..............หาดอกไม้มาปูลาดไว้ให้พระเดินเหยียบ โหใครบอกดอกไม้ถูก ที่ไหน เดินเหยีบแล้วไม่เห็นจะสบายเท้าตรงไหน แต่ชาวบ้านก็พอใจที่ได้ทำ เพราะพระกำลังธุดงค์ธรรมชัยกัน ชาวบ้านเราไม่รู้หรอก ว่าธุดงค์มันคืออะไร นึกว่าพระธุดงค์ คงพิเศษกว่าพระป่า เพราะดงมันทึบกว่าป่า ถ้ารู้จักว่าธุดงค์คืออะไร คงขำไม่ออก มาลองศึกษากันดู ธุดงค์เป็นอย่างไร
...........มีเพื่อนเอาภาพธุดงค์ธรรมชัย ที่ชาวบ้านกำลังโปรยดอกไม้รอให้พระเดินย่ำไป บอก ว่าพระธุดงค์จะเดินผ่านทางนี้ ความจริงเห็นกันทั้งบ้านทั้งเมืองแหละ พระจำนวนมากมาย เดิน แถวจากวัดหนึ่งไปยัง อีกวัดหนึ่ง ดูน่าเลื่อมใสศรัทธาดี แถมมีการโฆษณาด้วยว่านี่เป็นการเดิน ธุดงค์ครั้งยิ่งใหญ่ มีพระภิกษุหลายร้อยรูปร่วมเดินธุดงค์ กระผมเองก็ได้ดูข่าวทีวีเหมือนกันนะ ยังชอบใจเลยที่มีรถนำขบวนตกแต่งงดงามมาก พอดีวันนี้เพื่อนชาวเฟซ โพสภาพพระเดินแถว เช่นนั้นอีก แถมมีคนเข้าใจว่าพระกำลังเดินธุดงค์ ไม่เป็นความจริงหรอกครับ ธุดงค์วาด้วยการ เดินแถวไม่เคยได้ยินมาก่อน เดี๋ยวตามไปดูตำราว่าด้วยวิธีธุดงค์ก่อนว่าท่านทำอะไรบ้าง ในหนังสือธรรมวิภาค นักธรรมโท หมวด 13 กล่าวถึงธุดงค์ว่ามี 13 หัวข้อ ดังนี้.........
ธุดงค์ ๑๓
หมวดที่ ๑ ปฏิสังยุตด้วยจีวร
๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร.
๒. เตจีวริกังคะ ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร.
หมวดที่ ๒ ปฏิสังยุตด้วยบิณฑบาต
๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร.
๔. สปทานจาริกกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร.
๕. เอกาสนิกังคะ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร.
๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร.
๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร.
หมวดที่ ๓ ปฏิสังยุตด้วยเสนาสนะ
๘. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร.
๙. รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร.
๑๐. อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่ในที่แจ้ง ๆ เป็นวัตร.
๑๑. โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร.
๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไร.
หมวดที่ ๔ ปฏิสังยุตด้วยวิริยะ
๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งเป็นวัตร.
(อ้างอิงพระไตรปิฏก.....ขุ. มหา. ๒๙/๕๘๔. วิ. ธุตงฺค. ปฐม. ๗๔)
.........จากข้อมูลที่ได้มา ทั้ง 13 ข้อ ไม่มีข้อไหนบอกว่ามีการเดินแถวธุดงค์ หรือจะบอกว่าพระ นุ่งห่มผ้าสีกลัก เป็นพระธุดงค์ก็ไม่แน่ เพราะธุดงก์ไม่มีข้อกำหนดเรื่องการนุ่งห่ม เพียงนุ่งห่ม เรียบร้อยก็ปฏิบัติธุดงค์ได้ มีข้อสังเกตคือธุดงค์ทั้ง 13 ข้อ เป็นการปฏิบัติที่เหมาะจะปฏิบัติที่วัด ที่ป่า คงมีธุดงค์ว่าด้วยการบิณฑบาตรกระมัง ที่อาจเห็นพระเดินตามถนนในหมู่บ้าน ช่วงเวลาเช้า อุ้มบาตรเดินให้ชาวบ้านตักบาตร แต่ก็ไม่แน่ท่านอาจบิณฑบาตรตามปกติ ไม่ได้ถือธุดงก์ก็ได้
..........ธุดงค์ทั้ง 13 ข้อ พระพุทธเจ้าแนะนำพระที่ต้องการฝึกอบรมจิตใจเพิ่มเติม จะเลือกฝึก ข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ด้วยการกล่าวคำปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะถือธุดงค์ข้อว่าด้วยเรื่องอะไร เป็น วัตร คือว่าวัตรนี่แหละต้องทำความเข้าใจ การปฏิบัติให้เป็นปกติ เป็นประจำ ถึงจะเรียกเป็น วัตร เช่นถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แสดงว่าผ้าที่ใช้คือ ไตรจีวร ทำด้วยผ้าบังสุกุล ทุกผืน ถือปฏิบัติ ตลอดไปถึงเวลาเปลี่ยนไตรจีวร ก็หาผ้าที่เป็น ปังสุกุลจีวรมาผัดเปลี่ยน แบบนี้เป้นต้น
...........เตจีวรกังคะ พระถือธุดงค์ข้อนี้จะมีไตรจีวรอยู่กับกายตลอด เว้นยามที่จำเป็นเช่น อาบน้ำ ยามนอนยังต้องถือไว้ครบ 3 ผืน... ปิณฑปาตกังคะ ถือการออกบิณฑบาตประจำ เว้นกิจจำเป็น เช่นเจ็บป่วย กิจนิมนต์ .....สปทานจาริกังคะ เส้นทางบิณฑบาติเดิมไม่เปลี่ยน......เอกาสนิกังคะ นั่งลงฉันแล้วห้ามถวายภัตตาหาร......ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันในบาตรเท่านั้น.....ขลุปัจฉาภัตติกังคะ เริ่มฉันแล้วไม่รับถวายภัตตาหารอื่นอีก.....อารัญญิกังคะ อาศัยอยู่ป่า วัดป่า อาศรมในป่า... รุกขมูลิกังคะ อาศัยโคนต้นไม้เป็นประจำ....อัพโพกาสิกังคะ อาศัยในที่โล่งแจ้งประจำ... โสสานิกังคะ อยู่ที่ป่าช้าเป็นวัตร.....ยถาสันถติกังคะ อยู่ที่เขาจัดให้ ...เนสัชชิกังคะ นั่งเป็นวัตร
ธุดงค์ ๑๓
หมวดที่ ๑ ปฏิสังยุตด้วยจีวร
๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร.
๒. เตจีวริกังคะ ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร.
หมวดที่ ๒ ปฏิสังยุตด้วยบิณฑบาต
๓. ปิณฑปาติกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร.
๔. สปทานจาริกกังคะ ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร.
๕. เอกาสนิกังคะ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร.
๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร.
๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร.
หมวดที่ ๓ ปฏิสังยุตด้วยเสนาสนะ
๘. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร.
๙. รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร.
๑๐. อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่ในที่แจ้ง ๆ เป็นวัตร.
๑๑. โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร.
๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไร.
หมวดที่ ๔ ปฏิสังยุตด้วยวิริยะ
๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งเป็นวัตร.
(อ้างอิงพระไตรปิฏก.....ขุ. มหา. ๒๙/๕๘๔. วิ. ธุตงฺค. ปฐม. ๗๔)
.........จากข้อมูลที่ได้มา ทั้ง 13 ข้อ ไม่มีข้อไหนบอกว่ามีการเดินแถวธุดงค์ หรือจะบอกว่าพระ นุ่งห่มผ้าสีกลัก เป็นพระธุดงค์ก็ไม่แน่ เพราะธุดงก์ไม่มีข้อกำหนดเรื่องการนุ่งห่ม เพียงนุ่งห่ม เรียบร้อยก็ปฏิบัติธุดงค์ได้ มีข้อสังเกตคือธุดงค์ทั้ง 13 ข้อ เป็นการปฏิบัติที่เหมาะจะปฏิบัติที่วัด ที่ป่า คงมีธุดงค์ว่าด้วยการบิณฑบาตรกระมัง ที่อาจเห็นพระเดินตามถนนในหมู่บ้าน ช่วงเวลาเช้า อุ้มบาตรเดินให้ชาวบ้านตักบาตร แต่ก็ไม่แน่ท่านอาจบิณฑบาตรตามปกติ ไม่ได้ถือธุดงก์ก็ได้
..........ธุดงค์ทั้ง 13 ข้อ พระพุทธเจ้าแนะนำพระที่ต้องการฝึกอบรมจิตใจเพิ่มเติม จะเลือกฝึก ข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ด้วยการกล่าวคำปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะถือธุดงค์ข้อว่าด้วยเรื่องอะไร เป็น วัตร คือว่าวัตรนี่แหละต้องทำความเข้าใจ การปฏิบัติให้เป็นปกติ เป็นประจำ ถึงจะเรียกเป็น วัตร เช่นถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แสดงว่าผ้าที่ใช้คือ ไตรจีวร ทำด้วยผ้าบังสุกุล ทุกผืน ถือปฏิบัติ ตลอดไปถึงเวลาเปลี่ยนไตรจีวร ก็หาผ้าที่เป็น ปังสุกุลจีวรมาผัดเปลี่ยน แบบนี้เป้นต้น
...........เตจีวรกังคะ พระถือธุดงค์ข้อนี้จะมีไตรจีวรอยู่กับกายตลอด เว้นยามที่จำเป็นเช่น อาบน้ำ ยามนอนยังต้องถือไว้ครบ 3 ผืน... ปิณฑปาตกังคะ ถือการออกบิณฑบาตประจำ เว้นกิจจำเป็น เช่นเจ็บป่วย กิจนิมนต์ .....สปทานจาริกังคะ เส้นทางบิณฑบาติเดิมไม่เปลี่ยน......เอกาสนิกังคะ นั่งลงฉันแล้วห้ามถวายภัตตาหาร......ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันในบาตรเท่านั้น.....ขลุปัจฉาภัตติกังคะ เริ่มฉันแล้วไม่รับถวายภัตตาหารอื่นอีก.....อารัญญิกังคะ อาศัยอยู่ป่า วัดป่า อาศรมในป่า... รุกขมูลิกังคะ อาศัยโคนต้นไม้เป็นประจำ....อัพโพกาสิกังคะ อาศัยในที่โล่งแจ้งประจำ... โสสานิกังคะ อยู่ที่ป่าช้าเป็นวัตร.....ยถาสันถติกังคะ อยู่ที่เขาจัดให้ ...เนสัชชิกังคะ นั่งเป็นวัตร
...........ข้อสังเกต ธุดงค์ 13 ข้อ ที่พระภิกษุนิยมถือปฏิบัติ ยังไม่มีธุดงค์เดินตามถนนนะ ชาวบ้าน เรียกกันเอง เห็นสีวรสีมอ ๆ สีกลัก สะพายถุงใบใหญ่ แบกร่ม เดินเท้าเปล่า เข้าใจว่าเป็นพระ ธุดงค์ ที่จริงเราเห็นนั่นเป็นการแต่งกายของพระภิกษุเวลาเดินทาง ในถุงจะมีบาตรบริขารจำเป็น ผ้าอาบน้ำฝน และสังฆาฏิ กาน้ำเป็นต้น ของใช้จำเป็นทั้งนั้น พระภิกษุที่เดินทางต้องมีสิ่งของติด ตัวไปเท่าที่จำเป็น ทุกเช้าต้องบิณฑบาตร ฉันต้องมีน้ำดื่ม อาบน้ำต้องใช้ผ้าอาบน้ำฝน สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟันก็จำเป็น ร่มปรับเป็น กลดกันลมกันฝนกันมดแมลงเวลานอน ดังนั้นพระที่เราเห็น เป็นพระภิกษุทั่วไปที่ท่านเดินทาง ใช่พระธุดงค์หรือไม่ตอบยากเพราะเวลาปฏิบัติธุดงค์ส่วนมาก อยู่ที่วัดหรือในเสนาสนะในป่า ที่เห็นเดินนั่นท่านไปทำกิจธุระของท่าน เหมือนคนเป็นครู ออกมา เดินตามถนนหนทาง ก็เหมือนคนทั่วไป อยากรู้เป็นครูจริงไหม ก็ไปดูตอนอยู่โรงเรียน ตอนทำงาน
---------------------------
---------------------------
หมายเหตุ เวลาพระต้องการถือธุดงค์ท่านมีคำสมาทานธุดงค์ จะเอามาลงให้ สำหรับคนอยากรู้
1. ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ว่า คะหะปะติจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ ปังสุกูลิกังคัง สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดคหบดีจีวรเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
2. ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร ว่า จะตุตถะจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ เตจีวะริกังคัง สะมาทิยามิแปลว่า เรางดจีวรผืนที่สี่เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือซึ่งไตรจีวรเป็นวัตร
3. ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ว่า อะติเรกะลาภัง ปะฏิกขิปามิ ปิณฑะปาติกังคัง สะมาทิยามิแปลว่า เรางดอติเรกลาภเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
4. ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร ว่า โลลุปปะจารัง ปะฏิกขิปามิ สะปะทานะจาริกังคังสะมาทิยามิ แปลว่า เรางดการเที่ยวโลเลเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือเที่ยวบิณบาตรไปตามแถวเป็นวัตร
5. ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ว่า นานาสะนะโภชะนัง ปะฏิกขิปามิ เอกาสะนิกังคัง สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดฉันต่างอาสนะเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
6. ถือฉันเฉพาะในบาตรเดียวเป็นวัตร ว่า ทุติยะภาชะนัง ปะฏิกขิปามิ ปัตตะปิณฑิกังคังะมาทิยามิ แปลว่า เรางดภาชนะที่สองเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร
7. ถือห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร ว่า อะติริตตะโภชะนัง ปฏิกขิปามิ ขะลุปัจฉาภัตติกังคัง สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดโภชนะอันเหลือเฟือเสีย สมาทานองค์แห่งผู้ห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร
8. ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ว่า คามันตะเสนาสะนัง ปิฏิกขิปามิ อารัญญิกังคัง สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดเสนาสนะชายบ้านเสีย สมาทานองค์แห่งผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
9. ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ว่า ฉันนัง ปะฏิกขิปามิ รุกขะมูลิกังคัง สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดที่มุงบังเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร
10๐. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ว่า ฉันนัญจะ รุกขมูลลัญจะ ปะฏิกขิปามิ อัพโภกาลิกังคัง สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดที่มุงที่บังและโคนไม้เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
11. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ว่า ฉันนัญจะ รุกขะมูลลัญจะ ปะฏิกขิปามิ ยะถาสันถะติกังคังสะมาทิยามิ แปลว่า เรางดที่มิใช่ป่าช้าเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
12. ถือการอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร ว่า เสนาสนะโลลุปปัง ปะฏิกขิปามิยะถาสันถะติกังคัง สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดความโลเลในเสนาสนะเสีย สมาทานองค์ของผู้อยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไร เป็นวัตร
13. ถือการนั่งเป็นวัตร ว่า เสยยัง ปะฏิกขิปามิ เนสัชชิกังคัง สะมาทิยามิ แปลว่า เรางดการนอนเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการนั่ง เป็นวัตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น