วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นักธรรมโท - ธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ ตอน 2



...........ธรรมวิภาค นักธรรมโท จัดเป็นหนังสือรวบรวมหัวข้อธรรมะที่คัดเลือกหัวข้อธรรมจากพระไตรปิฎก นำมาใช้อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรในระดับนักธรรมโท ปริยัติธรรมหลักสูตรการศึกาษาของพระภิกษุสามเณรนั้น ความจริงน่าจะจัดเป็นภาคบังคับให้เรียนใน ปีแรก หลักสูตรคือหนังสือนวโกวาท เหมาะมาก สำหรับผู้บวชใหม่ ส่วนธรรมวิภาคนักธรรมโท จะมีหัวข้อธรรมะกว้างขวางยิ่งขึ้น คนที่เรียจบเล่มนี้  จะสามารถเลือกเอาไปสอนชาวบ้านได้สบาย ๆ หลักสูตรนักธรรมเอก ยังต้องอาศัยหัวข้อธรรมะจากเล่มนี้ ไปใช้วิพากย์วิจารณ์ที่นักธรรมเอกต้องฝึกให้ชำนาญ ก่อนจะขึ้นธรรมมาสน์เทศน์สอนชาวบ้าน ไม่งั้น ก็ต้องอาศัยอ่านใบลาน อ่านหนังสืออานิสงส์ ซึ่งดูแล้วไม่ค่อยสง่างามนัก สู้มีความรู้หลักธรรมแล้วค่อยเทศน์ด้วยสำนวนโวหารที่เรียกเทศนาโวหารไม่ได้ น่าศรัทธากว่า หนังสือที่นักเทศน์ควรศึกษาให้เข้าใจ ชัดเจนคือ นวโกวาท นักธรรมตรี และธรรมวิภาค นักะรรมโท ส่วนธรรมวิจารย์นักธรรมเอก ก็เป็นวิธีนำ เอาหลักคำสอนต่าง ๆ มาวิพากย์วิจารย์ให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เวลาแสดงธรรมเทศนา จะดูคล่องแคล่วน่าศรัทธามากกว่า ดังนั้นพระที่จบนักธรรมเอกจึงมักจะแสดงธรรมเทศนาได้น่าฟัง ดีกว่าไม่ได้ศึกษา   ชาวบ้านอยากรู้ ลองเข้ามาอ่านดูสิครับ ผมคัดมาแบ่งเป็นตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ความยาวประมาณตอนละ 30 หน้ากระดาษ เอ 4 เชิญเลยครับ อ้อ...ขออนุญาตลงวุฒิการศึกษา อวดบ้าง จะได้รู้ ทำไมสนใจเรื่องธัมมะธัมมังนัก

                                                                   ขุนทอง ศรีประจง
                                                นธ.เอก ปธ.4. พ.ม. กศ.บ.(เกียรตินิยม) ศศ.ม

ปัญจกะ หมวด ๕
อนุปุพพีกถา ๕
ทานกถา กล่าวถึงทาน
สีลกถา กล่าวถึงศีล
สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์
กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม
เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งความ
ออกจากกาม.
มหาวคฺค. ปฐม. ๔/๓๐.

อธิบาย: เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของเวไนยให้หมดจดเป็นชั้น ๆ เรียกอนุปุพพีกถา มีนิยมเป็นพิเศษว่า ๕
อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงในคราวที่ผู้ฟังมีอุปนิสัยสามารถจะบรรลุธรรมพิเศษ ก่อนแต่ทรงแสดงอริยสัจ. มีอรรถาธิบายว่า ในเบื้องต้น ทรงแสดงประโยชน์แห่งการให้ เพื่อละความเห็นแก่ตนและความตระหนี่เสียแล้ว มีใจเผื่อแผ่สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยกำลังทรัพย์ของตนเอง. ในลำดับนั้น ทรงแสดงประโยชน์แห่งศีล คือความประพฤติเรียบร้อย เพื่อเว้นจากเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำภัยอันตรายให้เกิดขึ้นในหมู่ที่ตนเข้าอยู่ด้วย แลเพื่อรู้จักนับถือเขา. ในลำดับนั้น ทรงแสดงสมบัติคือความดีความงามอันคนผู้ให้และคนผู้มีศีลจะพึงได้พึงถึงในมนุษยโลก ตลอดขึ้นไปถึงสวรรค์ เป็นอัสสาทะ คือ รสอร่อยแห่งกาม เพื่อเห็นอานิสงส์แห่งทานและศีลยิ่งขึ้น. ในลำดับนั้น ทรงแสดงอาทีนพแห่งกามว่า แม้ให้สุขโดยประการ แต่ก็ยังเจือด้วยทุกข์ต่าง ๆ ไม่ควรเพลิดเพลินโดยส่วนเดียว ควรเบื่อหน่ายด้วยเหมือนกัน. ในที่สุดทรงแสดงอานิสงส์แห่งความออกจากกาม คือทำจิตไม่ให้หมกมุ่นอยู่ในกาม เพื่อยังฉันทะให้เกิด. คนผู้ไม่เห็นแก่ตัว ให้ทรัพย์ของตนเกื้อกูลผู้อื่น มีศีลประพฤติเรียบร้อย ไม่ทำร้ายเขา และไม่เย่อหยิ่ง ตั้งตนได้ในกาม-สมบัติแล้ว ไม่เพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่ในนั้น ยังแลเห็นโทษและเบื่อ
หน่าย มุ่งสุขอันสงบ ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก เป็นผู้ควรรับเทศนาอย่างสูงคืออริยสัจ เหมือนผ้าอันฟอกหมดจดแล้ว ควรรับน้ำย้อมมีประการต่าง ๆ สุดแต่ผู้ย้อมจะน้อมไปฉะนั้น.

กามคุณ ๕
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ.
ม. มู. ๑๒/๓๓๓.

จักขุ ๕
มังสจักขุ จักษุคือดวงตา
ทิพพจักขุ จักษุทิพย์
ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา
พุทธจักขุ จักษุแห่งพระพุทธเจ้า
สมันตจักขุ จักษุรอบคอบ.
ขุ. มหา. ๒๙/๕๒.

อธิบาย: จักษุ ๕ นี้ กล่าวว่าเป็นสมบัติของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระองค์ย่อมทรงทอดพระเนตรเห็นแจ่มใส เห็นได้ไกล เห็นได้ไว ด้วยมังสจักขุ. พระองค์ย่อมทรงเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นต่าง ๆกันด้วยอำนาจกรรม ด้วยทิพพจักขุ. พระองค์ย่อมทรงพิจารณาเห็นไญยธรรม มีอริยสัจเป็นอาทิ ด้วยปัญญาจักขุ. พระองค์ย่อมทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ ด้วยพุทธจักขุ. พระองค์ย่อมทรงทราบธรรมทั้งปวง ด้วยสมันตจักขุ คือพระสัพพัญญุตญาณ.

ธรรมขันธ์ ๕
สีลขันธ์ หมวดศีล
สมาธิขันธ์ หมวดสมาธิ
ปัญญาขันธ์ หมวดปัญญา
วิมุตติขันธ์ หมวดวิมุตติ
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมวดวิมุตติญาณทัสสนะ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๕๒.

อธิบาย: ความทำจิตให้หลุดพ้นจากอาสวะ ชื่อว่าวิมุตติ.ความรู้ ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้ว สืบมาจากวิมุตติ ชื่อว่าญาณทัสสนะ. ธรรมอันจะพึงสงเคราะห์เข้าหมวดกันได้ จัดเข้าเป็นขันธ์หนึ่ง ๆ เช่นอินทรียสังวร โภชเนมัญญุตา จัดเข้าในสีลขันธ์.
ชาคริยานุโยค และกายคตาสติ จักเข้าในสมาธิธันธ์. ธัมมวิจยะและกัมมัสสกตาญาณ จัดเข้าในปัญญาขันธ์. ปหานะ และสัจฉิกิริยา จัดเข้าในวิมุตติขันธ์. ญาณทัสสนะส่วนโลกุดร จัดเข้าในวิมุตติญาณ-ทัสสนขันธ์. สาระ ๕ ก็เรียก.

ปีติ ๕
ขุททกาปีติ ปีติอย่างน้อย
ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ
โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพัก ๆ
อุพเพงคาปีติ ปีติอย่างโลกโผน
ผรณาปีติ ปีติซาซ่าน.
วิ. ปฐวี. ปฐม. ๑๘๒.

อธิบาย: ความอิ่มใจ เรียกปีติ. ชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น ทำให้ขนชัน ทำให้น้ำตาไหล จัดเป็นขุททกาปีติ. อีกชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น
ทำให้รู้สึกเสียวแปลบ ๆ เปรียบเหมือนฟ้าแลบ จัดเป็นขณิกาปีติ.อีกชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น ทำให้ซู่ซ่าแรงกว่าเสียวแปลบ ๆ เปรียบ
เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง จัดเป็นโอกกันติกาปีติ. อีกชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น ทำใจให้ฟู นำให้ทำการอื่นเว้นจากเจตนา เช่นเปล่งคำอุทานเป็นต้น จัดเป็นอุพเพงคาปีติ. ปีติชนิดนี้ท่านกล่าวว่า บางทีทำกายให้ลอยไปหรือโลดขึ้นก็ได้. อีกชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น ทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสรรพางค์ จัดเป็นผรณาปีติ. ถ้ายกเอาการทำให้ขนชันมาเป็นลักษณะแห่งผรณาปีติ ความจักแจ่มขึ้นมาก.

มัจฉริยะ ๕
อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่
กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล
ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ
วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ
ธัมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม.
องฺ. นวก. ๒๓/๔๘๑.
อธิบาย: ความหวงถิ่น ไม่พอใจให้คนต่างด้าว ต่างชาติต่างนิกาย เข้ามาอยู่แทรกแซง จัดเป็นอาวาสมัจฉริยะ. ความหวงสกุล
ไม่ยอมให้สกุลอื่นเข้ามาเกี่ยวดองด้วย จัดเป็นกุลมัจฉริยะ. ความหวงสกุลอุปัฏฐากของภิกษุ ไม่พอใจให้บำรุงภิกษุอื่น คอยเกียดกันเสีย จัดเป็นกุลมัจฉริยะในฝ่ายบรรพชิต. ค วามหวงทรัพย์พัสดุไม่ให้ผู้อื่น จัดเป็นลาภมัจฉริยะ. ความหวงคุณความดี ไม่ปรารถนาให้คนอื่นสู้ได้ จัดเป็นวัณณมัจฉริยะ. อีกอย่างหนึ่ง วัณณะแปลว่า สีกาย ความหวงสวยหวงงามอันเป็นกิเลสของหญิงสาว ก็นับเข้าในวัณณมัจฉริยะ. ความหวงธรรม หวงศิลปวิทยา ไม่ปรารถนาจะแสดงจะบอกแก่คนอื่นเกรงว่าเขาจะรู้เทียมตน จัดเป็นธัมมมัจฉริยะ.

มาร ๔
ขันธมาร มารคือปัญจขันธ์
กิเลสมาร มารคือกิเลส
อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร
มัจจุมาร มารคือมรณะ
เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร.
วิ. ฉอนุสฺสติ. ปฐม. ๒๗๐.

อธิบาย: ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่ามาร เพราะบางทีทำความลำบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี. กิเลสได้ชื่อ
ว่ามาร เพราะตกอยู่ในอำนาจแห่งมันแล้ว มันย่อมผูกรัดไว้บ้างย่อมทำให้เสียคนบ้าง. อภิสังขารคือกรรมฝ่ายอกุศล ได้ชื่อว่ามาร
พราะทำให้เป็นผู้ทุรพล. มัจจุ คือมรณะ ได้ชื่อว่ามาร เพราะตัดชีวิตเสีย. เทวบุตรผู้มุ่งร้าย ได้ชื่อว่ามาร เพราะเป็นบุคคลาธิษฐานแห่งสภาวะอันทำลายล้าง. ขึ้นชื่อว่าเทวบุตรไม่ใช่เป็นมารทุกองค์ เป็นเฉพาะผู้มุ่งร้าย โดยนัยนี้ ปัญจขันธ์ก็ดี กิเลสก็ดี อภิสังขารก็ดีน่าจะหมายเอาเฉพาะส่วนอันให้ร้าย มัจจุ น่าจะหมายเอาในเวลาที่ชีวิตกำลังเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน เช่นถ้ายังเป็นอยู่ต่อไปจะได้บรรลุธรรมพิเศษ เช่นพระศาสดาทรงปรารภถึงอาฬารดาบส และอุททกดาบส เมื่อครั้งทรงพระดำริหาผู้สมควรรับปฐมเทสนา หรือจักได้สั่งสอนมหาชน เช่นพระศาสดาทรงอธิษฐานพระชนมายุเมื่อแรกจะทรงบำเพ็ญพุทธกิจ ข้าพเจ้าจึงแก้ไว้อย่างนี้.

วิญญาณ ๕
จักขุวิญญาณ วิญญาณทางดวงตา
โสตวิญญาณ วิญญาณทางหู
ฆานวิญญาณ วิญญาณทางจมูก
ชิวหาวิญญาณ วิญญาณทางลิ้น
กายวิญญาณ วิญญาณทางกาย.
ที. มหา. ๑๐/๓๔๔.

อธิบาย: อาศัยตากับรูป เกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นจักขุวิญญาณ.อาศัยหูกับเสียง เกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นโสตวิญญาณ. อาศัยจมูก
กับกลิ่น เกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นฆานวิญญาณ. อาศัยลิ้นกับรสเกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นชิวหาวิญญาณ. อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ
เกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นกายวิญญาณ. วิญญาณ ๕ นี้ ในพระอภิธรรมแยกเป็นประเภทหนึ่งต่างหากจากมโนวิญญาณ. และแยก
เป็นประเภทน้อยออกไป เป็นกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ เรียกทวิปัญจวิญญาณ จัดเข้าในจำพวกอเหตุกจิต คือจิตอันมิใช่เหตุ.
ส่วนในพระสูตรรวมเข้ากับมโนวิญญาณ เป็นวิญญาณ ๖.

วิมุตติ ๕
ตทังควิมุตติ พันชั่วคราว
วิกขันภนวิมุตติ พ้นด้วยสะกดไว้
สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยเด็ดขาด
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ
นิสสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป.
วิ. อภิญฺญา. ทุติย. ๒๔๙.


อธิบาย: ความพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว เช่นเกิดเหตุเป็นที่ตั้งแห่งสังเวชขึ้น หายกำหนัดในกาม เกิดเมตตาขึ้น หายโกรธ แต่
ความกำหนัดและความโกรธนั้นไม่หายทีเดียว ทำในใจถืออารมณ์งามความกำหนัดกลับเกิดขึ้นอีก ทำในใจถึงวัตถุแห่งอาฆาต ความโกรธกลับเกิดขึ้นอีก อย่างนี้จัดเป็นตทังควิมุตติ แปลว่าพ้นด้วยองค์นั้น ๆ. ความพ้นจากกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นาน ๆ กว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมหายแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก อย่างนี้จัดเป็นวิกขัมภนวิมุตติ. ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดอีก อย่างนี้จัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ. ความพ้นจากกิเลสเนื่องมาจากอริยมรรคถึงอริยผลไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว อย่างนี้จัดเป็นปฏิปัสสัทธิวิมุตติ. ความพ้นจากกิเลสนั้นยั่งยืนมาตลอดถึงเวลาสิ้นชีพ อย่างนี้จัดเป็นนิสสรณวิมุตติ*.

เวทนา ๕
สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา.
สํ. สฬ. ๑๘/๒๘๗.
อธิบาย: สุขไม่มาเป็นคู่กับโสมนัส เช่นสุขมาในเวทนา ๓
หมายเอาทั้งสุขกายสุขใจ สุขมาเป็นคู่กับโสมนัส เช่นสุขในเวทนา ๕
นี้ หมายเอาเฉพาะสุขกาย. ทุกข์ไม่มาเป็นคู่กับโทมนัส หมายเอา

*
วิมุตติ ๕ นี้ในปฏิสัมภิทามรรค เรียกว่า วิเวก ๕.ทั้งทุกข์กายทั้งทุกข์ใจ ทุกข์มาคู่กับโทมนัส หมายเอาเฉพาะทุกข์
กาย. โสมนัสหมายเอาสุขใจ โทมนัสหมายเอาทุกข์ใจ. อุเบกขาหมายเอาคามเฉยแห่งใจ เพราะอุเบกขาทางกายไม่มี กายเป็น
ปกติอยู่จัดว่าเป็นสุข.

สังวร ๕
สีลสังวร สำรวมในศีล
สติสังวร สำรวมด้วยสติ
ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ
ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ
วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร.
วิ. สีล. ปฐม. ๘. สทฺ ปฏิ. ๑๖.

สุทธาวาส ๕
อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา.
ม. มู. ๑๒/๕๒๖.
อธิบาย: ภพ ๕ นี้ อยู่ในพรหมโลก ๑๖ ข้างชั้นสูง ว่าเป็นที่เกิดแห่งพระอนาคามี ผู้จุติจากภพนี้แล้ว ได้บรรลุพระอรหัต
แล้วนิพพานในภพที่เกิดนั้นบ้าง เลื่อนไปเกิดในภพที่สูงขึ้นไปกว่าแล้ว จึงเป็นอย่างนั้นบ้าง จึงเรียกว่า สุทธาวาส แปลว่า ที่อยู่
แห่งท่านผู้บริสุทธิ์ เรียกเป็นชื่อต่างออกไปเป็น ๕ อย่างนี้ ตามชื่อเทพในชั้นนั้น.

พระอนาคามี ๕
อันตราปรินิพพายี ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.
อุปหัจจปรินิพพานยี ท่านผู้จะปริพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว จวนถึงที่สุด.

สสังขารปรินิพพายี ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร เรี่ยวแรง.
อสังขารปรินิพพายี ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก.
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ท่านผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐ-ภพ.
องฺ. ทสก. ๒๔/๑๒๙.

อธิบาย: ๔ องค์ข้างต้น ปรินิพพานในภพที่เกิดนั้นเอง, ๒ องค์ข้างต้น กำหนดด้วยอายุ. ๒ องค์ข้างปลาย กำหนดด้วยความ
เพียร, องค์ข้างท้าย ต้องเลื่อนขึ้นไปเกิดในภพสูงขึ้นไป กว่าจะถึงชั้นอกนิฏฐะ แล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น. อะไรเป็นเหตุปันพระอนาคามีให้ไปเกิดในภพต่ำหรือสูงกว่ากัน และอะไรเป็นเหตุปันท่านให้ปรินิพพานเร็วช้าและยากง่ายกว่ากัน ข้าพเจ้ายังไม่พบท่านกล่าวไว้.

ฉักกะ หมวด ๖
อภิญญา ๖
อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้
ทิพพโสต หูทิพย์
เจโตปริยญาณ รู้จัดกำหนดใจผู้อื่น
ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้
ทิพพจักขุ ตาทิพย์
อาสวักขยญาณ รู้จัดทำอาสวะให้สิ้น.
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๑๑.

อธิบาย: อิทธิวิธิ กล่าวไว้ในนิทเทสว่า แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆคนเดียวนิรมิตเป็นคนมากก็ได้ กลับเป็นคนเดียวอีกก็ได้ ล่องหน
คือผ่านไปในวัตถุกั้นขวางอยู่ เช่น ฝา กำแพง ภูเขา ดุจไปในที่แจ้งก็ได้. ดำดิน คือไปใต้ดินแล้วผุดขึ้นในที่ปรารถนาดุจดำในน้ำ
ก็ได้. เดินน้ำ คือไปได้บนพื้นน้ำอันไม่แตกดุจเดินบนพื้นดินก็ได้.เหาะ คือนั่งไปในอากาศดุจนกบินก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยมือก็ได้. ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้. ทิพพโสตมีนิทเทสว่า มีหูทิพย์หมดจดล่วงหูของสามัญมนุษย์ ฟังเสียง ๒ อย่างได้ คือทั้งเสียงทิพย์ ทั้งเสียมนุษย์ ทั้งเสียงไกล เสียใกล้.เจโตปริยญาณ มีนิทเทสว่า กำหนดด้วยใจของตนแล้วรู้ได้ซึ่งใจของบุคคลอื่นอันบริสุทธิ์หรือเศร้าหมองอย่างไร. อีก ๓ อย่างอธิบายไว้แล้วในวิชชา ๓. อภิญญา ๕ ข้างต้นนั้น ตามนิทเทสดูเป็นพ้นธรรมดาของมนุษย์ แต่ก็ยังมีกิจการของมนุษย์เทียบได้เป็นหลายอย่าง คนเดียวเป็นคนมาก มีคนเดียวทำการได้หลายหน้าที่ เทียบตัวอย่างพระราชาองค์เดียวครองได้หลายอาณาจักร. คนมากเป็นคนเดียว มีการรวมสามัคคีของเอกชนเข้าเป็นคณะเทียบ ตัวอย่างพระสงฆ์นี้เอง. ล่องหนและดำดินมีการขุดอุโมงค์เทียบ. เดินน้ำมีการเดินบนน้ำแข็งคนในประเทศหนาวจัดเทียบ. เหาะมีการใช้อากาศ-ยานเทียบ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยมือได้ มีการรู้จักคำนวณคติของพระจันทร์พระอาทิตย์ตลอดถึงจันทรุปราคา และสุริยุปราคาได้แม่นยำเทียบ. ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลก มีรู้จักคำนวณคติของดาวเคราะห์และฐานะของดาวฤกษ์ได้เทียบ ฟังเสียงทิพย์ได้ มีรู้จักสังเกตอาการแห่งฐานที่กับทั้งคนและพัสดุแล้ว อาจสันนิษฐานไว้ว่าเป็นอย่างไร ดุจว่าได้รับบอกเทียบ ฟังเสียงไกลได้มีได้ยินข่าวในถิ่นไกลที่เรียกว่าหูไวเทียบ ในบัดนี้ มีฟังโทรศัพท์เทียบด้วย. เจโตปริยญาณ มีการทายใจและกำหนดรู้อัธยาศัยเทียบ.ระลึกชาติได้ มีการรู้พงศาวดารแห่งตนเทียบ. ทิพพจักขุ มีรู้จักตำนานแห่งคนอื่นเทียบ. ใจความแห่งอภิญญา ๖ นี้มีอยู่เพียงไร ขอนักธรรมจงสอดส่องแล้วลงสันนิษฐานเอาเอง.

อภิฐาน [ฐานะอย่างหนัก] ๖
มาตุฆาต ฆ่ามารดา
ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้า จนถึงยังพระ
โลหิตให้ห้อขึ้น
สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
อัญญสัตถุทเทส ถือศาสดาอื่น.
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๘๖.

อธิบาย: ชนผู้ฆ่ามารดาบิดาของตนเองได้แล้ว จักไม่ฆ่าคนอื่นในเมื่อตนขัดใจขึ้นมาเป็นอันไม่มี และชื่อว่าล้างผลาญสกุลของตน
ด้วย. คนฆ่าพระอรหันต์ผู้ประพฤติกาย วาจา ใจ บริสุทธ์ ไม่ได้คิดร้ายทำร้ายผู้ใดผู้หนึ่งเลย และเป็นที่นับถือของมหาชน จัดไม่ฆ่าคนอื่นผู้ยังไม่สงบถึงนั้น ผู้ไม่เป็นที่นับถือถึงนั้น เป็นอันไม่มี และชื่อว่าล้างผลาญที่นับถือของมหาชนด้วย. คนผู้ทำร้ายพระศาสดาของตนเองได้แล้ว เป็นหมดหลักในทางพระสาสนา ดุจเดียวกับคนคิดกบฏทำร้ายพระเจ้าแผ่นดินของตน. ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกเป็นพรรค-พวก แต่คณะของตนยังทำลายได้แล้ว จักไม่คิดทำลายคณะอื่นเป็นอันไม่มี เช่นเดียวกับคนยุแหย่ทำความแตกสามัคคีในชาติของตน. ๕ นี้เรียกอนันตริยกรรม แปลว่ากรรมให้ผลในลำดับไป จัดเป็นครุกรรมคือกรรมหนักในฝ่ายบาป. บทหลังข้าพเจ้าเข้าใจว่าหมายภิกษุผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งยังเป็นภิกษุ ที่เรียกว่า "ติตฺถิยปกฺกนฺตโก" ที่ห้ามอุปสมบทอีก. ภิกษุเห็นปานนี้ เป็นผู้แตกจากคณะของตนไปเข้าคณะอื่น แต่ไม่ได้ทำลายคณะเดิมของตน เหมือนภิกษุผู้ทำสังฆเภทดุจเดียวกับคนโจทก์เจ้า ที่เขาเรียกว่า "ภักดีต่อไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน" เพราะอย่างนี้ ฐานะ ๖ นี้ แต่ละอย่าง ๆ จึงจัดเป็นอภิฐานที่แปลว่าฐานะอันหนัก ผู้ถือพระศาสนาอย่างเคร่งครัดเพียงพระโสดาบันย่อมไม่ทำเลย.

จริต ๖
๑. ราคจริต มีราคะเป็นปกติ
๒. โทสจริต มีโทสะเป็นปกติ
๓. โมหจริต มีโมหะเป็นปกติ
๔. วิตักกจริต มีวิตกเป็นปกติ
๕. สัทธาจริต มีศรัทธาเป็นปกติ
๖. พุทธิจริต มีความรู้เป็นปกติ.
วิ. กมฺมฏฺฐานคฺคห. ปฐม. ๑๒๗.

อธิบาย: คนที่ ๑ มีปกติรักสวนรักงาม จะพึงแก้ด้วยพิจารณากายคตาสติ หรืออสุภกัมมัฏฐาน. คนที่ ๒ มีปกติหงุดหงิดโกรธ
ง่าย จะพึงแก้ด้วยเจริญเมตตา. คนที่ ๓ มีปกติเขลางมงาย จะพึงแก้ด้วยเรียนและถาม ด้วยการฟังธรรมและสนทนาธรรมโดยกาล
ด้วยอยู่กับครู. คนที่ ๔ มีปกตินึกพล่าน จะพึงแก้ด้วยสะกดอารมณ์เช่นเพ่งกสิณหรือเจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน. คนที่ ๕ มีปกติเชื่อง่าย จะพึงนำไปด้วยกถาเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส เช่นกล่าวถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์. คนที่ ๖ เรียกว่าญาณจริตก็มี มีปกติใช้ความคิด จะพึงนำไปด้วยแนะให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ เช่นให้คำนึงถึงไตรลักษณ์.

ธรรมคุณ ๖
๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล
๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู
๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา
๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน.
องฺ. ติก. ๒๐/๒๖๖.

อธิบาย: บทว่า สฺวากฺขาโต หมายความกว้าง ท่านพรรณนาว่า ได้ใน ๒ สัทธรรม คือ ปริยัติ กับ ปฏิเวธ. ปริยัติ ได้ชื่ออย่างนั้น
เพราะตรัสไม่วิปริต คือตรัสได้จริง เพราะแสดงข้อปฏิบัติโดยลำดับกันที่ท่านเรียกว่า ไพเราในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด มีทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธ์บริบูรณ์สิ้นเชิง และเพราะประกาศพรหมจรรย์อย่างนั้น. ปฏิเวธ ได้ชื่อย่างนั้น เพราะปฏิปทากับพระนิพพานย่อมสมควรแก่กันและกัน. ตั้งแต่บทว่า สนฺทิฏฺฐิโก เป็นต้นไป ได้ในปฏิเวธอย่างเดียว.บทว่า สนฺทิฏฺฐิโก หมายความว่า ผู้ใดได้บรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นเอง รู้เอง ไม่ต้องเชื่อตามคำผู้อื่น.บทว่า อกาลิโก หมายความว่า ให้ผลในลำดับแห่งการบรรลุ
ไม่เหมือนผลไม้อันให้ผลตามฤดู.บทว่า เอหิปสฺสิโก หมายความว่า เป็นคุณอัศจรรย์ดุจของประหลาด ที่ควรป่าวร้องกันมาดูมาชม.บทว่า โอปนยิโก หมายความว่า ความน้อมเข้าไว้ในใจของตน หรือควรน้อมใจเข้าไปหา.บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ หมายความว่า ผู้ใดได้บรรลุ ผู้นั้นย่อมรู้แจ้งเฉพาะตน อันผู้อื่นไม่พลอยมาตามรู้ตามเห็นด้วยได้.มติของข้าพเจ้าว่า พระธรรมในที่นี้ดูเหมือนท่านผู้แสดงไม่ได้หมายจะแยกโดยวิภาค กล่าวรวมปนกันไป แต่เมื่อจะกล่าวแยกบทว่า สฺวากฺขาโต น่าจะได้ในปริยัติอย่างเดียว และได้ชื่ออย่างนั้น เพราะตรัสอิงเหตุและเพราะตรัสแต่พอดีเป็นกลาง ๆ ไม่หย่อนไม่ตึงด้วยก็ได้. ข้อว่าได้ในปฏิเวธนั้น ความอธิบายอยู่ข้างมัว แม้พรรณนามากไปอย่างไรก็ไม่พ้นมัว และคำว่าปฏิปทากับพระนิพพานสมควรแก่กันและกันนั้น ปฏิปทาก็ได้แก่ปฏิบัตินั้นเอง แก้ไปข้างปฏิบัติก่อนนั่นแลจึงจะกระจ่าง เพราะปฏิบัตินับเข้าในบทนี้ก็ได้ เพราะเป็นมัชฌิมาปฏิปทาและอนุบุพพปฏิปทา เมื่อปฏิบัติดีแล้ว ผลแห่งปฏิบัติจึงจักปรากฏว่าดีตามกัน.บทว่า สนฺทิฏฺฐิโก อาจได้ในธรรมอื่นจากปฏิเวธด้วยก็ได้เพราะปริยัติก็ต้องการความเข้าใจที่ได้แก่เห็นเอง ปฏิบัติก็ต้องการความรู้จัดทางที่ได้แก่เห็นเอง ในลำดับนั้นปฏิเวธจึงเกิด ที่ให้เจ้าตัวรู้ว่าทำให้แจ้งแล้ว.บทว่า อกาลิโก ก็เหมือนกัน เพราะผู้ฟังปริยัติย่อมได้ปสาทะและศรัทธาเป็นต้นในขณะฟังนั้นเองก็มี ปฏิบัติย่อมเป็นที่นิยมในกาลทุกเมื่อ ไม่เป็นไปในบางคราว และได้อานิสงส์แห่งความปฏิบัติใน
ทันทีก็มี.บทว่า เอหิปสฺสิโก เปรียบด้วยการดูด้วยมังสจักษุ น่าจะได้ในปริยัติและปฏิบัติด้วย เพราะปริยัติเป็นคุณที่ควรจะชวนกันมาฟังแลเพราะปฏิบัติเป็นคุณที่ควรจะชวนกันให้ทำตาม เพื่อจะได้ชมปฏิเวธด้วยน้ำใจ.บทว่า โอปนยิโก น่าจะได้ในปฏิบัติด้วย เพราะแม้ปฏิบัติก็ควรน้อมเข้ามาด้วยทำตามหรือทำให้เกิดขึ้น.บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ก็เหมือนกัน เพราะการปฏิบัติอันจะให้ได้ผลดี อันผู้ปฏิบัติต้องรู้จักทำให้สมควรแก่ฐานะของตน.เพราะอย่างนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า พระธรรมในที่นี้ ท่านผู้กล่าวไม่ได้หมายจะแยกโดยวิภาค กล่าวรวมกันไป. ไม่กล่าวถึงปฏิบัติธรรมบ้างเลย ไม่เป็นอุบายให้เกิดอุตสาหะ เมื่อไม่ปฏิบัติ
ปฏิเวธจะเกิดขึ้นไฉน ปริยัติอันแสดงเพื่อชักนำให้ปฏิบัติ ก็หาประโยชน์มิได้.

ปิยรูป สาตรูป หมวดละหก ๑ๆ หมวด
๑. จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน.
๒. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม.
๓. จักขุวิญญาณ กายวิญญาณ ฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ.
๔. จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัสชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส.
๕. จักขุสัมผัสสชา เวทนา, โสตสัมผัสสชา เวทนา,ฆานสัมผัสสชา เวทนา, ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา,
กายสัมผัสสชา เวทนา, มโนสัมผัสสชา เวทนา.
๖. รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญารสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา.

๗. รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คัมธสัญเจตนารสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา.
๘. รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหารสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา.
๙. รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตกรสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก.
๑๐. รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจารรสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร.
ที. มหา. ๑๐/๓๔๓.

อธิบาย: หมวดที่ ๑ อายตนะภายใน หมวดที่ ๒ อายตนะภายนอก หมวดที่ ๓ วิญญาณ คือความรู้สึกอาศัยอายตนะภายใน เกิด
เพราะอายตนะ ๒ ประเภทนั้นพร้อมกันเข้า หมวดที่ ๔ สัมผัส คือความประจวบอาศัยอายตนะภายใน เกิดเพราะการประจวบกันเข้าแห่งอายตนะ ๒ ประเภทนั้นกับวิญญาณ หมวดที่ ๕ เวทนา คือความเสวยอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข เกิดเพราะสัมผัสหมวดที่ ๖ สัญญา คือความหมายรู้อิงอายตนะภายนอก เกิดในลำดับแห่งเวทนา หมวดที่ ๗ สัญเจตนา คือความคิดอ่านอิงอายตนะภายนอก เกิดในลำดับสัญญา หมวดที่ ๘ ตัณหา อิงอายตนะภายนอก เกิดในลำดับแห่งสัญเจตนา หมวดที่ ๙ วิตก คือความตริอิงอายตนะภายนอก เกิดในลำดับแห่งตัณหา หมวดที่ ๑๐ วิจาร คือความตรองอิงอายตนะภายนอก เกิดในลำดับแห่งวิตก.ในธรรมเหล่านี้ วิญญาณและสัมผัสมีกิจต่างกันอย่างไร อยู่ข้างมัว. ในปฏิจจสมุปบาทส่วนอภิธรรมย่นว่า "สฬายตนปจฺจยา
ผสฺโส" แปลว่าผัสสะ ย่อมเกิดมีเพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ในพระสูตรกล่าวถึงวิญญาณ ในระหว่างอายตนะ ๖ และผัสสะ "จกฺขุญฺจปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ, ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส"แปลว่า อาศัยจักขุและรูปเกิดจักขุวิญญาณ ประจวบกันแห่งธรรม ๓ประการเป็นผัสสะ. ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า ความรู้สึกสักว่าเห็นหรือได้ยินเป็นต้น เป็นวิญญาณ ความรู้สึกพอใจไม่พอใจหรือพอเป็นกลาง ๆ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาตามประเภทเป็นผัสสะ. ยุกติเป็นอย่างไร ขอนักธรรมสนใจดูเถิด. ธรรมเหล่านี้ ได้ชื่อว่า เป็นปิยรูป สาตรูป โดยอรรถว่า เป็นสภาวะที่รักที่ชื่นใจ ด้วยเพ่งอิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งตัณหา ตัณหาเมื่อเกิดย่อมเกิดในธรรมเหล่านี้ เมื่อดับย่อมดับในธรรมเหล่านี้.

สวรรค์ ๖ ชั้น
ชั้นจาตุมหาราชิก
 ชั้นดาวดึงส์
ชั้นยาม
 ชั้นดุสิต
ชั้นนิมมานรดี
ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี.
สํ. มหา. ๑๙/๕๓๑.

อธิบาย: สวรรค์ ๖ ชั้นนี้ ถัดกันขึ้นไปโดยลำดับ.ชั้นจาตุมหาราชิก เป็นต่ำที่สุด มีท้าวมหาราช ๔ องค์เป็นผู้
ปกครอง, ๑. ท้าวธตรฐ มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร ครองในทิศบูรณ์๒. ท้าววิรุฬหก มีพวกกุมภัณฑ์เป็นบริวาร ครองในทิศทักษิณ๓. ท้าววิรูปักข์ มีพวกนาคเป็นบริวาร ครองในทิศปัศจิม ๔. ท้าวกุเวร มีพวกยักษ์เป็นบริวาร ครองในทิศอุดร.
ในอาฏานาฏิยสูตร กล่าวถึงท้าวมหาราช ๔ องค์นี้ โดยอาการที่ร่วมกันว่า รู้จักอภิรมณ์อยู่ด้วยฟ้อนขับ มีโอรสองค์ละมาก ๆ ทรง
นามว่าอินทร์เหมือนกันทั้งนั้น เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา พรรณนาไว้โดยเฉพาะถึงด้านของท้าวกุเวรว่า มีราชธานีและนครต่าง ๆ มีแม่น้ำ มีสภาที่ประชุมยักษ์ มีรุกขชาติและสกุณชาติต่าง ๆ ท้าวกุเวรนั้นมีปราสาทเป็นที่อยู่ มีช้าง มีม้า เป็นราชพาหนะ มีวอหรือเสลี่ยงเป็นราชยาน ปกครองตลอดลงมาถึงอุตตรกุรุทวีป ที่อยู่ของมนุษย์ผู้ไม่ต้องทำไร่ไถนา บริโภคข้าวสาลีไม่ต้องหุงด้วยฟืน หุงในหม้อที่ไม่ต้องเอาขึ้นตั้งไฟหรือเอาขึ้นวางบนศิลาเพลิง ใช้โคบ้าง ปศุสัตว์อื่นบ้าง แทนม้า ใช้หญิงบ้าง ชายบ้างแทนพาหนะ. สันนิษฐานตามรัฐปสาสโนบาย ชั้นจาตุมหาราชิก น่าจะได้แก่อาณาจักรที่รวม ๔ ชนบทเข้ากันในสัมพันธไมตรี กล่าวโดยเฉพาะ น่าได้แก่ชมพูทวีปนี้เองในสมัยหนึ่ง และท้าวมหาราช ๔ องค์นั้น น่าเป็นวงศ์เดียวกันเป็นอินทรวงศ์ เพราะอย่างนี้จึงว่าโอรสเป็นอันมากทรงนามว่าอินทร์เหมือนกันทั้งนั้น.ชั้นดาวดึงส์ เดิมที่เป็นที่อยู่แห่งพวกอสูร ท้าวเวปจิตติเป็น
ผู้ครอง ยังไม่ได้ยินว่ามีอะไรนอกจากเป็นป่า. ต่อมา ท้าวสักก-เทวราช คือพระอินทร์กับเทพผู้สหจรรวม ๓๓ องค์เกิดขึ้น ณ ที่นั้น
จึงเป็นสถานที่รุ่งเรือง มีเวชยันตปราสาท มีสุธัมมสภาที่ประชุมเทวดา มีสวนนันทวัน มีสวนจิตรลดา มีโปกขรณีสุนันทา เกิดขึ้น
เพราะบุญญานุภาพของท้าวสักกเทวราชและพระราชเทวี. สถานที่นี้ตั้งเป็นเมืองสวรรค์ชื่อเทพนคร มีกำแพงล้อม มีเชิงเทินและหอรบพร้อมสรรพ. ท้าวเธอมีพระเทวี ๔ องค์ พระนางสุธัมมา พระนางสุจิตรา พระนางสุนันทา พระนางสุชาดา โปรดพระนางสุชาดามากเสด็จไปข้างไหนเอาไปด้วย. ท้าวเธอมีช้างเอราวัณ ๓ เศียรเป็นพระคชาธาร แต่มีคำกล่าวว่า ไม่ใช่ช้างจริง ๆ เป็นช้างเทวบุตรจำแลงขึ้น เพราะในสวรรค์ชั้นนั้น ไม่มีสัตว์ดิรัจฉาน แต่ในแห่งอื่นว่ามีครุฑ นอกจากนี้ ยังมีเวชยันตราชรถสำหรับทรง พระมาตลีเป็นสารถี ม้าที่เทียมเป็นม้าจริงหรือม้าเนรมิตไม่ได้กล่าวไว้. พวกเทวดากับพวกอสูรไม่ปรองดองกัน ทำสงครามกันทุกปี ถึงหน้าดอกจิตต-ปาตลิของพวกอสูรบาน พวกอสูรยกพลมาทำสงครามกับเทวดา ต่างรุกได้บ้าง ต้องล่าบ้าง ในที่สุดพวกอสูรแพ้ ถูกพวกเทวดาขับตกสมุทรลงไป ท้าวสักกเทวราชตั้งความเป็นเอกราชขึ้นได้ ปกครองตลอดทั่วไป. ท้าวสักกเทวราชนั้น เสด็จออกในเทวสันนิบาต ณ พระแท่นบัณฑุกัมพลสิลา ภายใต้ต้นปาริฉัตตกะ. พระแท่นนั้น มีคำพรรณนาว่า มีสีเหลืองและนุ่มดุจผ้ากำพล เวลาประทับนั่งฟุบลงได้เวลาเสด็จลุกขึ้นกลับฟูขึ้นได้อย่างเดิม เช่นเดียวกับเก้าอี้สปริง.ในพุทธุปบาทกาล มีคำเล่าว่า สมเด็จพระบรมศาสดา เสด็จขึ้นไปทรงจำพรรษาในชั้นดาวดึงส์นี้พรรษาหนึ่ง ประทับ ณ พระแท่นบัณฑุกัมพลสิลานั้น ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกแก่พระพุทธมารดาผู้เสด็จลงมาจากชั้นดุสิตในเทวสันนิบาต พอออกพรรษาแล้ว เสด็จ
ลงจากชั้นดาวดึงส์โดยทางบันไดแก้ว ทอง เงิน ที่เทวดานิรมิต ลงที่เมืองสังกัสแคว้นโกศล.เรื่องเทวาสุรสงครามได้เค้าเงือนว่า หมายเอาสงครามในระหว่างพวกอริยกะผู้ยกมาจากเหนือ เข้าตั้งอยู่ในชมพูทวีป และพวกมิลักขะผู้อยู่ ณ ที่นั้นมาเดิม เช่นนี้ส่องให้เห็นความตลอดว่าสวรรค์ชั้นนี้ ได้แก่ชมพูทวีปนี้เองในโบราณสมัย. ชั้นยาม มีท้าวสุยามเป็นผู้ปกครอง ยังไม่พบคำพรรณนาถึงสวรรค์ชั้นนี้. ชั้นดุสิต มีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ครอง ดูเป็นชั้นศักดิ์สิทธิ์ กล่าวว่า เป็นที่เกิดและเป็นที่อยู่แห่งพระโพธิสัตว์ แห่งพระพุทธบิดา พระพุทธมาดาและแห่งท่านผู้วิเศษอื่น สมเด็จพระบรมศาสดาของเราก็ว่าได้อุบัติในชั้นนี้ เทวดาทั้งหลาย เชิญเสด็จให้จุติลงมาถือปฏิสนธิในมนุษย-โลก เพื่อตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแล้วโปรดเวไนยนิกร แต่ไม่พลคำพรรณนาถึงฐานที่ นอกจากมีวิมาน. ชั้นนิมมานรดี มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง มีพรรณนาว่า เทวดาชั้นนี้เป็นจำพวกบริบูรณ์ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งนิรมิตเอาเองได้. ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี มีท้าวนิมมิตวสวัดดีเป็นผู้ครอง มีพรรณนาว่า เทวดาชั้นนี้ ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้ต้องนิรมิตเองเหมือนพวกเทวดานิมมานรดี มีเทวดาอื่นนิรมิตให้อีกที แต่เป็นอย่างนั้นทั้งชั้น เทวดาพวกไหนนิรมิตให้หาได้กล่าวชัดไม่ น่าจะได้แก่เทวดาชั้นนิมมานรดีกระมัง. เมื่อเป็นเช่นนี้ ชั้นนั้นย่อมมีอำนาจเหนือชั้นนิมมานรดี.สวรรค์ ๖ ชั้นนี้ ไม่ได้เกี่ยวด้วยธรรมเลย แต่กล่าวถึงในบาลีพระสูตรและอรรถกถา ผู้เชื่อง่าย ๆ ย่อมเชื่อดายไป ผู้เชื่อยากย่อมไม่สนใจเสียเลย ผู้คิดปริศนาธรรมย่อมตีความไปต่าง ๆ จึงนำมาแสดงไว้ในที่นี้ด้วยพอรู้เค้าเงื่อน เพื่อนำความเข้าใจให้ถูกทาง.

สัตตะ หมวด ๗
อนุสัย ๗
กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๘.
อธิบาย: กิเลสอย่างละเอียด นอนอยู่ในสันดาน บางทีไม่ปรากฏ แต่เมื่อมีอารมณ์มายั่ว ย่อมเกิดขึ้นในทันใด เรียกว่าอนุสัย
กามราคะ ได้แก่ความกำหนัดในกาม. ปฏิฆะ ได้แก่ความหงุดหงิดกล่าวโดยความได้แก่โทสะ. ทิฏฐิ ได้แก่ความเห็นผิด. วิจิกิจฉา ได้แก่ความลังเล. มานะ ได้แก่ความถือตัว. ภวราคะ ได้แก่ความกำหนัดในภพหรือความอยากเป็น. อวิชชา ได้แก่ความเขลาไม่รู้จริง กล่าวโดยความ ได้แก่โมหะ. กิเลส ๗ นี้ บางอย่างเป็นอนุสัยของบางคนสังโยชน์ ๗ ก็เรียก.

เมถุนสังโยค ๗สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี บางคนปฏิญญาตนว่า เป็นพรหมจารีจริง ๆ หาได้เสพเมถุนกับด้วยมาตุคามไม่เลย แต่ยังยินดี ปลื้มใจชื่อใจด้วยเมถุนสังโยค คืออาการแห่งเมถุน ๗ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
๑. ยินดีการลูบไล้ การประคบ การให้อาบน้ำ การนวดแห่งมาตะคา ปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น.
๒. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น.
๓. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่เพ่งดูจ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน ปลื้มใจด้วยการเล็งแลนั้น.
๔. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ฟังเสียงแห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องให้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี ปลื้มใจด้วยเสียงนั้น.
๕. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ตามนึกถึงการเก่าที่ได้เคยหัวเราะพูดเล่นกับมาตุคาม แล้วปลื้มใจ.
๖. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่เห็นคฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี ผู้อิ่มเอิบรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ แล้วปลื้มใจ.
๗. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งปรารถนาเพื่อจะได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง แล้วปลื้มใจ.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๕๖

พรหมจรรย์ของผู้นั้น ชื่อว่าขาด ชื่อว่าทะลุ ชื่อว่าด่าง ชื่อว่าพร้อย. ผู้นั้นประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุน-
สังโยค ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้.

วิญญาณฐิติ ๗ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ เรียกว่าวิญญาณฐิติ แจกเป็น ๗ ดังนี้:
๑. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ [เปรต] บางหมู่.
๒. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน [?].
๓. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพอาภัสสระ.
๔. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันเช่นพวกเทพสุภกิณหะ.
๕. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ.
๖. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ.
๗. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญาญตนะ.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๔๑.

วิสุทธิ ๗
๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล.
๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต.
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ.
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย.
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง.
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ.
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ.
ม. ม. ๑๒/๒๙๐
อธิบาย: การรักษาศีลตามภูมิของตนให้บริสุทธ์ จัดเป็นสีลวิสุทธิ. สมาธิ ทั้งที่เป็นอุปจาร ทั้งที่เป็นอัปปนา โดยที่สุด
ขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะพอเป็นบทฐานแห่งวิปัสสนา จัดเป็นจิตตวิสุทธิ. การพิจารณาเห็นนามรูปโดยสภาวะอย่างไร รู้จักแยกออกเป็นส่วน ๆ โดยปัจจัตตลักษณะ และยกขึ้นสู่ไตรลักษณะคือ อนิจจตาทุกขตา อนัตตตา โดยสามัญญลักษณะ จัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ. การกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูปนั้นว่า เพราะอะไรเกิดขึ้น นามรูปจึงเกิดขึ้น เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ จนเป็นเหตุสิ้นสงสัยในนามรูปทั้งที่เป็นมาแล้วในอดีต ทั้งที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งจักเป็นในอนาคต จัดเป็นกังขาวิตรณวิสุทธิ. ท่านกล่าวว่า อวิชชา ตัณหาอุปาทาน กรรม เป็นสามัญญปัจจัยแห่งนามรูป อาหารเป็นวิสามัญญ-ปัจจัยแห่งรูป อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ เป็นวิสามัญญปัจจัยแห่งวิญญาณอันเป็นส่วนจิต ผัสสะอันเกิดเพราะวิญญาณ เป็นวิสามัญญปัจจัยโดยตรงและโดยอ้อมแห่งเวทนา สัญญา สังขาร อันเป็นส่วนเจตสิกที่รวมกันเข้าเป็นนาม. ญาณอันรู้จักหยั่งลงว่า นี้ทางนี้มิใช่ทาง แห่งธรรมพิเศษ จัดเป็นมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.พรรณนาตามมติของพระคันถรจนาจารย์ว่า พระโยคาวจรเจริญวิปัสสนามาถึงชั้นกังขาวิตรณวิสุทธิแล้ว อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ๑๐อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่หลงไปว่าได้บรรลุมรรคผล หยั่งรู้ว่านั่นเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนา คือมัวพะวงอยู่ วิปัสสนาจักไม่เจริญขึ้นไปอีก ประคองวิปัสสนาจิตไว้ในวิถี จัดเป็นมัคคามัคคญาณ-ทัสสนวิสุทธิ. อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ๑๐ นั้น คือ โอภาส แสงสว่าง ๑ญาณ ๑ ปีติ ความอิ่มใจ ๑ ปัสสัทธิ ความสงบ ๑ สุข ๑ อธิโมกข์
ความน้อมใจเชื่อ ๑ ปัคคาหะ ความเพียร ๑ อุปัฏฐาน คือ สติ ๑อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง ๑ นิกันติ ความพอใจ ๑ อันเป็น
ธรรมประณีตกว่าในเวลาปกติ. วิปัสสนาญาณ ๙ คือ อุทยัพยานุ-ปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นความดับ ๑ ภังคานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นความดับ ๑ ภยตูปัฏฐานญาณ ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ๑ อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นโทษ ๑นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงด้วยความเบื่อหน่าย ๑ มุญจิตุ-กัมยตาญาณ ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย ๑ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง ๑ สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาคำนึงด้วยวางเฉยเสีย ๑ สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ ๑ จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ [จงดูอธิบายในนวกะ].ญาณในอริยมรรค ๔ จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ. วิสุทธิ ๗ นี้ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุพระนิพพาน เหมือนรถ ๗ ผลัดต่างส่งต่อซึ่งคนผู้ไปให้ถึงสถานที่ปรารถนา.

อัฏฐกะ หมวด ๘

อริยบุคคล ๘
พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเป็นคู่ที่ ๑.
พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผลเป็นคู่ที่ ๒.
พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผลเป็นคู่ที่ ๓.
พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค แลพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลเป็นคู่ที่ ๔.
นับเรียงองค์เป็น ๘.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๓๐๑.

จงดูอธิบายในมรรค ๔ และผล ๔ ในจตุกกะ.พระผู้ตั้งอยู่ในมรรคนั้น เป็นชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้น พ้นจาก
นั้นเป็นพระผู้ตั้งอยู่ในผล มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง จงดูอริยบุคคล ๔ในจตุกกะ.

อวิชชา ๘
๑. ไม่รู้จักทุกข์.
๒. ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งทุกข์.
๓. ไม่รู้จักความดับทุกข์.
๔. ไม่รู้จักทางถึงความดับทุกข์.
๕. ไม่รู้จักอดีต.
๖. ไม่รู้จักอนาคต.
๗. ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต.
๘. ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท.
ขุ. จูฬ. ๓๐/๙. ธมฺมสงฺคณี ๓๔/๑๘๐.

อธิบาย : ๔ อย่างข้างต้น ได้แก่ไม่รู้แจ้งอริยสัจ ๔. ไม่รู้จักอดีตนั้น คือไม่รู้จักสาวหลัง เมื่อพบเห็นผลในปัจจุบัน ไม่รู้จักสาว
หาต้นเค้าว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดมีขึ้น. ไม่รู้จักอนาคตนั้น คือไม่รู้จักคาดหน้า ไม่อาจปรารภการที่ทำ หรือเหตุอันเกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วและคาดหน้าว่าจักมีผลเป็นอย่างนั้น ๆ. ไม่รู้จัดทั้งอดีตทั้งอนาคตนั้น คือไม่รู้จักโยงเหตุในอดีต และผลในอนาคตให้เนื่องถึงกัน. ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาทนั้น คือไม่รู้จักกำหนดสภาวะนั้น ๆ โดยความเป็นเหตุเป็นผลแห่งกันและกันเนื่องกันไป ดุจลูกโซ่เกี่ยวกันเป็นสายฉะนั้น.

วิชชา ๘
๑. วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา.
๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ.
๓. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้.
๔. ทิพพโสต หูทิพย์.
๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น.
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้.
๗. ทิพพจักขุ ตาทิพย์.
๘. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น.

ที. สี. ๙/๑๐๑.

อธิบาย: วิปัสสนาญาณนั้น ญาณทัสสนะก็เรียก ได้แก่ปัญญาพิจารณาเห็นรูปและนามแยกเป็นส่วน ต่างอาศัยกันเป็นไป [ผู้ใคร่
จะรู้พิสดาร จงดูวิสุทธิ ๗ ในสัตตกะ]. มโนมยิทธินั้น มีนิทเทศว่า นิรมิตได้ซึ่งกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักดาบออกจากฝัก มี
การคิดทำอะไรต่าง ๆ สำเร็จเทียบ. อิทธิวิธิ ทิพพโสต และเจโตปริยญาณ อธิบายไว้แล้วในอภิญญา ๖ ในฉันกะ. ปุพเพ-
นิวาสานุสสติ ทิพพจักขุ และอาสวักขยญาณ อธิบายไว้แล้วในวิชชา ๓ ในติกะ.

สมาบัติ ๘
รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔
สํ. สฬา. ๑๘/๓๒๓
พึงดูอธิบายรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ ในจตุกกะ.

นวกะ หมวด ๙

อนุบุพพวิหาร ๙
ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับกัน เรียกอนุบุพพวิหาร มี

ประการ ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธคือสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา เป็นธรรมละเอียดกว่าเนวสัญญา-นาสัญญายตนะขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง ท่านผู้เข้าไม่มีสัญญาและเวทนาเลย.อย่างหลังนี้ นิโรธสมาบัติก็เรียก.
องฺ. นวก. ๒๓/๔๒๔.

พุทธคุณ ๙
อิติปิ โส ภควา แม้เพราะอย่างนี้ ๆ พระผู้มี-พระภาคเจ้านั้น
๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์
๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง
๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ
๔. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีแห่งบุรุษพึงฝึกได้ ไม่มีบุรุษอื่นยิ่งไปกว่า
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้เบิกบานแล้ว
๙. ภควา เป็นผู้มีโชค.
องฺ. ติก. ๒๐/๒๖๕.

อธิบาย: พระคุณ ๙ บทนี้ ดูเหมือนท่านเลือกตั้งไว้ เพื่อตริตรองหาความเข้าใจเอาเอง เป็นพุทธานุสสติ จักแสดงพอเป็น
ตัวอย่าง.
บทว่า อรหํ ท่านพิจารณาพยัญชนะแก้ไว้ต่าง ๆ อย่างหนึ่งว่าออกจากศัพท์ อารา-ห แปลว่าเป็นผู้เว้นไกล เป็นผู้หักกำจักร
อีกอย่างหนึ่งว่าออกจากธาตุ อรฺห แปลว่าเป็นผู้ควร อีกอย่างหนึ่งว่า อ-รห แปลว่าเป็นผู้ไม่มีข้อลับ. ข้อว่าเป็นเว้นไกลนั้น อธิบาย
ว่า เป็นผู้เว้นไกลจากกิเลสและบาปธรรม กล่าวคือเป็นผู้บริสุทธ์ ข้อว่า เป็นผู้หักกำจักรนั้น อธิบายว่า เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร ได้แก่อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม. ข้อว่า เป็นผู้ควรนั้น อธิบายว่าเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนเขา เป็นผู้ควรรับความเคารพนับถือของเขาเป็นอาทิ. ข้อว่า เป็นผู้ไม่มีข้อลับนั้น อธิบายว่า ไม่ได้ทำความเสียหายอันจะพึงซ่อนเพื่อมิให้คนอื่นรู้. เทียบกับภาษาสํกฤตเข้าแล้วจับหลักได้ว่าออกจากธาตุ อรฺห ที่แปลว่า ควร. โดยอรรถหมายความว่าเป็นผู้บริสุทธ์ บทนี้ใช้เป็นคุณของพระสาวกด้วย แต่มีบทอื่นเข้าประกอบหมายความต่าง สำหรับพระศาสดาใช้ว่า อรหํ สมฺมา-สมฺพุทฺโธ พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง สำหรับพระสาวกใช้ว่า อรหํขีณาสโว พระอรหันต์อาสวะสิ้นแล้ว.บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ หมายความว่า เป็นต้นเดิมแห่งพระพุทธศาสนา อันเป็นสวากขาตธรรม.บทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน หมายความว่า เป็นผู้ได้บรรลุวิชชาด้วย เป็นผู้แรกรู้จักทางเครื่องบรรลุวิชชานั้นด้วย โดยใจความก็เหมือนบทว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ. ฝ่ายพระสาวก เป็นแต่ผู้ได้บรรลุวิชชาแต่มิใช่ผู้แรกรู้จักทางเครื่องบรรลุวิชชานั้น เป็นแต่ได้รู้จักจากพระ-ศาสดาอีกต่อหนึ่ง จึงมีบทเรียกต่างว่า เตวิชฺโช ผู้มีวิชชา ๓ วิชชากล่าวไว้ในติกะก็มี ในอัฏฐกะก็มี. จรณะจักกล่าวในอติเรกทสกะ ผู้ปรารถนาจงดูในหมวดที่ระบุไว้นั้น.บทว่า สุคโต ความกระจ่างแล้วไม่ต้องพิจารณาศัพท์ มีอธิบายา ประพฤติพระองค์รอดไปได้ไม่ต้องถอยหลัง เสด็จไปในที่ใด ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่มหาชนในที่นั้น เสด็จมายังโลกนี้ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน จึงเข้าปรินิพพาน.บทว่า โลกวิทู พรรณนาให้เข้ากับโลก ๓ ว่า ทรงรู้จักถิ่น-ฐานบ้านเมืองต่าง ๆ ปรุงโปร่ง ทรงรู้จักอัธยาศัยของคนต่างถิ่นต่างชั้นทรงรู้จักหยั่งเห็นเหตุอันปรุงแต่งคนเหล่านั้น พร้อมทั้งถิ่นฐานให้ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร. อธิบายอีกอย่างหนึ่งว่า ทรงหยั่งรู้ความเป็นไปของคนทุกชั้นว่าเป็นอย่างไร เนื่องด้วยสุขทุกข์ก็ดี เนื่องด้วยความเจริญความเสื่อมก็ดี ตกอยู่ในคติแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างไร จน หายตื่นหายหลงหายอยากในอิฏฐารมณ์ หายตกใจกลัวต่ออนิฏฐารมณ์เป็นทางนำพระองค์ให้เสด็จไปดี.

บทว่า ปุริสทมฺมสารถิ นั้น มีอธิบายว่า ครั้งโบราณ พวกกษัตริย์ชอบเล่นม้า เพราะม้าเป็นพาหนะที่ใช้ในสงครามถึง ๒ หมวด
แห่งกองทัพ ใช้ให้ทหารขี่ จัดเป็นอัสสานิก [หมวดม้า] ใช้เทียมรถ จัดเป็นรถานิก [หมวดรถ] ความเป็นสารถีฝึกม้าขับรถ ย่อม
นิยมกันว่าดี ในการขึ้นรถรบกัน การชนะหรือแพ้ นอกจากตัวผู้รบเนื่องด้วยสารถี ต้องใช้คนสำคัญทีเดียว ดังจะเห็นได้ในเรื่องนั้น ๆเช่นพระมาตลีเป็นสารถีของพระอินทร์ ทีฑาวุกุมารตัวโปรดเป็นสารถีของพระเจ้าพรหมทัตต์ ด้วยเหตุนี้แล จึงใช้ศัพท์ว่าสารถีในบทนี้เพื่อแสดงความเป็นผู้ฝึกคน เป็นคู่กับผู้ฝึกม้าขับรถ. ศัพท์ว่า ปริส-ทมฺโม บุรุษพึงฝึกได้นั้น หมายเอาคนมีนิสัยที่อาจฝึกให้ดีได้ และตั้งใจจะเข้าใจพระธรรมเทศนา แม้ฟังด้วยตั้งใจจะจับข้อบกพร่องขึ้นยกโทษเช่นเดียวถีย์ก็ตามที. ฝ่ายคนผู้โง่ทึบเทียบด้วยคนป่าคนดอยไม่สามารถจะฝึกได้ และคนผู้ไม่ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา เพื่อหาความเข้าใจ ชื่อว่า ปุริสาทมฺโม บุรุษผู้ฝึกไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่อาจทรงฝึก.บทว่า อนุตฺตโร แปลตัดความว่าเป็นเยี่ยม หมายความว่าทรงฝึกดีกว่าสารถีฝึกม้า ด้วยไม่ได้ใช้อาชญาหักหาญ และรู้จักใช้อุบายให้เหมาะแก่บุคคล และคนผู้ที่ทรงฝึกแล้ว ย่อมดียิ่งกว่าม้าที่ฝึกดีแล้ว.บทว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ตามพยัญชนะ ดังจะเชิดชูว่าเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงทั้งชั้นต่ำ, ตามอรรถ น่าจะพรรณนาถึงพระคุณสมบัติที่สมควรเป็นครู แลได้ทรงทำกรณียะของครู จึงได้ผลเป็นอย่างนั้น.
บทว่า พุทฺโธ ที่ว่าเป็นผู้ตื่น มีอธิบายว่า เป็นผู้ไม่หลงงมงายที่เปรียบด้วยนอนหลับ เป็นกาลัญญู รู้จักกาลสมัย รู้จักฐานะและ
อฐานะ, ที่ว่าเป็นผู้เบิกบานแล้ว มีอธิบายว่า เป็นผู้ทรงพระคุณเต็มที่ และได้ทรงทำพุทธกิจสำเร็จแล้ว.บทว่า ภควา ดูเหมือนพระคัมถรจนาจารย์ไม่แน่ใจว่าออกจากศัพท์อะไร หรือธาตุอะไร ท่านพิจารณาแก้ไว้ต่าง ๆ อย่างหนึ่งว่าออก จาก ภชฺ ธาตุ ที่แปลว่าแจกว่าแบ่ง อธิบายว่า แจกพระธรรมรตนะ สำเร็จรูปเป็น ภาค หรือ ภค แปลว่าส่วน ว่าสมบัติ อธิบายว่า มีส่วนแห่งธรรม มีคุณสมบัติ. อีกอย่างหนึ่งว่าออกจาก ภชฺ ธาตุที่แปลว่าคบ เสพ อธิบายว่า เสพเสนาสนะสงัด หรือจะอธิบายว่าเสพสันติวิหารธรรมก็เข้ารูป สำเร็จรูปเป็น ภค แปลว่ามีอาการน่าคบอธิบายว่า ทรงนำผู้เข้าไปคบให้ได้ประโยชน์ตามสมควร. อีกอย่างหนึ่งว่าออกจาก ภญฺช แปลว่าหัก อธิบายว่า หักคือกำจัดกิเลสและบาปธรรมทั้งปวง. ข้าพเจ้าหาความเข้าใจบทนี้มานามแล้ว ได้พบ
ในพราหมณสมัย เป็นคำที่เรียกฤษีทั่วไปก็ได้ เรียกเทวดาบ้างก็ได้.ที่ใช้เรียกฤษีหลงเหลืออยู่ในปกรณ์ของเราก็มี แห่งหนึ่งพวกภัทท-วัคคิยกุมาร ๓๐ คน เที่ยวตามหาหญิงคนหนึ่งผู้ลักของหนีไป พบพระศาสดาเสด็จประทับอยู่ใต้ร่มไม้ตำบลไร่ฝ้าย ไม่รู้จักพระองค์ถามว่า อปิ ภความ อิตฺถึ ปสฺเสยฺย แปลว่า ภควา เห็นหญิงบ้างหรือ ? อีกอย่างหนึ่ง ในชาดก ราชอำมาตย์ถามเกสีดาบสผู้อันพรเจ้าพาราณสีทรงบำรุงอยู่ในพระนคร แต่ทูลลาไปอยู่กับกัปปดาบสผู้ศิษย์ได้ฉันแต่ของป่าอันจืดหารสเค็มมิได้ ไม่เหมือนอยู่ในพระนครที่ได้ฉันของอร่อยต่าง ๆ ว่า กถนฺนุ ภควา เกสี กปฺปสฺส รมสิ อสฺสเมแปลว่า ภควา เกสี ยินดีอยู่ได้ในอาศรมแห่งกัปปดาบสด้วยอย่างไร ? และได้รับตอบว่า ความคุ้นเคยนั่นและเป็นรสอันเยี่ยม. ส่วนในพระพุทธศาสนาใช้เป็นบทเรียกพระศาสดา และพระพุทธเจ้าทั้งหลายอื่นเท่านั้น ไม่ใช้เรียกพระสาวก. ข้าพเจ้าลงมติว่า ออกจาก ภคศัพท์ อันสำเร็จมาแต่ ภชฺ ธาตุ ที่แปลว่าแจกว่าแบ่ง มีคู่เทียบว่าโสภคฺยํ โทภคฺยํ ใช้ตามลำพับศัพท์เป็นข้างดี แปลว่า โชคดี มีคำดีคำร้ายประกอบ เป็นแต่คำกลาง ๆ แปลว่า เคราะห์ เช่นเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย. โดยนัยนี้ แปลว่า ผู้มีโชค ว่าผู้มีเคราะห์ดี อธิบายว่า ครั้งยังไม่ได้ออกทรงผนวช ก็ได้รับทำนุบำรุงเป็นอย่างดีตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนทรงพระเจริญ ออกทรงผนวชแล้วทรงแสวงหาทางตรัสรู้อยู่ถึง ๖ ปี น่ากลัวไม่สำเร็จ มาสำเร็จเข้าได้ แต่นั้นทรงประกาศพระศาสนา สามารถยังผู้อื่นให้บรรลุธรรมพิเศษเป็นพระสงฆ์ขึ้นได้ และอาจยังเวไนยนอกจากนั้นให้ได้ศรัทธาเลื่อมใสยอมนับถือประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้นไว้ จัดว่าเป็นผู้มีโชคดี มีเคราะห์ดีทุกคราวมา ในเวลาสอนพระศาสนา ปรากฏว่าพวกเดียรถีย์คิดร้าย แต่ก็ไม่อาจทำ สอนโจรและยักษ์ผู้ร้ายกาจ ก็ไม่ถูกทำร้าย และไม่ถูก
ผู้ครองนครที่เสด็จไปสอนพระศาสนาระแวงว่าเป็นผีบุญ และกำจัดเสียจัดว่าเป็นผู้มีโชคมีเคราะห์ดีเหมือนกัน. ควรจะเรียกว่าพระผู้มีพระภัตแต่เรียกว่าพระผู้มีพระภาค ชะรอยจะเห็นใกล้ต่อเสียงว่าพระพักตร์ซึ่งแปลว่าหน้า เกรงจะนำความเข้าใจแฉไปกระมัง จึงเรียกตามที่ท่านสันนิษฐานไว้โดยประการหนึ่ง.พุทธคุณ ๙ นี้ เรียกนวหรคุณก็มี โดยที่แท้ควรจะเรียก
นวหคุณ หรือนวารหคุณ จึงจะแปลว่าคุณของพระอรหันต์ ๙.


มานะ ๙
๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
๒. " สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
๓. " สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
๔. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
๕. " สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
๖. " สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
๗. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.
๘. " สำคัญตัวว่าเสมอเขา.
๙. " สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.
อธิบาย: ความเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เสมอ เป็นผู้เลวกว่าเขานั้นกำหนดโดยชาติ โคตร สกุล รูปสมบัติ ทรัพย์ ศัลปะ วิทยา การงาน
ความฉลาดเฉลียว และอื่น ๆ อันเทียบด้วยของคนอื่นโดยมากด้วยกัน. มานะ ข้อ ๑ ข้อ ๔ และข้อ ๗ เข้าลักษณะทะนง, ข้อ ๒ ข้อ ๕และข้อ ๘ เข้าลักษณะตีเสมอ, ข้อ ๓ ข้อ ๖ และข้อ ๙ เข้าลักษณะถ่อมตัว. มานะลักษณะที่ ๑ ที่ ๒ ตรงต่อจองหองและถือตัวโดยลำดับกัน จัดเป็นมานะชอบอยู่ มานะลักษณะที่ ๓ ไม่น่าจัดเป็นมานะบางทีท่านจะหมายคนหมิ่นตนอย่างนั้นแล้ว อิสสาและคิดแข่งขันคนอื่นกระมัง หรือเพียงสักว่ายังสำคัญตนอยู่ด้วยประการไร ก็จัดว่าเป็นมานะได้ เช่นมานะมาในอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ขอนับธรรมพิจารณาดูเถิด.

โลกุตตรธรรม ๙
มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑.
ขุ. ปฏิ. ๓๑/๓๖๒.

อธิบาย: นิพพานในที่นี้ หมายอนุปาทิเสสนิพพาน. ผู้ปรารถนาจงดูตามหมวด.

วิปัสสนาญาณ ๙
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับ.
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นความดับ.
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏ เป็นของน่ากลัว.
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นโทษ.
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงความเบื่อหน่าย.
๖. มุญจิตุกามยตาญาณ ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย.
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง.
๘. สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยเสีย.
๙. สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ.
ขุ. ปฏิ. ๓๑/๑.

อธิบาย: ญาณที่ ๑ คำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับแห่งสังขาร. ญาณที่ ๒ ปล่อยความเกิดเสีย คำนึงเอาเป็นอารมณ์เฉพาะ
ความดับแห่งสังขารนั้น. ญาณที่ ๓ คำนึงเห็นสังขารนั้นอันปรากฏด้วยอำนาจความดับ โดยอาการเป็นของน่ากลัว ดุจสัตว์ร้ายมีสีหะเป็นต้น. ญาณที่ ๔ คำนึงเห็นโทษแห่งสังขารนั้น อันปรากฏด้วยประการนั้นว่าเป็นดุจเรือนอันไฟไหม้แล้ว. ญาณที่ ๕ คำนึงถึงสังขารนั้นอันมีโทษได้เห็นแล้วด้วยความเป็นหน่าย. ญาณที่ ๖ คำนึงด้วยคร่จะพ้นไปเสียจากสังขารนั้นที่เบื่อหน่ายแล้ว ดุจสัตว์อันติดข่ายใคร่จะหลุดไปจากข่าย. ญาณที่ ๗ คำนึงด้วยพิจารณาเฟ้นสังขารนั้นเพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย ดุจนางนกที่เรียกว่าสมุทรสกุณีอันลงเล่นในทะเล. ญาณที่ ๘ คำนึงด้วยความวางเฉยในสังขารนั้นดุจบุรุษผู้วางเฉยในภรรยาอันหย่ากันแล้ว. ญาณที่ ๙ เป็นไปขณะแห่งจิต อันได้ชื่อว่าอนุโลมเกิดขึ้นในลำดับแห่งมโนทวาราวัชชนะอันตัดภวังค์เกิดขึ้นในขณะอริยมรรคจักเกิด ในที่สุดแห่งสังขารุเปกขา-ญาณ.

สังฆคุณ ๙

ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค.
๑. สุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
๒. อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว.
๓. ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม.
๔. สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร.
ยาทิทํ นี้คือใครจตฺตาริ ปุริสยุคานิ คู่แห่งบุรุษ ๔ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา บุรุษบุคคล ๘
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค.
๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรของคำนับ.
๖. ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรของต้อนรับ.
๗. ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรของทำบุญ.
๘. อญฺชลิกรณีโย เป็นผู้ควรทำอัญชลี [ประณมมือไหว้].
๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นโลกสฺส ยิ่งกว่า.
อง. ติก. ๒๐/๒๖๗.

อธิบาย: พระสงฆ์นี้ หมายเอาจำพวกพระสาวกผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษ.บทว่า สุปฏิปนฺโน หมายความกว้าง นอกจากที่ระบุไว้ใน ๓
บทเป็นลำดับไป เช่นปฏิบัติไปตามมัชฌิมาปฏิปทา ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงเครียดนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสดาไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักข์กัน.บทว่า อุชุปฏิปนฺโน หมายว่าไม่ปฏิบัติลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ประพฤติตรง ๆ ต่อพระศาสดาและเพื่อสาวกด้วยกัน ไม่อำพรางความในใจ ไม่มีแง่มีงอน.บทว่า ญายปฏิปนฺโน ท่านสันนิษฐานว่า อย่างหนึ่งออกจาก
ญา ธาตุ ที่แปลว่า รู้ จึงอธิบายว่า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาเป็นเครื่องรู้ คือปฏิบัติในทางอันจะให้เกิดความรู้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรมที่ควรรู้ คือปฏิบัติเพื่อได้ความรู้ธรรม อีกอย่างหนึ่งท่านแปลว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อออกไป ที่อธิบายว่า เพื่ออกไปจากทุกข์ เพื่อออกไปจากภพ แต่สันนิษฐานว่าออกจากธาตุอะไรหาทราบไม่. ศัพท์ว่า ญายนี้ เทียบกันได้กับศัพท์สํสกฤตว่า นฺยาย ที่ว่าออกจาก อ ธาตุ มีนิอุปสัคนำ แปลว่า เข้าไป เข้าถึง ข้างภาษามคธ แปลง นฺย เป็น โดยวิธีสนธิ จึงเป็น ญาย. ศัพท์นี้ข้างสํสกฤตแปลไว้หลายนัย อย่างหนึ่งแปลว่า ธรรม สมด้วยบทบาลีว่า ญายสฺส อธิคมาย ที่แปลว่าเพื่อบรรลุญาย อันได้แก่อธิคมสัทธรรม. ธรรมได้ชื่อว่า นฺยาย หรือญาย เพราะเป็นคุณอันจะพึงเข้าถึง คือบรรลุ. ท่านแปลศัพท์ว่า ออกอุปสัคตัวนั้นในสํสกฤตเป็น นิสฺ เข้ากับสระ สฺ ต้องแปลงเป็น รฺเช่น นิรุปทฺทโว นิราสงฺโก ในที่นี้เข้ากับ อิ ธาตุ จะต้องเป็น นิริหรือ นิรย, สำเร็จรูปเป็น นฺยาม ไม่ได้. นิ แปลว่าเข้า เช่น นิคจฺฉติแปลว่าเข้าถึง นิวีสติ แปลว่าเข้าตั้ง. โดยนัยนี้ บทว่า ญายปฏิปนฺโนแปลว่า เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม ที่อธิบายว่า ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ถือความถูกเป็นประมาณ.บทว่า สามีจิปฏิปนฺโน หมายว่าปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับสามีจิกรรม. คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ จงดูอริยบุคคล ๘ ในอัฏฐกะ.
……..ขอคำนับ ที่เรียกว่าอาหุนะนั้น ได้แก่เครื่องสักการะอันจะพึงนำมาให้ถึงสำนัก เช่นเครื่องสักการะถวายอุปัชฌายะอาจารย์ในคราวเข้าพรรษา และผ้ารดน้ำให้ท่านผู้สูงอายุในคราวสงกรานต์เป็นตัวอย่าง. ของต้อนรับที่เรียกว่า ปาหุนะ นั้น ได้แก่ของที่สำหรับรับแขกอันจะพึงให้ต่อเมื่อมาถึงถิ่น เช่นน้ำชา หรือแม้อาหารด้วย เป็นตัวอย่างของทำบุญที่เรียกว่า ทักขิณา นั้น ได้แก่ไทยธรรมวัตถุมีอาหารและผ้าเป็นต้น อันจะพึงบริจาคในพระศาสนาโดยฐานเป็นการบุญ. พระสงฆ์เป็นผู้ควรของทั้ง ๓ อย่าง และอัญชลีกรรมนั้น อธิบายว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง จะนำเครื่องสักการะไปถวายท่านถึงสำนักของท่าน ท่านย่อมอาจยังความเลื่อมใสให้เกิด ไม่ต้องเสียใจเมื่อภายหลังว่า ไม่พอที่จะไปคำนับผู้ไม่สมควร ท่านมาถึงถิ่นย่อมเป็นแขกที่น่าต้อนรับด้วย
ความยินดี เพราะเป็นผู้มาดี ไม่ใช่มาร้าย. และเป็นผู้บริจาคทักขิณาเป็นการบุญ จะถวายแก่ท่าน ๆ ก็เป็นปฏิคาหกที่สมควร ผู้ใด
ผู้หนึ่งจะยกมือไหว้ท่าน ท่านก็มีความดีพอจะไหว้ได้ ผู้ไหว้ไม่ต้องกระดาก.
………บทว่า อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส มีอธิบายว่า พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธ์ ทักขิณาที่บริจาคแก่ท่านย่อมมีผลานิสงส์ ดุจนามีดินดีและไถแล้ว พืชที่หว่านที่ปลูกลงไป ย่อมเผล็ดผลไพบูล จึงเป็นที่บำเพ็ญบุญเป็นอย่างดี.บทแสดงสังฆคุณนี้ เรียงแปลกอยู่ ข้างต้นตอนหนึ่ง ๔ บทสรรเสริญความปฏิบัติตน มีประเภทพระสงฆ์คั่นในระหว่าง ข้างท้ายอีกตอนหนึ่ง ๕ บท แสดงผลแห่งความปฏิบัติอันจะพึงได้รับแต่คนอื่นไม่เหมือนบทแสดงพุทธคุณและแสดงธรรมคุณ ที่เรียงรวดเดียวจบขอนับธรรมพิจารณาดูเถิด.

สัตตาวาส ๙
ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์ เรียกสัตตาวาส แจกเป็น ๙
๑. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ พวกเทวดาบางหมู่ พวกวินิปาติกะ เปรต บางหมู่.
๒. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (?).
๓. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพอาภัสสระ.
๔. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันเช่นพวกเทพสุภกิณหะ.
๕. สัตว์เหล่าหนึ่ง ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เช่นพวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์.
๖. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ.
๗. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาญัญจายตนะ.
๘. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ.
๙. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ.
องฺ. นวก. ๒๓/๔๑๓.
ทสกะ หมวด ๑๐
อันตคาหิกทิฏฐิ ๑๐
ความเห็นอันถือเอาที่สุด คือเล่นเข้าไปถึงที่สุด ในอย่างหนึ่ง ๆเรียกอันตคาหิกทิฏฐิ แจกออกไปเป็น ๑๐ คือ
๑. โลกเที่ยง.
๒. โลกไม่เที่ยง.
๓. โลกมีที่สุด.
๔. โลกไม่มีที่สุด.
๕. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น.
๖. ชีพเป็นอัน สรีระก็เป็นอื่น.
๗. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก เกิดอีก.
๘. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก.
๙. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี.
๑๐. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกหามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้.
ม. ม. ๑๓/๑๔๓.

อธิบาย: ทิฏฐินอกพระพุทธศาสนา พรคันถรจนาจารย์ ไม่พอใจอธิบาย ในเมื่อจำจะพูดถึง ก็พูดอย่างห้วน ยากที่จะเข้าใจ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ยากที่จะลงความเห็นว่า พระพุทธศาสนามุ่งหมายอย่างไร ทิฏฐินี้ท่านก็มิได้พรรณนาไว้ชัดเจน แต่กล่าวว่า เป็นข้อที่พระศาสดาไม่ทรงพยากรณ์ คือ ไม่ตรัสถึง ดังมีเรื่องเล่าว่า พระมาลุงกยะทูลถามถึงทิฏฐิ ๑๐ นี้ และทูลพ้อว่า ถ้าไม่ทรงพยากรณ์จักไม่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป พระองค์ตรัสว่า พระองค์ไม่ได้ทรงสัญญาไว้ เมื่อพระมาลุงกยะจะมาประพฤติพรหมจรรย์ว่า จักทรงแก้ทิฏฐิ ๑๐ ข้อนี้ พระมาลุงกยะปรารถนาจะไปก็จงไป จึงเป็นดุจกรุยอันผู้สอดส่องธรรมในพระพุทธศาสนา พึงหลีกห่าง ดุจกรุยบอกน้ำตื้นอันเรือไม่พึงแวะเข้าไป เป็นข้อที่น่ารู้อยู่. ในที่นี้ จักอธิบายตาม
มติของข้าพเจ้า. โลกในที่นี้ น่าจะได้แก่หมู่สัตว์. ข้อว่า โลกเที่ยงนั้น น่าจะหมายความดังกล่าวแล้ว ในสัสสตทิฏฐิ ในทุกกะ. ข้อ
ว่า โลกไม่เที่ยงนั้น น่าจะหมายความดังกล่าวแล้ว ในอุจเฉททิฏฐิในทุก. ข้อว่า โลกมีที่สุด น่าจะหมายความว่า คนทำดี ในที่สุด
ย่อมไปเกิดในทิพยกายที่ยั่งยืน ไม่แปรผัน ดุจความเข้าใจของคนถือลัทธิต่างบางพวก หรือด้วยมรณะแล้ว ขาดศูนย์กัน. ข้อว่า โลกไม่มีที่สุดนั้น น่าจะหมายความว่า เวียนเกิดเวียนตายไปอย่างนี้ ไม่มีขาดลง. ข้อว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น กับข้อว่า ชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น ชีพนั้นได้แก่ ชีโว ได้กล่าวแล้ว ในสัสสตทิฏฐิ ในทุกะ เป็นแต่ในที่นี้ใช้นปํสุ กลิงค์เป็น ชีวํ. ในพระพรหมสมัยบัญญัติว่า เวลามรณะ ชีพนี้ออกจากสรีระไปถือปฏิสนธิใหม่ ส่วนสรีระย่อมสลายไป. ทิฏฐิเนื่องด้วยชีพนี้ ข้างหนึ่งเข้าใจว่า ชีพกับสรีระเป็นอันเดียวกัน เกิดดับพร้อมกัน อีกข้างหนึ่งเข้าในว่า ชีพกับสรีระต่างกัน เช่นบัญญัติไว้ในพราหมณสมัย. พระพุทธศาสนากล่าวอนัตตาไม่ใช่อัตตาไม่ใช่ตนนั้น แสดงนามธรรมคือจิตเจตสิกว่า เกิดขึ้นเพราะอายตนะภายใน และอายตนะภายนอกสบกันเข้าเป็นต้นไป เพื่อคัดค้านชีพดังที่เขาเข้าใจกันนั้น. ในข้อปรารภความเกิดอีกเป็นต้น ของสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว บทบาลีใช้แปลกอยู่ ใช้บทว่า ตถาคโตที่แก้ในอรรถกถาว่า สตฺโต คือสัตว์. ตถาคตศัพท์นั้น นอกจากในที่นี้ พบแต่ที่ใช้เรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มักเรียกเป็นพหูพจน์ด้วยโดยอธิบายว่า ผู้มาเหมือนอย่างนั้น คือได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัม-พุทธเจ้า และได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจถูกต้องตามธรรมเนียมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก่อน ๆ เช่นเดียวกับพระราชาผู้เป็นแทนสืบกันมา. สอบกับภาษาสํสกฤตได้ความออกไปอีกหน่อยว่า นอกจากใช้เรียกพระพุทธเจ้า ใช้เรียกชินะ ที่ออกชื่อในปกรณ์ข้างพระ
พุทธศาสนาว่า นิครนถนาฏบุตรบ้าง ใช้เรียกเจ้าบ้าง ไม่ได้กล่าวว่าใช้เรียกสามัญสัตว์. ถ้าไม่ใช่ศัพท์ใช้เรียกสามัญสัตว์ ความเข้าในก็จะพึงมีอีกทางหนึ่งว่า ท่านผู้ที่มหาชนนับถือเป็นศาสดา และเป็นเอกอุในลักทธิของตน เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว เกิดอีกหรือไม่ หรือที่เกิดอีกก็มีที่ไม่เกิดอีกก็มี หรือปฏิเสธทั้งนั้น สมด้วยปัญหาปรารภเจ้าลัทธิเห็นปานนี้ อันพระสุภัททะครั้งยังเป็นปริพาชกยกขึ้นทูลถามพระศาสดาเมื่อใกล้จะปรินิพพาน แต่ทูลถามในทางตรัสรู้ของเขา. เช่นนี้ไม่แย้งต่อการรับรองว่า สัตว์ผู้ยังมีกิเลสานุสัย ตายแล้วต้องเกิดอีก. ข้าพเจ้าได้ความเข้าใจไม่พอเพื่ออนุโมทนาหรือค้านคำแก้ในอรรถกถาทั้ง ๒ อย่างจึงแปลว่าสัตว์ไว้ที่ตามอรรถกถา แม้เป็นศัพท์เรียกสามัญสัตว์ ก็อาจอธิบายให้เข้ารูปได้ว่า เป็นผู้มาเหมือนอย่างนั้น คือเกิดขึ้นแล้วเป็นอยู่โดยธรรมดาแห่งสัตว์ และจักเป็นผู้ไป คือตายเหมือนสัตว์ในกาลก่อน. ทิฏฐิ ๑๐ อย่างนี้ ไม่จัดเป็นชั่วร้ายนัก ไม่ถึงห้ามสวรรค์
เป็นแต่ห้ามอริยมรรค อธิบายว่า คนมีทิฏฐิเหล่านี้แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงไม่ได้ทำบาปทุจริตเพราะทิฏฐินี้ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ก็ได้ แต่ยังละเสียไม่ได้เพียงใด ยังเป็นผู้อาภัพ ไม่อาจบรรลุอริยมรรคอยู่เพียงนั้น

.ทสพลญาณ พระญาณเป็นพระกำลังของพระตถาคตเจ้า ๑๐ เรียกทสพลญาณมีวิภาคดังนี้ :-
๑. ฐานาฐานญาณ ปรีชากำหนดรู้ฐานะ คือเหตุที่ควรเป็นได้ และอฐานะ คือมีใช่เหตุที่ควรเป็นได้.
๒. วิปากญาณ ปรีชากำหนดรู้ผลแห่งกรรม.
๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง.
๔. นานาธาตุญาณ ปรีชากำหนดรู้ธาตุต่าง ๆ.
๕. นานาธิมุตตกญาณ ปรีชากำหนดรู้อธิมุตติคืออัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นต่าง ๆ กัน.
๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.
๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้อาการมีความเศร้าหมองเป็นต้นแห่งธรรมมีฌานเป็นต้น.
๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปรีชากำหนดระลึกชาติหนหลังได้.
๙. จุตูปปาตญาณ ปรีชากำหนดรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายผู้เป็นต่าง ๆ กันโดยกรรม.
๑๐. อาสวักขยญาณ ปรีชารู้จักทำอาสวะให้สิ้น.
ม. มู. ๑๒/๑๔๑.

อธิบาย: ฐานะนั้น คือสิ่งที่มีได้เป็นได้โดยธรรมดา อฐานะคือสิ่งที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้โดยธรรมดา อุทาหรณ์ สิ่งใดมีความเกิดขึ้น
สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เป็นฐานะอย่างหนึ่ง สิ่งใดมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นจักไม่ดับเลย เป็นอฐานะอย่างหนึ่ง กุศลกรรม ให้ผลดีอกุศลกรรม ให้ผลชั่ว เป็นฐานะอีกอย่างหนึ่ง กุศลกรรม ให้ผลชั่วอกุศลกรรม ให้ผลดี เป็นอฐานะอีกอย่างหนึ่ง กุศลกรรม ให้ผลชั่วกำหนดฐานะและอฐานะ โดยนัยนี้. พระญาณที่ ๒ กำหนดรู้ผลแห่งกรรมของสัตว์ทั้งหลายผู้ทำกรรม ทั้งที่เป็นบุญ ทั้งที่เป็นบาป ต่างให้ผลสับสนกัน ไม่หลงสันนิษฐานไปในอฐานะ. พระญาณที่ ๓กำหนดรู้กรรมอันจะนำไปสู่สุคติทุกคติ และปฏิบัติอันจะนำให้บรรลุพระนิพพาน. พระญาณที่ ๔ รู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์อายตนะและธาตุต่าง ๆ. พระญาณที่ ๕ และที่ ๖ มีกิจละม้ายกัน แสดงตามนิทเทส การกำหนดรู้อัธยาศัยดีเลว เป็นกิจแห่งพระญาณที่ ๕ การกำหนดรู้อัธยาศัยอย่างนั้นด้วย การกำหนดรู้อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น กับทั้งคุณและโทษอย่างอื่นว่าเป็นอย่างไรด้วย เป็นกิจแห่งพระญาณที่ ๖. พระญาณที่ ๗ กำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ว่า จักมีเพราะอย่างไร. กิจแห่งพระญาณอีก ๓ ต่อไปอีก กล่าวไว้แล้วในวิชชา ๓ ในติกะ.

บารมี ๑๐
ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐานเมตตา อุเบกขา.
ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๖.

อธิบาย: ศัพท์ว่า มารมี สันนิษฐานว่าออกจากศัพท์ ปรมแปลว่า คุณสมบัติหรือปฏิปทาอันยวดยิ่ง ท่านพรรณนาว่า พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ได้ทรงบำเพ็ญมาแต่ครั้งยังเป็นพระโพธิ-สัตว์ เมื่อบารมีเหล่านี้เต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้ บารมีเหล่านี้กระจ่างแล้วโดยมาก จักแก้เฉพาะบางประการ. เนกขัมมะ ได้แก่การออกบวชโดยอธิบายว่าออกจากกาม. สัจจะ น่าจะได้แก่การซื่อตรง หรือการตั้งใจทำจริง หรือการมุ่งแสวงหาความจริง. แต่ในชาดกปกรณ์จัดเอาการยกเอาความเป็นจริงอยู่อย่างไร ขึ้นตั้งอธิษฐานเพื่อสำเร็จผลที่มุ่งหมายเป็นสัจจบารมี. อธิฏฐาน ได้แก่การตั้งใจมั่น. อุเบกขาได้แก่ความไม่ยินดียินร้าย. บารมีเหล่านี้ ท่านแจกออกเป็น ๓ หมวดคือ บารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี สิริเป็นบารมี ๓๐ ทัศ บารมี ๓หมวดนี้ต่างกันอย่างไร สันนิษฐานยาก ความเข้าใจของพระคันถ-รจนาจารย์ ก็ไม่แน่ลงเหมือนกัน. ท่านแก้ทานอย่างหนึ่งว่า การให้ไม่ได้ระบุพัสดุ จัดเป็นทานบารมี. การให้พัสดุภายนอก จัดเป็นทานอุปบารมี. การให้อวัยวะและชีวิต จัดเป็นทานปรมัตถบารมี. อีก-อย่างหนึ่งว่า การสละพัสดุภายนอก จัดเป็นทานบารมี. การสละอวัยวะ จัดเป็นทานอุปบามี, การสละชีวิต จัดเป็นทานปรมัตถบารมีอุปบารมี เป็นศัพท์ที่น่าสันนิษฐานก่อน. ตามพยัญชนะแปลว่า บารมีใกล้หรือบารมีรอง เรียงไว้ในระหว่างกลาง ลงสันนิษฐานว่า ปรมัตถ-บารมีเป็นยอด รองลงมาอุปบารมี โดยนัยนี้ได้ความว่า เป็นบารมีที่รองปรมัตถบารมีลงมา พิเศษกว่าบารมีเฉย ๆ. แบ่งบารมีอย่างหนึ่ง
ออกเป็น ๓ จำอาศัยเกณฑ์ ตามเกณฑ์ที่ท่านตั้งมาแล้ว ชีวิต ร่างกายและทรัพย์ภายนอก ส่วนทานแบ่งง่าย สละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่คนมาก หรือเพื่อเปลื้องทุกข์คนอื่น จัดเป็นทานปรมัตถบารมี สละอวัยวะแห่งร่างกาย เช่นพยายามเพื่อจะทำประโยชน์หรือเปลื้องทุกข์เขา แต่ต้องเสียอวัยวะของตนในการทำอย่างนั้น จัดเป็นทานอุปบารมี สละทรัพย์เพื่อเกื้อกูลหรือเพื่อเปลื้องทุกข์เขา จัดเป็นทานบารมี. ศีลที่รักษาเพราะต้องพร่าชีวิตร่างกายและโภคทรัพย์อาจแบ่งเป็น ๓ ได้เหมือนกัน.ส่วนบารมีอันเหลือยังจะต้องหาเกณฑ์แบ่งอีก ไม่ใช่ทำง่าย. แม้ทำได้แล้วยังไม่พ้นฟั่นเฝือ. ข้าพเจ้าสันนิษฐานเห็นเกณฑ์แบ่งอีกทางหนึ่งบารมีที่พรโพธิสัตว์บำเพ็ญในชาติห่างไกล ตามที่กล่าวว่า ครั้งเสวยพระชาติเป็นมนุษย์ก็มี เป็นดิรัจฉานก็มี สับสนกัน จัดเป็นเพียงบารมี
ที่บำเพ็ญในชาติใกล้เข้ามา ก่อนหน้าปัจฉิมชาติเพียง ๑๐ ชาติ ตามที่กล่าวว่าครั้งเสวยพระชาติเป็นมนุษย์เป็นพื้น และเป็นมนุษย์วิสามัญมีลักลั่นอยู่ชาติเดียวที่ว่า เป็นพระยานาค จัดเป็นอุปบารมี ที่พระมหา-บุรุษทรงบำเพ็ญในปัจฉิมชาติ ก่อนหน้าตรัสรู้พระโพธิญาณ จัดเป็นปรมัตถบารมี. จักพรรณนาเฉพาะปัจฉินชาติ. พระองค์น้อมพระชนม์เพื่อประโยชน์แก่คนมาก ด้วยพระเมตตา จัดเป็นพระทานบารมีและพระเมตตาบารมี เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ จัดเป็นพระเนกขัมม-บารมี ทรงสำรวมในศีล สมควรแก่เป็นบรรพชิตจัดเป็นพระศีลบารมีทรงบำเพ็ญเพียรและทรงอดทนต่อความลำบากอยากเข็ญ จัดเป็นพระวิริยบารมีและพระขันติบารมี ทรงตั้งพระหฤทัยมั่นในปฏิปทา ตั้งพระหฤทัยทำจริง ๆ เพื่อแสวงหาความจริง จัดเป็นพระอธิษฐานบารมีและพระสัจจบารมี ทรงรักษาพระหฤทัยคงที่ ไม่ให้วิการเพราะยินดียินร้ายจัดเป็นพระอุเบกขาบารมี พระปรีชาทำพระองค์ให้เป็นผู้ตื่น รู้เท่าถึงการณ์และอาจเล็งเห็นก้าวหน้าไม่งมงาย นำพระองค์ให้หลีกจากกิริยาอันมิใช่ทาง ดำเนินในปฏิปทาอันเป็นทาง ตลอดถึงได้บรรลุพระอนุตตร-สัมมาสัมโพธิญาณ จัดเป็นพระปัญญาบารมี. จัดตามเกณฑ์นี้ สมด้วยเค้าเรื่องที่ท่านจัดไว้เป็น ๓ กาล คือทูเรนิทาน เรื่องห่างไกล ๑อวิทูเรนิทาน เรื่องไม่ไกลนัก ๑ สันติเกนิทาน เรื่องใกล้ชิด ๑ แต่แบ่งระยะกาลคลาดกันไป. ทูเรนิทาน ท่านจัดจำเดิมแต่ตั้งปรารถนาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า ณ สำนักพระพุทธทีปังกร จนถึงจุติจารชาติเป็นพระเวสสันดร อุบัติขึ้นในดุสิตเทวโลก อวิทูเรนิทาน ตั้งแต่จุติจากดุสิตพิภพ จนถึงตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ ควรไม้พระมหาโพธิสันติเกนิทาน ตั้งแต่ตรัสรู้แล้วจนปรินิพพาน. ส่วนชาดก จัดเรื่องต่าง ๆ เป็นอันมาก ที่กล่าวความเสวยพระชาติสับสนกัน เป็นสามัย-นิบาต อันได้แก่ทูเรนิทาน จัด ๑๐ เรื่องที่กล่าวความเสวยพระชาติไม่สับสน เว้นเรื่องหนึ่ง เป็นมหานิบาต อันได้แก่อวิทูเรนิทานโดยนัยนี้ เรื่องในปัจฉิมชาติได้แก่สันติเกนิทาน. ข้าพเจ้าเกณฑ์ตามนัยจัดเรื่องชาดก. บารมี ท่านกล่าวว่า พระปัจเจกพุทธะและพระอริสาวกได้บำเพ็ญมาเหมือนกัน อย่างเดียวกันกับของพระพุทธเจ้าหรือต่างกัน ไม่ได้กล่าวไว้ชัด น่าจะเป็นอย่างเดียวกัน แต่ระยะกาล
สั้นกว่า

มิจฉัตตะ ความเป็นผิด ๑๐
๑. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด.
๒. มิจฉาสังกัปปะ ดำริผิด.
๓. มิจฉาวาจา วาจาผิด.
๔. มิจฉากัมมันตะ การงานผิด.
๕. มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตผิด.
๖. มิจฉาวายามะ พยายามผิด.
๗. มิจฉาสติ ระลึกผิด.
๘. มิจฉาสมาธิ ตั้งจิตผิด.
๙. มิจฉาญาณะ รู้ผิด.
๑๐. มิจฉาวิมุตติ พ้นผิด.
ยกข้างปลาย ๒ ออกเสีย เป็นมิจฉัตตะ ๘.
องฺ. ทสก. ๒๔/๒๒๖.

อธิบาย: มิจฉาทิฏฐิ โดยพยัญชนะ น่าจะได้แก่เห็นผิดจากคลองธรรมทุกประการ โดยอรรถ น่าจะได้แก่เห็นผิดที่เป็นอย่างเลว
เช่น อกิริยทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ และนัตถิกทิฏฐิ. มิจฉาสังกัปปะ ได้แก่ดำริแส่หากามในทางผิด ดำริเนื่องด้วยผูกพยาบาท และดำริในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก. มิจฉาวาจา ได้แก่วจีทุจริต ๔. มิจฉากัมมันตะได้แก่กายทุจริต ๓. มิจฉาอาชีวะ ได้แก่เลี้ยงชีวิตในทางทุจริตและในทางผิดธรรมเนียม. มิจฉาวายามะ ได้แก่พยายามในทางยังบาป-ธรรมให้เกิดขึ้นและให้เจริญ และในทางยังกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้นและให้เสื่อมสิ้น. มิจฉาสติ ได้แก่ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ โทสะโมหะ. มิจฉาสมาธิ ได้แก่ภาวนาสะกดใจในทางหาลาภ ในทางให้ร้ายอื่น และในทางนำให้หลง. มิจฉาญาณะ อยู่ข้างมัว น่าจะได้แก่ความรอบรู้เกิดขึ้นในจิตของผู้ถือลัทธิต่าง และประกอบภาวนาตามลัทธินั้น. ในข้างพระพุทธศาสนา เทียบด้วยวิปัสสนาญาณ อันตกไปในฝ่ายวิปัสสนูปกิเลสเสีย ไม่ขึ้นถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ แต่จะจัดเป็นมิจฉาญาณะ อยู่ข้างแรงเกินไป. มิจฉาวิมุตติ เข้าใจยากอยู่เพราะวิมุตติในที่อื่นเป็นดีทั้งนั้น น่าจะได้แก่วิมุตติที่นิยมในลัทธิอื่นหรือที่ระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เรียกว่าตทังควิมุตติ ด้วยอำนาจกลัวพระเจ้าผู้สร้าง การระงับกิเลสบาปธรรมนั้นดีอยู่ แต่การเชื่อว่ามีพระเจ้าผู้สร้างนอกจากธรรมดาแต่งนั้นผิด.สัมมัตตะ ความเป็นถูก ๑๐.พึงรู้โดยปฏิปักขนัยต่อมิจฉัตตะ มิจฉา เปลี่ยนเป็น สัมมาดังนี้ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ. ยกข้างปลาย ๒
ออกเสีย เป็นสัมมัตตะ ๘. อเสขธรรม ๑๐ ก็เรียก.
องฺ. ทสก. ๒๔/๒๒๖.

อธิบาย: องค์ ๘ ข้างต้น มีอธิบายแจ้งในมรรคมีองค์ ๘ ในธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๑ ในนวโกวาท. สัมมาญาณะ น่าจะได้แก่
มรรคญาณ จะได้เนื่องกับสัมมาวิมุตติ แต่มรรคญาณแก้ไว้ในบทสัมมาทิฏฐิแล้ว ในที่นี้ จึงได้แก่ผลญาณ และญาณอย่างอื่นอันไม่
เนื่องด้วยมรรคญาณ เช่นปฏิสัมภิทาญาณ. สัมมาวิมุตตินั้น ได้แก่สมุจเฉทวิมุตติ และปัสสัทธิวิมุตติ.

สังโยชน์ ๑๐
กิเลสอันผูกใจสัตว์อยู่ เรียกว่าสังโยชน์ จำแนกออกเป็น ๑๐ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน.
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลเป็นเหตุไม่แน่ใจ ในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน.
๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้.
๔. กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียกแต่เพียงราคะก็มี.
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ เรียกโทสะตรงทีเดียวก็มี.
๕ นี้ เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ คืออย่างหยาบ เรียกโอรัมภาคิยะ.
๖. รูปราคะ ความติดใจอยู่ในรูปธรรม เช่นชอบใจในบุคคลบางคน หรือในพัสดุบางสิ่งหรือแม้ในวัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน.
๗. อรูปราคะ ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม เช่นพอใจในสุขเทวนา.
๘. มานะ ความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่.
๙. อุทธัจจะ ความคิดพล่าน เช่นนึกอะไรก็เพลินเกินไปกว่าเหตุ.
๑๐. อวิชชา ความเขลาอันเป็นเหตุไม่รู้จริง.
อีก ๕ นี้ เป็นสังโยชน์เบื้องสูง คืออย่างละเอียด เรียกอุทธัม-ภาคิยะ.
อง. ทสก. ๒๔/๑๘.

อธิบาย: กามราคะและปฏิฆะ ในบาลีเรียกว่ากามฉันทะและพยาบาทดุจในนิวรณ์. กามฉันทะเป็นสังโยชน์อย่างอ่อน อันอนาคามิ-มรรคพึงตัดก็พอสม ส่วนพยาบาท เป็นสังโยชน์แรงกล้า เป็นอปายคามี หากว่าอันอนาคามิมรรค จะพึงตัดขาดแล้วไซร้ แปลว่าพระโสดาบัน ยังมีพยาบาท เช่นนี้ พระโสดาบันยังจักไปสู่อบายดูอย่างไรอยู่ ไม่อย่างนั้น ศัพท์ว่าพยาบาท หมายเอาตั้งแต่พยาบาทแท้จริง ตลอดลงมาถึงโทสะและโกรธ เรียกอย่างนั้น จะนำความเข้าใจเขวไป พระอาจารย์ในชั้นหลัง ชะรอยจะเห็นอย่างนี้เหมือนกันจึงยักเรียกเสียว่า กามราคะและปฏิฆะ ตามสังโยชน์อีกบรรยายหนึ่งต่อนี้ไปข้าพเจ้าเรียกตามท่าน.

สังโยชน์ ๑๐
กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ อวิชชา.
วิภงฺค. ทสก. ๓๕/๕๒๘.

โดยเค้าเงื่อน สังโยชน์ ๗ กับเติมเข้าอีก ๓ คือสีลัพพปรามาสอิสสา มัจฉริยะ แต่เรียกลำดับใหม่. สังโยชน์ ๑๐ อย่างแรกเรียง
ลำดับตามอริยมรรคอันจะตัด ส่วนอย่างนี้ เอาอะไรเป็นเกณฑ์จัดลำดับ ยังสันนิษฐานไม่ออก.

สัญญา ๑๐
๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร.
๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรม.
๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย.
๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือมีอาพาธต่าง ๆ.
๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม.
๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะคืออริยมรรค ว่าเป็นธรรมอันละเอียด.
๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธความดับตัณหา คืออริยผล ว่าเป็นธรรมอันละเอียด.
๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิด-เพลินในโลกทั้งปวง.
๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง.
๑๐. อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก.
องฺ. ทสก. ๒๔/๑๑๒.

อธิบาย: อย่างนี้มาในคิริมานันทสูตร มีเรื่องเล่าว่า พระคิริมานนท์อาพาธ พระศาสดาทรงแสดงสัญญา ๑๐ นี้แก่พระอานนท์
และตรัสสั่งให้ท่านไปแสดงแก่พระคิริมานนท์ ๆ ได้ฟังแล้ว หายจากอาพาธ, อนิฏฐสัญญาในบาลีเป็นอนิจจสัญญา ส่วนในนิเทสว่าเบื่อหน่ายระอาและเกลียดชังในสังขาร. สัญญา ๑๐ ในทสูตตรสูตร และในสูตรอื่นอีก เพี้ยนไปจากนี้ก็มี. มรณสัญญา กำหนดหมายมรณะ.อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร, อนิจเจทุกขสัญญา กำหนดหมายทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง มาในสูตรนั้น แทนอาทีนวสัญญา สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา อานาปานัสสติ ในที่นี้ทั้งเรียงลำดับสับสนกันด้วย.

สัทธรรม ๑๐
โลกุตตรธรรม ๙ รวม กับปริยัติธรรม.

อภิ. วิ. ๖๕.
เอกาทสกะ หมวด ๑๑
ปัจจยาการ ๑๑ = ปฏิจจสมุปบาท
๑. เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย มีสังขาร
๒. เพราะสังขาร " มีวิญญาณ
๓. เพราะวิญญาณ " มีนามรูป
๔. เพราะนามรูป " มีสฬายตนะ
๕. เพราะสฬายตนะ " มีผัสสะ
๖. เพราะผัสสะ " มีเวทนา
๗. เพราะเวทนา " มีตัณหา
๘. เพราะตัณหา " มีอุปาทาน
๙. เพราะอุปาทาน " มีภพ
๑๐. เพราะภพ " มีชาติ
๑๑. เพราะชาติ " มีชรามรณโสกปริเทวทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลเกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้.
สํ. นิ. ๑๖/๑.

อธิบาย: อวิชชา ทา่ นแก้ว่า ได้แก่อวิชชา ๘. โดยนัยนี้เป็นอันยอมรับเงื่อนต้นของอวิชชาไม่ปรากฏ. ถ้าแปลอวิชชาเป็นกรรม-
สาธนะว่า ธรรมชาติที่ยังไม่รู้ได้ จักได้ความชัดออกไป. สังขารท่านแก้ว่า ได้แก่อภิสังขาร ๓ เป็นอันอนุวัตน์ตามเค้านั้น. ถ้าไม่ยันตรงลงไป หมายความกว้าง ๆ ว่า สภาพผู้แต่งผู้ปรุงขึ้น จักเข้าใจง่ายขึ้น.วิญญาณท่านแก้พร่าไปถึงวิญญาณ ๖ ถ้าจำกัดลงเพียงปฏิสนธิวิญญาณความจักแจ่ม. นามรูป เข้าใจแยกตามแจกไว้ ชักให้ฉงน เข้าใจรวมกัน อุปาทินนกสังขาร หรือโดยสมมติว่า อัตภาพได้ความกระจ่าง,สฬายตนะ ได้แก่อายตนะภายใน ๖. ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทานแก้ไว้ในหนหลังแล้ว. ภพ ท่านแก้เป็น ๒ อย่าง ภพได้แก่กรรม ๑ภพได้แก่อุปบัติคือเกิด ๑ แต่อย่างหลังซ้ำกับชาติ นำความเข้าใจว่าปฏิสนธิ. ตั้งแต่ชาติไป ความชัดแล้ว. สาวออกไปหาผลข้างหน้าอย่างนี้ เรียกอนุโลม. อาการคือองค์ อันเป็นปัจจัยกล่าวไว้เพียง๑๑ ท่านนับทั้งชรามรณะ อันเป็นผลขาดตอนเข้าด้วย จึงกล่าวว่า ปัจจยาการ ๑๒.

.............อีกนัยหนึ่ง 
๑. ชรามรณะเป็นต้นมีเพราะชาติ.

๒. ชาติมีเพราะภพ.
๓. ภพมีเพราะอุปาทาน.
๔. อุปทานมีเพราะตัณหา.
๕. ตัณหามีเพราะเวทนา.
๖. เวทนามีเพราะผัสสะ.
๗. ผัสสะมีเพราะสฬายตนะ.
๘. สฬายตนะมีเพราะนามรูป.
๙. นามรูปมีเพราะวิญญาณ.
๑๐. วิญญาณมีเพราะสังขาร.
๑๑. สังขารมีเพราะอวิชชา.
สาวทวนเข้าไปหาเหตุข้างหลังอย่างนี้ เรียกปฏิโลม. อาการอันเป็นผลก็ได้ ๑๑ เหมือนกัน นับอวิชชาอันเป็นมูลเหตุเข้าด้วย จึง
เป็น ๑๒.
อวิชชาเทียบกันได้กับตัณหาและอุปาทาน โดยฐานเป็นปัจจัยแห่งกรรมด้วยกัน. สังขารเทียบกันได้กับกรรมภพ โดยฐานเป็นหรรมด้วยกัน. วิญญาณเทียบกันได้กับอุปปัตติภพ โดยฐานเป็นปฏิสนธิด้วยกัน. แต่ถ้าภพหมายเอาอุปปัตติภพอย่างเดียว จักไม่ต้องแยกเทียบอย่างนี้ สังขารเป็นอันเข้ากับหมวดอวิชชา. นามรูป สฬายตนะผัสสะ เวทนา เทียบกันได้กับชาติ โดยฐานเป็นชาติด้วยกัน. จึงได้อดีตเหตุ หมวด ๑ ปัจจุบันผล หมวด ๑ ปัจจุบันเหตุ หมวด ๑อนาคตผล หมวด ๑, อวิชชาและสังขารเป็นอดีตเหตุ วิญญาณนามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นปัจจุบันผล, ตัณหาและอุปาทานเป็นปัจจุบันเหตุ, ชาติและชรามรณะกับปกิรณกทุกข์อื่น อันเนื่องด้วยชาติเป็นอนาคตผล. ๔ หมวดนี้จัดเป็นสังเขป หรือสังคหะละอย่าง ๆ.ย่นเข้าโดยกาลเป็น ๓ อดีตอัทธา กาลหนหลัง ๑ ปัจจุปปันนอัทธากาลยังเป็นอยู่ ๑ อนาคตอัทธา กาลข้างหน้า ๑. มีเงื่อนเรียกว่าสนธิ ๓. เงื่อนในระหว่างอดีตเหตุ และปัจจุบันผลเป็นสนธิ ๑ เรียกเหตุผลสนธิ ต่อเหตุเข้ากับผล. เงื่อนในระหว่างปัจจุบันผล และปัจจุบันเหตุเป็นสนธิ ๑ เรียกผลเหตุสนธิ ต่อผลเข้ากับเหตุ. เงื่อนในระหว่างปัจจุบันเหตุกับอนาคตผล จัดเป็นสนธิ ๑ เรียกเหตุผลสนธิต่อเหตุเข้ากับผล. และเหตุแยกประเภทออกไปเป็น ๒, ส่วนกิเลส ๑ส่วนกรรม ๑, อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นส่วนกิเลส สังขารและกรรมภพ เป็นส่วนกรรม. จึงย่นเข้าอีกนัยหนึ่ง เป็นไตรวัฏฏ์ คือวน ๓ กิเลสวัฏฏ์ ๑ กัมมวัฏฏ์ ๑ วิปากวัฏฏ์ คือส่วนที่เป็นผล ๑.เหตุไฉน ท่านจึงเรียงหมวดเหตุและหมวดผลใน ๓ กาล หรือในสังเขป ๔ ต่างชื่อกันไป เช่นเรียงอดีตเหตุ เป็นอวิชชาและสังขารเรียงปัจจุบันเหตุ เป็นตัณหาอุปาทานและกรรมภพ เรียงปัจจุบันผลเป็นวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เรียงอนาคตผลเป็นชาติและชรามรณะกับปกิรณกทุกข์ เป็นข้ออันจะพึงสันนิษฐานไม่เข้าใจอธิบายของท่าน ย่อมฉงนและเข้าใจยาก. ในเบื้องต้น ถ้าเทียบกับเข้าดังกล่าวแล้ว ทำความเข้าใจเป็นอันเดียวกันเสีย โดยฐานเป็นเหตุเป็นผลเหมือนกัน จักได้ความกระจ่างออก. วิบากในอนาคตจักมี ก็เพราะกิเลสและกรรมในปัจจุบันเป็นเหตุ กิเลสและกรรมในปัจจุบันมีอยู่ก็เพราะวิบากในปัจจุบัน กล่าวคือต้องอิงอุปาทินนก-
สังขาร วิบากในปัจจุบันมีขึ้น ก็เพราะกิเลสและกรรมในอดีตเป็นเหตุสาวทวนเข้าไปก็วนอยู่อย่างนี้ เป็นแต่ท่านยอมรับว่าสาวทวนเข้าไปไม่ถึงเงื่อนต้น มีคำบาลีรับสมว่า อวิชฺชาย ภิกฺขเว ปุทฺพาโกฏิ นปญฺญายติ จึงกล่าวตั้งต้นแต่อวิชชา ดังจะแสดงว่า วิบากคือชาติต้นนั้นมีขึ้น เพราะปัจจัยอะไรที่ยังไม่รู้. แต่มีสังขารอยู่ในลำดับแห่งอวิชชาน่าจะเข้าใจว่าสังขารนั้น หมายเอาสภาพอันแต่งวิบากคือชาติต้นนั้นที่ลักทธิถือว่ามีผู้สร้าง อ้างว่าพระเจ้า เขาจัดเอาเป็นต้น ไม่สาวเข้าไปอีก ฝ่ายพุทธศาสนาสาวเข้าไปอีกต่อหนึ่งถึงอวิชชา คือปัจจัยอะไรที่ยังไม่รู้ หากจะสาวทวนเข้าไปอีก อวิชชามาจากไหน ก็ต้องตอบว่า มาจากอวิชชาในลำดับเข้าไป สาวทวนเข้าไปเท่าไรก็ลงอวิชชานั้นเอง จึงตั้งอวิชชาเป็นต้น. ในหมวดปัจจุบันเหตุ จักกล่าวถึงอวิชชาและสังขารมิได้ ท่านจึงเรียงตัณหา อุปาทาน และกรรม-ภพเข้าไว้แทน เพื่อแสดงเหตุในระหว่าง ๆ. ท่านแสดงปัจจุบันผล คือวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เพื่อให้รู้จักความโยงกันแห่งสภาวธรรม อันเป็นลักษณะแห่งปฏิจจสมุปบาท ส่วนในหมวดอนาคตผล ท่านยังแสดงอุปปัตติภพและชาติไว้แทนนั้น เพราะจะตัดตอนลง จึงกล่าวถึงชรามรณะเป็นเงื่อนปลาย คู่กับอวิชชาเป็นเงื่อนต้น เป็นทางจะชวนให้ปรารภเป็นอารมณ์สาวทวนเข้าไปหาเหตุ จำเป็นอยู่เองที่ต้องกล่าวโดยสมมติไปตามกัน จึงได้เรียงอุปปัตติภพและชาติ
ไว้แทน.แต่เมื่อทำยอมลงไปแล้วว่าสาวทวนเข้าไปไม่ถึงเงื่อนต้น จึงนำความเข้าใจอวิชชาเพียงชั้นโมหะ เข้าในสังขารเพียงชั้นกรรม เพราะอย่างนี้ ท่านจึงแนะให้เข้าใจว่า เมื่อกล่าวถืออดีตเหตุ คืออวิชชากับตัณหา พึงเข้าใจตลอดถึงตัณหาอุปาทานและกรรมภพด้วย เพราะสัตว์อันอวิชชาครอบงำ จำต้องมีตัณหาและอุปาทาน ทำอะไรเป็นกรรม เมื่อกล่าวถึงปัจจุบันเหตุ คือตัณหา อุปาทาน กรรมภพ พึงเข้าใจตลอดถึงอวิชชาและสังขารด้วย เพราะสัตว์ยังมีตัณหาอุปาทานกรรม ก็เพราะอวิชชาครอบงำและสังขารแต่ง เมื่อกล่าวถึงวิญญาณนามรูป สฬายตนะ ผัสสะ พึงเข้าใจย่นถือเอาโดยสมมติว่าอุปปัตติภพชาติและชรามรณะ เพราะเกิดแล้วดับไป เมื่อกล่าวถึงอุปปัตติภพชาติและชรามรณะ พึงเข้าใจขยายออกเป็นสภาวธรรมโดยปรมัตถ์เพราะเกิดตายเป็นอาการเดียวกับเกิดดับ เช่นนี้จึงได้อาการครบ ๕ ทุกหมวด เป็นอาการ ๒๐ ถ้วน.นี้เป็นภาคอันหนึ่ง เรียกสมุทยวาร. อีกภาคหนึ่งแสดงความดับแห่งผล เพราะดับแห่งเหตุ เรียกนิโรธวาร แสดงพอเป็นนิทัสสนะดังนี้ :-
..............เพราะอวิชชาดับ สังขารดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลดับ ด้วยประการอย่างนี้ นี้เป็นอนุโลม. ชรา มรณะ ฯลฯดับ เพราะชาติดับ ฯลฯ สังขารดับ เพราะอวิชชาดับ นี้เป็นปฏิโลมรวม ๒ ภาคนี้เป็นปฏิจจสมุปบาท แปลว่า สภาพอันอาศัยกันเกิดขึ้น.ชื่อนี้ดูเหมือนเพ่งเพียงอุทยวารเท่านั้น เมื่อใช้เรียกครอบมาถึงนิโรธ-วารด้วย จัดว่าเป็นชื่อเรียกโดยเอกเสสนัย. ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นความรู้อย่างลึก และให้รู้จักกำหนดสภาพ อันเป็นทั้งผลทั้งเหตุเนื่องเป็นสายกันไปวนกันไป เหมือนลูกโซ่อันเกี่ยวคล้องกันเป็นสายผูกวงเครื่องจักรฉะนั้น.

ทวาทสกะ หมวด ๑๒
กรรม ๑๒
หมวดที่ ๑  ให้ผลตามคราว
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพนี้.
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า.
๓. อปราปเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพสืบ ๆ.
๔. อโหสิกรรม กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว.
หมวดที่ ๒ให้ผลตามกิจ
๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด.
๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน.
๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น.
๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน.
หมวดที่ ๓ให้ผลตามลำดับ
๙. ครุกรรม กรรมหนัก.
๑๐. พหุลกรรม กรรมชิน.
๑. อาสันนกรรม กรรมเมื่อจวนเจียน.
๑๒. กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ.
วิ. กงฺขา. ตติย. ๒๒๓.

อธิบาย: กรรมเหล่านี้ ได้ทั้งในฝ่ายกุศล ทั้งในฝ่ายอกุศล.
กรรมที่ ๑ ท่านว่าเป็นกรรมแรง จึงให้ผลทันตาเห็น ผู้ทำได้เสวยผลในอัตภาพนั่นเอง แต่เมื่อผู้ทำถึงมรณะไปเสียก่อนถึงคราวให้ผล ย่อมเป็นอโหสิกรรม.
กรรมที่ ๒ เพลาลงมกว่ากรรมที่ ๑ จักให้ผลได้ต่อเมื่อผู้ทำเกิดแล้วในภพเป็นลำดับ พ้นจากนั้นแล้ว เป็นอโหสิกรรม.
กรรมที่ ๓ เพลาที่สุด จักอาจให้ผลต่อเมื่อพ้นภพหน้าแล้ว ได้ช่องเมื่อใด ย่อมให้ผลเมื่อนั้น กว่าจะเป็นอโหสิกรรม ท่านเปรียบไว้เหมือนสุนัขไล่เนื้อ ไส่ตามเนื้อทันเข้าในที่ใด ย่อมเข้ากัดในที่นั้น.

กรรมที่ ๔ เป็นกรรมล่วงคราวแล้วเลิกให้ผล เปรียบเหมือนพืชสิ้นยางแล้ว เพราะไม่ขึ้น. นี้จัดตามคราวที่ให้ผล.
กรรมที่ ๕ สามารถยังผู้ทำผู้เคลื่อนจากภพหนึ่ง แล้วให้ถือปฏิ-สนธิในภพอื่น ท่านจึงเรียกว่าชนกกรรม เปรียบด้วยบิดาผู้ยังบุตรให้เกิด ได้แก่ "กมฺมโยนิ" กรรมเป็นกำเนิด ในที่อื่น ต่อนั้นไปสิ้นหน้าที่.
กรรมที่ ๖ ไม่อาจแต่งปฏิสนธิเอง ต่อเมื่อชนกกรรมแต่งปฏิสนธิแล้วจึงเข้าสนับสนุนส่งเสริม เปรียบเหมือนแม่นมผู้เลี้ยงทารกอันคนอื่นให้เกิดแล้ว ท่านจึงเรียกว่าอุปัตถัมภกกรรม ได้แก่ "กมฺมพนฺธุ" กรรมเป็นพวกพ้อง ในที่อื่น. กรรมนี้เป็นสภากับชนกกรรม ถ้าชนกกรรมเป็นกุศลแต่งปฏิสนธิข้างดี อุปัตถัมภกกรรมย่อมเข้าสนับสนุนทารกผู้เกิดแล้ว ให้ได้สุขได้ความเจริญรุ่งเรืองจนอวสาน ได้ในลักษณะว่า"โชติ โชติปรายโน" รุ่งเรืองมาแล้วมีรุ่งเรืองไปภายหน้า ถ้าชนกกรรมนเป็นอกุศลแต่งปฏิสนธิข้างเลว อุปัตถัมภกกรรมย่อมซ้ำเติมเมื่อเกิดแล้วให้หายนะหนักลง เข้าในลักษณะว่า "ตโม ตมปรายโน" มืดมาแล้ว มีมือไปภายหน้า. จะเข้าใจอีกอย่างหนึ่งว่า ชนกกรรมได้แก่กรรมที่เป็นเดิม อุปัตถัมภพกรรม ได้แก่กรรมทำเพิ่มพูนหรือซ้ำเติม ก็ไม่ผิด.
กรรมที่ ๗ เป็นวิสภาคแห่งชนกกรรม เมื่อชนกกรรมแต่งปฏิ-สนธิแล้ว เข้าบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมไม่ให้เผล็ดเต็มที่ ถ้าชนกกรรมเป็นกุศลแต่งปฏิสนธิข้างดี กรรมนี้ก็เข้าบีบคั้นให้ทุรพลลง เข้าในลักษณะว่า "โชติ ตมปรายโน" รุ่งเรือมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า ถ้าชนกกรรมเป็นอกุศลแต่งปฏิสนธิข้างเลว กรรมนี้เข้าเกียดกันให้ทุเลาขึ้นเข้าในลักษณะว่า "ตโม โชติปรายโน" มืดมาแล้ว มีรุ่งเรืองไปภายหน้า ท่านจึงเรียกว่า อุปปีฬกกรรม กรรมนี้บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมฉันใด พึงเห็นว่าบีบคั้นผลแห่งอุปัตถัมภกกรรมฉันนั้น.
กรรมที่ ๘ เป็นวิสภาคแห่งชนกกรรมและอุปถัมภกกรรมเหมือนกัน เป็นสภาคแห่งอุปปีฬกกรรม แต่รุนแรงกว่า ย่อมตัดรอนผลแห่งชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรมให้ขาดเสียทีเดียว เข้าให้ผลแทนที่ ท่านจึงเรียกว่า อุปฆาตกกรรม. นี้จัดตามกิจที่เป็นหนักงาน.
กรรมที่ ๙ เป็นหนักที่สุดกว่ากรรมอย่างอื่น จึงเรียกว่าครุกรรมในฝ่ายอกุศล ท่านจัดเอาอนันตริยกรรมเป็นครุกรรม ในฝ่ายกุศลท่านจัดเอาสมาบัติ ๘. กรรมนี้มีอยู่ย่อมให้ช่องให้ผลก่อน เปรียบเหมือนคนอยู่บนที่สูง เอาชิ้นต่าง ๆ เหล็กบ้าง ศิลาบ้าง กระเบื้อง
าง ไม้บ้างกระดาษบ้าง ขนนกบ้าง สิ่งอื่นบ้าง ทิ้งลงมา สิ่งไหนหนักที่สุดสิ่งนั้นย่อมตกถึงพื้นก่อน สิ่งอื่น ๆ ย่อมตกถึงพื้นตามลำดับน้ำหนักของมัน.
กรรมที่ ๑๐ ได้แก่กรรมอันเคยทำมามากทำมาจนชิน ท่านเรียกว่าพหุลกรรม. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่าอาจิณณกรรม ด้วยอรรถว่าเคยประพฤติมา. กรรมนี่แลเป็นอาเสวนปัจจัย คือการส้องเสพเป็นเหตุได้อย่างหนึ่ง เมื่อครุกรรมไม่มี ย่อมให้ผลก่อนกรรมอย่างอื่น ท่านเปรียบไว้เหมือนคนมวยปล้ำกัน คนใดมีแรงกว่าว่องไวกว่าคนนั้นย่อมชนะ. กล่าวเพื่อเข้าใจง่าย เมื่อกรรมอันผาดโผนไม่มีผู้ทำย่อมปรากฏด้วยกรรมอันตนทำมามาก เช่นผู้ร้ายปล้นทำมาตุฆาตหรือปิตุฆาต ย่อมต้องโทษเพราะกรรมอย่างหลังอันรุนแรงก่อน ต่อไม่ได้ทำกรรมอย่างหลังนั้น จึงต้องโทษเพราะทำกรรมอย่างก่อน.
กรรมที่ ๑๑ ได้แก่กรรมอันทำเมื่อจวนตาย ท่านเรียกว่าอาสันน-กรรม. เมื่อพหุลกรรมไม่มี คือผู้ทำไม่ได้ทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไว้จนชิน จนถึงออกชื่อเลื่องลือว่ามักเป็นอย่างนั้น ๆ กรรมนี้แม้ทุรพลอย่างไรก็ตามย่อมให้ผล ท่านเปรียบไว้เหมือนโคอันแออัดอยู่ในคอก พอนายโคบาลเปิดประตูคอก โคใดอยู่ริมประตูคอก แม้เป็นโคแก่ทุรพล ย่อมออกได้ก่อนโคอยู่ในเข้าไปแม้แข็งแรงกว่า, เปรียบให้เข้าใจง่าย อีกอย่างหนึ่ง จรรยาของผู้ตายจากไปก่อน ย่อมจับใจของผู้อยู่ข้างหลังมากกว่าจรรยาในคราวก่อน ๆ ที่ไม่ผาดโผน ที่ไม่ชินในเวลานี้ ทำดี ก็ไว้อาลัยมาก ทำเสีย ก็ทำวิปฏิสารมาก.
กรรมที่ ๑๒ ได้แก่กรรมอันทำด้วยไม่จงใจ ท่านเรียกกตัตตา-กรรมบ้าง เรียกกตัตตาวาปนกรรมบ้าง ตามบาลีว่า กตตฺตา วา
ปน ฯ เป ฯ ที่ปรารภกล่าวอีกประการหนึ่ง, ต่อกรรมอื่นไม่มี จึงถึงวาระแห่งกรรมนี้จะให้ผล. และผลแห่งกรรมนี้ให้ เป็นแต่พอดีพอร้าย ท่านเปรียบไว้เหมือนลูกศรอันคนบ้ายิง. ตัวอย่าง โทษอันมีแก่คนผู้ทำเขาตายด้วยเลินเล่อ. กรรมนี้ผิดหลักบาลีพระสูตร* ว่า เจตนาหํภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ซึ่งแปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม แต่ผลย่อมอาจมีได้จริงตามนี้ ในพระอภิธรรมท่านจึงบัญญัติขึ้นไว้. ในทางพระวินัย ภิกษุไม่จงใจ แต่ทำฝืนสิกขาบทถูกปรับอาบัติก็มี. อาบัติประเภทนี้ เรียกอจิตตกะ. ถ้าถือตามหลักบาลีพระสูตรนั้น ความเข้าใจจะพึงมีว่า กรรมนี้ได้แก่กรรมอันผู้ทำมีเจตนาไม่ถึงนั้น แต่ทำเกินเจตนาไป ตัวอย่างเช่น มีเจตนาเพียงจะเฆี่ยนเขา แต่เขถูกเฆี่ยนแล้วตาย ในกฎหมายจัดเป็นฆ่าคนตายโดยไม่มีเจตนา วางโทษเบากว่าฆ่าโดยจงใจ แต่ในพระวินัยไม่ปรับเป็นมนุสสวิคคหะ ปรับเพียงให้ประหารเท่านั้น.การบัญญัติกรรมนั้น เนื่องมาจากถือว่า ผลย่อมเผล็ดจาเหตุและในพระสูตร เพ่งเฉพาะเหตุภายใน วางบาลีไว้เป็นหลักอย่างนั้นเข้าใจว่าเพื่อจะจำกัดลงให้พอวิสัยที่จะระวังได้ เพราะผลอันจะพึงเผล็ดจากเหตุภายนอก เป็นอันพ้นวิสัยที่จะพึงป้องกันด้วยประการทั้งปวง.และการจำแนกกรรมออกไปเป็นต่างอย่างนั้นเล่า เข้าใจว่าเพื่อจะห้ามความเห็นสับปลับแห่งกรรม เป็นอันสนับสนุนมตินั้น เป็นฐานะอยู่ที่คนผู้หนึ่งทำกรรมไว้ทั้งเป็นบุญ ทั้งที่เป็นบาป กรรมต่างอย่างต่างให้ผลตามคราวที่ได้ช่อง หรือหลายคนทำกรรมอย่างเดียวกัน ได้ผลยิ่งหย่อนกว่ากัน หรือบางคนทำกรรมอย่างหนึ่งไว้แล้ว ยังไม่ปรากฏว่าได้เสวยผลแห่งกรรมนั้นจะตายไปแล้ว หรือบางคนได้เสวยผลที่ไม่ปรากฏว่าเพราะได้ทำกรรมอะไรไว้ ไม่คำนึงให้รอบคอบด้วยสติ อาจเห็นเป็นสับปลับ ไม่ได้จริง แล่นไปสู่อกิริยทิฏฐิก็ได้ เมื่อเข้าใจกรรมวิภาคอย่างนี้แล้ว จะได้มั่นอยู่ในกัมมัสสกตาสัทธา ประพฤติอยู่ในคลองธรรมที่ชอบ.
เตรสกะ หมวด ๑๓
ธุดงค์ ๑๓
หมวดที่ ๑ ปฏิสังยุตด้วยจีวร
๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร.
๒. เตจีวริกังคะ ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร.
หมวดที่ ๒ ปฏิสังยุตด้วยบิณฑบาต
๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร.
๔. สปทานจาริกกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร.
๕. เอกาสนิกังคะ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร.
๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร.
๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร.

หมวดที่ ๓ ปฏิสังยุตด้วยเสนาสนะ
๘. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร.
๙. รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร.
๑๐. อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่ในที่แจ้ง ๆ เป็นวัตร.
๑๑. โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร.
๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไร.
หมวดที่ ๔ ปฏิสังยุตด้วยวิริยะ
๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งเป็นวัตร.
ขุ. มหา. ๒๙/๕๘๔. วิ. ธุตงฺค. ปฐม. ๗๔
อธิบาย: ธุดงค์นี้ เป็นวัตตจริยาพิเศษอย่างหนึ่ง ตามแต่ใครจะสมัครถือ ไม่ใช่กินจำเป็น บัญญัติขึ้นด้วยหมายจะให้เป็น
อุบายขัดเกลากิเลส และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ แจกเป็น ๑๓ ประเภท และจัดเป็น ๔ หมวด ดุจเรียงไว้ข้างต้น.
ภิกษุผู้ถือปังสุกูลิกังคะ ย่อมไม่รับคหปติจีวร เที่ยวแสวงหาเฉพาะผ้าบังสุกุล เอามาทำจีวรใช้. ภิกษุผู้ถือเตจีวริกังคะ ย่อม
ไม่ใช้จีวรผืนที่ ๔ นุ่งห่มเฉพาะไตรจีวรอันเป็นผ้าอธิษฐาน. ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกังคะ ย่อมไม่รับอติเรกลาภ ฉันเฉพาะอาหารอัน
เที่ยวบิณฑบาตได้มา. ภิกษุผู้ถือสปทานจาริกังคะ ประพฤติวัตรเหมือนภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกังคะ แต่อุกฤษฏ์กว่า รับตามแถว
อันเดียว เช่นข้างขวามือหรือข้างซ้ายมือ ไม่รับข้ามแถว หรือในแถวเดียว ไม่รับข้ามราย ฝ่ายภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกังคะ ย่อมรับ
ข้ามแถว. ภิกษุผู้ถือเอกาสนิกังคะ ย่อมถือนั่งฉัน ณ ที่แห่งเดียวลุกจากที่แล้ว ไม่ฉันอาหารอีกในวันนั้น โดยความก็คือถือฉันอาหารเพียงวันละหน. ภิกษุผู้ถือปัตตปิณฑิตกังคะ ไม่ใช้ภาชนะรองของฉันตั้งแต่ ๒ ใบขึ้นไป ย่อมฉันเฉพาะของในบาตรเท่านั้น. ภิกษุผู้ถือขลุปัจฉาภัตติกังคะ เมื่อลงมือฉันแล้ว มีผู้นำอาหารมาถวายไม่รับ (?) ถูกเข้าเช่นนั้น ชื่อว่าห้ามอาหารแล้ว เป็นอันฉันได้แต่มื้อเดียว. ภิกษุผู้ถืออารัญญิกังคะ ย่อมไม่อยู่แรมคืนในบ้าน ย่อมอยู่แรมคืนในป่า ที่ห่างจากบ้านคน โดยกำหนดที่สุด ๕๐๐ ชั่วธนูคือ ๒๕ เส้นตามทางเดินโดยปกติ. ภิกษุผู้ถือรุกขมูลิกังคะ เป็นประเภทของภิกษุผู้ถืออารัญญิกังคะนั้นเอง ไม่ทำกุฏิอยู่ ย่อมอยู่ตามโคนไม้. ภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกังคะ ก็เป็นประเภทของภิกษุผู้ถืออารัญญิกังคะเหมือนกัน แม้ตามโคนไม้ก็ไม่อยู่ ย่อมอยู่ในที่แจ้ง ๆ ที่เข้าใจว่าเที่ยวหลบแดดอยู่ตามเงาแห่งภูเขาและชายไม้เป็นต้น.๒ องค์นี้คงถือได้เฉพาะกาล เพราะในพรรษาจำจะต้องถือเสนาสนะตามวินัยนิยม. ภิกษุผู้ถือโสสานิกังคะ ย่อมอยู่แรมคืนในป่าช้า.ภิกษุผู้ถือยถาสันถติกังคะ ย่อมไม่ทำความอาลัยในเสนาสนะที่อยู่อันเป็นที่สบายถูกใจ ได้เสนาสนะไม่เป็นที่สบายไม่ถูกใจ ไม่แส่หาเสนาสนะอื่น ภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ จัดให้อยู่ ณ เสนา-สนะใด ย่อมอยู่ ณ เสนาสนะนั้น แม้ถูกย้ายเสนาสนะในอุตุกาลย่อมไม่ขัดขืน. ภิกษุผู้ถือเนสัชชิกังคะ ย่อมไม่เอนหลังลงนอนสำเร็จอิริยาบถเพียง ๓ นั่งกับยืนและเดินเท่านั้น. องค์นี้เป็นอาการฝืนธรรมดา สำเร็จความสันนิษฐานว่า ถือได้ชั่วเวลาเท่านั้น,มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า พระจักขุบาลถือตลอดพรรษาถึงเสียจักษุ.
การถือธุดงค์นี้ สำเร็จด้วยการสมาทาน คือ ด้วยอธิษฐานใจหรือแม้ด้วยเปล่งวาจา. คำสมาทานนั้นดังนี้ :
๑. สำหรับปังสุกูลิกังคะว่า "คหาปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, ปํสุกูลิกงฺคํสมาทิยามิ." แปลว่า "เราดคฤหบดีจีวรเสีย สมาทานองค์ของ
ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร."
๒. สำหรับเตจีวริกังคะว่า "จตุตฺถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวริกงฺคํสมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดจีวรผืนที่ ๔ เสีย สมาทานองค์ของ
ผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร."
๓. สำหรับปิณฑปาติกังคะว่า "อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ,ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ. " แปลว่า "เรางดอติเรกลาภเสีย
สมาทานองค์ของผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร."
๔. สำหรับสปทานจาริกังคะว่า "โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ,สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดการเที่ยวโลเลเสีย
สมาทานองค์ของผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร."
๕. สำหรับเอกาสนิกังคะว่า "นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ,เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดการฉัน ณ ต่างอาสนะ
เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร."
๖. สำหรับปัตตปิณฑิกังคะว่า "ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ,ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดภาชนะที่ ๒ เสีย
สมาทานองค์ของผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตเป็นวัตร."
๗. สำหรับขลุปัจฉาภัตติกังคะว่า "อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ,ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดโภชนะอันเหลือ
เพื่อเสีย สมาทานองค์แห่งผู้ห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร."
๘. สำหรับอารัญญิกังคะว่า "คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ,อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดเสนาสนะชายบ้านเสีย
สมาทานองค์แห่งผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร."
๙. สำหรับรุกขมูลิกังคะว่า "ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํสมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดที่มุงที่บังเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือ
การอยู่โคนไม้เป็นวัตร."
๑๐. สำหรับอัพโภกาสิกังคะว่า "ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺ-ขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดที่มุง
ที่บังและโคนไม้เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ในที่แจ้ง ๆ เป็นวัตร."
๑๑. สำหรับโสสานิกังคะว่า "อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํสมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดที่ไม่ใช่ป่าข้าเสีย สมาทานองค์ของผู้
ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร."
๑๒. สำหรับยถาสันถติกังคะว่า "เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ,ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ." แปลว่า "เรางดความโลเลในเสนาสนะ
เสีย สมาทานองค์ของผู้อยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไร."
๑๓. สำหรับเนสัชชิกังคะว่า "เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํสมาทิยามิ" แปลว่า "เรางดการนอนเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือ
การนั่งเป็นวัตร."ท่า
...........นผู้ถือธุดงค์เหล่านี้ ย่อมประพฤติยิ่งหย่อนกว่ากันก็มี จึงจัดประเภทได้เป็น ๓ อย่างเคร่ง อย่างกลาง อย่างเพลา. เรียกอีกโวหารหนึ่ง อย่างอุกฤษฏ์ อย่างมัธยม อย่างทราม. ภิกษุผู้ถือปังสุกูลิกังคะอย่างเคร่ง เที่ยวเลือกเก็บผ้าบังสุกุลแท้ ๆ คือผ้าอันเขาทิ้งเสียจริง ๆ สงเคราะห์เข้าในพวกหยากเยื่อมาทำจีวรใช้.ผู้ถืออย่างกลาง ย่อมเก็บแก้ซึ่งผ้าอันคนปรารถนาบุญทอดไว้เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้ถือธุดงค์นี้ แต่มิได้นิยมเฉพาะรูป เช่นผ้าป่าและผ้าทอดไว้ที่ศพ. ผู้ถืออย่าเพลา ย่อมถือเอาผ้าเช่นนั้น แม้อัน
เขานิยมเฉพาะตน แต่มิได้ถวายด้วยกายและมิได้รับด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่นผ้าป่าและผ้าบังสุกุลอันเขานำมาทอดไว้เฉพาะหน้า. มีปุจฉาสอดเข้ามาว่า ภิกษุอุปสมบท สมาทานปังสุกูลิกธุดงค์ในบัดนั้น หรือจะต้องรออยู่จนหาผ้าบังสุกุลมาทำ
ไตรจีวรครบแล้ว. พระมติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา-ปวเรศวริยาลงกรณ์ว่า ไตรจีวรของภิกษุอุปสมบทนั้น ไม่จัด
ว่าเป็นคหบดีจีวร เป็นของอันพระอุปัชฌายะมอบให้ จัดเป็นสมณจีวร ตั้งแต่เธอผู้อุปสมบทแล้ว ไม่รับคหบดีจีวร สมาทาน
ปังสุกูลิกธุดงค์ได้ ต่อไปจะเปลี่ยนไตรจีวร ต้องแสวงหาผ้าบังสุกุลมาทำ พระมติของท่านได้รับความรับความรับรองของพระเถระฝ่ายธรรมยุตติกนิกายทั่วไป และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอุปสมบท และมีกำหนดทรงอุปสมบทเพียง ๑๕ วัน ได้ทรงสมาทานปังสุกูลิกังคะกับเตจีวริกังคะตามพระมตินี้ด้วย ภิกษุผู้ถือเตจีวริกังคะอย่าเคร่ง ใช้เฉพาะไตรจีวรของตนเท่านั้น โดยที่สุดจะซักหรือจะย้อมอันตรวาสก ย่อมใช้อุตตราสงค์นุ่งและใช้สังฆาฏิห่ม, ผู้ถืออย่างกลาง ย่อมใช้แม้ซึ่งผ้าของสาธารณเช่นนี้ไว้ในโรงย้อมสำหรับภิกษุผลัดย้อมผ้า, ผู้ถืออย่างเพลา ย่อมยืมของภิกษุอื่นมาใช้บ้าง ท่านกล่าวความถือยิ่งหรือหย่อนซึ่งธุดงค์นี้ในเวลาย้อมผ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า ภิกษุผู้ถืออย่างกลางและอย่างเพลาน่าจะใช้ผ้าเช่นนี้ในเวลาอื่นด้วย เป็นแต่ไม่ใช่ผ้าผืนที่ ๔ ในสิทธิของตนเท่านั้น. มีปุจฉาสอดเข้ามาว่า เมื่อไตรจีวรนั้นเก่าควรเปลี่ยนใหม่ ภิกษุนี้จะพึงปฏิบัติอย่างไร. พระคันถรจนาจารย์อธิบายไว้ว่า ผ้าที่ยังมิได้ทำให้สำเร็จเป็นจีวรจนถึงย้อมแล้ว ยังไม่นับเป็นจีวรที่ ๔ ในธุดงค์นี้. โดยนัยนี้ เธออาจทำจีวรได้โดยสะดวกใจครั้งย้อมแล้วอย่าเพิกใช้ อย่าเก็บไว้ให้ล่วงวัน พึงปัจจุทธรณ์ผ้าเดิมและสละเสียก่อน จึงอธิษฐานใหม่ พึงค่อยทำค่อยผลัดคราวละผืน. ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกังคะอย่างเคร่ง นั่งลงแล้ว คือปลงใจเลิกบิณฑบาตแล้ว มีผู้มาใส่อีก ย่อมไม่รับ, ผู้ถืออย่างกลาง นั่งแล้วยังรับอีก, ผู้ถืออย่างเพลา ย่อมรับนิมนต์คือนัดเพื่อรับบิณฑบาตแม้ในวันพรุ่ง, อย่างเคร่ง กำหนดด้วยไม่รับในเวลากลับ, อย่างกลาง ในเวลากลับ ยังรับ, อย่างเพลา รับนัด แต่ไม่รับนิมนต์เพื่อฉัน อย่างนี้ความจักแจ่ม.

ปัณณรสกะ หมวด ๑๕

จรณะ ๑๕
หมวดที่ ๑
๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล.
๒. อินทริยสังวร สำรวมอินทรีย์.
๓. โภชนมัตตัญญุตา รู้ความพอดีในการกินอาหาร.
๔. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่.
หมวดที่ ๒ [สัทธรรม ๗]
๕. สัทธา ความเชื่อ.
๖. หิริ ความละอายแก่ใจ.
๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผิด.
๘. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ฟังมาก. คือได้รับศึกษา
๙. วิริยะ ความเพียร.
๑๐. สติ ความระลึกได้.
๑๑. ปัญญา ความรอบรู้.
หมวดที่ ๓ [รูปฌาน ๔]
๑๒. ปฐมฌาน ฌานที่หนึ่ง.
๑๓. ทุติยฌาน ฌานที่สอง.
๑๔. ตติยฌาน ฌานที่สาม.
๑๕. จตุตถฌาน ฌานที่สี่.
ม. ม. ๑๓/๒๖.

อธิบาย: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงอธิบายไว้ในธรรมภาษิตว่า จรณะนั้น ได้แก่ปฏิปทาคือทางเป็นเครื่องบรรลุวิชชา เป็นศัพท์แปลก เทียบด้วยศัพท์จรณะที่แปลว่าอวัยวะเป็นเครื่องเดิน ได้แก่เท้า ไม่ใช่เรียกปฏิปทาทั่วไป. มรรคมีองค์ ๘ เป็นจรณะแห่งความรู้อริยสัจ ๔ ฌาน ๔ เป็นจรณะโดยลำดับแห่งวิชชา ๓ วิชชาเบื้องต้น เป็นจรณะแห่งวิชชาเบื้องปลายในเสขปฏิปทาสูตรแสดงจรณะเป็นสาธารณะ โดยชื่อว่าเสขปฏิปทาคือทางดำเนินแห่งพระเสขะ.ในเสขปฏิปทาสูตร แสดงไว้โดยบุคคลาธิษฐาน ถือเอาความในนิทเทสแห่งสูตร โดยธรรมาธิษฐาน ดังนี้ :-

หมวดที่ ๑

๑. สีลสัมปทา ได้แก่การสำรวมในปาฏิโมกข์ ประกอบด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในความผิดแม้น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
๒. อินทริยสังวร ได้แก่การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา, หู,จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำ ในเมื่อตาเห็นรูปเป็นต้น.
๓. โภชนมัตตัญญุตา ได้แก่ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอสมควร ไม่มากไม่น้อย พิจารณาแล้วจึงกินอาหารและเพ่งประโยชน์อันจักเกิดแต่อาหารนั้น ไม่บริโภคโดยสะเพร่าและโดยอำนาจความมักกินเป็นต้น.

๔. ชาคริยานุโรค ได้แก่การประกอบความเพียร ไม่เห็นแก่หลับนอนเกินไป หรือไม่ยอมให้ความง่วงเหงาซบเซาเข้าครอบงำท่านแสดงไว้ว่า กลางวันชำระจิตจากนีวรณ์ด้วยเดินบ้าง นั่งบ้างตลอดวัน. กลางคืน แบ่งเป็น ๓ ยาม ยามต้น ชำระจิตอย่างนั้น,ยามกลาง พักผ่อน นอนตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน มี
สติสัมปชัญญะมนสิกาสัญญาว่าจะลุกขึ้น, ยามที่สุด ลุกขึ้นทำความเพียรอย่างยามต้น.ในบาลีไม่ได้กำหนดไว้ว่า ยามละกี่โมง แต่ในอรรถกถามโนรถปูรณีแสดงว่า คืนและวัน แบ่งเป็น ๖ ส่วน. ตื่นทำความเพียร
๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน คือตื่น ๒๐ ชั่วโมง หลับ ๔ ชั่วโมง.พิจารณาดูว่า เวลาที่หลับน้อยนัก ไม่น่าจะพอ แต่ท่านผู้ทำความสงบเช่นนั้น ไม่ได้ทำกิจการหยาบ หลับเท่านั้นจะพอกระมัง ?ขอนักปฏิบัติธรรมจงพิจารณาดูเถิด.

หมวดที่ ๒ [สัทธรรม]
๕. สัทธา ได้แก่ความเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคต ตามนัยแห่งบทพุทธคุณ น่าจะหมายความว่าเชื่อเหตุผล ส่วนในอรรถกถาแจกสัทธาเป็น ๒ คือ กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๑ วิปากสัทธา เชื่อผลแห่งกรรม ๑ ยังไม่พบว่า แบ่งสัทธาเป็น ๓ หรือ ๔ ไว้ในคัมภีร์ไหนน่าจะเก็บรวบรวมขึ้นโดยนัยบาลีและอรรถกถานั้น ๆ.
๖. หิริ ได้แก่ความละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต.ในอรรถกถาเปรียบด้วยหญิงสาวผู้มีสกุลไม่อาจแตะต้องของโสโครก น่าจะถือเอาความว่า สยะแสยงต่อเหตุ คือบาปทุจริต.
๗. โอตตัปปะ ได้แก่ความเหรงกลัวความผิดและความชั่วโดยนัยแห่งหิริ. ในอรรถกถาเปรียบด้วยคนขลาด ไม่กล้าเข้าใกล้อสรพิษน่าจะถือเอาความว่า กลัวผลแห่งบาปทุจริต.
๘. พาหุสัจจะ ได้แก่ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก คือได้ฟังธรรมซึ่งไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

พหุสุตมีองค์ ๕ คือ :-
[๑] พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก.
[๒] ธตา ทรงจำได้.
[๓] วจสา ปริจิตา ท่องไว้ด้วยวาจา.
[๔] มนสานุเปกฺขิตา เอาใจจดจ่อ.
[๕] ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบด้วยทิฏฐิ.

๙. วิริยะ ได้แก่เพียรละอกุศลธรรมและยังกุศลธรรมให้เกิดใช้กำลังบากบั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม.
๑๐. สติ ได้แก่สติรักษาตัว และระลึกถึงกิจที่ทำและคำพูดแล้วแม้นานได้.
๑๑. ปัญญา ได้แก่อริยปัญญาที่รู้ความเกิดความดับแห่งสังขารสามารถชำแรกกิเลสทำให้สิ้นทุกข์ได้.

หมวดที่ ๓ [รูปฌาน]
ฌาน ๔ นี้ มีอธิบายแล้วในหมวด ๔ ผู้ปรารถนาพึงดูในหมวดนั้น.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น