..........ผมนึกแผนผังบังคับกลอนไม่ได้ ผมจะนึกถึงบทกลอนที่เป็นบทอาขยาน เพื่อใช้เป็นแนวศึกษาแผนผังบังคับ บทที่จำได้ดี ได้แก่ บทกลอนพระดาบสสอนสุดสาคร
..........แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์...........มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
..........ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด.........ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน ฯ
...........(1) คณะกลอน ใช้คำวรรคละ 7-9 คำ ใช้ 8 คำ ใช้จังหวะคำแบบ 3-2-3 อ่านเพราะดี บาทหนึ่งมี 2 วรรค แต่ง 2 บาทเป็น 1 บท
............(2) สัมผัสบังคับ มีต่อเนื่องจากวรรค 1 ไปวรรค 2 ไปวรรค 3 และไปวรรค 4 ได้แก่คำท้ายวรรค คี่
คือวรรค 1 และวรรค 3 จะส่งสัมผัสให้วรรคคู่ คำที่ 3 จะเป็นคำรับสัมผัส คำท้ายวรรค คู่ คือวรรคที่ 2 กับวรรคที่ 4 ส่งสัมผัสต่างกัน คำท้ายวรรคที่ 2 ส่งให้คำท้ายวรรคที่ 3 ส่วนคำท้ายวรรคที่ 4 เป็นคำส่งสัมผัสให้บทถัดไป ถ้าแต่งต่อเนื่องมากกว่า 1 บท โปรดสังเกตแผนผัง...........
.........จากแผนผังช่วยให้เรารู้จักกลอนแปดได้ง่ายขึ้น ลูกกลม ๆแทน 1 คำ นับได้แปดคำเท่ากันทุกวรรค
มีแปดวรรคนั่นคือ กลอน 2 บท วงกลมสีเขียวคือคำที่ส่ง-รับสัมผัสกันตามลูกศรสีดำโยงให้ดู ถ้าแต่กลอนก็ใส่คำให้ครบตามแผนผัง นอกจากนี้ ยังต้องพยายามวางจังหวะคำให้อ่านได้แบบ 3-2-3 กลอนที่แต่งก็จะอ่านง่าย และจะอ่านได้เพราะยิ่งขึ้นถ้ามีสัมผัสในช่วย คือ
..........กลอนจะไพเราะถ้ามีสัมผัสในช่วย
..........(1) วรรคแถวหน้า คำที่ 3-4 นิยมสัมผัสสระ คำที่ 5-6/7 นิยมสัมผัสสระ
..........(2) วรรคแถวหลัง คำที่ 3 สัมผัสบังคับ ถ้าจะเล่นสัมผัสใน คำที่ 3 กุบคำที่ 4 ให้เล่นสัมผัสพยัญชนะแทน ส้วนคำที่ 5กับคำที่ 6/7 เล่นสัมผัสสระได้
.........ตัวอย่าง กลอนที่อ่านแล้วเพราะมาก ๆ เพราะเหตุใด
.........บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว...........สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
.........เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา.....................ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
.........เเล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์...............มันเเสนสุดลึกลำเหลือกำหนด
.........ถึงเถาววัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด............ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในนำใจคน
........วรรคแรกสุดยอดเล่นสัมผัสใน ด-ด ง-ง-ว-ว-ว เหง่ง-เวง
........วรรคที่ 3 คี-ขี่ รุ้ง-พุ่ง
.........วรรคที่ 5 ว่า-อย่า ไว้-ใจ
........วรรคที่ 7 วัลย์-พัน เกี่ยว-เลี้ยว
วรรคแถวหลัง คิอวรรที่ 2 4 6 และ 8
.........คำที่ 3 สัมผัสบังคับ ไม่เล่นสัมผัสใน
.........วรรคที่ 2 มี แล้ว-เหลียว-แล และ แล-แง้
.........วรรคที่ 4 มี 2 จน-บน และ บน-บรร
.........วรรคที่ 6 แสน-สุด ลึก-ล้ำ-เหลือ ล้ำ-กำ
.........วรรคที่ 8 หนึ่ง-ใน-น้ำ
.........จะเห็นมีสัมผัสในทุกวรรค วรรคที่มี 2 คู่ / กลุ่ม จะอ่านเพราะมากกว่ามีกลุ่มเดียว
สรุปเป็นหลักเกณฑ์การแต่งกลอน แปด ดังนี้
.........(1) แต่งวรรคละ 8 คำ จังหวะ 3 - 2 - 3
.........(2) วรรคคี่ แถวหน้า สัมผัสพยัญชนะ เล่นได้ทุกตำแหน่ง ส่วนสัมผัสสระ คำที่ 3 กับคำที่ 4 และคำที่ 5 กับคำที่ 6 หรือ 7
........(2) วรรคคู่ แถวหลัง คำที่ 3 เป็นสัมผัสบังคับ แต่ละเล่นสัมผัสในก็ได้ ให้เป็น สัมผัสพยัญชนะแทน ส่วนคำที่ 5 กับคำที่ 6 / 7 เล่นสัมผัสสระได้ตามปกติ
..........เสียงวรรณยุกต์คำท้ายวรรคกลอนแปด
วรรคที่ 1 หรือวรรคสดับ สามารถใช้ได้ทุกเสียงวรรณยุกต์ แต่ที่ถือว่าไม่ไพเราะ
วรรคที่ 2 หรือวรรครับ ใช้เสียงวรรณยุกต์ จัตวา โท เอก (เรียงลำดับความไพเราะ จากมากไปหาน้อย ) ห้ามเสียงสามัญ และตรี
วรรคที่ 3 หรือวรรครอง ให้ใช้แค่เสียงสามัญ และอนุโลมตรีได้ จึงนิยมใช้กันทั้งสองเสียง
วรรคที่ 4 หรือวรรคส่ง ให้ใช้เสียงสามัญ และอนุโลมให้ใช้เสียงตรีได้ เช่นเดียวกับวรรครอง
...........คำรับสัมผัสบังคับ
...........คำประสมสระตัวเดียวกันในแม่ กา-กา
...........เช่นประสมสระอา อา ขา กา มา นา อา
...........สระอะ เช่น นะ คะ จะ ปะ ระยะ พระ กะ
...........สระอิ ติ ริ จิ บิ ชิ
.......... สระอุ กุ รุ จุ ชุ ตุ ดุ
...........คำประสมสระเดียวมีตัวสะกดต้องมาตราเดียวกัน จะรับ-ส่งสัมผัสได้
...........นาง บาง กลาง ยาง สระ อา + แม่ กง
...........นาย ตาย ชาย ยาย ลาย สระ อา+แม่เกย
...........บุญ คุณ ลุน ตุน ดุน สระอุ + แม่ กน
...........กุด รุด หยุด ปุด นุช สระ อุ+แม่กด
............กูด พูด รูด หูด ปูด ตูด สระอู + แม่กด
..............1. จังหวะกลอน เนื่องจากการแต่งกลอนมีคนนิยมใช้คำแตกต่างกันไป วรรค 6 -7 คำบ้าง 8 คำ นี่มาตรฐาน และ 9 คำ ถือว่ามากที่สุด จนมีคำอธิบายว่าใช้คำวรรคละ 6-9 คำ จึงขอแนะนำจังหวะกลอน ไว้รวม ๆ ไปเลยคือ.....ถ้าแต่งวรรคละ 6 คำ ควรใช้ 2-2-2 อ่านเพราะดี ถ้า วรรคละ 7 คำ จะเป็น 2-2-3 3-2-2 หรือ 2-3-2 ตามใจชอบ แต่ควรเลือกสม่ำเสมอ เพราะคนอ่านไม่มีเวลา ตรวจจังหวะก่อนอ่านหรอก อ่านสะดุดก็ตำหนิเลยว่า..กลอนไม่รื่นไหล กลอนวรรคละ 8 คำ วาง 3-2-3 นั่นแหละดีที่สุด วรรคละ 9 คำก็ 3-3-3 ควรใช้จังหวะที่นิยมแต่งกัน ในที่นี้จะยึด กลอนแปด แบบ 3-2-3 เป็นหลัก เพราะคนนิยมมากกว่าแบบอื่น
............จังหวะกลอนสำคัญมาก แต่งกลอนให้คนอื่นอ่าน ต้องเลือกแบบที่คนนิยมทั่วไป จะ แต่งแบบเราชอบคนเดียวไม่เหมาะ จังหวะก็คือเลือกคำที่ออกเสียงครบตามจังหวะ เช่นจะแต่ง ให้ลงตัววรรคละ 3-2-3 คำ คำที่แต่งต้องอ่านได้ 3 พยางค์ จบความ อ่านต่อ 2 พยางค์ จบ ความและอ่านอีก 3 พยางค์จบความ แบบนี้เรียกจัดคำเป็นแบบ 3-2-3 เช่น
..............จะแต่งกลอนสอนใจให้ลูกหลาน ลงตัว 3-2-3 อ่านง่าย
...............จะแต่งบทกลอนสอนใจให้ลูกหลาน คำ บทกลอน ต้องอ่านติดกันกลายเป็นคร่อม จังหวะทำให้อ่านไม่เพราะ กลายเป็น 4-2-3 ตัดคำ จะ ออก จะรู้ทันทีว่าอ่านคล่องกว่ากัน
..............2. ลงท้ายวรรคสดับด้วยคำตาย ไม่ได้ผิด แต่ทำให้รู้สึกอึดอัด หาคำสัมผัสยาก ขอฝากกลอนวอนนุชสุดที่รัก........ด้วยใจภักดิ์นวลศรีเป็นที่(สุด) รุด คุด ดุจ ผุด พุทธ วุฒิ หาได้แต่เรียบเรียงยากจริง ๆ
..............ขอส่งพรวันเกิดประเสริฐสุด...........ถึงนงนุชขวัญตายุพาพักตร์
..............อายุมั่นขวัญยืนเถิดที่รัก.................พึงประจักษ์คณานับทรัพย์ศฤงคาร ฯ
...............สุด พักตร์ รัก เป็นคำตาย เอามาลงท้ายวรรค ทำให้หาคำมารับสัมผัสยาก
..............3. ในวรรคที่ต้องรับสัมผัส มีหลายคำรับสัมผัสได้ ถือเป็นข้อบกพร่องมาก ๆ
.............จะทักทายรายวันสรรค์เสกสาร..............กราบเทพวานบันดาลพรเสริมศรี
.........แม่มารีตรีรัตน์อวยฤทธี........................ขอจงมีทวีโชคลาภสักการ ฯ
คำสารส่ง....รับด้วยคำ วาน แถมมี ดาลอีก ถือเป็นข้อบกพร่องคนแต่ง
คำ ศรี ส่ง.....รับด้วยคำ ฤทธี แต่มีคำ มารี ตรี ขวางหน้าอยู่ บกพร่องมาก ๆ
คำ ฤทธีส่งสัมผัส ....รับด้วยคำ มี แถม ทวีอีกคำ หักคะแนนกระจุยเลยเพราะบกพร่อง
..............4.ใช้คำประสมสระเดียวกันจริง แต่คนละมาตราสะกด ใช้สัมผัสบังคับไม่ได้
..............เป็นเด็กน้อยค่อยขยันมุ่งมั่นเขียน..........ให้ทันเทียมเพื่อนพ้องคล่องศึกษา
..............ขยันกิจการบ้านงานนำพา.....................ฝึกวิญญาณฉลาดเฉลียวเชียวชาญเชาวน์
คำ เขียนส่งสัมผัส รับด้วยคำ เทียม สระเอียเหมือนกัน แต่คนละมาตราสะกด บกพร่องมาก
คำ นำพา ส่งสัมผัส ....รับด้วยคำ วิญญาณ สระอาเหมือนกัน แต่คนละมาตราสะกด ใช้ไม่ได้
..............5. เล่นสัมผัสในคำที่ 3-4 ในวรรคคู่ เป็นตำแหน่งสัมผัสบังคับ ห้ามเล่นสัมผัสในสระ
อยากเล่นให้ใช้สัมผัสพยัญชนะแทน
..............ขยันเล่นเป็นกลอนอักษรศิลป์................พอยลยินรินคำทำนองสรรค์
..............ลหุครุลองปลูกจับผูกพัน.......................เก่าะก่ายกันนันทนาเวลาฟัง ฯ
..............วรรค 2 คำ ยิน สัมผัสบังคับ อยากเล่นสัมผัสใน เอาคำ ริน มาต่อ ได้เรื่อง กลาย
เป็นสัมผัสเลือนทันที กลอนมีแผล 1 แผล คำ กัน วรรคที่สี่ สัมผัสบังคับ เล่นสัมผัสในอีก เอา
คำนันทนามาต่อ ได้สัมผัสเลือนอีก เป็น 2 แผล แก้ไข.....
..............ขยันเล่นเป็นกลอนอักษรศิลป์................พอยลยินแยกคำทำนองสรรค์
..............ลหุครุลองปลูกจับผูกพัน.......................เก่าะก่ายกันกลมกลืนรื่นยามฟัง ฯ
ยิน อยากเล่นสัมผัสใน เอาเสียง ย มาสัมผัสเป็น ยิน-แยก คำ กัน เอาเสียง กล มาสัมผัส
กลายเป็นเสียง ก 5 คำ ติด ๆ เจ๋งเป้งไปเลย
..............6. ชอบใช้คำเสียงคล้ายกันมารับส่งสัมผัสกัน ทั้งที่เป็นคนละเสียง ใช้ไม่ได้
.............ชมลำธารใสเย็นเห็นตัวปลา...................ว่ายไปมาทวนกระแสแลน้ำใส
.............นั่นปลาหลดกดคังหลังปลากราย..............ทวนน้ำไหลงดงามตามสายชล
.............นึกว่า กราย เป็นเสียง ไอ เอามารับคำ ใส ส่งไปให้คำ ไหล ผิดเต็มร้อย
.............7. ชอบใช้คำมีรูปวรรณยุกต์ เอก หรือโท ท้ายวรรคที่ 2 หรือวรรคที่ 3 โบราณ
เรียก ละลอกทับ ละลอกฉลอง
.............ปลากระดี่รีมาท่าระรื่น......................ปลาหมอตื่นตกใจอะไรนี่
.............ปลาชะโดคึกโครมเข้าโจมตี..............ดับกระดี่อนิจจังสังขารา
........ระรื่น คำเอก นี่ คำเอก ไม่ผิด แต่คนโบราณท่านตำหนิ ระวังบ้างก็ดี
.............คุยถึงการแ
แต่งกลอนช่วงนี้ ใกล้วันสุนทรภู่ 26 มิถนายน 2561 ครับ คงจะเป็นเทศกาล
ชักชวนนักเรียนนักศึกษาแต่งกลอนได้เป็นอย่างดี เลยขอฝากเทคนิคการเขียนกลอนแปดไว้
ให้อ่านกันเล่น แต่เอาไปใช้ได้จริงครับ ส่วนผมก็คงเขียนร้อยกรองอย่างอื่นที่มิใช่กลอน ร่วม
กิจกรรมวันสุนทรภู่ กำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้อะไรดี โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต ก็คงจะ
วนเวียนอยู่ตามนี้แหละ หัวข้อนี้ขอจบละครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น