วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สนทนา..สาธุ.....

                                                                    
                                                                    (ภาพจากกูเกิล)

........
 3  มิย. 2560 วานนี้ผมไปโพส คำสาธุ ใต้ภาพงานสีดำของพี่น้องชาวเฟส ก็ทำประจำ มานานตั้งแต่สมัยอยู่วัด จนทุกวันนี้ก็ใช้อยู่เรื่อย พอดีมีคนทักว่า แปลก ๆ นะ ถึงได้คิดครับ ว่า เอ ....คำสาธุ ที่เราใช้บ่อย ๆ นี่มันถูกกาละเทศะใหม ? ดีครับ ขอบพระคุณท่านที่ทัก ผมจะได้ถือโอกาสเปิดตำรา สาธุ ดูอีกที 
.......ตอนเรียนบาลีไวยากรณ์ การวิเคราะห์จำแนกคำ มีสอนกัน เจอคำน่าสงสัย ความหมายอะไรแน่ จะวิเคราะห์หาองค์ประกอบต่าง ๆ คำสาธุ เช่นกัน ประกอบ ด้วย สธ ธาตุ (แปลว่าสำเร็จ) + รุ ปัจจัย = สาธุ หมายความว่า สำเร็จ มีคำ อธิบายของ พระธรรมวิสุทธิกวี(วัดโสมนัสวรวิหาร) ท่านอ้างคำอธิบายจาก
ส่วนในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ได้จำแนกการใช้คำว่า สาธุ ไว้ 6 นัย กล่าวคือ
.....1..สุนทระ หมายถึง ดีงาม
.....2..ทัฬหิกัมมะ เป็นการย้ำอีกครั้ง เพื่อให้การกระทำนั้นมั่นคงยิ่งขึ้น
.....3..อายาจนะ เป็นคำอ้อนวอนหรือเรียกร้อง เมื่อเริ่มต้นจะพูดอย่างอื่นต่อไป
.....4..สัมปฏิจฉนะ เป็นการรับคำหรือยอมรับคำพูดของผู้อื่น
.....5..สัชชนะ หมายถึง คนดี
.....6..สัมปหังสา เป็นคำแสดงความยินดีหรือพอใจ
.....ท่านเจ้าคุณช่วยขยายความเวลานำมาใช้กันในสำนวนแบบไทย ๆ ว่ามีใช้ กันใน 5 สถานการณ์ คือ
......1.สาธุหมายถึง อนุโมทนา แสดงความยินดี ตกลง เห็นด้วย เช่น เวลา เราเห็นด้วยกับใครตกลง โอเค เราก็บอกสาธุ เห็นด้วย ๆ สมมุติว่าเราเลือกตั้ง เห็นคะแนนเสียงเราก็บอกสาธุไม่ต้องปรบมือกราว ๆ เพราะปรบมือเป็นของฝรั่ง เขาของไทยคือสาธุเห็นด้วยเหมาะสมแล้ว หรืออาจารย์รู้ว่าลูกศิษย์กราบสวย
อาจารย์ก็บอกสาธุดีแล้วอนุโมทนายินดีด้วย
....2.สาธุหมายถึง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือให้สำเร็จประโยชน์ เช่นได้ยิน คำว่า มัตตัญยุตตา สทา สาธุ ความรู้จักประมาณให้สำเร็จประโยชน์เสมอ
....3.สาธุหมายถึง ขอให้สมพรปากกับคำอวยพรที่ท่านให้ อย่างเช่นอันนะภาระ ในครั้งสมัยพุทธการเป็นคนยากจนเข็ญใจทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้อธิฐานว่าคำว่าจนอย่าได้มีและจงได้รู้ธรรมอย่างท่านพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้ให้พรว่า
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา แปลว่า
ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้วตั้งใจแล้วจงสำเร็จโดยฉับพลัน ขอความดำริ ทั้งปวงจงเต็มที่เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฯ
......จึงรับว่า สาธุ ขอให้สมพรปากท่าน
.....4.สาธุหมายถึง ขอโอกาส อันนี้เป็นสำนวนของพระ อย่างสมมุติว่า สาธุภาษาบาลี ภาษาไทยว่าขอโอกาส ตัวอย่างเช่นเวลามัคนายกพาขอศีลห้า จะอาราธนาศีลบางคนนิยมขึ้นว่า สาธุ สาธุ มะยัง ภันเต เคยได้ยินบ้างไหม กับว่าคนเป็นครูบาอาจารย์จะทำอะไรก็ขอโอกาสพระเถระเสียก่อนเช่น จะเปิด หน้าต่างก็ ขอโอกาสท่านอาจารย์ครับผมจะเปิดหน้าต่าง ทำอะไรต้องบอก ผู้ใหญ่เสียหน่อย ไม่ใช้ทำพรวด ๆ ไปขาดความเคารพ การทำขอโอกาสอย่าง นี้ท่านเรียกว่า ขอโอกาส
.....5...สาธุหมายถึง แสดงความต้อนรับแสดงความยินดีไชโยโห่ร้องกราบไหว้ ยกตัวอย่าง เวลาสมเด็จสังฆราชหรือใครก็ตามเสด็จไปต่างประเทศ ต่างประเทศ เช่นเนปาลเขานิยมเวลามาต้อนรับเขาจะร้องสาธุตลอดทางที่มาต้อนรับ สาธุตัวนี้ ก็คือขอยินดีต้อนรับ
......ดูคำอธิบายเรื่องคำ สาธุ ทั้ง รากศัพท์ และการนำมาใช้ในกลุ่มผู้ที่ท่านใช้ ภาษาบาลี (พระ) และชาวบ้าน จะเห็นได้ว่าคำนี้มีความหมายดีงาม สามารถนำไป ใช้ในหลายสถานะ ส่วนมากเป็นเรื่องดีงาม ดังตัวอย่างที่ท่านเจ้าคุณยกมาอธิบาย ทีนี้ถามว่า การทำบุญฌาปนกิจ เห็นภาพชุดดำ หรีด หรือพุ่มดอกไม้ เราเห็นก็อาจ สลดใจแทน เราสาธุตรงนี้ ก็ไม่เหมาะ แต่ที่เรา สาธุ เพราะกิจกรรมที่เห็น คนที่สูญ เสีย เขากระทำสิ่งที่ควรกระทำให้แก่ผู้ล่วงลับ เราเห็นว่าเป็นการกระทำบุญกุศลที่ น่ายกย่องและน่าอนุโมทนา ลองสังเกตดูเวลาทอดบังสุกุล พระท่านชักบังสุกุล สวด... อนิจจา วตสังขารา อุปาทาวยธัมมิโน อุปัชชิตวา นิรุชฌันติ เตสังวูปสโม สุโข จบ โยมทำอะไร เห็นยกมือกล่าว สาธุ...พระก็ให้พรต่อ บท ที่ท่านสวด ยถาวารีวหา.....จนจบ ก็ยกมือสาธุอีก งานศพนะนี่ สาธุใช้ได้เพราะเป็นการแสดงว่าเราเห็นด้วยที่เขา ทำบุญกุศล ไม่มีใครคิดว่าแปลกหรอก ใช้คำสาธุในงานศพได้น่า....