ถ่ายที่สวนนงนุช พัทยา
.........สมัยไปเรียนเทศน์ พระอาจารย์แนะนำว่าการเทศน์ที่ดี ต้องเลือกสรรถ้อยคำ ที่สุภาพ เรียบร้อย ถูกต้องในเนื้อหา ท่วงทำนองไพเราะ น่าสนใจ ก็เข้าใจนะที่ท่าน แนะนำ แต่ทำไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะสำนวนโวหารที่มีสัมผัสต่อเนื่องกันไป ท่านก็แสดง เป็นตัวอย่าง บ่อย ๆ...เช่น
.........สวัสดีญาติโยมทั้งหลาย....ทุกท่านหมายสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา ณเพลา นี้อาตมภาพจักสาธก และหยิบยกเอาคำพุทธภาษิต.....ที่โบราณลิขิตเป็นคำบาลีเอาไว้ มีใจความว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ...อัตถวโรแห่งภาษิตอันแยบยล ความว่าตนแลเป็น ที่พึ่งแห่งตน......สาธูชนทั้งหลาย....อาตมภาพขอขยายอรรถให้ชัดเจน.....โยมจะได้ แลเห็นแหละเข้าใจได้โดยง่าย.....ดังจะสาธยายธรรมต่อไป..ฯลฯ ด้วยประการฉะนี้ ฝึกเทศน์อยู่สามปี ได้บ้าง ตกหล่นบ้าง ก็พยายามปรับปรุงแก้ไข เมื่อสอนภาษาไทย
ถึงได้ทราบสำนวนการแสดงธรรมเทศนาที่พระอาจารย์สอนให้เทศน์ ก็คือคำร้อยกรอง ประเภทร่ายยาวนั่นเอง นึงถึงทีไรก็อดภูมิใจไม่ได้
.........เมือไปเปิดตำราร้อยกรองหาอ่านฉันทลักษณ์คำประพันธ์ชื่อ ร่ายยาว พบว่าเป็น คำประพันธ์ที่เน้นสำนวนคำสละสลวย จำนวนคำแต่ละวรรค มากบ้าง น้อยบ้าง ไม่เท่ากัน มีการร้อยคำระหว่างวรรคต่อเนื่องกันไปจากคำท้ายวรรคหน้า ไปยังคำที่1/2/3 วรรคถัด ไป จะยาวกี่วรรดไม่จำกัด ร่ายยาวนี้ใช้แต่งเทศน์ หรือบทสวด ที่ต้องว่าเป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ เทศน์ธรรมวัตร เมื่อจบความตอนหนึ่งๆมักลงท้ายด้วยคำว่า นั้นแล ฉะนี้แล นั้นเถิด นี้แล ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้น เมื่อจะเขียนแผนผังรายยาว จะเป็น ดังนี้
........เห็นแผนผังแล้วก็ชักคันไม้คันมือ ขอลองหน่อย เพราะยังไงก็คงง่ายกว่าเทศน์ เนื่องจากมีเวลาแก้ไข เทศน์ว่าปากเปล่านี่นา แก้ไม่ได้ ผิดก็ผิดไปเลย ขอลองหน่อย
.......โอมจะขอสาธยาย..........รายอย่างยาวคราวตรึกจะศึกษา........แลหาแผนผังฉันท ...ลักษณ์ประจักษ์ได้.......ใช้คำมากหลากสีสันพรรณนาความ........ตามกำหนดห้าคำนั่น ...อย่างน้อยดอก.......บอกเคยแต่งวรรคยี่สิบห้าหาลงยาก..........คนพูดมากเขียนเลยยาว ...สาวไปเรื่อยเฉื่อยดังลมพัด.......ส่วนสัมผัสมิหลงลืมท้ายทุกวรรคส่ง........ตรงคำต้นวรรคถัดไป....คำไหนก็ได้อย่าใกล้ท้ายวรรคแหละจึ่งควร.....ครบกระบวรร่ายยาวถึงคราวจะจบลง... ฉันนี้แล
..........ร่ายสุภาพ ก็คือร่ายธรรมดา ๆ ที่ครูอาจารย์ท่านกำหนดไว้ แต่งวรรคละ 5 คำ ยาวกี่วรรคก็ได้ ระหว่างวรรคร้อยสัมผัสต่อเนื่องกันไปตลอด ระหว่างคำท้ายวรรคหน้ากัน คำที่1/2/3 วรรคถัดไป จนกว่าจะจบ ให้จบด้วยโคลงสองสุภาพ หรือโคลงสามสุภาพ ดูจาก
แผนผังบังคับร่ายสุภาพจะเป็นดังนี้
........ก็ขอลองเขียนร่ายสุภาพ ดูบ้าง
.....สาธุจะข้อไหว้...คุณพระไตรพระพุทธ...พิสุทธคุณทั้งสาม....ตามตำนานบอกไว้ ..นัยบุพเพนิวาสน์ สามารถรู้จุติ.........วิชาชาญอุบัติ.........ปรมัตถ์กำจัด..ขัดอาสวะสิ้น.....หมดมลทินเกาะติด....จิตพิสุทธิ์พิสัย.....อัฏฐนัยวิทยา.....วิปัสสนาญาณ....ชาญมโนมยิทธิ......อติทิพย์โสต....รุ่งโรจน์ชาญเจโต........
ฯลฯ ทรงคุณจรณา.......เตวิชชาพรั่งพร้อม....งามหมู่พระแวดล้อม......ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ แลนา
.........ร่ายดั้น
.................ร่ายดั้นก็คือร่ายสุภาพ ถ้าจบด้วยโคลงสองสุภาพ ก็ถือเป็นร่ายสุภาพ ถ้าจบโดย โคลลงสองดั้น ก็เรียก ร่ายดั้น นึกว่าจะมีอะไรพิเศษถึงเรียกร่ายดั้น เมื่อเราเรียนโคลง ก็จะมีโคลง สุภาพ มีโคลงดั้น และโคลงกลบท โคลงที่นำมาต่อท้ายตอนจบเวลาแต่งร่ายมี 2 อย่างคือโคลง สองสุภาพ และโคลงสองดั้น เลยเป็นตัวกำหนดชื่อร่าย จบด้วยโคลงสองสุภาพ เรียกร่ายสุภาพ จบด้วยโคลงสองดั้น เรียกร่ายดั้น
.........(ทรงคุณจรณา)... เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหม่ะรัแวดล้อม ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ แลนา ที่ตัดมานี้
นับในวงเล็กด้วย คือโคลงสามสุภาพ ถ้านับแค่ เตวิชชาพรั่งพร้อม ไปจนจบ ก็เป็นโคลงสองสุภาพ
ยกมาแล้วก็จะแปลดงให้เป็นโคลงดั้น ตรงไหน
............1. ตัด วรรสุดท้าย 4 คำ เหลือสองคำคือ ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระแวดล้อม ยิ่งล้วน
............2.ย้ายคำโทให้ไปอยู่วรรคหน้า
................เตวิชชาพรั่งพร้อม....งามหมู่พระล้วนล้อม....ยิ่งงาม (เติมคำงาม อ่านได้ความพอดี)
ก็ได้โคลงสองดั้นตามต้องการ
.............3. โคลงสามดั้น..(ทรงคุณจรณา)... เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระล้วนล้อม ยิ่งงาม
............นำต้นแบบโคลงสองดั้นและโคลงสามดั้นมาให้ดุ
.............4. นำโคลงดั้นที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วในข้อ 2 หรือข้อ 3 ไปต่อท้ายร่ายสุภาพ ตรงที่ป้าย
ตัวอักษรสีแดง ก็จะจบร่ายด้วยคำว่า.....
.....เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระแวดล้อม ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ แลนา เรียกชื่อว่าโคลงสองสุภาพ
.... เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระล้วนล้อม ยิ่งงาม ดัดแปลงคำท้ายบท ให้มีคำโทคู่ และวรรค
ท้ายตัดเหลือ 2 คำ เรียกโคลงสองดั้น
เปรียบเทียบแผนผัง โคลงสอง
.....ทรงคุณจรณา.. เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระแวดล้อม ยิ่งล้วนหมู่สงฆ์ แลนา เรียกชื่อว่า
โคลงสามสุภาพ
......ทรงคุณจรณา... เตวิชชาพรั่งพร้อม.....งามหมู่พระล้วนล้อม ยิ่งงาม ดัดแปลงคำท้ายบท
ให้มีคำโทคู่ และวรรคท้ายตัดเหลือ 2 คำ เรียกโคลงสามดั้น
เปรียบเทียบแผนผังโคลงสาม
.........จากตัวอย่าง และแผนผัง จะเห็นได้ชัดเจนว่า จำนวนคำที่ใช้ ปกติวรรคละ 5 คำ และวรรค
ท้ายบทให้ 4 คำ ถ้ามี 3 วรรค ก็เป็นโคลงสอง มี สี่ วรรคเป็นโคลงสาม
.........ข้อสังเกต วรรคสุดท้ายมี 4 คำ เป็นโคลงสุภาพ วรรคสุดท้ายมี สองคำเป็นโคลงดั้น
.........โคลงดั้น ตัดคำวรรคท้ายออกสองคำ คำโทจะย้ายไปวรรคหน้า ทำให้มี โทคู่ สองคำที่
เหลือจึงคือแค่ คำเอกและคำสุภาพ
..........สัมผัสบังคับ ดูตามแผนผังก็พอทราบได้ โคลงสามที่เพิ่มมา 1 วรรค 5 คำ คำท้ายจะส่ง
สัมผัสให้วรรคถัดไป ตรงคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 คำท้ายวรรค 2 เป็นคำโท ส่งสัมผัสให้คำท้ายวรรค
ถัดไปที่เป็นคำโทเช่นกัน คำท้ายบท ส่งสัมผัสให้วรรคแรกบทถัดไป คำที่1 2 หรือ 3
...........กำลังเขียนถึงร่าย อยู่ ๆ ก็ตัดเข้าโคลงสองโคลงสาม เพราะคำลงท้ายของร่าย ต้องใช้
โคลงสองหรือโคลงสาม ถ้าจบด้วยโคลงสุภาพ ก็เป็นร่ายสุภาพ ถ้าจบด้วยโคลงดั้น ก็เรียกร่ายดั้น
ดังนั้นโคลงจึงเป็นตัวกำหนดชื่อร่ายสุภาพหรือร่ายดั้น
..........สรุปการแต่งร่าย มีสองรูปแบบคือ ร่ายที่ใช้ในการแสดงธรรมเทศนา ที่เรียกร่ายยาว ไม่ได้
จำกัดจำนวนคำต่อวรรค จัดให้พอดีกับการแสดงและการหายใจ ตกระหว่าง 5-15 คำกำลังพอดี
สัมผัสระหว่างวรรค จากคำท้ายวรรคหน้า ส่งให้วรรคถัดไป คำที่ 1 2 3 4 5 ตามแต่จะพอใจ แต่ก็
ไม่ใกล้คำสุดท้ายวรรคเกินไป แต่ยาวกี่วรรคก็ได้ จนกว่าจะจบเรื่อง และจบลงด้วยคำ เอวังก็มีด้วย
ประการฉะนี้ หรือใช้คำ ฉะนี้แล นั่นแล ก็ได้
.........ร่ายที่มีรูปแบบ กำหนดค่อนข้างชัดเจน วรรคละ 5 คำ แต่งยาวกี่วรรคแล้วแต่พอใจ ต้องมี
ส่งและรับสัมผัสระหว่างวรรคต่อวรรคไปตลอดจนจะจบเรื่อง ค่อยยกโคลงสามหรือคลองสองปิด
ท้ายแสดงว่าจบบทร่าย โคลงสองหรือโคลงสามที่นำมาปิดท้าย ถ้าเป็นโคลงสุภาพ ก็เรียกร่ายนั้น
ว่าร่ายสุภาพ ถ้าเป็นโคลงดั้น ก็เรียกร่ายดั้นด้วย
สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น