงสี่สุภาพให้ชำนาญ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาฝีมือได้ดียิ่ง ข้อเขียนนี้มิใช่ตำรา เป็นเพียงการเล่าประสบการณ์การฝึกแต่งโคลงของกระผมเอง ที่ฝึกแบบเอาเป็นเอาตาย เพราะอยากเขียนได้คล่อง เช่นเขียน
นิราศภูกระดึง ได้โคลงมากกว่า 300 บท เขียนโคลงสอนหลาน 400 บท โคลงนิราศเมืองเหนือ มากกว่า 400 บท ถึงตอนนี้โคลงที่ว่ายาก ๆ ก็ไม่ยากแล้ว ต่อไปจะนำโคลงสี่ไปพัฒนาเป็นโคลงอื่น ๆดูครับ

การพัฒนาโคลงสี่สุภาพ เป็นโคลง 4 ตรีพิธพรรณ

...........เป็นการนำรูปแบบโคลงสี่สุภาพมาศึกษา ว่าคล้ายกับโคลงชนิดอื่น ๆตรงไหนบ้างผมหยิบโคลง 4 ตรีพิธพรรณมาอันดับแรก เพราะดูแผนผังบังคับแล้วต่างกันนิดหน่อยกับ............1. จำนวนคำที่ใช้ โคลงสี่สุภาพ จำนวนคำ แต่ละวรรค แต่ละบาท จำนวนคำสร้อยตลอดจนรูปแบบการจัดวางคำ เหมือนกันทุกประการ
............2. เอก 7 โท 4 มีเท่ากัน แถมวางตำแหน่งเดียวกันด้วย เหมือนกันทุกประการอีก
............3. สัมผัสบังคับในบท ตำแหน่งคำส่ง ตรงกันคือ คำที่ 7 บาทที่1 และคำที่ 7 บาทที่ 2
............ 4. คำรับสัมผัส ต่างเฉพาะคำรับบาทที่ 2 ปกติ ใช้คำที่ 5 เปลียนมาใช้คำที่ 3 แทนจึงตั้งชื่อ ตรีพิธพรรณ
............5. คำรับสัมผัสอื่น ๆ ในบาทที่ 3 และบาทที่ 4 เหมือนโคลงสุ่ภาพ

..............................ใจหมายชมตั้งต่อ..........ลำธาร
...........................พักสราญ..ริมฝั่ง..................ร่มไม้
...........................แลดูหมู่ปลาบาน................ใจยิ่ง
...........................ปลาตะเพียนเป็นใบ้............อยู่ใกล้ปลากราย
..............เดิมเป็นโคลงสี่สุภำพ เอามาปรับแก้บาทที่ 2 ให้คำรับสัมผัส ราญ อยู่ตำแหน่งคำที่ 3 เป็น พักสราญริมฝั่ง...........ร่มไม้ คำราญอยู่ตำแหน่งคำที่ 3 ลงตัวกลายเป็นตรีพิธพรรณตามต้องการ


การพัฒนาจากโคลงสี่สุภาพเป็นโคลงสี่จัตวาทัณฑื
............1. รูปแบบโครงสร้าง คล้ายโคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งแต่ง 4 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรควรรหน้า 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ เว้นบาทที่ 4 วรรคหลังมี 4 คำ บาทที่ 1 บาทที่ 3 เติมสร้อยได้ 2 คำ
.............2 ข้อแตกต่างจากโคลงสี่สุภาพ อยู่ที่ สัมผัส ในบาทที่ 2 คือ คำที่ 2 - 3 สัมผัสสระและใช้คำที่ 4 รับสัมผัสบังคับ นอกนั้นเหมือนโคลงสี่สุภาพ
..............บาทที่ 2 แก้ไขให้มีสัมผัสสระตรงคำที่ 2...3 คำที่ 4 รับสัมผัสบังคับ เลยต้องรื้อแก้ไขเป็น ริมฝั่ง...นั่ง นานเย็น นอกนั้นคงเดิม ได้บทใหม่ตรงตามข้อกำหนด จัตวาทัณฑี



.............ดูแผนผังแล้วลองแต่งดู

..............................ใจหมายชมตั้งต่อ..........ลำธาร
...........................ริมฝั่งนั่งนานเย็น..................ร่มไม้
...........................แลดูหมู่ปลาบาน................ใจยิ่ง
...........................ปลาตะเพียนเป็นใบ้............อยู่ใกล้ปลากราย
ลองตรวจกับแผนผังบังคับดู



การพัฒนาโคลงสี่สุภาพ เป็นโคลงกระทู้ โคลงสามและโคลงสอง
..............(1)โคลงสี่ กระทู้ คำว่ากระทู้แปลว่าหัวข้อ กระทู้อาจใช้คำเดียว 2 คำ 3 คำ มากที่สุดคือ 4 คำ โดยวางกะทู้ไว้ต้นวรรคของแต่ละบาท ปกตินิยมใช้คำที่รู้จักกันทั่วไปเป็นกระทู้เช่น (กระทู้คำเดี่ยว)เพื่อน กิน หา ง่าย ......เพื่อน ตาย หา ยาก (กระทู้สองคำ ) เช่นรักดี หามจั่ว รักชั่ว หามเสา รูปแบบการจำวรรคตอน จะแยกกระทู้วางไว้หน้าวรรคแรกนอกนั้นเหมือนโคลงสี่สุภาพ ทั้งตำแหน่งเอก โท และสัมผัสบังคับ



ตัวอย่างการแต่งโคลงกระทู้
..............................คำ...สรรค์โคลงที่สร้าง.................เสกสรร ดูเฮย
.........................คำ...เอกตรงเอกกัน...........................บ่งแจ้ง
.........................คำ...โทที่โทพลัน...........................เติมแต่ง แลนา
.........................คำ...ส่งรับจับแสร้ง...........................ส่องให้ฟัดกัน
...............................ตามแผน....ผังว่าไว้.....................จำนวน....คำแฮ
..........................ตามกรอบ...นับดูควร........................ครบถ้วน
...........................ตามชอบ...ส่งรับชวน.......................ตรงคู่ ดีแฮ
...........................ตามติด...สอบดูล้วน........................สอดสร้อยดูดี

...............นอกจากโคลง 4 แล้ว ยังมีโคลงสอง โคลงสามที่กวีสมัยก่อนนิยมแต่ง ในบทประพันธ์ประเภท ร่าย ลิลิต จะพบมีปะปนอยู่

..............(2) โคลง 2 สุภาพ เป็นการตัดแผนผังโคลงสี่สุภาพ บาทที่ 1 และบาทที่ 4 มาต่อกันเข้า บาทที่ 1 วรรคแรก เอามาทั้งตำแหน่งเอกและโท จะได้ 5 คำ บาทที่ 4 ยกมาหมดจะได้ 9 คำ จะเป็นอย่างนี้คิอ 5 + 5 + 4 (2) คำที่ตัดมาตำแหน่งคำ เอก โท คงไว้ตำแหน่งเดิมแถมคำสร้อย วรรคสุดท้ายได้ 2 คำ ก็เป็นโคลง 2 สุภาพ



ระบายสีข้อความที่จะตัดไปแต่งเป็นโคลงสอง

....................จักสรรโคลงแต่งให้...............พอดี
...............โคลงแรกแตกไปมี......................ต่างได้
................โคลงสองแบ่งไปที.....................ลองแต่ง
................เลือกจัดคำมาใช้.........................แต่งให้แปลงดู

...........เมื่อมีโคลงสี่สุภาพสัก 1 บท เอามาตัดแปลงเป็นโคลงสองสุภาพ จะเป็นอย่างไร

................จักสรรโคลงแต่งให้.........เลือกจัดคำจักใช้.........แต่งให้แปลงดู (แลนา)จากโคลงสี่...(วรรคแรกบาทที่ 1)...........(บาทที่ 4 ทั้งหมด.และ.เติมสร้อย 2 คำ)

..............(3) โคลงสามสุภาพ ก็คือโคลง 2 สุภาพนั่นเอง ตัดมาจากโคลง 4 สุภาพเหมือนกันเพียงแต่เพิ่มคำไว้ข้างหน้า 5 คำ ทำให้มีคำ 4 วรรค เป็น 5+5+5+4(2) วรรคแรกที่เติมมาจะส่งสัมผัสให้วรรคที่ 2 คำที่ 1-2-3 คำใดคำหนึ่ง
...............จากตัวอย่างตัดโคลงสี่สุภาพ ให้เป็นโคลงสองสุภาพ ทำได้ตรงแผนผังบังคับด้วยถ้าอย่างนั้น ก็แปลงเป็นโคลงสามได้ด้วยน่ะสิ ลองดู โคลงสามจะเพิ่มมา 1 วรรค และจัดวางใหม่เป็นบรรทัดละ 2 วรรค จะดูง่าย



.........(ว่างไว้เติม 5 คำ)............จักสรรโคลงแต่งให้
.........เลือกจัดคำมาใช้.............แต่งให้แปลงดู (แลนา)

.........ลองเติมดู

.........ฝึกหัดโคลงสามกัน........จักสรรโคลงแต่งให้
.........เลือกจัดคำมาใช้.............แต่งให้แปลงดู (แลนา)

...........ที่สุดก็เป็นโคลงสามสุภาพตามต้องการ


โคลงดั้น
.............เป็นคำประพันธ์ที่แต่งด้วยข้อกำหนดเพิ่มเติม ทำให้ต่างจากโคลงสุภาพ ที่สังเกตเห็นได้ง่ายคือ ตัดคำท้ายบทออก 2 คำ เหลือ คำที่ 1 ที่เป้นคำเอก และคำที่ 2 ซึ่งเป็นคำโทแล้วย้ายคำโทไปไว้วรรคหน้า ทำให้บาทที่ 4 คำที่ 4และ 5 เป็นคำโทคู่ สัมผัสบังคับ จะบังคับถึงระหว่างวบทด้วย ดังนั้นจะต้องแต่งอย่างน้อย 2 บท ถึงจะครบตามข้อกำหนด

โคลงดั้นมี 6 ชนิด ได้แก่
๒.๑ โคลงดั้นวิวิธมาลี
๒.๒ โคลงดั้นบาทกุญชร
๒.๓ โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
๒.๔ โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
๒.๕ โคลง ๓ ดั้น
๒.๖ โคลง ๒ ดั้น
................คิดจะฝึกแต่งโคลงดั้น ต้องอาศัยดูแผนผังบังคับ เพราะหาบทที่เคยท่องจำได้ไม่มี เลยต้องไปหาแผนผังบังคับมาใช้ แล้วลองแต่งตาม สำหรับผู้แต่งโคลงสุภาพได้แล้วมาลองแต่โคลงดั้น ก็จะเห็นได้ชัดว่า ไม่ได้ยากอะไร คล้าย ๆ โคลงสุภาพนั่นเอง ขยันฝึกบ่อย ๆ ก็แต่งได้เองแหละครับ ส่วนเพราะไม่เพราะ ว่ากันทีหลัง
...........แผนผังบังคับ โคลงสี่ดั้นทั้ง 4 ชนิด จัดแบ่งคำวางรูปแบบคล้ายกัน จะแตกต่างกันคือ
บังคับสัมผัส ดังนี้



โคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี


............(1) สัมผัสบังคับในบท คำที่ 7 บาทแรก ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5 บาทที่ 3 ที่เดียว
............(2) คำที่ 7 บาทที่ 2 คำโท ส่งสัมผัสให้คำโทบาทที่ 4 ต้องคำที่ 4 มิใช่คำที่ 5
............(3) สัมผัสระหว่างบท ใช้คำท้ายบท...ส่งให้คำที่ 5 บาทที่ 2 บทถัดไป

...................................ลองสรรคำแต่งดั้น.................ดูงาม.......แม่เอย
..........................แบบวิวิธมาลี................................ใช่แล้ว
..........................เปิดผังแต่งตรองตาม........................คงใช่ แลนา
..........................ยากหน่อยบแคล้วต้อง.....................กัดฟัน
...................................สองบทเติมต่อสร้าง................จึงดี
..........................คำส่งรับเสกสรรค์............................จึ่งคล้อง
ติดตามบ่แปลกมี...............................มิต่าง........แลนา
..........................นึกไม่ออกจ้องแล้ว.........................บ่เจอ
.............นอกจากตัดคำท้ายบท ย้ายคำโทแล้ว นอกนั้นก็แต่งตามปกติเหมือนโคลงสุภาพบาทที่ 2 คำที่ 5 ที่งดสัมผัสในบท เอาไว้รับสัมผัสระหว่างบทนั่นเอง ยากไหม ไม่มีอะไรยุ่งยาก แถมลดคำไปตั้ง 2 คำ

โคลงสี่ดั้นบาทกุญชร

............(1)สัมผัสบังคับในบท คำที่ 7 บาทแรก ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5 บาทที่ 3 ที่เดียว
............(2) คำที่ 7 บาทที่ 2 คำโท ส่งสัมผัสให้คำโทบาทที่ 4 ต้องคำที่ 5 มิใช่คำที่ 4
ต่างจากดั้นวิวิธมาลี
............(3) สัมผัสระหว่างบท ใช้คำท้ายบท...ส่งให้คำที่ 5 บาทที่ 2 บทถัดไป (ผลทำให้มีคำท้ายบาท ที่เรียงกันอยู่ 3 บรรทัด กับคำที่ 5 บาทถัดกัน 3 บรรทัด ส่ง-รับสัมผัสกัน มองคล้ายเท้าช้างเดินสลับกัน)
..........................................บาทกุญชรชื่อดั้น...............ลองดู
....................................ยามแต่งตามเปิดแผน...............จดจ้อง
....................................คำโทเอกตามครู.......................เคยสั่ง แลนา
....................................ดูหน่อยโทนั้นต้อง.....................ต่อตรง
...........................................บทสองรับส่งให้...................ตรงผัง
.....................................วางนี่รับเจาะจง.........................บทต้น
.....................................มิยากเมื่อระวัง...........................ยามแต่ง ดีแล
.....................................สัมผัสดังช้างด้น........................ดุ่มเดิน


โคลงสี่ดั้นตรีพิธพรรณ

............(1)สัมผัสบังคับในบท คำที่ 7 บาทแรก ตัดออก ไม่ส่งสัมผัส
...........(2) คำโทบาทที่ 2 ส่งสัมผัสให้ทำโท คำที่ 4 บาทที่ 4
............(3) สัมผัสระหว่างบท ใช้คำท้ายบท...ส่งให้คำที่ 3 บาทที่ 2 บทถัดไป ทำให้ตั้งชื่อว่าตรีพิธพรรณ
.....................................ตรีพิธพรรฒว่าดั้น................ดุจเดียว
.................................ตอนแต่งตรองตามดู................รอบด้าน
.................................บทแรกบ่เห็นเชียว....................ตำหนิ แลนา
.................................ไปโผล่ออกก้านแก้ว................บทหลัง
......................................บาทสองจดจ่อไว้...............ชัดเจน
.................................คำที่ผังสัมผัส...........................ใช่แล้ว
.................................คำสามชื่อตรีเห็น......................บาทที่ สองแล
.................................โทที่สี่แจ้วเจื้อย........................ส่งเสียง


โคลงสี่ดั้นจัตวาทัณฑี



............(1)สัมผัสบังคับในบท คำที่ 7 บาทแรก ตัดออก ไม่ส่งสัมผัส
...........(2) คำโทบาทที่ 2 ส่งสัมผัสให้ทำโท คำที่ 4 บาทที่ 4
............(3) สัมผัสระหว่างบท ใช้คำท้ายบท...ส่งให้คำที่ 4 บาทที่ 2 บทถัดไป ทำให้ตั้งชื่อว่าจัตวาทัณฑี
............................จัตวาว่าดั้น.........................อีกควร
.........................เหมื่อนดั่งตรีพิธพรรณ............สู่รู้
..........................จับคำสี่กระบวน.....................รับส่ง
.........................จัตวากู้กล้า.............................ก่อโคลง
.............................บทสองชัดที่อ้าง.................จัตวา ทัณฑ์แล
.........................คำสี่รับโยงกัน.........................เรียบร้อย
.........................คำเหลือบ่แปลกตา..................ดีอยู่ แลนา
..........................ยากแต่ตรวจสร้อยให้..............คล่องความ


โคลงสองดั้น




............(1) โครงสร้างเหมือนโคลงสองสุภาพ ตัดวรรคสุดท้ายออกสองคำ แล้วย้ายคำโทไปวรรคหน้าเป็นคำโทคู่ เหมือนโคลงดั้นทั่วไป
............(2) คำโทวรรคแรกคือคำที่ 5 ส่งสัมผัสไปยังคำโทคู่ วรรคที่ 2 ตรงคำที่ 5 ไม่ใช่คำที่ 4
.............(3)คำท้ายบท ส่งสัมผัสให้คำที่ 1/2 หรือ 3 วรรคแรกของบทถัดไป

..................โคลงสองลองอย่างดั้น.................ลองแต่งดูแล้วสั้น...........แปลกดี
...................มีเพียรฝึกแต่งให้...........................เชิงเชี่ยวจึงรู้ได้...........ช่ำชอง
...................ตรองตามจักง่ายแท้......................ผิดตกเอาไว้แก้..............จึ่งงาม


โคลงสามดั้น



...........(1) โครงสร้างเหมือนโคลงสองสุภาพ ต่างตรงเพิ่มคำ หน้าวรรคแรกอีก 5 คำ ทำให้มี 4 วรรค วรรคที่ 3 คำวรรคที่มีคำโทคู่
............(2) คำท้ายวรรคแรก ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 1/2/3 คำใดคำหนึ่งวรรคที่ 2
............(3) คำโทวรรคที่ 2 คือคำที่ 5 ส่งสัมผัสไปยังคำโทคู่ วรรคที่ 3 ตรงคำที่ 5 ไม่ใช่คำที่ 4
.............(4)คำท้ายบท ส่งสัมผัสให้คำที่ 1/2 หรือ 3 วรรคแรกของบทถัดไป

........................โคลงสามดังโคลงสอง...................ตามทำนองที่อ้าง
.....................ลองแต่งดูได้ล้าง................................โง่งม
.........................สมควรอีกสักบท.............................จำจดแผนอ่านไว้
.....................คำจัดลงแล้วได้...................................รื่นฤดี
.........................มีพลังจักเขียนต่อ............................มิรอคอยเริ่มแล้ว
......................คำหลั่งมาล้วนแก้ว.............................ก่องงาม

.............เขียนถึงการฝึกหัดแต่งโคลง ไม่นึกว่าจะยืดยาวขนาดนี้ เพราะเนื้อหาโคลงมีหลายชนิด โคลงสุภาพก็มาก โคลงดั้นก็มาก เขียนถึงอย่างละนิดละหน่อยมันก็ยาวมากจนได้แหละยิ่งคนเขียนขี้โม้อยู่ด้วย ภาษาที่เขียนก็ตามใจคนเขียน อย่ามาทึกทักว่าต้องเขียนแบบเขียนตำรับตำราแล้วกัน เพราะไม่ชอบเขียนแบบนั้น เขียนจากการอ่านตำรามาใช่ไหม ก็ใช่แหละก่อนจะแต่งโคลงได้ก็อ่านตำรามาไม่รู้กี่เล่ม อ่านบทกวีนิพนธ์ก็นับไม่ถ้วน สุดท้ายก็ลงมือฝึกแต่งแบบเอาเป็นเอาตาย ก่อนมาเขียนข้อความนี้ แต่งโคลงมามากไหม ไม่รู้สินะ ไม่เคยนับลองตามหาดูก่อน .....อ้อได้มาแค่นี้ก่อน วิธีตรวจสอบ คัดลอก URL ไปโพส ถามกูเกิล ก็ได้เฉพาะภาษาอังกฤษนะ ชื่อภาษาไทยไม่ต้องกอปไป

แหล่งอ้างอิงประสบการณ์แต่งโคลง

------------------------------
         URL คัดลอกมาจากหน้าเวบ ปกติคลิกก็วิ่งไปเปิดไฟล์ บลอกให้ ถ้าไม่เปิดก็เอาใหม่ เมาส์ระบาย
URL ที่จะเปิด แบบนี้ 


แล้วคลิกขวาที่แถบ จะมีคำสั่งให้เลือกไปที่ คลิกตรงไปที่นั่นแหละ เปิดได้ครับ
-------------------------------
คำโคลงที่แต่งมีมากเกินพันบท ไปดูเอาเองครับ
--------------------------------
โคลงสอนหลาน
http://khuntong52.blogspot.com/2017/06/blog-post_18.html
เซียงเหมี่ยงตอน1-20
http://newjarinya.blogspot.com/2017/10/1-20.html
เซียงเหมี่ยง 2 ตอน 21-40
http://newjarinya.blogspot.com/2017/10/2-21-40.html
เซียงเหมี่ยง3 ตอน 41-60
http://newjarinya.blogspot.com/2017/10/3-41-60.html
เซียงเหมี่ยง 61-76
http://newjarinya.blogspot.com/2017/10/61-76.html
นิราศไทรโยค1
http://newjarinya.blogspot.com/2017/10/1.html
นิราศไทรโยค 2
http://newjarinya.blogspot.com/2016/08/blog-post_30.html
ภูกระดึงรำลึก 1
http://newjarinya.blogspot.com/2017/10/2.html

ภูกระดึงรำลึก 2
http://newjarinya.blogspot.com/2016/08/1_2.html
ท้าวขูลูนางอั้ว 1
http://newjarinya.blogspot.com/2016/07/1_30.html
ท้าวขูลูนางอั้ว 2

http://newjarinya.blogspot.com/2016/07/2_51.html
โคลงนิราศเมืองเหนือ01
http://newjarinya.blogspot.com/2018/01/blog-post_21.html
โคลงนิราศเมืองเหนือ 02
http://newjarinya.blogspot.com/2018/01/blog-post_78.html
โคลงนิราศเมืองเหนือ 03
http://newjarinya.blogspot.com/2018/01/3.html














วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เมื่อผมหัดแต่งกลอน

........เขียนถึงประสบการณ์ฝึกแต่งกลอนแปดครับ บางทีอาจเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากลองแต่แต่กล้า ๆ กลัว ๆ....... ผมเคยกลัวจนเลิกแต่งไปเลย เพิ่งมาหัดแต่งตอนอายุจะสามสิบ พอแต่งได้ก็เอาใหญ่เลย ได้นิราศหลายเรื่อง เบ็ดเตล็ดนับไม่ถ้วน คงหลายพันบทกลอน ตอนนี้คุยโม้ได้ว่า กลอนง่ายเกินไป เลยไม่ค่อยจะแต่ง หันไปแต่ง อย่างอื่นที่ยากกว่า อย่างฉันท์ที่ลือกันว่ายาก อยากรู้ว่ามันยากตรงไหน เจอจริง ๆ ยากเพราะบังคับ ลหุ ติด ๆ กันมาก กว่า  5 คำ แต่ก็ผ่านได้นะ เพราะเรารู้จักคำบาลีค่อนข้างเยอะ บทสวดต่าง ๆ เอามาใช้ได้สบาย ๆ  อ้าว นอกเรื่องอีกแล้ว กำลังเล่าเรื่องหัดแต่งกลอนครับ.......
..........ผมนึกแผนผังบังคับกลอนไม่ได้ ผมจะนึกถึงบทกลอนที่เป็นบทอาขยาน เพื่อใช้เป็นแนวศึกษาแผนผังบังคับ บทที่จำได้ดี ได้แก่ บทกลอนพระดาบสสอนสุดสาคร
..........แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์...........มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
..........ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด.........ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน ฯ
 ...........(1) คณะกลอน ใช้คำวรรคละ 7-9 คำ ใช้ 8 คำ  ใช้จังหวะคำแบบ 3-2-3 อ่านเพราะดี  บาทหนึ่งมี 2 วรรค แต่ง 2 บาทเป็น 1 บท
............(2) สัมผัสบังคับ มีต่อเนื่องจากวรรค 1 ไปวรรค 2 ไปวรรค 3 และไปวรรค 4 ได้แก่คำท้ายวรรค คี่
คือวรรค 1 และวรรค 3 จะส่งสัมผัสให้วรรคคู่ คำที่ 3 จะเป็นคำรับสัมผัส คำท้ายวรรค คู่ คือวรรคที่ 2 กับวรรคที่ 4 ส่งสัมผัสต่างกัน คำท้ายวรรคที่ 2 ส่งให้คำท้ายวรรคที่ 3 ส่วนคำท้ายวรรคที่ 4 เป็นคำส่งสัมผัสให้บทถัดไป ถ้าแต่งต่อเนื่องมากกว่า 1 บท โปรดสังเกตแผนผัง...........
.........จากแผนผังช่วยให้เรารู้จักกลอนแปดได้ง่ายขึ้น  ลูกกลม ๆแทน 1 คำ นับได้แปดคำเท่ากันทุกวรรค
มีแปดวรรคนั่นคือ กลอน 2 บท  วงกลมสีเขียวคือคำที่ส่ง-รับสัมผัสกันตามลูกศรสีดำโยงให้ดู ถ้าแต่กลอนก็ใส่คำให้ครบตามแผนผัง นอกจากนี้  ยังต้องพยายามวางจังหวะคำให้อ่านได้แบบ 3-2-3  กลอนที่แต่งก็จะอ่านง่าย และจะอ่านได้เพราะยิ่งขึ้นถ้ามีสัมผัสในช่วย คือ
..........
กลอนจะไพเราะถ้ามีสัมผัสในช่วย
..........(1) วรรคแถวหน้า คำที่ 3-4 นิยมสัมผัสสระ คำที่ 5-6/7 นิยมสัมผัสสระ
..........(2) วรรคแถวหลัง คำที่ 3 สัมผัสบังคับ ถ้าจะเล่นสัมผัสใน คำที่ 3 กุบคำที่ 4 ให้เล่นสัมผัสพยัญชนะแทน ส้วนคำที่ 5กับคำที่ 6/7 เล่นสัมผัสสระได้
.........ตัวอย่าง กลอนที่อ่านแล้วเพราะมาก ๆ เพราะเหตุใด
.........บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว...........สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
.........เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา.....................ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
.........เเล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์...............มันเเสนสุดลึกลำเหลือกำหนด
.........ถึงเถาววัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด............ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในนำใจคน
........วรรคแรกสุดยอดเล่นสัมผัสใน ด-ด ง-ง-ว-ว-ว เหง่ง-เวง
........วรรคที่ 3 คี-ขี่ รุ้ง-พุ่ง
.........วรรคที่ 5  ว่า-อย่า ไว้-ใจ
........วรรคที่ 7   วัลย์-พัน เกี่ยว-เลี้ยว
วรรคแถวหลัง คิอวรรที่ 2 4 6 และ 8
.........คำที่ 3 สัมผัสบังคับ ไม่เล่นสัมผัสใน
.........วรรคที่ 2 มี แล้ว-เหลียว-แล  และ แล-แง้
.........วรรคที่ 4 มี 2  จน-บน  และ บน-บรร
.........วรรคที่ 6 แสน-สุด  ลึก-ล้ำ-เหลือ   ล้ำ-กำ
.........วรรคที่ 8  หนึ่ง-ใน-น้ำ
.........จะเห็นมีสัมผัสในทุกวรรค วรรคที่มี 2 คู่ / กลุ่ม จะอ่านเพราะมากกว่ามีกลุ่มเดียว
สรุปเป็นหลักเกณฑ์การแต่งกลอน แปด ดังนี้
.........(1) แต่งวรรคละ 8 คำ จังหวะ 3 - 2 - 3
.........(2) วรรคคี่ แถวหน้า สัมผัสพยัญชนะ เล่นได้ทุกตำแหน่ง ส่วนสัมผัสสระ คำที่ 3 กับคำที่ 4 และคำที่ 5 กับคำที่  6 หรือ 7
........(2) วรรคคู่ แถวหลัง คำที่ 3 เป็นสัมผัสบังคับ แต่ละเล่นสัมผัสในก็ได้ ให้เป็น สัมผัสพยัญชนะแทน  ส่วนคำที่ 5 กับคำที่ 6 / 7 เล่นสัมผัสสระได้ตามปกติ
..........เสียงวรรณยุกต์คำท้ายวรรคกลอนแปด
วรรคที่ 1 หรือวรรคสดับ สามารถใช้ได้ทุกเสียงวรรณยุกต์ แต่ที่ถือว่าไม่ไพเราะ 
วรรคที่ 2 หรือวรรครับ ใช้เสียงวรรณยุกต์ จัตวา โท เอก (เรียงลำดับความไพเราะ จากมากไปหาน้อย ) ห้ามเสียงสามัญ และตรี
วรรคที่ 3 หรือวรรครอง ให้ใช้แค่เสียงสามัญ และอนุโลมตรีได้ จึงนิยมใช้กันทั้งสองเสียง
วรรคที่ 4 หรือวรรคส่ง ให้ใช้เสียงสามัญ และอนุโลมให้ใช้เสียงตรีได้ เช่นเดียวกับวรรครอง
...........คำรับสัมผัสบังคับ 
...........คำประสมสระตัวเดียวกันในแม่ กา-กา
...........เช่นประสมสระอา  อา ขา กา มา นา อา 
...........สระอะ เช่น นะ คะ จะ ปะ ระยะ พระ กะ 
...........สระอิ   ติ ริ จิ บิ ชิ 
.......... สระอุ   กุ รุ จุ ชุ ตุ ดุ
...........คำประสมสระเดียวมีตัวสะกดต้องมาตราเดียวกัน จะรับ-ส่งสัมผัสได้
...........นาง บาง กลาง ยาง  สระ อา + แม่ กง
...........นาย ตาย ชาย ยาย ลาย  สระ อา+แม่เกย
...........บุญ  คุณ ลุน  ตุน  ดุน      สระอุ + แม่ กน
...........กุด รุด หยุด  ปุด  นุช       สระ อุ+แม่กด
............กูด พูด  รูด หูด ปูด ตูด    สระอู + แม่กด
..............1.  จังหวะกลอน  เนื่องจากการแต่งกลอนมีคนนิยมใช้คำแตกต่างกันไป วรรค 6 -7 คำบ้าง 8 คำ นี่มาตรฐาน และ 9 คำ ถือว่ามากที่สุด จนมีคำอธิบายว่าใช้คำวรรคละ 6-9 คำ  จึงขอแนะนำจังหวะกลอน ไว้รวม ๆ ไปเลยคือ.....ถ้าแต่งวรรคละ 6 คำ ควรใช้ 2-2-2 อ่านเพราะดี  ถ้า วรรคละ 7 คำ จะเป็น 2-2-3  3-2-2  หรือ 2-3-2 ตามใจชอบ แต่ควรเลือกสม่ำเสมอ เพราะคนอ่านไม่มีเวลา ตรวจจังหวะก่อนอ่านหรอก อ่านสะดุดก็ตำหนิเลยว่า..กลอนไม่รื่นไหล กลอนวรรคละ 8 คำ วาง 3-2-3 นั่นแหละดีที่สุด วรรคละ 9 คำก็ 3-3-3  ควรใช้จังหวะที่นิยมแต่งกัน  ในที่นี้จะยึด กลอนแปด แบบ 3-2-3 เป็นหลัก เพราะคนนิยมมากกว่าแบบอื่น
............จังหวะกลอนสำคัญมาก แต่งกลอนให้คนอื่นอ่าน ต้องเลือกแบบที่คนนิยมทั่วไป จะ แต่งแบบเราชอบคนเดียวไม่เหมาะ จังหวะก็คือเลือกคำที่ออกเสียงครบตามจังหวะ เช่นจะแต่ง ให้ลงตัววรรคละ 3-2-3 คำ  คำที่แต่งต้องอ่านได้ 3 พยางค์ จบความ อ่านต่อ 2 พยางค์ จบ ความและอ่านอีก 3 พยางค์จบความ แบบนี้เรียกจัดคำเป็นแบบ 3-2-3 เช่น
..............จะแต่งกลอนสอนใจให้ลูกหลาน ลงตัว 3-2-3  อ่านง่าย
...............จะแต่งบทกลอนสอนใจให้ลูกหลาน  คำ บทกลอน ต้องอ่านติดกันกลายเป็นคร่อม จังหวะทำให้อ่านไม่เพราะ กลายเป็น 4-2-3 ตัดคำ จะ ออก จะรู้ทันทีว่าอ่านคล่องกว่ากัน
..............2. ลงท้ายวรรคสดับด้วยคำตาย ไม่ได้ผิด แต่ทำให้รู้สึกอึดอัด หาคำสัมผัสยาก ขอฝากกลอนวอนนุชสุดที่รัก........ด้วยใจภักดิ์นวลศรีเป็นที่(สุด) รุด คุด ดุจ ผุด พุทธ วุฒิ หาได้แต่เรียบเรียงยากจริง ๆ
..............ขอส่งพรวันเกิดประเสริฐสุด...........ถึงนงนุชขวัญตายุพาพักตร์
..............อายุมั่นขวัญยืนเถิดที่รัก.................พึงประจักษ์คณานับทรัพย์ศฤงคาร ฯ
...............สุด  พักตร์ รัก  เป็นคำตาย เอามาลงท้ายวรรค ทำให้หาคำมารับสัมผัสยาก
..............3. ในวรรคที่ต้องรับสัมผัส มีหลายคำรับสัมผัสได้ ถือเป็นข้อบกพร่องมาก ๆ
.............จะทักทายรายวันสรรค์เสกสาร..............กราบเทพวานบันดาลพรเสริมศรี
.........แม่มารีรีรัตน์อวยฤทธี........................ขอจงมีวีโชคลาภสักการ ฯ
คำสารส่ง....รับด้วยคำ วาน  แถมมี ดาลอีก ถือเป็นข้อบกพร่องคนแต่ง
คำ ศรี ส่ง.....รับด้วยคำ ฤทธี แต่มีคำ มารี ตรี ขวางหน้าอยู่ บกพร่องมาก ๆ
คำ ฤทธีส่งสัมผัส ....รับด้วยคำ มี แถม ทวีอีกคำ  หักคะแนนกระจุยเลยเพราะบกพร่อง
..............4.ใช้คำประสมสระเดียวกันจริง แต่คนละมาตราสะกด ใช้สัมผัสบังคับไม่ได้
..............เป็นเด็กน้อยค่อยขยันมุ่งมั่นเขียน..........ให้ทันเทียมเพื่อนพ้องคล่องศึกษา
..............ขยันกิจการบ้านงานนำพา.....................ฝึกวิญญาณฉลาดเฉลียวเชียวชาญเชาวน์
คำ เขียนส่งสัมผัส รับด้วยคำ เทียม สระเอียเหมือนกัน แต่คนละมาตราสะกด บกพร่องมาก
คำ นำพา ส่งสัมผัส ....รับด้วยคำ วิญญาณ สระอาเหมือนกัน แต่คนละมาตราสะกด ใช้ไม่ได้
..............5. เล่นสัมผัสในคำที่ 3-4 ในวรรคคู่ เป็นตำแหน่งสัมผัสบังคับ ห้ามเล่นสัมผัสในสระ
อยากเล่นให้ใช้สัมผัสพยัญชนะแทน
..............ขยันเล่นเป็นกลอนอักษรศิลป์................พอยลยินรินคำทำนองสรรค์
..............ลหุครุลองปลูกจับผูกพัน.......................เก่าะก่ายกันนันทนาเวลาฟัง ฯ
..............วรรค 2 คำ ยิน สัมผัสบังคับ อยากเล่นสัมผัสใน เอาคำ ริน มาต่อ ได้เรื่อง กลาย
เป็นสัมผัสเลือนทันที กลอนมีแผล 1 แผล คำ กัน วรรคที่สี่ สัมผัสบังคับ เล่นสัมผัสในอีก เอา
คำนันทนามาต่อ ได้สัมผัสเลือนอีก เป็น 2 แผล แก้ไข.....
..............ขยันเล่นเป็นกลอนอักษรศิลป์................พอยลยินแยกคำทำนองสรรค์
..............ลหุครุลองปลูกจับผูกพัน.......................เก่าะก่ายกันกลมกลืนรื่นยามฟัง ฯ
ยิน อยากเล่นสัมผัสใน เอาเสียง ย มาสัมผัสเป็น ยิน-แยก คำ กัน เอาเสียง กล มาสัมผัส
กลายเป็นเสียง ก 5 คำ ติด ๆ เจ๋งเป้งไปเลย
..............6. ชอบใช้คำเสียงคล้ายกันมารับส่งสัมผัสกัน ทั้งที่เป็นคนละเสียง ใช้ไม่ได้
.............ชมลำธารใสเย็นเห็นตัวปลา...................ว่ายไปมาทวนกระแสแลน้ำใส
.............นั่นปลาหลดกดคังหลังปลากราย..............ทวนน้ำไหลงดงามตามสายชล
.............นึกว่า กราย เป็นเสียง ไอ เอามารับคำ ใส  ส่งไปให้คำ ไหล ผิดเต็มร้อย
.............7. ชอบใช้คำมีรูปวรรณยุกต์ เอก หรือโท ท้ายวรรคที่ 2 หรือวรรคที่ 3 โบราณ
เรียก ละลอกทับ ละลอกฉลอง
.............ปลากระดี่รีมาท่าระรื่น......................ปลาหมอตื่นตกใจอะไรนี่
.............ปลาชะโดคึกโครมเข้าโจมตี..............ดับกระดี่อนิจจังสังขารา
........ระรื่น คำเอก            นี่  คำเอก ไม่ผิด แต่คนโบราณท่านตำหนิ ระวังบ้างก็ดี
.............คุยถึงการแ


แต่งกลอนช่วงนี้ ใกล้วันสุนทรภู่ 26 มิถนายน 2561 ครับ คงจะเป็นเทศกาล
ชักชวนนักเรียนนักศึกษาแต่งกลอนได้เป็นอย่างดี เลยขอฝากเทคนิคการเขียนกลอนแปดไว้
ให้อ่านกันเล่น แต่เอาไปใช้ได้จริงครับ  ส่วนผมก็คงเขียนร้อยกรองอย่างอื่นที่มิใช่กลอน ร่วม
กิจกรรมวันสุนทรภู่ กำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้อะไรดี โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต ก็คงจะ
วนเวียนอยู่ตามนี้แหละ หัวข้อนี้ขอจบละครับ