.........ธรรมวิภาค นักธรรมโท จัดเป็นหนังสือรวบรวมหัวข้อธรรมะที่คัดเลือกหัวข้อธรรมจากพระไตรปิฎก นำมาใช้อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรในระดับนักธรรมโท ปริยัติธรรมหลักสูตรการศึกาษาของพระภิกษุสามเณรนั้น ความจริงน่าจะจัดเป็นภาคบังคับให้เรียนใน ปีแรก หลักสูตรคือหนังสือนวโกวาท เหมาะมาก สำหรับผู้บวชใหม่ ส่วนธรรมวิภาคนักธรรมโท จะมีหัวข้อธรรมะกว้างขวางยิ่งขึ้น คนที่เรียจบเล่มนี้ จะสามารถเลือกเอาไปสอนชาวบ้านได้สบาย ๆ หลักสูตรนักธรรมเอก ยังต้องอาศัยหัวข้อธรรมะจากเล่มนี้ ไปใช้วิพากย์วิจารณ์ที่นักธรรมเอกต้องฝึกให้ชำนาญ ก่อนจะขึ้นธรรมมาสน์เทศน์สอนชาวบ้าน ไม่งั้น ก็ต้องอาศัยอ่านใบลาน อ่านหนังสืออานิสงส์ ซึ่งดูแล้วไม่ค่อยสง่างามนัก สู้มีความรู้หลักธรรมแล้วค่อยเทศน์ด้วยสำนวนโวหารที่เรียกเทศนาโวหารไม่ได้ น่าศรัทธากว่า หนังสือที่นักเทศน์ควรศึกษาให้เข้าใจ ชัดเจนคือ นวโกวาท นักธรรมตรี และธรรมวิภาค นักะรรมโท ส่วนธรรมวิจารย์นักธรรมเอก ก็เป็นวิธีนำ เอาหลักคำสอนต่าง ๆ มาวิพากย์วิจารย์ให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เวลาแสดงธรรมเทศนา จะดู
คล่องแคล่วน่าศรัทธามากกว่า ดังนั้นพระที่จบนักธรรมเอกจึงมักจะแสดงธรรมเทศนาได้น่าฟัง ดีกว่าไม่ได้ศึกษา ชาวบ้านอยากรู้ ลองเข้ามาอ่านดูสิครับ ผมคัดมาแบ่งเป็นตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ความยาวประมาณตอนละ 30 หน้ากระดาษ เอ 4 เชิญเลยครับ อ้อ...ขออนุญาตลงวุฒิการศึกษา อวดบ้าง จะได้รู้ ทำไมสนใจเรื่องธัมมะธัมมังนัก
ขุนทอง ศรีประจง
นธ.เอก ปธ.4. พ.ม. กศ.บ.(เกียรตินิยม) ศศ.ม
คล่องแคล่วน่าศรัทธามากกว่า ดังนั้นพระที่จบนักธรรมเอกจึงมักจะแสดงธรรมเทศนาได้น่าฟัง ดีกว่าไม่ได้ศึกษา ชาวบ้านอยากรู้ ลองเข้ามาอ่านดูสิครับ ผมคัดมาแบ่งเป็นตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ความยาวประมาณตอนละ 30 หน้ากระดาษ เอ 4 เชิญเลยครับ อ้อ...ขออนุญาตลงวุฒิการศึกษา อวดบ้าง จะได้รู้ ทำไมสนใจเรื่องธัมมะธัมมังนัก
ขุนทอง ศรีประจง
นธ.เอก ปธ.4. พ.ม. กศ.บ.(เกียรตินิยม) ศศ.ม
ทุกะ หมวด ๒
อริยบุคคล ๒
พระเสขะ พระผู้ยังต้องศึกษา
พระอเสขะ พระผู้ไม่ต้องศึกษา
องฺ. ทุก. ๒๐/๘๐.
อธิบาย : พระอริยบุคคล ๗
เบื้องต้น ชื่อว่าพระเสขะ เพราะเป็นผู้ยังต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไป. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล
ชื่อว่าพระอเสขะ เพราะเสร็จกิจอันจะต้องทำแล้ว [จงดูอริยบุคคล ๘].
กัมมัฏฐาน ๒
สมถกัมมัฏฐาน
กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ
วิปัสสนากัมมัฏฐาน
กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา.
องฺ. ทุก. ๒๐/๗๗.
อธิบาย :
กัมมัฏฐานเนื่องด้วยบริกรรม ไม่เกี่ยวกับปัญญาจัดเป็นสมถกัมมัฏฐาน.
กัมมัฏฐานเนื่องด้วยทัสสนะทางใจ ในคติของธรรมดา ปรารภสภาวธรรมและสามัญญลักษณะ
จัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน. ภาวนา ๒ ก็เรียก.
กาม ๒
กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่
วัตถุกาม พัสดุอันน่าใคร่.
ขุ. มหา. ๒๙/๑.
อธิบาย : กิเลสกาม
ได้แก่กิเลสให้ใคร่ คือ ราคะ โลภะอิจฉา คือความอยากได้ อิสสา
คือความริษยาหรือความหึง อรติความไม่ยินดีด้วย อสันตุฏฐิ ความไม่สันโดษ เป็นอาทิ.
วัตถุกามได้แก่กามคุณ ๕ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันเป็นที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ.
ทิฏฐิ ๒
สัสสตทิฏฐิ
ความเห็นว่าเที่ยง
อุจเฉททิฏฐิ
ความเห็นว่าขาดศูนย์.
สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑๒๐.
อธิบาย: ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น ใช้เป็นคำกลางก็มี จะให้รู้ว่าดีหรือชั่ว เติมคำหมายต่างเข้า เช่น "สมฺมาทิฏฺฐิ" ความเห็นชอบ "มิจฺฉาทิฏฺฐิ" ความเห็นผิด "ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน" ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ "ทิฏฺฐิวิปนฺโน" วิบัติด้วยทิฏฐิ. แต่โดยมากใช้หมายความช้างเห็นผิด เช่นทิฏฐิ ๒ นี้. ความเห็นว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรศูนย์ แม้
คนและสัตว์ตายแล้ว
ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนมนัสที่เรียกในภาษาสํสกฤตว่า "อาตฺมนฺ"
เรียกในภาษมคธว่า "อัตตา" ก็มี"ชีโว" ก็มี เรียกในภาษาไทยว่า
"เจตภูต" เป็นธรรมชาติไม่ศูนย์ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป
จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ. ความเห็นปฏิเสธภาวะอย่างนั้น
ถือว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนั้นแล้วเป็นขาดศูนย์ จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิ.
เทสนา ๒
ปุคคลาธิฏฐานา
มีบุคคลเป็นที่ตั้ง
ธัมมาธิฏฐานา
มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
สทฺ. ปฏิ. ๗๗.
อธิบาย: เทสนาแสดงโดยสมมติ กล่าวถึงบุคคลเป็นตัวอย่างเรียกปุคคลาธิฏฐานา. เทสนาแสดงโดยสภาวะ ยกธรรมเป็นที่ตั้งเรียกธัมมาธิฏฐานา. อุทาหรณ์ แสดงว่า บุคคลมีศรัทธา มีเพียรมีสติ ได้สมาธิ มีปัญญา เป็นเช่นนั้น ๆ นี้ปุคคลาธิฏฐานา.แสดงว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นเช่นนั้น ๆ นี้เรียก
ธัมมาธิฏฐานา.
ธรรม ๒
รูปธรรม สภาวะเป็นรูป
อรูปธรรม สภาวะมิใช่รูป.
อภิ. สงฺ. ๒.
ธรรม ๒
โลกิยธรรม
ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก
โลกุตตรธรรม
ธรรมอันพ้นวิสัยของโลก.
อภิ. สงฺ. ๒.
อธิบาย: มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ รวมเป็น ๙ จัดเป็นโลกุตตรธรรม เหลือจากนั้นเป็นโลกิยธรรม.
ธรรม ๒
สังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยปรุง
อสังขตธรรม
ธรรมอันปัจจัยไม่ได้ปรุง.
องฺ. จตุกฺก. ๒๐ ๔๔.
อธิบาย:
สิ่งหรือสภาพมีเกิดในเบื้องต้น มีแปรไปในท่ามกลางมีดับในที่สุด เป็นสังขตธรรม.
อีกอย่างหนึ่ง สภาพเกิดแต่เหตุทั้งปวงจัดเป็นสังขตธรรม.
พระนิพพานจัดเป็นอสังขตธรรม.
นิพพาน ๒ โดยบรรยาย
สอุปาทิเสสนิพพาน
ดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ
อนุปาทิเสสนิพพาน
ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ.
ขุ. อิติ. ๒๕/๒๕๘. องฺ. นวก.
๒๓/๓๙๔.
อธิบาย: โดยบุคคลาธิฏฐาน
พระอริยเจ้าผู้ละกิเลสได้สิ้นเชิงด้วยพระอรหัตตมรรคแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตตผล
เป้นพระอรหันต์ยังทรงชีพอยู่ จัดว่าได้บรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน
ครั้นสิ้นชีพแล้วจัดว่าได้บรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน*.
บูชา ๒
อามิสบูชา บูชาด้วยอามิส
(คือสิ่งของ)
ปฏิปัตติบูชา
บูชาด้วยปฏิบัติตาม.
องฺ. ทุก. ๒๐/๑๑๗.
ปฏิสันถาร ๒
อามิสปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยอามิส
(คือสิ่งของ)
ธัมมปฏิสันถาร
ปฏิสันถารโดยธรรม.
องฺ. ทุก. ๒๐/๑๑๖.
อธิบาย: ปฏิสันถาร ได้แก่
การต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น.อามิสปฏิสันถาร ได้แก่ ต้อนรับด้วยให้สิ่งของ
เช่นให้น้ำร้อนหมากพลูอาหารเป็นต้น. ธัมมปฏิสันถาร แก้กันมาว่า กล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำกันในทางธรรม.
ข้าพเจ้าเห็นไม่ใช่อาการรับแขก มติของ
* อธิบายตามสูตรที่ ๗ แห่งทุติยวรรค ทุกนิบาต
อิติวุตฺตก. ๒๕/๒๕๘.แต่ในพระบาลีแห่งสูตรนั้น หน้า ๒๕๘-๙ แสดงว่า
นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังรู้สึกอารมณ์น่าชอบใจ และรู้สึกสุขทุกข์ เรียกสอุปาทิเสสนิพพาน
นิพพานของพระอรหันต์ผู้ไม่ยินดีเวทนาทั้งปวง (เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ)
เรียกอนุปาทิเสสนิพพาน.ในนวกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๓๙๔. แสดงว่า สอุปาทิเสสนิพพาน
ได้แก่นิพพานของพระเสขะ คือดับสังโยชน์ได้ตามชั้น อนุปาทิเสสนิพพาน
ได้แก่พระนิพพานของพระอเสขะคือดับสังโยชน์ได้สิ้นเชิง.ข้าพเจ้า
ได้แก่ต้อนรับโดยควรแก่ฐานะของแขกผู้มา ควรลุกรับกราบไหว้ก็ทำ ไม่ควรทำอย่างนั้น
ก็ทำความเอื้อเฟื้อด้วยประการอื่น.แม้เจ้าถิ่นมีปรารถนาดี
แต่ทำไม่ควรแก่ฐานะของแขก การปฏิสันถาร
นั้นอาจเสีย
เช่นแขกเป็นคนชั้นสูง เจ้าถิ่นทำการต้อนรับอย่างคนสามัญดูเป็นไม่สำคัญในแขกผู้นั้นเลย.
อีกฝ่ายหนึ่ง แขกเป็นคนสามัญเจ้าถิ่นต้อนรับแข็งแรง อย่างทำแก่แขกชั้นสูง
ดูเป็นตื่นหรือเซอะไป.
ธัมมปฏิสันถาร
หมายเอาการต้อนรับที่ทำพอดีสมแก่ฐานะของแขก.
ปริเยสนา ๒
อริยปริเยสนา
แสวงหาอย่างประเสริฐ
อนริยปริเยสนา แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ.
ม. มู. ๑๒/๓๑๔.
อธิบาย : สัมมาอาชีวะ
เป็นอริยปริเยสนา. มิจฉาอาชีวะเป็นอนริยปริเยสนา. ในพระสูตรแสดงว่า
แสวงหาสภาพอันมิใช่ของมีชรา พยาธิ มรณะ เป็นธรรม
คือคุณธรรมมีพระนิพพานเป็นอย่างสูง เป็นอริยปริเยสนา แสวงหาของมีชรา พยาธิ มรณะ
เป็นธรรมเช่นหาของเล่น เป็นอนริยปริเยสนา.
ปาพจน์ ๒
ธรรม และ วินัย.
ที. มหา. ๑๐/๑๗๘.
อธิบาย:
ความปฏิบัติไม่ได้เนื่องด้วยระเบียบอันทรงตั้งไว้ด้วยพุทธอาณา
เป็นสิกขาบทหรืออภิสมาจาร เป็นทางนำความประพฤติและอัธยาศัยให้ประณีตขึ้น
จัดเป็นธรรม. ความปฏิบัติเนื่องด้วยระเบียบอย่างนั้น
เป็นทางนำความประพฤติให้สม่ำเสมอกัน หรือเป็นเครื่องบริหารคณะ จัดเป็นวินัย.
รูป ๒
มหาภูตรูป รูปใหญ่
อุปาทายรูป รูปอาศัย.
ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๗๕. ม. อุป.
๑๔/๗๕.
อธิบาย: สิ่งอันเป็นวิสัยแห่งอายตนะภายใน ๕ ข้างต้น จัดเป็นรูปในเบญจขันธ์. สิ่งอันเป็นวิสัยของจักษุเท่านั้น จัดเป็นรูปในอายตนะภายนอก. ธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย จัดเป็นมหาภูตรูป. อาการของมหาภูตรูป จัดเป็นอุปาทายรูป. ประเภทแห่งอุปาทายรูป แสดงไว้ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ คือประสาท ๕
สิ่งที่ให้สำเร็จการเห็น
เรียกจักขุปสาท ๑, สิ่งที่ให้สำเร็จการฟังเรียกโสตปสาท ๑, สิ่งที่ให้สำเร็จการดม เรียกฆานปสาท ๑, สิ่งที่ให้สำเร็จการลิ้ม
เรียกชิวหาปสาท ๑, สิ่งที่ให้สำเร็จการรู้สึกผัสสะเรียกกายปสาท ๑, หรือเรียกสั้นเพียง จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กายโคจร (คืออารมณ์) ๕
รูปอันเป็นวิสัยแห่งจักขุ ๑,
เสียง ๑, กลิ่น ๑,รส ๑, โผฏฐัพพะ (ยกอาโปนับแต่ ๓)
๑. ภาวะ ๒ อิตถีภาวะความเป็นหญิง ๑, ปุริสภาวะ ความเป็นชาย ๑.
หทัย หมายเอาสิ่งที่ให้สำเร็จความคิด ๑. ชีวิตินทรีย์
หมายเอาความเป็นอยู่แห่งรูปหรือสิ่งที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ๑. อาหารหมายเอาโอชา ๑.
อากาสธาตุหมายเอาสิ่งที่ขังอยู่ในช่องว่าง เรียกปริจเฉทรูป ๑. วิญญัตติ ๒
คือกายวิญญัตติ กิริยาที่ไหวกายได้ ๑, วจีวิญญัตติ
กิริยาที่ไหววาจาคือพูดได้ ๑. วิการ คืออาการต่าง ๓ ลหุตา ความเบา
อธิบายว่ารูปของคนยังเป็น ไม่หนักดุจรูปของคนตายแล้ว ๑, มุทุตา ความ
อ่อนสลวย อธิบายว่า
รูปยังปกติมีข้อลำอาจคู้หรือเหยียดคล่องแคล่วไม่แข็งกระด้างดุจรูปของคนเจ็บคนตายแล้ว
๑, กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน คือความคล่องแคล่ว ๑.
ลักขณะ ๔ คือ อุจจยะความรู้จักเติบขึ้น ๑, สันคติ ความสืบเนื่องกัน
เช่นขนเก่าหลุดร่วงไปใหม่เกิดแทนกัน ๑, ชรตา ความรู้จักทรุดโทรม ๑, อนิจจตาความไม่ยั่งยืน ๑. สิริเป็น ๒๕ รวมทั้ง ๒ ประเภทเป็น ๒๙
แต่ในปกรณ์นับเป็น ๒๘. ในที่บางแห่งนับโคจรเพียง ๔
ยกโผฏฐัพพะที่เป็นประเภทเดียวกับรูป จึงลง ๒๘ พอดี.
วิมุตติ ๒
เจโตวิมุตติ
ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ
ปัญญาวิมุตติ
ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา.
องฺ. ทุก. ๒๐/๗๘.,๑๐๔. อง. นวก. ๒๓/๔๗๓.
อธิบาย : ความทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสาสวะถึงความบริสุทธิ์โดยนิปปริยาย เรียกวิมุตติ๑. วิมุตติมีสมาธิเป็นปทัฏฐาน คือ ท่านผู้บรรลุได้ฌานมาก่อนแล้ว จึงบำเพ็ญวิปัสสนาต่อ จัดเป็นเจโตวิมุตติ.วิมุตติที่ได้บรรลุด้วยลำพังบำเพ็ญวิปัสสนาล้วน จัดเป็นปัญญาวิมุตติ.อย่างต้น ได้แก่วิมุตติของพระอรหันต์ผู้ได้บรรลุวิชชา ๓ และผู้ได้อภิญญา ๖. อย่างหลัง ได้แก่วิมุตติของพระอรหันต์สุขวิปัสสก๒.อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดไว้โดยไม่ต่าง๓ ทั้ง ๒ ชื่อหมายเอาพระอรหันต์ เรียกเจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ เรียกปัญญาวิมุตติเพราะพันจากอวิชชา.
สังขาร ๒
อุปาทินนกสังขาร
สังขารมีใจครอง
อนุปาทินนกสังขาร
สังขารไม่มีใจครอง.
วิ. ขนฺธ. ตติย. ๒๐.
อธิบาย: สิ่งที่ธรรมดาคุมเข้าจากธาตุ เช่นร่างกายและต้นไม้ก็ดี สิ่งที่คนคุมเข้าจากสัมภาระ เช่นรถและเรือนก็ดี ชื่อว่าสังขาร.เทวดามนุษย์อมนุษย์และดิรัจฉานต่างประเภท เป็นอุปาทินนกสังขาร.๑. โดยโลกุตตรนัย. ๒. ทรงไว้ในธรรมวิจารณ์ว่า "ข้าพเจ้าเข้าใจไม่พอจะอนุโมทนาหรือค้าน แต่เทียบกันเข้าไม่สมกับวิสุทธิ อันจะกล่าวในลำดับ" ๓. พระบาลีสุตตันตปิฎกทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๗๘. ๔. ในพระบาลีนวกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๔๗๓.แสดงปัญญาวิมุตติโดยปุคคลาธิฏฐาน มีใจความว่า ผู้เข้ารูปฌานอรูปฌานและรู้ด้วยปัญญาจัดเป็นปัญญาวิมุตติโดยปริยาย ผู้เข้าสัญญเวทยิตนิโรธและสิ้นอาสวะด้วยปัญญา จัดเป็นปัญญาวิมุตติโดยปริยาย. ในเมตตานิสังสสูตร พระสุตตันตปิฎก เอกาทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย๒๔/๓๗๐. แสดงการทำจิตให้หลุดพ้นด้วยเมตตาว่า เมตตาเจโตวิมตติ.ภูเขา ต้นไม้ รถ เรือน เป็นต้น เป็นอนุปาทินนกสังขาร.
สมาธิ ๒
อุปจารสมาธิ
สมาธิเป็นแต่เฉียด ๆ
อัปปนาสมาธิ
สมาธิอันแน่แน่ว.
วิ. สมาธิ. ทุติย. ๑๙๔. ม.
มู. ๑๒/๓๘๑. (โดยความ)
อธิบาย: การทำใจให้นิ่ง คือมีอารมณ์เดียว จัดเป็นสมาธิสมาธิอันยังไม่ดิ่งลงไปแท้ เป็นแต่จวน ๆ จัดเป็นอุปจารสมาธิ. สมาธิอังดิ่งลงไป สุขุมกว่าอุปจารสมาธิ จัดเป็นอัปปนาสมาธิ.
สุข ๒
กายิกสุข สุขทางกาย
เจตสิกสุข สุขทางใจ.
สุข ๒
สามิสสุข สุขอิงอามิส
(คือกามคุณ)
นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส
(คืออิงเนกขัมมะ).
องฺ. ทุก. ๒๐/๑๐๑.
ทุกข์อย่างละ ๒ พึงรู้โดยปฏิปักขนัยต่อสุข.
สุทธิ ๒
ปริยายสุทธิ หมดจดโดยเอกเทส
นิปปริยายสุทธิ
หมดจดโดยสิ้นเชิง.
มโน. ปู. ทุติย. ๔.
อธิบาย : ปฏิบัติกาย วาจา ใจ
บริสุทธิ์เป็นอย่าง ๆ ยังมีการละและการบำเพ็ญเป็นกิจอยู่อีก จัดเป็นปริยายสุทธิ.
ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ผู้เสร็จกิจในการละและการบำเพ็ญแล้ว
จัดเป็นนิปปริยายสุทธิ.
ติกะ หมวด ๓
อกุศลวิตก ๓
กามวิตก ความตริในทางกาม
พยาบาทวิตก
ความตริในทางพยาบาท
วิหิงสาวิตก
ความตริในทางเบียดเบียน.
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๙๖.
อธิบาย: ความตริประกอบด้วยอธรรมราคะ เช่นคิดแส่ไปในการทำกาเมสุมิจฉาจาร และทำทุราจารผิดประเพณี และปรกอบด้วยอภิชฌา เช่นคิดแส่ไปในทางหาลาภอันไม่ชอบธรรม จัดเป็นกามวิตก. ความตริประกอบด้วยพยาบาท มีโทสะเป็นมูล คือคิดทำลายหรือตัดรอนผู้อื่น จัดเป็นพยาบาทวิตก. ความตริประกอบด้วยเจตนาเป็นเหตุทำความลำบากให้แก่ผู้อื่น มีโมหะเป็นมูล เช่นให้คนหรือสัตว์พาหนะเกินพอดี ไม่ปรานีไม่คิดถึงความลำบากของเขาของมัน หรือแสวงหาความสุกเพื่อตนเองในทางลำบากของผู้อื่น จัดเป็นวิหิงสาวิตก.
กุศลวิตก ๓
เนกขัมมวิตก ความตริในทางพรากจากกาม
อพยาบาทวิตก
ความตริในทางไม่พยาบาท
อวิหิงสาวิตก
ความตริในทางไม่เบียดเบียน.
อธิบาย:
ความตริเป็นไปเพื่อทำใจไม่ให้ลุอำนาจแก่กิเลสกามและไม่ติดอยู่ในวัตถุกาม
จัดเป็นเนกขัมมวิตก แต่เนกขัมมศัพท์นี้ท่านหมายเอาออกบวช
เพราะความมุ่งหมายของผู้บวช ย่อมเป็นไปในทางนั้น.
ความตริเป็นด้วยอำนาจเมตตาในผู้อื่น ปรารถนาความดีความงามเพื่อเขา
จัดเป็นอพยาบาทวิตก. ความตริเป็นไปด้วยอำนาจกรุณาในผู้อื่น จะทำอะไร ๆ
เนื่องด้วยผู้อื่น เป็นต้นว่าจะใช้คนหรือสัตว์ มีปรานีคิดถึงความลำบากของเขาของมัน
ไม่ใช้ตรากตรำ ไม่ทำความลำบากให้แก่เขาแก่มันโดยไม่จำเป็น จัดเป็น
อวิหิงสาวิตก.
อัคคิ [ไฟ ๓]
ราคัคคิ ไฟคือราคะ
โทสัคคิ ไฟคือโทสะ
โมหัคคิ ไฟคือโมหะ.
ขุ. อุ. ๒๕/๓๐๑.
อธิบาย: กิเลส ๓ ประเภทนี้ จัดเป็นอัคคิ เพราะเป็นสภาพเผาลนสันดานให้ร้อน.อัตถะ หรือ ประโยชน์ ๓
ทิฏฐธัมมิกัตถะ
ประโยชน์ในภพนี้สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในภพเจ้าปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยอด
(คือพระนิพพาน).
อธิปเตยยะ ๓
อัตตาธิปเตยยะ
ความมีตนเป็นใหญ่
โลกาธิปเตยยะ
ความมีโลกเป็นใหญ่
ธัมมาธิปเตยยะ
ความมีธรรมเป็นใหญ่.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๘๖.
อธิบาย: อัตตาธิปเตยยะนั้น พึงเห็นเช่นคนจะทำบุญ ปรารภภาวะของตนผู้เป็นอิสระ ทำด้วยมุ่งให้สมภาวะของตน ผู้ทำมุ่งผลอันจะได้แก่ตน หรือมุ่งความสะดวกแห่งตนก็เช่นนั้น. โลกาธิปเตยยะนั้น พึงเห็นเช่นผู้นั้นทำบุญ ด้วยมุ่งจะให้ผู้อื่นสรรเสริญ หรือไม่ทำเกรงเขาจะนินทา หรือทำตามความนิยมของเขาทั้งหลาย. ธัมมา-ธิปเตยยะนั้น พึงเห็นเช่นผู้ทำไม่มุ่งอย่างอื่น เป็นแต่เห็นสมควรเห็นว่าถูกก็ทำ หรือทำด้วยอำนาจเมตตากรุณาเป็นอาทิ.
อนุตตริยะ ๓
ทัสสนานุตตริยะ
ความเห็นอันเยี่ยม
ปฏิปทานุตตริยะ
ความปฏิบัติอันเยี่ยม
วิมุตตานุตตริยะ
ความพ้นอันเยี่ยม.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๓๑.
อธิบาย: ความเห็นธรรมด้วยญาณ ได้ในพุทธภาษิตว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา" ดังนี้ จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ. ความปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วนั้น ทั้งในส่วนปหานะ ทั้งในส่วนภาวนานักธรรมโท - ธรรม
จัดเป็นปฏิปทานุตตริยะ.
ความพ้นจากกิเลสาสวะเป็นอกุปปธรรมเพราะปฏิปทานั้น จัดเป็นวิมุตตานุตตริยะ.
อภิสังขาร ๓
ปุญญาภิสังขาร
อภิสังขารคือบุญ
อปุญญาภิสังขาร
อภิสังขารคือบาป
อเนญชาภิสังขาร
อภิสังขารคืออเนญชา.
ขุ. ปฏ. ๓๑/๑๘๑.
อธิบาย: สภาพผู้ตกแต่ง ได้ชื่อว่าอภิสังขาร. บุญก็ดี บาปก็ดีเป็นผู้แต่งสัตว์ให้ดีบ้างเลวบ้างต่าง ๆ กัน จึงได้ชื่อว่าอภิสังขารละอย่าง ๆ. อเนญชา แปลว่าความไม่หวั่นไหว ได้แก่ความมั่นหรือธรรมชาติหาความหวั่นไหวมิได้ ได้แก่มั่น แสดงภูมิธรรมเพียงชั้นสมาบัติก็มี ถึงโลกุดรก็ดี ในที่นี้ท่านแก้ว่าได้แก่อรูปสมาบัติ ๔และสงเคราะห์รูปสมาบัติเข้าในปุญญาภิสังขาร เหมือนบุญอันเป็นกามาพจร. อเนญชาภิสังขาร ความยังไม่ชัด ข้าพเจ้าขอฝากนักธรรมไว้พิจารณาด้วย*. อภิสังขารนี้ มาในนิทเทสแห่งสังขารศัพท์ใน
อุทเทสแห่งปฏิจจสมุปบาท
โดยนัยนี้ เป็นอันว่า ท่านหมายความเป็นอันเดียวกัน.
* ในกันทรกสูตร ม. ม. ๑๓/๑๕. และในเทฺวธาวิตักกสูตร ม. มู. ๑๒/๒๓๖-๗. คำว่า"อเนญชา" หมายเอาจตุตถฌาน โดยนัยนี้ น่าจะหมายความว่า ปุญญาภิสังขาร ได้แก่กุศลวิตก อปุญญาภิสังขาร ได้แก่อกุศลวิตก.
อาสวะ ๓
กามาสวะ อาสวะเป็นเหตุอยากได้
ภวาสวะ อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น
อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชาความเขลา.
ที. มหา. ๑๐/๙๖.
อธิบาย: ศัพท์ว่า อาสวะนั้น อย่างหนึ่งใช้เรียกเมรัย เช่น"ปุปฺผาสโว" น้ำดองดอกไม้ "ผลาสโว" น้ำดองผลไม้. อีกอย่างหนึ่ง ใช้เรียกเจตสิกอันเศร้าหมอง เช่นอาสวะ ๓ นี้. อาสวะกับกิเลสต่างกันหรือเป็นแววจนะของกันและกัน ควรได้รับความพิจารณา. เพ่งพยัญชนะแห่งศัพท์ น่าจะเห็นว่า กิเลสที่แปลว่าสภาพ
ที่เศร้าหมองหรือเครื่องเศร้าหมอง
ใช้เรียกเจตสิกประเภทนั้นทั่วไปอาสวะที่แปลว่า สภาพดองหรือหมักหมม
ใช้เรียกเจตสิกประเภทนั้นเฉพาะที่แก่กล้านับว่าเป็นเจ้าเรือน
อุทาหรคนสามัญยังมีอยากได้
ยังมีโกรธ
แต่เขาไม่เรียกว่าเป็นคนมักได้ เป็นคนมักโกรธ ทุกคนไปเขาเรียกเฉพาะบางคน เช่นนี้
เขาหมายเอาความอยากได้บ้าง ความโกรธบ้าง อันเป็นไปกล้า
หรืออันเป็นอาจิณในสันดานของบุคคลนั้น.
แต่อันที่แท้ดูเหมือนเป็นแววจนะของกันและกันเรียกในต่างคราว.
ในบางคราวแบ่งเรียกบางอย่างว่าอาสวะ บางอย่างว่าอนุสัย บางอย่างว่าสังโยชน์ บางอย่างว่าคันถะ
บางอย่างว่าอกุศลจิตตุปบาท และอื่น ๆ อีกในบางคราวรวมเรียกว่ากิเลส.
คนอยากได้เพราะอาสวะประเภทใดเป็นเหตุ อาสวะนั้น จัดเป็นกามาสวะ. คนอย่างเป็นอยู่
อยากเกิดเพราะอาสวะประเภทใดเป็นเหตุ อาสวะนั้น จัดเป็นภวาสวะ. คนเขลา
ไม่แจ้งการณ์อันควรจะรู้ได้
อย่างเรียกว่า เส้นผมบังภูเขา เพราะ
อาสวะใดเป็นเหตุ
อาสวะนั้นจัดเป็นอวิชชาสวะ.
กรรม ๓
กายกรรม กรรมทำด้วยกาย
วจีกรรม กรรมทำด้วยวาจา
มโนกรรม กรรมทำด้วยใจ.
ม. ม. ๑๓/๕๖.
ทวาร ๓
กายทวาร ทวารคือกาย
วจีทวาร ทวารคือวาจา
มโนทวาร ทวารคือใจ.
มงฺ. ที. วินัย. ๑/๒๓๗.
อธิบาย: ปาณาติบาตก็ดี อทินนาทานก็ดี จัดเป็นกายกรรมทำเอง จัดเป็นทางกายทวาร ใช้ให้เขาทำ จัดเป็นทางวจีทวาร.มุสาวาท จัดเป็นวจีกรรม พูดทางปาก จัดเป็นทางวจีทวาร. ทำกายวิการ เช่นจะรับ พยักหน้า จะปฏิเสธ สั่นศีรษะ จัดเป็นทางกายทวาร. อภิชฌา เป็นมโนกรรม จับลูบคลำพัสดุที่อยากได้ แต่
ไม่ได้มีไถยจิต
จัดเป็นทางกายทวาร บ่นว่า ทำอย่างไรดีหนอ จักได้พัสดุนั้น จัดเป็นทางวจีทวาร
เป็นแต่รำพึงในใจ จัดเป็นทางมโนทวารในฝ่ายกุศลพึงรู้โดยนัยนี้.
ญาณ ๓
อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต
อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต
ปัจจุปปันนังสญาณ
ญาณในปัจจุบัน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๙๒.
อธิบาย: ปัญญาอันรู้จักสาวหาเหตุการณ์ในหนหลังอันบันดาลให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน จัดเป็นอตีตังสญาณ. ปัญญาอันรู้จักคาดเห็นผลในอนาคตอันจักบันดาลเกิด เพราะเหตุการณ์ในปัจจุบันหรือในอนาคตด้วยกัน จัดเป็นอนาคตังสญาณ. ปัญญาอันรู้จักว่าควรทำอย่างไรในเมื่อเหตุหรือผลเกิดในทันใด จัดเป็นปัจจุปปันนังสญาณ.
ญาณ ๓
สัจจญาณ
ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
กิจจญาณ
ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
กตญาณ
ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว.
สํ. มหา. ๑๙/๕๓๐.
อธิบาย: ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จัดเป็นสัจจญาณ. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัย เป็นสภาพที่ควรละเสียทุกขนิโรธ เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด จัดเป็นกิจจญาณ. ปรีชาหยั่งรู้กิจ ๔ อย่างนั้นว่าทำสำเร็จแล้ว จัดเป็นกตญาณ. ญาณ ๓ นี้ เป็นไปในสัจจะละ ๓ ๆ ๔ สัจจะ จึงเป็น ๑๒ เรียกว่ามีวนรอบ ๓ ใน ๔ อริยสัจมีอาการ ๑๒.
ตัณหา ๓
กามตัณหา ตัณหาในกาม
ภวตัณหา ตัณหาในภพ
วิภวตัณหา ตัณหาในปราศจากภพ.
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๙๔.
อธิบาย: ความอยากได้อยากพ้นอย่างแรง ที่เรียกว่าทะยานว่าดิ้นรน จัดว่าเป็นตัณหา. ความอยากได้วัตถุกามอันยังไม่ได้ และความหมกมุ่นอยู่ในวัตถุกามอันได้แล้ว จัดเป็นกามตัณหา. ความอยากเป็นอยู่ในภพที่เกิดด้วยอำนาจความอาลัย และความอยากเกิดในภพที่ปรารถนาต่อไป จัดเป็นภวตัณหา. ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่สงเคราะห์เข้าในประเภทนี้ด้วย. ความอยากไม่เป็นอยู่ในภพที่เกิด คือความอยากตามเสีย ด้วยอำนาจความเบื่อหน่ายและความอยากดับศูนย์ไม่เกิดในภพนั้น ๆ อีก จัดเป็นวิภวตัณหา. ความไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่ สงเคราะห์เข้าในประเภทนี้ด้วย.
ทิฏฐิ ๓
อกิริยทิฏฐิ
ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
อเหตุกทิฏฐิ
ความเห็นว่าหาเหตุมิได้
นัตถิกทิฏฐิ
ความเห็นว่าไม่มี.
ม. ม. ๑๓/๑๑๑.
อธิบาย: ความเห็นของบางคนว่า ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจัดว่าเป็นชั่ว ไม่มีคนรู้ ไม่มีคนจับได้ ไม่มีคนลงโทษ ก็เปล่าทั้งนั้น ต่อมีคนรู้จับได้และลงโทษต่างหาก จึงให้โทษ ส่วนซึ่งจัดว่าเป็นดี ไม่มีคนรู้ ไม่มีคนชม ไม่มีคนให้บำเหน็จบำนาญ ก็เปล่าทั้งนั้นเหมือนกัน ต่อมีคนรู้แล้วชมและให้บำเหน็จบำนาญต่างหากจึงให้คุณ นี้จัดเป็นอกิริยทิฏฐิ. ความเห็นของบางคนว่า อันคนเราได้ดีหรือได้ร้ายตามคราวที่เคราะห์ดีหรือเคราะห์ร้าย ถึงคราวเคราะห์ดีก็ได้ดีเอง ทำอะไรมีคนชม ช่วยสนับนุนชุบเลี้ยง ลาภยศเกิดขึ้นตามกัน ถึงคราวเคราะห์ร้ายสิ ทำอะไรมีคนติ เข้าขัดขวางตัดรอนขาดลาภยศลงตามกัน นี้จัดเป็นอเหตุกทิฏฐิ. ความเห็นของบางคนว่า สัตว์บุคคลไม่มี ต่างเป็นแต่ธาตุประชุมกัน เกื้อกูลกันหรือทำร้ายกัน ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป ธาตุอย่างหนึ่งถึงกันเข้ากับธาตุอีกอย่างหนึ่งต่างหาก เช่นฝนตกเชยต้นไม้ให้ตาย จัดว่าไฟได้บาปหรือ นี้จัดเป็นนัตถิกทิฏฐิ. อกิริยทิฏฐิ ปฏิเสธลำพังการทำถือปัจจัยภายนอกคือบุคคลเป็นผู้อำนวย ผิดคติแห่งพระพุทธศาสนาที่ถือว่าการทำนั้นเองเป็นเหตุ เช่นคนปล้นเอาทรัพย์ของเขา แม้เขา
ยังจับไม่ได้ ก็ได้ความร้อนใจและเที่ยวหนีซุกซ่อน
คนบริจาคทรัพย์ของตนช่วยเกื้อกูลคนอื่น แม้ไม่ได้ผลภายนอก
ก็ยังได้ความเบิกบานใจตนเอง และการทำนั้นย่อมให้ผลในคราวต่างกัน
ด้วยอำนาจแห่งประโยคสมบัติ. อเหตุกทิฏฐิ
ปฏิเสธเหตุอันไม่ปรากฏถือปัจจัยภายนอกคือคราวเป็นผู้อำนวย ผิดคติแห่งพระพุทธศาสนาที่ถือว่าสังเขตธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ
แม้ไม่ปรากฏว่าอะไรเป็นเหตุแห่งธรรมชื่อนั้น แม้อย่างนั้น
ธรรมชื่อนั้นก็คงเกิดแต่เหตุอยู่นั่นเองเป็นแต่เหตุนั้นยังไม่ปรากฏ
ที่ท่านจับต้นเค้า เรียกว่าอวิชชา. นัตถิก-ทิฏฐิ ปฏิเสธด้วยประการทั้งปวง
ซึ่งสมมติสัจจะและคติแห่งธรรมดาอันเนื่องด้วยเหตุและผล ย่นเรียกว่ากัมมัสสกตา
ผิดคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่รับสมมติสัจจะและคติแห่งธรรมดา
คือกัมมัสสกตาแม้รับอยู่สัตว์บุคคลโดยสมมตินั้นเป็นแต่ธาตุประชุมกันก็จริง
แต่ตกอยู่ในคติแห่งธรรมดาคือ กัมมัสสกตา ทิฏฐิ ๓ นี้ จัดเป็น มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด
จัดเป็นนิยตทิฏฐิ ความเห็นอันดิ่งลง ยากที่จะถอนออก
รวมเรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ.
เทพ ๓
สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ
อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด
วิสุทธิเทพ
เทวดาโดยความบริสุทธิ์.
ขุ. จูฬ. ๓๐/๑๑๒.
อธิบาย: พระราชา พระเทวี แลพระราชกุมาร จัดเป็นสมมติเทพ. ภุมมเทวดาสิงอยู่ ณ ภพนี้ ที่ต้นไม้บ้าง และที่วัตถุอื่น ๆบ้าง ซึ่งเรียกว่าพระภูมิบ้าง วัตถุเทวดาบ้าง และอากาสัฏฐกเทวดาสิงอยู่ในอากาศ ต่างโดยเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง จัดเป็นอุปปัตติเทพ. พระอรหันต์ จัดเป็นวิสุทธิเทพ.
ธรรมนิยาม ๓
สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์
ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา.
องฺ. ติก. ๒๐/๓๖๘.
อธิบาย: สภาพอันได้ชื่อว่าสังขารใน ๒ บทข้างต้นนั้น เพราะประกอบด้วยสังขตลักษณะ ตกอยู่ในคติแห่งธรรมดา คือต้องแปรผัน ที่เป็นอุปาทินนกะต้องเสวยทุกข์. สภาพอันได้ชื่อว่าธรรมในบทหลังนั้น หมายเอาสภาพทั้งเป็นสังขาร ทั้งเป็นวิสังขาร เพราะพระนิพพานก็จัดว่าเป็นอนัตตา แต่จัดว่าเป็นธรรมไม่แปรผัน และไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ได้ใน ๒ บทข้างต้น จึงใช้ศัพท์ธรรมในบทหลัง. โดยนัยนี้ สังขารอันไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ ต้องเป็นอนัตตาด้วย.๓ บทนี้ ธรรมฐิติ ก็เรียก.
นิมิตต์ ๓
ปริกัมมนิมิตต์
นิมิตในบริกรรม
อุคคหนิมิตต์ นิมิตติดตา
ปฏิภาคนิมิตต์
นิมิตเทียบเคียง.
อภิ. สงฺ. ๕๑.
อธิบาย:
ภิกษุผู้เจริญกัมมัฏฐาน เพ่งดูวัตถุอย่างในอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ คือกสิณ ๑๐
หรืออสุภ ๑๐ วัตถุนั้นที่ภิกษุเพ่งดูและนึกเป็นอารมณ์ ซึ่งเรียกว่าบริกรรม
จัดเป็นปริกัมมนิมิตต์. ภิกษุเพ่งดูวัตถุนั้นจนติดตา หลับตาเห็น
จัดเป็นอุคคหนิมิตต์. ในลำดับนั้น ภิกษุอาจนึกขยายส่วน
หรือย่นส่วนแห่งอุคคหนิมิตต์นั้นได้
สมรูปสมสัณฐาน
จัดเป็นปฏิภาคนิมิตต์.
ภาวนา ๓
ปริกัมมภาวนา ภาวนาในบริกรรม
อุปจารภาวนา ภาวนาเป็นอุปจาร
อัปปนาภาวนา ภาวนาเป็นอัปปนา.
อภิ. สงฺ ๕๑.
อธิบาย: กิริยาที่ทำบริกรรมในขณะเจริญกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เพ่งดูวัตถุดังกล่าวแล้วในนิมิตต์ ๓ ก็ดี ทั้งเป็นแต่ลำพังนึก เช่นเจริญอนุสสติก็ดี จัดว่าปริกัมมภาวนา ภาวนาในขณะอุคคหนิมิตต์ปรากฏ ในการเจริญกัมมัฏฐานเพ่งดูวัตถุ หรือในขณะนิวรณ์สงบ ในการเจริญกัมมัฏฐานเป็นแต่ลำพังนึก จัดว่าอุปจาร-ภาวนา แปลว่าภาวนาเฉียด หรือภาวนาใกล้เข้าไป. ภาวนาในขณะปฏิภาคนิมิตต์ปรากฏ ในการเจริญกัมมัฏฐานเพ่งดูวัตถุ จัดเป็นอัปปนาภาวนา แปลว่าภาวนาแน่แน่ว ในการเจริญกัมมัฏฐานเป็นแต่
ลำพังนึก ท่านว่าไม่ถึงอัปปนา.
ปริญญา ๓
ญาตปริญญา
กำหนดรู้ด้วยการรู้
ตีรณปริญญา
กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
ปหานปริญญา
กำหนดรู้ด้วยการละเสีย.
ขุ. มหา. ๒๙/๖๐.
อธิบาย: ญาตปริญญา
กำหนดรู้ปัญจขันธ์เป็นต้นโดยวิภาคได้แก่รู้จักแยกออกจากสังขาร
คือสิ่งที่คุมกันอยู่. ตีรณปริญญากำหนดพิจารณาเห็นโดยไตรลักษณ์. ปหานปริญญา
กำหนดละฉันทราคะในปัญจขันธ์เป็นต้นนั้นเสีย.
ปหาน ๓
ตทังคปหาน การละชั่วคราว
วิกขันภนปหาน
การละด้วยการสะกดไว้
สมุจเฉทปหาน
การละด้วยตัดขาด.
วิ. ฐาณทสฺสน. ตติย. ๓๔๙.
อธิบาย: ตทังคปหาน ได้แก่การละกิเลส และบาปธรรมของสามัญชน. วิกขัมภนปหาน ได้แก่การละของชนผู้ได้ฌาน.สมุจเฉทปหาน ได้แก่การละด้วยอริยมรรคของพระอริยบุคคล.
ปาฏิหาริยะ ๓
อิทธิปาฏิหาริยะ
ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
อาเทสนาปาฏิหาริยะ
ดักใจเป็นอัศจรรย์
อนุสาสนีปาฏิหาริยะ
คำสอนเป็นอัศจรรย์.
ที. สี. ๙/๒๗๓. องฺ. ติก. ๒๐/๒๑๗.
อธิบาย: การแสดงฤทธิ์ได้พ้นของสามัญมนุษย์ เช่นนิรมิตตัวได้ต่าง ๆ ล่องหนได้ ดำดินได้ เดินน้ำได้ เหาะได้ ท่านจัดเป็นปาฏิหาริยะอย่างหนึ่ง แต่หมายอาการแสดงฤทธิ์โต้ง ๆ อย่างนี้ หรือหมายเอาการแสดงฤทธิ์เป็นธรรมาธิษฐาน เปรียบด้วยบุคคลาธิษฐานขอฝากปราชญ์ไว้เพื่อสันนิษฐาน. การดักใจทายใจคนได้ ท่านจัดเป็นปาฏิหาริยะอย่างหนึ่ง. คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมไปตาม ท่านจัดเป็นปาฏิหาริยะอย่างหนึ่ง. ปาฏิหาริยะ ๓ นี้ ท่านว่ามีในสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า. และยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริยะว่า เป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่า ๒ อย่างข้างต้น.
ปิฎก ๓
พระวินัยปิฎก หมวดพระวินัย
พระสุตตันตปิฎก
หมวดพระสุตตันตะ [หรือพระสูตร]
พระอภิธรรมปิฎก
หมวดพระอภิธรรม.
วิ. ปริวาร. ๘/๑๒๔.
อธิบาย: ศัพท์ว่าปิฎก เป็นชื่อแห่งกระจาดหรือตระกร้า เอามาใช้ในที่นี้ ด้วยหมายเอาความว่าเป็นหมวดที่รวบรวม ดุจกระจาดเป็นที่รวมสิ่งของต่าง ๆ มีผักต่าง ๆ ที่ซื้อมาจากตลาดเป็นต้น. ปาพจน์ในที่นี้ท่านแบ่งเป็น ๓ พระวินัยคงที่ พระธรรมแบ่งออกเป็น ๒ หมวดที่แสดงโดยบุคคลาธิษฐาน หรือเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน จัดเป็นพระสุต-ตันตะ ๑. หมวดที่แสดงโดยธรรมาธิษฐานล้วน จัดเป็นพระอภิธรรม ๑.ทั้ง ๓ นี้ เป็นหมวดหนึ่ง ๆ ที่รวบรวมปกรณ์มีประเภทเดียวกัน จึงจัดเป็นปิฎกหนึ่ง ๆ.
พุทธจริยา ๓
โลกัตถจริยา
ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก
ญาตัตถจริยา
ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระญาติหรือโดยฐานเป็นพระญาติ
พุทธัตถจริยา
ทรงประพฤติประโยชน์ โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า.
มโน. ปู. ปฐม. ๑๐๔.
อธิบาย: โลกัตถจริยานั้น ได้แก่ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่มหาชนที่นับว่าสัตวโลกทั่วไป เช่นทรงแผ่พระญาณเล็งดูสัตวโลกทุกเช้าค่ำ ผู้ใดปรากฏในข่ายพระญาณ เสด็จไปโปรดผู้นั้น กล่าวสั้นทรงสงเคราะห์คนทั้งหลายโดยฐานเป็นเพื่อมนุษย์ด้วยกัน นับเข้าในข้อนี้. ญาตัตถจริยา ได้แก่ทรงสงเคราะห์พระญาติโดยฐานเป็นพระญาติ เช่นทรงพระอนุญาตให้พวกศากยะผู้เป็นพระญาติและเป็นเดียรถีย์ จะเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิย-ปริวาส ๔ เดือนก่อน เหมือนพวกเดียรถีย์อื่น นี้เป็นญาตัตถจริยาโดยเฉพาะ. เมื่อเพ่งถึงพระพุทธจริยาอันเป็นไปเพื่อสงเคราะห์พระญาติการเสด็จไปเทศนาโปรดพระญาติ ณ นครกบิลพัสดุ์ก็ดี การเสด็จไปห้ามพระญาติฝ่ายศากยะและโกลิยะผู้วิวาทกันด้วยแย่งน้ำเข้านาก็ดี จัดเข้าในข้อนี้ก็ได้. พุทธัตถจริยานั้น ได้แก่พระพุทธกิจที่ทรงบำเพ็ญให้เป็นประโยชน์แก่มหาชนโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า เช่นทรงบัญญัติสิกขาบทอัน เป็นอาทิพรหมจรรย์บ้าง อันเป็นอภิสมาจารบ้าง เพื่อนิคคหะพวกภิกษุหน้าด้านไม่ละอาย ซึ่งเรียกว่าทุมมังกุผู้เก้อยาก คือผู้ไม่ค่อย
รู้จักอายบ้าง
เรียกว่าอลัชชี ผู้ไม่มียางอายบ้าง
และเพื่อวางระเบียบนำความประพฤติแห่งพวกภิกษุผู้รักดีรักงาม ซึ่งเรียกว่าเปสละบ้างผู้มีอายเรียกว่าลัชชีบ้าง
และทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนา ให้
บริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิตรู้ทั่วถึงธรรม
ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบมา. กล่าวสั้น ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า
นับเข้าในข้อนี้.
ภพ ๓
กามภพ ได้แก่ภพเป็นกามาวจร
รูปภพ ได้แก่ภพเป็นรูปาวจร
อรุปภพ
ได้แก่ภพเป็นอรูปาวจร.
ม. ม. ๑๒ ๕๓๙.
อธิบาย: ภพเป็นภามาวจรนั้น หมายเอาโลกเป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ผู้เสพกาม คือ นรก มนุษยโลก สวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมมหาราชถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตตี. ภพเป็นรูปาวจรนั้น หมายเอาชั้นพรหมมีรูป ๑๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นพรหมปาริสัชชะ ถึงชั้นเอกนิฏฐะ. ภพเป็นอรูปาวจรนั้น หมายเอาชั้นพรหมไม่มีรูป ๔ ชั้น ตั้งแต่ชั้นอากาสานัญจายตนะ ถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ.
โลก ๓
สังขารโลก โลกคือสังขาร
สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์
โอกาสโลก โลกคือแผ่นดิน.
วิ. ฉอนุสฺสติ. ปฐม. ๒๖๒.
อธิบาย: สังขารโลก ท่านหมายเอาสภาวธรรมอันเป็นไปตามคติแห่งธรรมดา มีเบญจขันธ์เป็นตัวอย่าง. สัตวโลก ได้แก่สังขารมีวิญญาณ สงเคราะห์ทั้งมนุษย์ทั้งดิรัจฉาน. โอกาสโลก ได้แก่แผ่นดินอันเป็นที่อาศัยแห่งหมู่สัตว์. ข้าพเจ้ายังไม่ปลงใจในสังขารโลก. ศัพท์ว่าสังขารในที่อื่น หมายเอาทั้งสัตว์ทั้งพัสดุอื่น ไม่ได้หมายเอาสภาว-ธรรมที่แยกกระจายออกแล้ว เมื่อแยกสัตว์ออกเป็นโลกชนิดหนึ่งแล้ว สังขารโลก น่าจะได้แก่พวกกระบิลไม้ที่เรียกในภาษามคธว่าภูตคาม อันเป็นอนุปาทินนกสังขาร แปลกจากสัตว์โดยอาการไม่มีใจครอง แปลกจากโอกาสโลกโดยอาการรู้จักเป็นรู้จักตาย. เมื่อถือเอาความอย่างนี้ โอกาสโลกก็เป็นที่อาศัยของสังขารคือพวกกระบิลไม้นั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่าสังขาร หมายเอาสภาพผู้ปรุงแต่งกล่าวคือกรรมก็มี ได้ในคำว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย โดยนัยนี้ สังขารโลก ก็น่าจะได้แก่กรรมอันปรุงแต่งสัตวโลกกับโอกาสโลก อันเป็นที่อาศัยให้เจริญหรือทราม. ขอนักธรรมพิจารณาดูเถิด.
โลก ๓
มนุษยโลก
ได้แก่โลกที่เราอาศัยอยู่นี้
เทวโลก ได้แก่สวรรค์กามาพจร
๖ ชั้น
พรหมโลก
ได้แก่สวรรค์ชั้นรูปพรหม ๑๖ ชั้น.
ป. สู. ทุติย. ๒๖๙.
วัฏฏะ [วน] ๓
กิเลสวัฏฏะ วนคือกิเลส
กัมมวัฏฏะ วนคือกรรม
วิปากวัฏฏะ วนคือวิบาก.
อภิ. สงฺ. ๔๖.
อธิบาย: สภาพ ๓ นี้ ได้ชื่อว่า วน เพราะหมุนเวียนกันไป คือกิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม ครั้งทำกรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสเกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ กว่าพระอรหัตตมรรคจะตัดให้ขาดลง เรียกบวกประเภทว่า ไตรวัฏฏะ.
วิชชา ๓
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
รู้จักระลึกชาติได้
จุตูปปาตญาณ
รู้จักกำหนดจุติและเกิด
อาสวักขยญาณ
รู้จัดทำอาสวะให้สิ้น.
องฺ. ทสก. ๒๔/๒๒๖.
อธิบาย:
นิทเทสแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณว่า ระลึกชาติ ถอยหลังเข้าไปได้ตั้งแต่ชาติหนึ่งสองชาติจนตั้งหลาย
ๆ กัลป์ ว่าใน ชาติที่เท่านั้นได้มีชื่อ มีโคตร มีผิวพรรณ
มีอาหารอย่างนั้น ๆ ได้ เสวยสุข ได้สวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีอายุเท่านั้น
จุติจากนั้นแล้ว ได้เกิดในชาติที่เท่าโน้น ได้เป็นอย่างนั้น ๆ
แล้วมาเกิดในชาตินี้. นิทเทสแห่งจุตูปปาตญาณว่า
มีจักษุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักษุ สามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ที่กำลังจุติก็มี
กำลังเกิดก็มี เลวก็มี ดี ก็มี มีผิวพรรณงามก็มี มีผิวพรรณไม่งามก็มี
ได้ดีก็มี ตกยาก ก็มี รู้ชัดว่าเหล่าสัตว์เป็นตามกรรม. วิชชาที่ ๒
นี้เรียกว่า ทพิ พ-
จักขุญาณก็มี. นิทเทสแห่งอาสวักขยญาณว่า รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อ รู้เห็นอย่างนี้ จิตพ้นแล้วจากกามาสวะ ภาวสวะ อวิชชาสวะ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กรณียะทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอันจะต้องทำเช่นนี้ไม่มีอีก.
.............วิชชา ๓ นี้ ญาณ ๓ ก็เรียก. วิชชา ๓ นี้
ท่านกล่าวว่า เป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธญาณ
อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงบรรลุมาโดยลำดับในยามสามแห่งราตรี. ความระลึกชาติได้ ดังแสดงไว้ในนิทเทส เป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณได้อย่างไร น่าพิจารณาดู หรือว่าระลึกชาติได้เช่นนั้นแล้ว หายตื่นหายหวาดใน ความเวียนเกิดเวียนตาย เห็นเป็นคติแห่งธรรมดา เกิดอนัตตานุ- ปัสสนาขึ้นเอง เช่นนี้ชอบกลอยู่. ญาณนี้ท่านกล่าวว่ากำจัดโมหะ กำบังขันธสันดาน ส่อว่าเป็นอนัตตานุปัสสนา สมเป็นองค์แห่งพระ สัมมาสัมโพธิญาณ. จุตูปปาตญาณ ปรารภเหล่าสัตว์อื่นผู้เวียนเกิด เวียนตาย ดุจเดียวกับบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรารภตนตามนิทเทส เติมปรารภคติแห่งสัตว์นั้นด้วย ดูเหมือนแสดงว่าไม่ใช่แต่เวียน เกิดเวียนตายเท่านั้นเป็นคติแห่งธรรมดา ความเป็นไปตามอำนาจ กรรม ก็เป็นคติแห่งธรรมดาอีกเหมือนกัน. ญาณนี้ ท่านกล่าวว่ากำจัด โมหะกำบังกัมมัสสกตา จะกล่าวว่ากำจัดโมหะเป็นเหตุชื่อถือไร้เหตุ เช่นสีลัพพตปรามาสและมิจฉาทิฏฐิก็ได้ จัดเป็นองค์แห่งพระสัมมา- สัมโพธิญาณชอบอยู่. อาสวักขยญาณไม่ทำกิจเพียงรู้เท่านั้น รู้จักน้อม ความรู้นั้นมาเป็นอุปการะทำอาสวะให้สิ้นได้ด้วย จัดเป็นพระสัมมา- สัมโพธิญาณชอบแท้. ในความแห่งวิชชา ๓ นี้มีอยู่เพียงไร ขอนักธรรม จงสอดส่องถือเอาเอง.
วิโมกข์ ๓
สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์.
ขุ. ปฏฺ. ๓๑/๒๙๘.
สมาธิ ๓
สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ.
องฺ. ติก. ๒๐/๓๘๕.
อธิบาย: ศัพท์ว่า วิโมกข์ นั้นแปลว่า พ้น หมายความว่า พ้นจากกิเลส ได้แก่พระอรหัต. พระอรรถกถาจารย์แก้ว่า ชนิดที่ ได้ชื่อว่า สุญญตวิโมกขน์ ั้น เพราะว่างจากราคะ โทสะ โมหะ. ชนิดที่ ได้ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์นั้น เพราะหาราคะ โทสะ โมหะ เป็น นิมิต คือเครื่องหมาย มิได้. ชนิดที่ได้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์นั้น เพราะหาราคะ โทสะ โมหะ เป็นปณิธิ คือที่ตั้ง มิได้. แก้อย่างนี้ ความยังไม่ต่างจากกันออกไป โดยความ ทั้ง ๓ ชนิดนั้นไม่สัมปยุต ด้วยราคะ โทสะ โมหะ จัดว่าเป็นประเภทเดียวกัน. ข้าพเจ้า เข้าในว่าทั้ง ๓ ชนิดนั้น คงมีลักษณะหรืออารมณ์ต่างกัน ไม่เช่นนั้น แยกประเภทไว้ทำอะไร เรียกว่าวิโมกข์เท่านั้นก็พอ. ความเห็นย่อ ของข้าพเจ้าว่า ได้แก่โลกุตตรธรรมสัมปยุตด้วยสมาบัติ มีอารมณ์ ชนิดนั้น ส่วนสมาธินั้น ได้แก่ตัวสมาบัติชนิดนั้น. จักออกมติ มากไปก็จักเป็นคาดคะเน ขอยุกติไว้เพียงเท่านี้.*
* ในปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย ๓๑/๒๙๘ แสดงว่า วิโมกข์ ๓ นี้ เกิดจากปัญญาพิจารณา เห็นไตรลักษณ์ คือหลุดพ้นเพราะพิจารณาเห็น อนตฺตา เป็นสุญญตวิโมกข์, เห็น อนิจฺจํ เป็น อนิมิตตวิโมกข์, เห็น ทุกฺขํ เป็น อัปปณิหิตวิโมกข์, แม้สมาธิก็อย่างเดียวกัน.
วิเวก ๓
กายวิเวก สงัดกาย
จิตตวิเวก สงัดจิต
อุปธิวิเวก สงัดกิเลส.
ขุ. มหา. ๒๙/๒๙. ๑๗๐.
อธิบาย: อยู่ในที่สงัด จัดเป็นกายวิเวก. ทำจิตให้สงบ ด้วยสมถภาวนา จัดเป็นจิตตวิเวก. ทำใจให้บริสุทธ์จากกิเลสด้วย วิปัสสนาภาวนา จัดเป็นอุปธิวิเวก.
สังขตลักษณะ ๓
ความเกิดขึ้น ปรากฏ
ความดับ ปรากฏ
เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏ.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๙๒.
อธิบาย: สองบทข้างต้นชัดแล้ว. อุทาหรณ์บทหลัง คนเป็น เด็กแล้วแปรเป็นหนุ่ม แล้วแปรเป็นแก่.
สังขาร ๓
กายสังขาร สภาพอันแต่งกาย
วจีสังขาร สภาพอันแต่งวาจา
จิตตสังขาร สภาพอันแต่งจิต.
ม. มู. ๑๒/๙๙.
อธิบาย: ลมอัสสาสะปัสสาสะ ได้ชื่อว่ากายสังขาร เพราะ ปรนปรือกายให้เป็นอยู่ วิตก กับ วิจาร ได้ชื่อว่าวจีสังขาร เพราะ ตริแล้วตรองแล้วจึงพูด ไม่เช่นนั้นวาจานั้นจักไม่เป็นภาษา เช่นคำ ของคนละเมอหรือของคนเพ้อ. สัญญากับเวทนา ได้ชื่อว่าจิตตสังขาร เพราะย้อมจิตให้มีประการต่าง ๆ ดุจน้ำย้อมอันจับผ้า.
สัทธรรม ๓
ปริยัตติสัทธรรม
ได้แก่คำสั่งสอน
ปฏิปัตติสัทธรรม
ได้แก่ความปฏิบัติ
ปฏิเวธสัทธรรม ได้แก่มรรค ผล
นิพพาน.
ป. สู. ตติย. ๕๒๓.
สมบัติ ๓
มนุษยสมบัติ สมบัติในมนุษย์
สวรรคสมบัติ สมบัติในสวรรค์
นิพพานสมบัติ
สมบัติคือพระนิพพาน.
ขุ. อุ. ๒๕/๑๒.
สิกขา ๓
อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลยิ่ง
อธิจิตตสิกขา
สิกขาคือจิตยิ่ง
อธิปัญญาสิกขา
สิกขาคือปัญญายิ่ง
องฺ. ติก. ๒๐/๒๙๔.
อธิบาย: ปฏิปทาที่ตั้งไว้เพื่อศึกษา คือฝึกหัดไตรทวารไปตาม ชื่อว่าสิกขา. ในเบื้องต้น ควรหัตปฏิบัติรักษามารยาทกายวาจาให้ เรียบร้อยปราศจากโทษสมควรแก่หมู่ก่อน นี้จัดเป็นสีลสิกขา. ใน ลำดับนั้น ควรหัตรักษาจิตให้อยู่ในอำนาจ อาจทำให้แน่แน่วควร แก่การงานในคราวต้องการ นี้จัดเป็นจิตตสิกขา. ในที่สุด ควรหัด ใช้ปัญญา ให้รอบรู้สภาวธรรมอันเป็นไปด้วยความเป็นเหตุและผลแห่ง กันและกัน จัดเป็นปัญญาสิกขา. เพ่งธรรมอันอุกฤษฏ์ เรียกว่า
อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา.
โสดาบัน ๓
เอกพีชี
โกลังโกละ
สัตตักขัตตุปรมะ.
องฺ. ทสก. ๒๔/๑๒๙.
อธิบาย: พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอริยผลทีแรก เรียกว่า พระ โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้แน่ว่าจะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า มีประเภทเป็น ๓ ท่าน ผู้เยี่ยมในชั้นนี้ มีคติในมนุษยโลก หรือในเทวโลกอีกเพียงคราวเดียว จักบรรลุพระอรหัตตผลในภพที่เกิดนั้น เรียกว่าเอกพีชี แปลว่า มีพืช คือภพอันเดียว. พระโสดาบันเอกพีชีนี้ ออกจะดีกว่าพระสกทาคามี ผู้จะต้องไปเกิดในเทวโลกหนหนึ่งก่อน จุติจากนั้นแล้ว จึงจักมายัง มนุษยโลกนี้ และได้บรรลุพระอรหัต. ท่านผู้ท่องเที่ยวเกิดอยู่ในภพ ๒-๓ ภพแล้ว จึงได้บรรลุพระอรหัต เรียกว่าโกลังโกละ แปลว่า ไปสู่กุละจากกุละ. กุละนี้หมายเอาภพ. ท่านผู้ท่องเที่ยวเกิดอยู่ช้า กว่านี้ แต่อย่างนานเพียง ๗ ชาติ และได้บรรลุพระอรหัตเรียกว่าสัตตักขัตตุปรมะ แปลว่า มี ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง.
จตุกกะ หมวด ๔
อบาย ๔
นิรยะ นรก
ติรัจฉานโยนิ กำเนิดรัจฉาน
ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต
อสุรกาย พวกอสุระ.
ขุ. อิติ. ๒๕/๓๐๑.
อธิบาย: ภูมิ กำเนิดหรือพวก อันหาความเจริญมิได้ จัด เป็นอบาย.
............นิรยะ ท่านว่าเป็นภูมิที่ลงโทษคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิด ขึ้น ณ ที่นั้น มีนายนิรยบาลเป็นผู้ทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ ให้ได้ความ เดือดร้อน แสดงโดยบุคคลาธิษฐานด้วยถูกไฟลวกและถูกประหาร ดุจความเข้าใจของพวกพราหมณ์ครั้งเวทิกสมัย คือยุคถือลัทธิตาม พระเวทว่า คนทำบาปตายไปแล้วถูกพระยมชำระแล้วลงโทษให้ตก นรก และต้องเสวยกรรมกรณ์ต่าง ๆ แต่ในปูนหลังกล่าวเพียงนรก และคนทำบาปไปเกิดเองในภูมินั้น การถูกเพลิงลวกหรือถูกประหาร ก็เป็นอยู่ในภูมินั้นเอง ไม่กล่าวถึงนายนิรยบาล เป็นกลเม็ดอยู่.
...........กำเนิด ดิรัจฉานที่ไม่มีภูมิเป็นที่อยู่ต่างหาก ต้องอาศัยมนุษยโลก ปรากฏ แล้ว นอกจากนี้ ท่านว่ายังมีนาคและครุฑมีพิภพเป็นที่อยู่ มีพระราชา ในพวกกันเอง เป็นสัตว์ผู้บริบูรณ์ แม้อย่างนั้น ท่านก็จัดเป็นอบาย เพราะไม่เป็นภัพพบุคคลเหมือนมนุษย์.
..........ศัพท์ว่า เปรต แปลว่า ผู้ละ ไปแล้ว หมายเอาผีผู้เคยเป็นมนุษย์มาก่อน ยังไม่ได้ไปถือกำเนิดอื่น ได้ในศัพท์ สัมภเวสี ผู้แสวงหาที่เกิดในเมตตสูตร ภายหลังหมาย เอาเฉพาะจำพวกทำบาปมีโทษไม่ถึงตกนรก แต่มีรูปร่างซวดทรงไม่ สมประกอบ ตกยาก ได้ความอดอยากเป็นล้นเหลือ เดือดร้อน ไปในทางเป็นอยู่ของตนเอง. พวกเปรตนี้ ดูเหมือนอาศัยมนุษยโลก ก็มี พึงเห็นอย่างพวกเปรตพระญาติเก่าของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่ง กล่าวถึงในติโรกุฑฑสูตร และในอรรถกถาแห่งสูตรนั้น ดูเหมือนมี ภูมิสำหรับก็มี พึงเห็นอย่างพวกเปรตซึ่งกล่าวถึงในชาณุสโสณีสูตร นอกจากนี้ ยังมีเปรตอีกจำนวนหนึ่ง อยู่ปลีกตามลำพังในมนุษยโลก ได้เสวยสุขเสวยทุกข์ปนกัน มีวิมานอยู่ มีสมบัติ ได้เสวยสุขในวิมาน ตอนกลางวัน ครั้นค่ำลง ต้องออกจากวิมานไปรับกรรมการณ์เหมือนสัตว์ นรกในคืน พอสว่างก็กลับวิมานได้อีก.
..........อสุรกาย เป็นจำพวกที่ มัว ในบาลีไม่กล่าวถึงเลย ในอรรถกถาก็ได้พบเพียงสักว่าชื่อ ใน ปทานุกรมสํสกฤต แก้อสุรศัพท์ว่าผู้เป็นอยู่ อธิบายว่า ได้แก่ผีเป็น
อทิสสมานกาย ประเภทที่ชั่ว
ตรงกับผีไม่มีชื่อผู้เที่ยวหลอกมนุษย์ ให้ตกใจกลัว.
ผีแปลกจากเปรตเพราะเที่ยวหลอก เปรตไม่หลอก เป็นแต่คนไปพบเข้าเอง
หรือเมื่อจะร้องทุกข์แก่คน ก็แสดงตัวให้เห็น เป็นอทิสสมานกายหรือไม่
ๆ ชัด กล่าวถึงทั้ง ๒ อย่าง. อาหารของ สัตว์นรก
ท่านกล่าวว่ากรรม. อาหารของสัตว์ดิรัจฉาน เป็นตาม ประเภทของมัน
ที่เป็นส่วนใหญ่ ของเกิดในสรีระแห่งสัตว์ด้วยกัน เป็นต้นว่าเนื้อและเลือดก็มี
ของนับเข้าในภูตคาม เป็นต้นว่าหญ้าและ
ใบไม้ก็มี. อาหารของเปรต
ท่านกล่าวว่ากรรมด้วย ผลทานอันญาติ
บุตรผู้ยังเป็นอยู่ในมนุษยโลกบริจาคแล้วอุทิศไปถึงด้วย. อาหารของ อสุรกายไม่ได้ระบุไว้ชัด เทียบอาหารของยักษ์เลว ๆ ของเกิดใน สรีระแห่งสัตว์ด้วยกันไม่เลือกว่าดีหรือเสีย สกปรกหรือไม่. ข้าพเจ้า จักเปรียบสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เพื่อเป็นทางสันนิษฐาน สัตว์ นรก เช่นคนโทษถูกรับอาญาแผ่นดิน ต้องเสวยกรรมกรณ์อยู่ใน พันธนาคาร แต่รัฐบาลให้อาหารกินไม่อดอยากมากนัก. เปรต
เช่น คนตกทุกข์ได้ยาก อดอยาก
หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้โดยฝืด เคือง หากินในทางเที่ยวขอทาน. อสุรกาย
เช่นคนอดอยากอย่าง นั้นแล้ว เที่ยวลอบทำโจรกรรมในค่ำคืน
ตลอดถึงการหลอกลวงเอา
ทรัพย์ของผู้อื่น.
อปัสเสนธรรม ๔
พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง
พิจารณาแล้วอดกลั้นขงอย่างหนึ่ง
พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง
พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๓๖.
อธิบาย: ข้อต้นเสพของอันสบาย ต่างโดยเป็นจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช บุคคลและธรรมเป็นต้น ที่เสพเข้ากุศลเกิดขึ้น และเจริญขึ้น อกุศลไม่เกิด ที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสิ้นไป. ข้อที่ ๒ อด กลั้นอารมณ์อันไม่เป็นที่เจริญใจ ต่างโดยหนาว ร้อน หิว ระหาย ถ้อยคำเสียดแทง และทุกขเวทนาอันแรงกล้า. ข้อที่ ๓ เว้นของไม่ สบาย ต่างโดยประเภทอย่างนั้น ที่เสพเข้า อกุศลเกิดขึ้นและเจริญ ขึ้น กุศลไม่เกิด ที่เกิดแล้วเสื่อมสิ้นไป. ข้อที่ ๔ บรรเทาอกุศลวิตก อันสัมปยุตด้วยกาม ด้วยพยาบาท ด้วยวิหิงสา.
อัปปมัญญา ๔
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา.
ที. สี. ๙/๓๑๐.
อธิบาย: เมตตา โดยพยัญชนะ ได้แก่ความสนิทสนม คือ รักใคร่ เว้นจากราคะ โดยอรรถ ได้แก่ปรารถนาความสุขความเจริญ เพื่อผู้อื่น. กรุณา โดยพยัญชนะ ได้แก่ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่น ได้ทุกข์ร้อน โดยอรรถ ได้แก่ความปรารถนาเพื่อจะปลดเปลื้องทุกข์ ของเขา. มุทิตา โดยพยัญชนะ ได้แก่ความชื่นบาน โดยอรรถ ได้ แก่ความพลอยยินดีด้วย ในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี. อุเบกขา โดยพยัญชนะ ได้แก่ความวางเฉย โดยอรรถ ได้แก่ความวางคนเป็นกลาง ในเมื่อ จะแผ่เมตตากรุณาไปไม่บังควร เช่นเอาใจช่วยโจรเป็นตัวอย่าง หรือ ในเมื่อจะพลอยยินดีด้วยสมบัติของอีกฝ่ายหนึ่ง จำจะยินดีด้วยวิบัติของ อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ๒ ฝ่ายเป็นความกัน จะพลอยยินดีด้วยฝ่ายชำนะ ก็จำจะยินดีด้วยความแพ้ของอีกฝ่ายหนึ่ง. ธรรม ๔ อย่างนี้ ที่แผ่โดย เจาะตัวก็ดี โดยไม่เจาะตัวแต่ยังไม่จำกัดมุ่งเอาหมู่นี้หมู่นั้นก็ดี จัดเป็น พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม โดยอธิบายว่า พรหมโดยอุปบัติก็ดี พรหมโดยสมมติ คือ ผู้ใหญ่ก็ดี ย่อมอยู่ด้วยธรรมเหล่านี้. ที่แผ่โดยไม่เจาะตัวไม่มีจำกัด จัดเป็นอัปปมัญญา แปลว่า ภาวนามีสัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์ เป็นปฏิปทาของ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้.
พระอรหันต์ ๔
สุกฺขวิปสฺสโก
ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน
เตวิชฺโช ผู้ได้วิชชาสาม
ฉฬภิญฺโญ ผู้ได้อภิญญาหก
ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต
ผู้ถึงปฏิสัมภิทา.
อธิบาย: สุกขวิปัสสก
แปลตามพยัญชนะว่า ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง โดยอรรถ
ได้แก่ท่านผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สำเร็จพระ
อรหัต
มิได้ทรงคุณอย่างอื่นอีก. คุณ ๓ ประเภทเป็นเครื่องแปลกแห่งพระอรหัตอีก ๓ องค์
พึงดูตามหมวด.
พระอริยบุคคล ๔
พระโสดาบัน
พระสกทาคามี
พระอนาคามี
พระอรหันต์.
ที. สี. ๙/๑๙๙.
หมายเอาท่านผู้ได้บรรลุอริยผลซึ่งจักแสดงข้างหน้า.
อริยวงศ์ ๔
ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ
เรียกว่าอริยวงศ์ แจกออกเป็น ๔ คือ สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ ตามมี
ตามเกิดนับเป็น ๓ ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศล ๑.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๕.
อธิบาย:
เนื่องจากผู้สันโดษนั้น ย่อมสรรเสริญคุณแห่งสันโดษอย่างนั้น ไม่ทำอเนสนา
คือแสวงหาไม่ควร เพราะเหตุปัจจัย ๓ นี้
ไม่ได้ก็ไม่ทุรนทุราย
ได้ก็บริโภค ไม่ติดใจในปัจจัย ๓ นั้น ไม่ยกตนข่มผู้อื่น
เพราะสันโดษและยินดีในภาวนาและปหานะนั้น.
อรูป ๔
อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
สํ. สฬ. ๑๘/๓๒๖.
อธิบาย: ศัพท์ว่า อรูป นี้ นัยหนึ่งเป็นชื่อแห่งฌานมีวิภาคดังนี้: พระโยคาวจรได้บรรลุรูปฌานที่ ๔ แล้ว พิจารณาเห็นปฏิภาค-
นิมิตแห่งกสิณ
จนเป็นอากาศคือของว่างเปล่า
เรียกว่าเพิกกสิณแล้วคำนึงเป็นอารมณ์ว่าอากาศหาที่สุดมิได้ น่าจะได้แก่ไม่ทำในใจถึงปฏิภาคนิมิตต์
หรือไม่เหนี่ยวรูปเป็นอารมณ์ นี้เป็นอากาสา-นัญจาญตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๑.
ในลำดับนั้น ล่วงอากาศเสีย
ถือเอาวิญญาณเป็นอารมณ์ว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้
น่าจะได้แก่คำนึงถึงวิญญาณเป็นอารมณ์ นี้เป็นวิญญาณัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๒.
ในลำดับนั้น ล่วงวิญญาณเสีย ถือเอาความไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่งเป็นอารมณ์ คือ
เกือบไม่มีอะไรเป็นอารมณ์เลย นี้เป็นอากิญจัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๓. ในลำดับนั้น
ล่วงอารมณ์เกือบไม่มีอะไรเหลือนั้นเสีย
จนเป็นผู้มีสัญญาคือความรู้สึกตัวก็มิใช่เป็นผู้หาสัญญามิได้ก็มิใช่
นี้จัดเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔.อีกนัยหนึ่ง เป็นชื่อแห่งภพ
มีอธิบายดังนี้: ผู้ได้อรูปฌานนั้นล้วนเป็นส่วนโลกิยะ จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว
ไปเกิดในพรหมภพมีประเภทเป็น ๔ มีชื่อเหมือนอย่างนั้นตามกำลังฌานของตน.
อวิชชา ๔
ไม่รู้ในทุกข์
ไม่รู้ในทุกขสมุทัย
ไม่รู้ในทุกขนิโรธ
ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
สํ. สฬ. ๑๘/๓๑๕.
อาหาร ๔
กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว
ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ
มโนสัญเจตนาหาร
อาหารคือมโนสัญเจตนา
วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ.
ม. มู. ๑๒/๘๙.
อธิบาย: ธรรมอันได้ชื่อว่าอาหารนั้น เพราะเป็นปัจจัยนำผลมา. อาหารชนิดที่กลืนกินนั้น ย่อมเลี้ยงร่างกายให้เป็นไป. ผัสสะ
นั้น
หมายเอาความประจวบกันแห่งอายตนะภายในภายนอก และวิญญาณ
เป็นปัจจัยแห่งเจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถี มีเวทนาเป็นต้น.มโนสัญเจตนานั้น
หมายเอาความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำการพูด การคิด ซึ่งจัดเป็นกรรม. วิญญาณ
มีวิภาคเป็น ๒
วิถีวิญญาณ ได้แก่จิตในแถว เกิดทางทวาร ๖ ปฏิสนธิวิญญาณได้แก่วิญญาณในปฏิสนธิแรกเกิด. วิถีวิญญาณ เป็นอันกล่าวถึง
วิถีวิญญาณ ได้แก่จิตในแถว เกิดทางทวาร ๖ ปฏิสนธิวิญญาณได้แก่วิญญาณในปฏิสนธิแรกเกิด. วิถีวิญญาณ เป็นอันกล่าวถึง
ในผัสสาหารแล้ว โดยเอกเสสนัย
น่าจะได้แก่ปฏิสนธิวิญญาณอันเป็นปัจจัยแห่งนามรูป กล่าวโดยสมมติ คือ อัตตภาพข้างหน้าอันจะเจริญขึ้นโดยลำดับ
ได้ในองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท วิญฺญาณปจฺจยานามรูปํ ซึ่งแปลว่า
นามรู้ย่อมเกิดมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.
อุปาทาน ๔
กามุปาทาน ถือมั่นกาม
ทิฏฐุปาทาน ถือมั่นทิฏฐิ
สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลพรต
ลัตตวาทุปาทาน
ถือมั่นวาทะว่าตน.
ม. มู. ๑๒/๑๓๒.
อธิบาย: ถือมั่นข้างเลว ได้แก่ถือรั้น จัดเป็นอุปาทาน. ถือมั่นวัตถุกามด้วยอำนาจกามตัณหา หมกมุ่นอยู่ว่านั่นของเรา จนเป็น
เหตุอิสสาหรือหึง
จัดเป็นกามุปาทาน. ถือมั่นความเห็นผิดด้วยอำนาจหัวดื้อ
จนเป็นเหตุเถียงกันทะเลาะกัน จัดเป็นทิฏฐุปาทาน. ถือมั่นศีลพรต คือ ธรรมเนียมที่เคยประพฤติมาจนชิน
ด้วยอำนาจความเชื่อว่าขลัง จนเป็นเหตุหัวดื้องมงาย จัดเป็นสีลัพพตุปาทาน.
ถือเราถือเขาด้วยอำนาจมานะ จนเป็นเหตุถือพวก จัดเป็นอัตตวาทุปาทาน.
โอฆะ ๔
กาโมฆะ โอฆะคือกาม
ภโวฆะ โอฆะคือภพ
ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ
อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา.
สํ. มหา. ๑๙/๘๘.
โยคุ ๔ อาสวะ ๔ เหมือนกัน.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๓.
นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 46
อธิบาย: กาม ภพ อวิชชา พึงรู้โดยนัยอันกล่าวแล้วใน
อาสวะ ๓. ทิฏฐิ หมายเอามิจฉาทิฏฐิ. สภาพ ๔ นี้ ได้ชื่อว่าโอฆะ*
เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์. ได้ชื่อว่าโยคะ เพราะประกอบ
สัตว์ได้ในภพ. ได้ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน.
กิจในอริยสัจ ๔
ปริญญา กำหนดรู้ทุกขสัจ
ปหานะ ละสมุทัยสัจ
สัจฉิกรณะ ทำให้แจ้งนิโรธสัจ
ภาวนา ทำมัคคสัจให้เกิด.
สํ. มหา. ๑๙/๕๓๙.
อธิบาย: อธิยมรรคเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำกิจ ๔ นี้ในขณะเดียวกัน.
ฌาน ๔
ปฐมฌาน ฌานที่ ๑
ทุติยฌาน ฌานที่ ๒
ตติยฌาน ฌานที่ ๓
จตุตถฌาน ฌานที่ ๔
ม. มู. ๑๒/๗๓.
อธิบาย: การเพ่งอารมณ์จนใจแน่แน่วเป็นอัปปนาสมาธิ เรียก
* โอฆะ ได้แก่กระแสน้ำที่หลากไหลท่วม ได้ในคำว่า "สุตฺตํ คามํ มโหโฆว มจฺจุ
อาทาย คจฺฉติ" ความตายดูจกระแสน้ำท่วมใหญ่ ย่อมพัดพาชาวบ้านหลับไป.
นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 47
ว่าฌาน. ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับปูรณสังขยา
ประณีตขึ้นไปกว่ากันโดยลำดับ. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก
ซึ่งเรียกว่าวิตก และยังมีตรองซึ่งเรียกว่าวิจาร เหมือนอารมณ์แห่ง
จิตของคนสามัญ แต่ไม่ประกอบด้วยกิเลสกามและอกุศลธรรม ซ้ำ
มีปีติคือความอิ่มใจ และสุขคือความสบายใจเกิดแต่วิเวกคือความสงบ
กับประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไป ซึ่งเรียกว่าเอกัคคตา.
ทุติยฌานมีองค์ ๓ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่
สมาธิกับเอกัคคตา. ตติยฌานมีองค์ ๒ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข
กับเอกัคคตา. จตุตถฌานมีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็น
อุเบกขา คือเฉย ๆ กับเอกัคคตา. ฌาน ๔ นี้ จัดเป็นรูปฌาน เป็น
รูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ.
ทักขิฌาวิสุทธิ ๔
ทักขิฌาบางอย่าง บริสุทธ์ฝ่ายทายก มิใช่ฝ่ายปฏิคาหก
ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธ์ปฏิคาหก มิใช่ฝ่ายทกยก
ทักขิณาบางอย่าง ไม่บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก
ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๐๔.
อธิบาย: ของทำบุญ เรียกว่าทักขิณา. ทายกเป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม บริจาคทักขิณาใดแก่ปฏิคาหกผู้ทุศีล มีบาปธรรม
นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 48
ทักขิณานั้น จัดว่าบริสุทธ์ฝ่ายทายก มิใช่ฝ่ายปฏิคาหก. ทายกเป็นผู้
ทุศีล มีบาปธรรม บริจาคทักขิณาใดแก่ปฏิคาหกผู้มีศีล มีกัลยาณ-
ธรรม ทักขิณานั้น จัดว่าบริสุทธ์ฝ่ายปฏิคาหก มิใช่ฝ่ายทายก. ทั้ง
ทายกทั้งปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ทักขิณาอันทายกบริจาค
แก่ปฏิคาหกนั้น ย่อมไม่บริสุทธ์เลย. ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักขิณาอันทายกบริจาคแก่ปฏิคาหกนั้น ย่อมบริสุทธ์
พร้อมทั้งสองฝ่าย.
ธรรมสมาทาน ๔
ธรรมสมาทานบางอย่าง ให้ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบาก
ต่อไป.
ธรรมสมาทานบางอย่าง ให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบาก
ต่อไป.
ธรรมสมาทานบางอย่าง ให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบาก
ต่อไป.
ธรรมสมาทานบางอย่าง ให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก
ต่อไป.
ม. มู. ๑๒/๕๕๖.
อธิบาย: ธรรมสมาทาน ได้แก่การทำกรรม อุทาหรณ์มา
ในบางพระสูตร อย่างต้น ประพฤติอกุศลกรรมบถฝืนใจได้เสวย
ทุกขโทมนัส. อย่างที่ ๒ ประพฤติกุศลกรรมบถได้ด้วยความยากลำบาก
นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 49
อย่างที่ ๓ ประพฤติอกุศลกรรมบถด้วยความพอใจ ได้เสวยสุขโสมนัส.
อย่างที่ ๔ ประพฤติกุศลกรรมบถด้วยความพอใจ ได้เสวยสุขโสมนัส.
ขยายความอย่างที่ ๑ เช่นคนคบคนพาล ถูกคนพาลล่อพาตัวไปปล้นเอา
ทรัพย์ของคนอื่น ผู้นั้นไม่สมัครทำเลย แต่หลวมตัวเข้าไปเสียแล้ว
ถ้าไม่ทำกับมัน กลัวมันจะฆ่าเสีย ต้องจำใจทำ. อย่างที่ ๒ คนช่วย
ชีวิตแห่งผู้อื่น ด้วยฝ่ายอันตราย เช่นช่วยคนตกน้ำ. อย่างที่ ๓ คน
หากินโดยทางมิจฉาอาชีวะ หาทรัพย์ได้คล่อง ๆ เช่นรับของโจรหรือ
รับสินบน. อย่างที่ ๔ คนมีทรัพย์ จ่ายทรัพย์ของตนเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ได้รับความเบิกบานใจ. คนผู้ทำบาป ตายแล้วย่อมไปสู่ทุคติ. คนผู้ทำ
บุญ ตายแล้วย่อมไปสู่สุคติ.
บริษัท ๔
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๗๘.
บริษัท ๔
กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๗๙.
บุคคล ๔
อุคฆติตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมพอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง.
วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น.
นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 50
เนยยะ ผู้พอแนะนำได้.
ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๘๓.
อธิบาย: บุคคลที่ ๑ เป็นผู้มีปฏิภาณเป็นอย่างดี ท่านผู้เทศนา
ยกเพียงหัวข้อขึ้นแสดง ก็เข้าใจแล้ว ตัวอย่างเช่นพระอัสสชิแสดง
แก่พระสารีบุตรครั้งยังเป็นปริพาชกว่า ความเกิดและดับแห่งธรรม
ทั้งหลายเพราะเหตุ พระสารีบุตรเข้าในดีว่า หัวใจพระพุทธศาสนา
คือถือว่าสิ่งนั้น ๆ สารพัดทุกอย่างเป็นเหตุและผลแห่งกันและกัน เกิด
ขึ้นก็เพราะเหตุ ดังก็เพราะสิ้นเหตุ. บุคคลที่ ๒ มีปฏิญาณไม่ถึงอย่าง
นั้น ต่อได้ฟังอธิบายความจึงเข้าใจได้ ตัวอย่าง พระปัญจวัคคีย์
ได้ฟังพระศาสดาตรัสว่า ปัญจขันธ์เป็นอนัตตา แล้วทรงอธิบายว่า
ถ้าปัญจขันธ์เป็นอัตตาแล้วไซร้ ปัญจขันธ์นั้นก็จะไม่พึงเป็นไปเพื่อ
ความลำบาก และจะพึงปรารถนาได้ตามใจว่า ขอจงเป็นอย่างนี้เถิด
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ท่านเข้าใจแล้ว. บุคคลที่ ๓ ได้แก่ผู้พอจะ
ฝึกสอนอบรมได้ต่อไป อย่างคนสามัญ. บุคคลที่ ๔ ได้แก่บุคคล
ผู้สักว่าฟัง ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จเพราะการฟัง.
ปฏิปทา ๔
ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 51
สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๐๐.
อธิบาย: นี้หมายเอาความปฏิบัติของภิกษุผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ.
ปฏิปทาที่ ๑ พึงเห็นเช่นของพระจักขุปาลเถระ ท่านถือเนสัชชิกธุดงค์
ไม่นอนตลอดพรรษาจนจักษุบอด ได้ความลำบาก ได้บรรลุธรรมพิเศษ
ก็ช้ากว่าพวกสหาย. ปฏิปทาที่ ๒ พึงเห็นเช่นของภิกษุผู้อาพาธ ได้
เสวยทุกขเวทนากล้าคือเอาเป็นอารมณ์ พอได้บรรลุธรรมพิเศษแล้วก็
ดับจิต ที่เรียกว่าชีวิตสมสีสี. ปฏิปทาที่ ๓ พึงเห็นเช่นของภิกษุเรียน
กัมมัฏฐานไม่ถูกแก่จริต ไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษมานาน กว่าจะได้เรียน
กัมมัฏฐานถูกแก่จริต. ปฏิปทาที่ ๔ พึงเห็นเช่นของพระพาหิยะ ผู้ได้
ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาในระหว่างทางก็ได้บรรลุธรรมพิเศษ.
ปฏิสัมภิทา ๔
อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ
ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในธรรม
นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในนิรุกติ
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ.
ขุ. ปฏิ. ๓๑/๑๗๕. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๓๕.
อธิบาย: อรรถอย่างหนึ่ง หมายเอาความอธิบายแห่งภาษิต
ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร ดุจพระมหากัจจายนะ
นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 52
ได้รับยกย่องแห่งพระศาสดา จัดเป็นอัตถปฏิสัมภิทา. อีกอย่าง
หนึ่งหมายเอาผล ความเข้าใจคาดหน้าถึงผลอันจักมี ด้วยอำนาจ
อนาคตตังสญาณ จัดเป็นอัตถปฏิสัมภิทา. ธรรมอย่างหนึ่ง หมาย
เอาภาษิตอันเป็นกระทู้ซึ่งเรียกว่าอุทเทส ความเข้าใจถือเอาใจความ
แห่งอรรถาธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้ขึ้นได้ จัดเป็นธัมมปฏิสัมภิทา.
อีกอย่างหนึ่ง หมายเอาเหตุ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลังด้วย
อำนาจอตีตังสญาณ จัดเป็นธัมมปฏิสัมภิทา. นิรุกติ ได้แก่ภาษา
ความเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจตลอดถึงรู้ภาษาต่าง
ประเทศ อาจชัดนำคนให้นิยมตามคำพูด กล่าวสั้นว่าเข้าใจพูด จัด
เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา. ปฏิภาณ ได้แก่ความไหวพริบ ความเข้าใจ
ทำให้สบเหมาะในทันที ในเมื่อเหตุเกิดขึ้นโดยฉุกเฉิน จัดเป็น
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
ภูมิ ๔
กามาจรภูมิ ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในกาม
รูปาวจรภูมิ ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในรูป
อรูปาวจรภูมิ ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในอรูป
โอกุตตรภูมิ ชั้นพ้นจากโลก.
ขุ. ปฏิ. ๓๑/๑๒๒.
อธิบาย: ภาวะอันประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แห่งจิตและเจตสิก
เรียกว่าภูมิในที่นี้ แปลว่าชั้นหรือพื้นแพ ชั้นแห่งจิตและเจตสิกอัน
นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 53
ยังปรารภกามเป็นอารมณ์ จัดเป็นกามาวจรภูมิ ได้แก่จิตและ
เจตสิกของสามัญมนุษย์เป็นตัวอย่าง. ชั้นแห่งจิตและเจตสิกอันล่วง
กามได้แล้ว แต่ยังปรารภรูปธรรมเป็นอารมณ์ จัดเป็นรูปาวจรภูมิ
ได้แก่จิตและเจตสิกของพระโยคาวจรผู้ได้ฌานมีกสิณ หรือรูปอย่างอื่น
เป็นอารมณ์ เรียกว่ารูปฌาน. ชั้นแต่งจิตและเจตสิกอันล่วงรูปธรรม
ได้แล้ว ปรารภอรูปธรรมเป็นอารมณ์ จัดเป็นอรูปาวจรภูมิ ได้แก่
จิตและเจตสิกของพระโยคาวจรผู้ได้ฌานมีอรูปธรรม อย่างละเอียด
เป็นอารมณ์ ที่เรียกว่าอรูปฌาน. ชั้นแห่งจิตและเจตสิกอันล่วงโลกิย-
ธรรมได้แล้ว ไม่กลับกลายมาข้างต่ำ จัดเป็นโลกุตตรภูมิ ได้แก่จิต
และเจตสิกแห่งพระอริยเจ้า.
มรรค ๔
โสดาปัตติมรรค
สกทาคามิมรรค
อนาคามิมรรค
อรหัตตมรรค.
วิ. ญาณทสฺสน. ตติย. ๓๑๙.
อธิบาย: ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้เด็ดขาด เรียก
ว่ามรรค. มรรคนั้นจำแนกเป็น ๔ ด้วยอำนาจกำจัดสังโยชน์แต่เพียง
เอกเทศบ้าง สิ้นเชิงบ้าง. พึงรู้สังโยชน์ ๑๐ [จงดูในทสกะหมวด ๑๐]
ก่อนแล้ว รู้วิภาคแห่งมรรคดังนี้:
นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ - หน้าที่ 54
๑. โสดาปัตติมรรค เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.
๒. สกทาคามิมรรค เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ เหมือนโสดา-ปัตติมรรค กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาลง.
๓. อนาคามิมรรค
เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ทั้ง ๕.
๔. อรหัตตมรรค
เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐.
ตามนัยที่กล่าวมานี้ สกทาคามิมรรค ไม่ชัดเหมือนมรรคอื่นแฝงอยู่ในระหว่างโสดาปัตติมรรคกับอนาคามิมรรค. และคำว่าทำ
ราคะโทสะให้เบาลงนั้น
ก็ไม่ชัดว่าเพียงไร. สันนิษฐานได้เพียงว่าราคะโทสะที่แรงกล้า เป็นเหตุไปอบาย
เช่นกาเมสุมิจฉาจารและพยาบาท สงบมาแต่ครั้งโสดาปัตติมรรคแล้ว แปลว่า
ท่านผู้เป็นโสดาบันน์ ไม่ทำกาเมสุมิจฉาจาร และไม่จองเวรแก่ผู้อื่น
แต่ยังมีภรรยาสามีตามประเพณีโลก และยังโกรธผู้อื่น. ฝ่ายอนาคามิมรรคกำจัดราคะ โทสะ
นั้นสิ้นเชิง แปลว่าท่านผู้เป็นพระอนาคามีเป็นโสดไม่มีคู่
ไม่มีสมัครรักใคร่ในทางกาม ไม่โกรธขึ้งใคร. ราคะ โทสะอันสกทาคามิมรรคทำให้เบาลงนั้น
แปลว่ายังมี แต่ไม่ใช่อย่างแรงร้าย จะอธิบายว่า มีห่าง ๆ หรือมีอย่างสุขุม
ก็ไม่ปรากฏว่าเพียงไรอีก และโมหะนั้นจะขาดเด็ดเพราะอรหัตตมรรค
สกทาคามิ-มรรคทำให้เบาลงได้เพียงไร ไม่ชัดเหมือนกัน
จึงยังเป็นมรรคที่มัวมีทางสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งว่า คนยังมีรัก มีโกรธ มีหลง
แต่เขาไม่เรียกว่าผู้รักง่าย ผู้โกรธง่าย ผู้หลงง่าย ทุกคนไป
เขาเรียกเฉพาะคนที่มีกิเลสเช่นนั้นเป็นเจ้าเรือน
พระสกทาคามีไม่ใช่ผู้รักง่ายผู้โกรธง่าย ผู้หลงง่ายกระมัง แต่ก็ไม่พ้นมัว.
ผล ๔
โสดาปัตติผล
สกทาคามิผล
อนาคามิผล
อรหัตตผล.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๔๐.
อธิบาย:
ธรรมารมณ์อันเกิดสืบเนื่องมาแต่มรรค เสวยกำไรที่มรรคได้ทำไว้นั้น เรียกว่าผล.
ผลนั้นก็มีชื่อเป็น ๔ ตามมรรค. จักแสดงข้อ อุปมาเปรียบมรรคกับผลพอเล็งเห็น.
สังโยชน์เหมือนโรคในกาย มรรคเหมือนการรักษาโรคให้หาย
ผลเหมือนความสุขสบายอันเกิดแต่ความสิ้นโรค. อีกอุปมาหนึ่ง
สังโยชน์เหมือนโจรในป่ามรรคเหมือนกิริยาปราบโจร
ผลเหมือนความสงบราบคาบเกิดมีเพราะหมดโจร.
โยนิ ๔
ชลาพุชะ เกิดในครรภ์
อัณฑชะ เกิดในไข่
สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล
โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น.
ม. มู. ๑๒/๑๔๗.
ม. มู. ๑๒/๑๔๗.
อธิบาย: กำเนิดเรียกว่าโยนิในที่นี้. กำเนิดชลาพุชะนั้น ได้แก่กำเนิดมนุษย์และกำเนิดดิรัจฉานที่คลอดออกเป็นตัวแลดูดนม เช่นโคกระบือ สุนัข แมวเป็นต้น. กำเนิดอัณฑชะนั้น ได้แก่กำเนิดดิรัจฉานที่เกิดในไข่ก่อนแล้วจึงฟักออกเป็นตัว เช่น ไก่ เป็ด นก เป็นต้น.กำเนิดสังเสทชะ ท่านหมายเอากำเนิดดิรัจฉานที่เกิดในของโสมม เช่นหมู่นอน. ถ้าแยกให้ชัดจากกำเนิดอัณฑชะ ควรแบ่งดังนี้ จำพวกเกิดในไข่ฟักแล้วเป็นตัวเติบขึ้น นับเข้าในจำพวกสัตว์ จัดเป็นอัณฑชะ.จำพวกเกิดในไข่ หรือไม่ปรากฏว่าเกิดจากอะไร เป็นชนิดหนอนและแมลงต่าง ๆ จัดเป็นสังเสทชะ. อีกอย่างหนึ่ง น่ากำหนดว่า จำพวกมีเลือดแดง จัดเป็นอัณฑชะ จำพวกมีเลือดเหลือง จัดเป็นสังเสทชะโดยเค้าเงื่อนก็สมกัน. กำเนิดโอปปาติกะ ท่านว่าได้แก่กำเนิดเทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น เทวาก็ดี สัตว์นรกก็ดี ไม่ได้เกิดด้วยกำเนิด ๓ข้างต้น เกิดผุดขั้นในทันใด โตใหญ่เป็นวิญญูชนทีเดียว หาได้เป็นทารกมาก่อนไม่ เมื่อจุติก็หายวับไป ไม่ทอดทิ้งซากไว้ ยังไม่แลเห็นอุทาหรณ์.
วรรณะ ๔
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์
[พาณิช] ศูทร [คนงาน].
ม. ม. ๑๓/๕๒๐.
วิบัติ ๔
สีลวิบัติ วิบัติแห่งศีล
อาจารวิบัติ
วิบัติแห่งอาจาระ
ทิฏฐิวิบัติ วิบัติแห่งทิฏฐิ
อาชีววิบัติ
วิบัติแห่งอาชีวะ.
จุลฺลวคฺค. ปฐม. ๓๓๖.
อธิบาย: การประพฤติตนเป็นคนทุศีล ไม่มีสังวร จัดเป็นสีลวิบัติ. การไม่รักษามรรยาท ทอดธุระเสีย จัดเป็นอาจารวิบัติ.
มิจฉาทิฏฐิ
อันนำให้ประพฤติผิด จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ. มิจฉาอาชีวะจัดเป็นอาชีววิบัติ.
เวสารัชชญาณ ๔
พระตถาคตเจ้าไม่เห็นว่าใคร ๆ
จักท้องพระองค์ได้โดยธรรมในฐานะ ๔ คือ
๑.
ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว
๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ
อาสวะเหล่านี้ของท่าน ยังไม่สิ้นแล้ว
๓.
ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น
ไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง
๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด
ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งคนผู้ทำตาม.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๐. ม. มู.
๑๒/๑๔๔.
จึงไม่ทรงครั่นคร้าม
ปฏิญญาฐานของผู้เป็นโจก เปล่งพระสุรสิงหนาทในบริษัท ประกาศพระพรหมจักร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น