-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ธรรมวิภาคนักธรรมตรี |
||
ทุกะ คือ หมวด ๒ |
||
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง | ||
๑. สติ ความระลึกได้. | ||
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว. | ||
องฺ. ทุก. ๒๐/๑๑๙. ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๙๐. | ||
ธรรมเป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลก ๒ อย่าง | ||
๑. หิริ ความละอายแก่ใจ. | ||
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว. | ||
องฺ. ทุก. ๒๐/๖๕. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๕๗. | ||
ธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง | ||
๑. ขันติ ความอดทน. | ||
๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม. | ||
องฺ. ทุก. ๒๐/๑๑๘. วิ. มหา. ๕/๓๓๕. | ||
บุคคลหาได้ยาก ๒ อย่าง | ||
๑. ปุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน. | ||
๒. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และ ตอบแทน. | ||
องฺ ทุก. ๒๐/๑๐๙. | ||
ติกะ คือ หมวด ๓ | ||
รตนะ ๓ อย่าง พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑. | ||
๑. ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่ท่านเรียกว่า | ||
พระพุทธศาสนา ชื่อพระพุทธเจ้า. | ||
๒. พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของท่าน ชื่อพระธรรม. | ||
๓. หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อพระสงฆ์. | ||
ขุ. ขุ. ๒๕/๑. | ||
คุณของรตนะ ๓ อย่าง | ||
พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย. | ||
พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว. | ||
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย. | ||
อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ อย่าง | ||
๑. ทรงสั่งสอน เพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น. | ||
๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้. | ||
๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ. | ||
นัย. องฺ. ติก. ๒๐/๓๕๖. | ||
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง | ||
๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วด้วย กาย วาจา ใจ. | ||
๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ. | ||
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น. | ||
ที. มหา. ๑๐/๕๗. | ||
ทุจริต ๓ อย่าง | ||
๑. ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียกกายทุจริต. | ||
๒. ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียกวจีทุจริต. | ||
๓. ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียกมโนทุจริต. | ||
กายทุจริต ๓ อย่าง | ||
ฆ่าสัตว์ ๑ | ||
ลักฉ้อ ๑ | ||
ประพฤติผิดในกาม ๑. | ||
วจีทุจริต ๔ อย่าง | ||
พูดเท็จ ๑ | ||
พูดส่อเสียด ๑ | ||
พูดคำหยาบ ๑ | ||
พูดเพ้อเจ้อ ๑. | ||
มโนทุจริต ๓ อย่าง | ||
โลภอยากได้ของเขา ๑ | ||
พยาบาทปองร้ายเขา ๑ | ||
เห็นผิดจากคลองธรรม ๑. | ||
ทุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจไม่ควรทำ ควรจะละเสีย. | ||
องฺ. ทสก. ๒๔/๓๐๓. | ||
สุจริต ๓ อย่าง | ||
๑. ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกกายสุจริต. | ||
๒. ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต. | ||
๓. ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต. | ||
กายสุจริต ๓ อย่าง | ||
เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑ | ||
เว้นจากลักทรัพย์ ๑ | ||
เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑. | ||
วจีสุจริต ๔ อย่าง | ||
เว้นจากพูดเท็จ ๑ | ||
เว้นจากพูดส่อเสียด ๑ | ||
เว้นจากพูดคำหยาบ ๑ | ||
เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ๑. | ||
มโนสุจริต ๓ อย่าง | ||
ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑ | ||
ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑ | ||
เห็นชอบตามคลองธรรม ๑. | ||
สุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจควรทำ ควรประพฤติ. | ||
องฺ. ทสก. ๒๔/๓๐๓. | ||
อกุศลมูล ๓ อย่าง | ||
รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ | ||
โลภะ อยากได้ ๑ | ||
โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๑ | ||
โมหะ หลงไม่รู้จริง ๑. | ||
เมื่ออกุศลมูลเหล่านี้ (๑) ก็ดี (๒) ก็ดี (๓) ก็ดี มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว | ||
ก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรละเสีย. | ||
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๙๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๖๔. | ||
กุศลมูล ๓ อย่าง | ||
รากเง่าของกุศล เรียกกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ | ||
อโลภะ ไม่อยากได้ ๑ | ||
อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๑ | ||
อโมหะ ไม่หลง ๑ | ||
ถ้ากุศลมูลเหล่านี้ (๑) ก็ดี (๒) ก็ดี (๓) ก็ดี มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็ | ||
เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน. | ||
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๙๒. | ||
สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้ ๓ อย่าง | ||
๑. ทาน สละสิ่งของของตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น. | ||
๒. ปัพพัชชา คือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน. | ||
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข. | ||
องฺ. ติก. ๒๐/๑๙๑. | ||
อปัณณกปฏิปทา คือปฏิบัติไม่ผิด ๓ อย่าง | ||
๑. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป | ||
ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. | ||
๒. โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอสมควร ไม่มากไม่น้อย. | ||
๓. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อจะชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก. | ||
องฺ. ติก. ๒๐/๑๔๒. | ||
บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง | ||
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ อย่าง | ||
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน. | ||
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล. | ||
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา. | ||
ขุ. อิติ. ๒๕/๒๗๐. องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๔๕. | ||
สามัญญลักษณะ ๓ อย่าง | ||
ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เรียกสามัญญลักษณะ ไตรลักษณะก็เรียก แจกเป็น ๓ อย่าง | ||
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง. | ||
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์. | ||
๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน. | ||
สํ. สฬ. ๑๘/๑. | ||
จตุกกะ คือ หมวด ๔ | ||
วุฑฒิ คือธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๔ อย่าง | ||
๑. สัปปุริสสังเสวะ คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ที่เรียกว่าสัตบุรุษ. | ||
๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ. | ||
๓. โยนิโสมนสิการ ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ. | ||
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว. | ||
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๓๒. | ||
จักร ๔ | ||
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร. | ||
๒. สัปปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ. | ||
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ. | ||
๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน. | ||
ธรรม ๔ อย่างนี้ ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ. | ||
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔๐. | ||
อคติ ๔ | ||
๑. ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียกฉันทาคติ. | ||
๒. ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียกโทสาคติ. | ||
๓. ลำเอียงเพราะเขลา เรียกโมหาคติ. | ||
๔. ลำเอียงเพราะกลัว เรียกภยาคติ. | ||
อคติ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประพฤติ. | ||
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓. | ||
อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง | ||
๑. อดทนต่อคำสอนไม่ได้ คือเบื่อต่อคำสั่งสอนขี้เกียจทำตาม. | ||
๒. เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากไม่ได้. | ||
๓. เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป. | ||
๔. รักผู้หญิง | ||
ภิกษุสามเณรผู้หวังความเจริญแก่ตน ควรระวังอย่าให้อันตราย ๔ อย่างนี้ย่ำยีได้. | ||
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๖๕. | ||
ปธาน คือความเพียร ๔ อย่าง | ||
๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน. | ||
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว. | ||
๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน. | ||
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. | ||
ความเพียร ๔ อย่างนี้ เป็นความเพียรชอบ ควรประกอบให้มีในตน. | ||
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๐. | ||
อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง | ||
๑. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้. | ||
๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง. | ||
๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ. | ||
๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งเป็นข้าศึกแก่ความสงบ. | ||
ม. อุป. ๑๔/๔๓๗. | ||
อิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง | ||
๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น. | ||
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น. | ||
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ. | ||
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น. | ||
คุณ ๔ อย่างนี้ มีบริบูรณ์แล้ว อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย. | ||
อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๒๙๒. | ||
ควรทำความไม่ประมาทในที่ ๔ สถาน | ||
๑. ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต. | ||
๒. ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต. | ||
๓. ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต. | ||
๔. ในการละความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูก. | ||
อีกอย่างหนึ่ง | ||
๑. ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. | ||
๒. ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง. | ||
๓. ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง. | ||
๔. ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. | ||
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๖๑. | ||
ปาริสุทธิศีล ๔ | ||
๑. ปาติโมกขสังวร สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์อนุญาต. | ||
๒. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป | ||
ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏัฐพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. | ||
๓. ปาชีวปาริสุทธิ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต. | ||
๔. ปัจจยปัจจเวกขณะ พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช | ||
ไม่บริโภคด้วยตัณหา. | ||
วิ. สีล. ปม. ๑๙. | ||
อารักขกัมมัฏฐาน ๔ | ||
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่มีในพระองค์และทรงเกื้อกูลแก่ผู้อื่น. | ||
๒. เมตตา แผ่ไม่ตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า. | ||
๓. อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม. | ||
๔. มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน. | ||
กัมมัฏฐาน ๔ อย่างนี้ ควรเจริญเป็นนิตย์. | ||
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ. | ||
พรหมวิหาร ๔ | ||
๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข. | ||
๒. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์. | ||
๓. มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี. | ||
๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ. | ||
๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่. | ||
อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๓๖๙. | ||
สติปัฏฐาน ๔ | ||
๑. กายานุปัสสนา ๒. เวทนานุปัสสนา ๓. จิตตานุปัสสนา ๔. ธัมมานุปัสสนา. | ||
สติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา | ||
เขา เรียกกายานุปัสสนา. | ||
สติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา | ||
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เรียกเวทนานุปัสสนา. | ||
สติกำหนดพิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแล้ว เป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ | ||
บุคคล ตัว ตน เรา เขา เรียกจิตตานุปัสสนา. | ||
สติกำหนดพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล ที่บังเกิดกับใจ เป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม | ||
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เรียกธัมมานุปัสสนา. | ||
ที. มหา. ๑๐/๓๒๕. | ||
ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ | ||
ธาตุ ๔ คือ | ||
ธาตุดิน เรียกปฐวีธาตุ | ||
ธาตุน้ำ เรียกอาโปธาตุ | ||
ธาตุไฟ เรียกเตโชธาตุ | ||
ธาตุลม เรียกวาโยธาตุ. | ||
ธาตุอันใดมีลักษณะแข้นแข็ง ธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุ ปฐวีธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ผม ขน เล็บ | ||
ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย | ||
อาหารใหม่ อาหารเก่า. | ||
ธาตุอันใดมีลักษณะเอิบอาบ ธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุ อาโปธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ดี เสลด | ||
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร. | ||
ธาตุอันใดมีลักษณะร้อน ธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุ เตโชธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น | ||
ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่เผาอาหารให้ย่อย. | ||
ธาตุอันใดมีลักษณะพัดไปมา ธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุ วาโยธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน | ||
ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ. | ||
ความกำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ | ||
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่าธาตุกัมมัฏฐาน. | ||
ม. อุป. ๑๔/๔๓๗. | ||
อริยสัจ ๔ | ||
๑. ทุกข์ | ||
๒. สมุทัย คือ เหตุให้ทุกข์เกิด | ||
๓. นิโรธ คือความดับทุกข์ | ||
๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. | ||
ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ได้ชื่อว่าทุกข์ เพราะเป็นของทานได้ยาก. | ||
ตัณหาคือความทะยานอยาก ได้ชื่อว่าสมุทัย เพราะเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด. | ||
ตัณหานั้น มีประเภทเป็น ๓ คือตัณหาความอยากในอารมณ์ที่น่ารักใคร่ เรียกว่ากามตัณหาอย่าง ๑ | ||
ตัณหาความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ เรียกว่าภวตัณหาอย่าง ๑ ตัณหาความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ | ||
เรียกว่าวิภวตัณหาอย่าง ๑. | ||
ความดับตัณหาได้สิ้นเชิง ทุกข์ดับไปหมด ได้ชื่อว่านิโรธ เพราะเป็นความดับทุกข์. | ||
ปัญญาอันชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด สิ่งนี้ความดับทุกข์ สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ | ||
ได้ชื่อว่ามรรค เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. | ||
มรรคนั้นมีองค์ ๘ ประการ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ | ||
เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทำความเพียรชอบ ๑ ตั้งสติชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑. | ||
อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๑๒๗. | ||
ปัญจกะ คือ หมวด ๕ | ||
อนันตริยกรรม ๕ | ||
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา. | ||
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา. | ||
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์. | ||
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป. | ||
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน. | ||
กรรม ๕ อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือ | ||
พระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำเป็นเด็ดขาด. | ||
องฺ. ปฺจก. ๒๒/๑๖๕. | ||
อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ | ||
๑. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้. | ||
๒. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้. | ||
๓. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้. | ||
๔. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น. | ||
๕. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว. | ||
องฺ. ปฺจก. ๒๒/๘๑. | ||
เวสารัชชกรณธรรม คือ ธรรมทำความกล้าหาญ ๕ อย่าง | ||
๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ. | ||
๒. สีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย. | ||
๓. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก. | ||
๔. วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร. | ||
๕. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้. | ||
องฺ. ปฺจก. ๒๒/๑๔๔. | ||
องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ อย่าง | ||
๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต. | ||
๒. สำรวมอินทรีย์ คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ ในเวลา | ||
ที่เห็นรูปด้วยนัยน์ตาเป็นต้น. | ||
๓. ความเป็นคนไม่เอิกเกริกเฮฮา. | ||
๔. อยู่ในเสนาสนะอันสงัด. | ||
๕. มีความเห็นชอบ. | ||
ภิกษุใหม่ควรตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่างนี้. | ||
องฺ. ปฺจก. ๒๒/๑๕๕. | ||
องค์แห่งธรรมกถึก คือ นักเทศก์ ๕ อย่าง | ||
๑. แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ. | ||
๒. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ. | ||
๓. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง. | ||
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ. | ||
๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือว่า ไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น. | ||
ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พึงตั้งองค์ ๕ อย่างนี้ไว้ในตน. | ||
องฺ. ปฺจก. ๒๒/๒๐๖. | ||
ธัมมัสสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ อย่าง | ||
๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง. | ||
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด. | ||
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้. | ||
๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้. | ||
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส. | ||
องฺ. ปฺจก. ๒๒/๒๗๖. | ||
พละ คือธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง | ||
๑. สัทธา ความเชื่อ. | ||
๒. วิริยะ ความเพียร. | ||
๓. สติ ความระลึกได้. | ||
๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น. | ||
๕. ปัญญา ความรอบรู้. | ||
อินทรีย์ ๕ ก็เรียก เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน. | ||
องฺ. ปฺจก. ๒๒/๑๑. | ||
นิวรณ์ ๕ | ||
ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกนิวรณ์ มี ๕ อย่าง | ||
๑. พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น เรียกกามฉันท์. | ||
๒. ปองร้ายผู้อื่น เรียกพยาบาท. | ||
๓. ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม เรียกถีนมิทธะ. | ||
๔. ฟุ้งซ่านและรำคาญ เรียกอุทธัจจกุกกุจจะ. | ||
๕. ลังเลไม่ตกลงได้ เรียกวิจิกิจฉา. | ||
องฺ. ปฺจก. ๒๒/๗๒. | ||
ขันธ์ ๕ | ||
กายกับใจนี้ แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกว่าขันธ์ ๕ | ||
๑. รูป ๒. เวทนา ๓. สัญญา ๔. สังขาร ๕. วิญญาณ. | ||
ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันเป็นกายนี้ เรียกว่ารูป. | ||
ความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุข คือ สบายกายสบายใจ หรือเป็นทุกข์ คือไม่สบายกายไม่สบายใจ | ||
หรือเฉย ๆ คือไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่าเวทนา. | ||
ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่เกิดกับใจได้ เรียกว่าสัญญา. | ||
เจตสิกธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ (๑) เป็นส่วนดี เรียกกุศล เป็นส่วนชั่ว เรียกอกุศล เป็นส่วนกลาง ๆ | ||
ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกอัพยากฤต เรียกว่าสังขาร. | ||
ความรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น เรียกว่าวิญญาณ. | ||
ขันธ์ ๕ นี้ ย่นเรียกว่า นาม รูป. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมเข้าเป็นนาม รูปคงเป็นรูป. | ||
อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๑. | ||
๑. ความคิด หรือเรื่องราวที่เรียกว่าธรรมะหรือธรรมารมณ์ เรียกว่า สังขาร. | ||
ฉักกะ คือ หมวด ๖ | ||
คารวะ ๖ อย่าง | ||
ความเอื้อเฟื้อ ในพระพุทธเจ้า ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในความศึกษา ๑ ในความไม่ประมาท ๑ | ||
ในปฏิสันถารคือต้อนรับปราศรัย ๑. ภิกษุควรทำคารวะ ๖ ประการนี้. | ||
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๖๙. | ||
สาราณิยธรรม ๖ อย่าง | ||
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เรียกสาราณิยธรรม มี ๖ อย่าง คือ :- | ||
๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วย | ||
ขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยกาย มีพยาบาลภิกษุไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา. | ||
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วย | ||
ขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยวาจา เช่นกล่าวสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา. | ||
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง | ||
คือ คิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน. | ||
๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรม ให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว. | ||
๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น. | ||
๖. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่วิวาทกับใคร ๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน. | ||
ธรรม ๖ อย่างนี้ ทำผู้ประพฤติให้เป็นที่รักที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน | ||
เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. | ||
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๒. | ||
อายตนะภายใน ๖ | ||
ตา | ||
หู | ||
จมูก | ||
ลิ้น | ||
กาย | ||
ใจ. | ||
อินทรีย์ ๖ ก็เรียก. | ||
ม. ม. ๑๒/๙๖. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๘๕. | ||
อายตนะภายนอก ๖ | ||
รูป | ||
เสียง | ||
กลิ่น | ||
รส | ||
โผฏฐัพพะ คืออารมณ์ที่มาถูกต้องกาย | ||
ธรรม คืออารมณ์เกิดกับใจ. | ||
อารมณ์ ๖ ก็เรียก. | ||
ม. อุป. ๑๔/๔๐๑. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๘๕. | ||
วิญญาณ ๖ | ||
อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น เรียกจักขุวิญญาณ | ||
อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียกโสตวิญญาณ | ||
อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียกฆานวิญญาณ | ||
อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกชิวหาวิญญาณ | ||
อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียกกายวิญญาณ | ||
อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียกมโนวิญญาณ. | ||
ที. มหา. ๑๐/๓๔๔. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๘๕. | ||
สัมผัส ๖ | ||
อายตนะภายในมีตาเป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น วิญญาณ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น กระทบกัน | ||
เรียกสัมผัส มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น ๖ คือ :- | ||
จักขุสัมผัส. | ||
โสตสัมผัส. | ||
ฆานสัมผัส. | ||
ชิวหาสัมผัส. | ||
กายสัมผัส. | ||
มโนสัมผัส. | ||
ที. มหา. ๑๐/๓๔๔. สํ. นิ. ๑๖/๔. | ||
เวทนา ๖ | ||
สัมผัสนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ ไม่สุขบ้าง มีชื่อตามอายตนะ | ||
ภายในเป็น ๖ คือ :- | ||
จักขุสัมผัสสชาเวทนา | ||
โสตสัมผัสสชาเวทนา | ||
ฆานสัมผัสสชาเวทนา | ||
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา | ||
กายสัมผัสสชาเวทนา | ||
มโนสัมผัสสชาเวทนา | ||
ที. มหา. ๑๐/๓๔๔. สํ. นิ. ๑๖/๔. | ||
ธาตุ ๖ | ||
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน. | ||
๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ. | ||
๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ. | ||
๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม. | ||
๕. อากาสธาตุ คือ ช่องว่างมีในกาย. | ||
๖. วิญญาณธาตุ คือ ความรู้อะไรได้. | ||
ม. อุป. ๑๔/๑๒๕. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๑๐๑. | ||
สัตตกะ คือ หมวด ๗ | ||
อปริหานิยธรรม ๗ อย่าง | ||
ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ชื่อ อปริหานิยธรรม มี ๗ อย่าง คือ :- | ||
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์. | ||
๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุม ก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกัน | ||
ช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ. | ||
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สาทานศึกษา | ||
อยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้. | ||
๔. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน. | ||
๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น. | ||
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า. | ||
๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีลซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข. | ||
ธรรม ๗ อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว. | ||
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๒๑. | ||
อริยทรัพย์ ๗ | ||
ทรัพย์ คือ คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียก อริยทรัพย์ มี ๗ อย่าง คือ :- | ||
๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ. | ||
๒. สีล รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย. | ||
๓. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต. | ||
๔. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป. | ||
๕. พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมามาก คือจำทรงธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก. | ||
๖. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน. | ||
๗. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์. | ||
อริยทรัพย์ ๗ ประการนี้ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก มีเงินทองเป็นต้น ควรแสวงหาไว้มีในสันดาน. | ||
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๕. | ||
สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง | ||
ธรรมของสัตบุรุษ เรียกว่า สัปปุริสธรรม มี ๗ อย่าง คือ :- | ||
๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์. | ||
๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้. | ||
๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตนว่า เราว่าโดยชาติ ตระกูล ยศ ศักดิ์ สมบัติ บริวาร ความรู้ | ||
และคุณธรรมเพียงเท่านี้ ๆ แล้วประพฤติ ตนให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่อย่างไร. | ||
๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ | ||
และรู้จักประมาณในการบริโภคแต่พอควร. | ||
๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในอันประกอบกิจนั้น ๆ. | ||
๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ ว่า | ||
หมู่นี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น. | ||
๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลว่า ผู้นี้เป็นคนดีควรคบ ผู้นี้เป็นคนไม่ดี ไม่ควรคบ | ||
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๑๓. | ||
สัปปุริสธรรมอีก ๗ อย่าง | ||
๑. สัตบุรุษประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือ มีศรัทธา มีความละอายต่อบาป มีความกลัวต่อบาป | ||
เป็นคนได้ยินได้ฟังมาก เป็นคนมีความเพียร เป็นคนมีสติมั่นคง เป็นคนมีปัญญา. | ||
๒. จะปรึกษาสิ่งใดกับใคร ๆ ก็ไม่ปรึกษาเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น. | ||
๓. จะคิดสิ่งใดก็ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น. | ||
๔. จะพูดสิ่งใดก็ไม่พูดเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น. | ||
๕. จะทำสิ่งใดก็ไม่ทำเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น. | ||
๖. มีความเห็นชอบ มีเห็นว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วเป็นต้น. | ||
๗. ให้ทานโดยเคารพ คือเอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวให้ และผู้รับทานนั้น ไม่ทำอาการดุจทิ้งเสีย. | ||
นัย. ม. อุป. ๑๔/๑๑๒. | ||
โพชฌงค์ ๗ | ||
๑. สติ ความระลึกได้. | ||
๒. ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม. | ||
๓. วิริยะ ความเพียร. | ||
๔. ปีติ ความอิ่มใจ. | ||
๕. ปัสสัทธิ ความสงบใจและอารมณ์. | ||
๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น. | ||
๗. อุเปกขา ความวางเฉย. | ||
เรียกตามประเภทว่า สติสัมโพชฌงค์ไปโดยลำดับจนถึงอุเปกขาสัมโพชฌงค์. | ||
สํ. มหา. ๑๙/๙๓. | ||
อัฏฐกะ คือ หมวด ๘ | ||
โลกธรรม ๘ | ||
ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น เรียกว่าโลกธรรม. โลกธรรมนั้น | ||
๘ อย่าง คือ มีลาภ ๑ ไม่มีลาภ ๑ มียศ ๑ ไม่มียศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑. | ||
ในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา | ||
ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มัน | ||
ครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา. | ||
องฺ. สฏฺก. ๒๓/๑๕๘. | ||
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ | ||
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความสะสมกองกิเลส ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ คือมีนี่แล้วอยากได้นั่น ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ. ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ๑. | ||
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา. | ||
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์ ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่ ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความเพียร ๑. | ||
เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ๑. | ||
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของ พระศาสดา. | ||
องฺ. อฏฺก. ๒๓/๒๘๘. | ||
มรรคมีองค์ ๘ | ||
๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔. | ||
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริจะออกจากกาม ๑ ดำริในอันไม่พยาบาท ๑ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ๑. | ||
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔. | ||
๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต ๓. | ||
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากความเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด. | ||
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน. | ||
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔. | ||
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔. | ||
ในองค์มรรคทั้ง ๘ นั้น เห็นชอบ ดำริชอบ สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา. วาจาชอบ การงานชอบ | ||
เลี้ยงชีวิตชอบ สงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา. เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา. | ||
ม. มู. ๑๒/๒๖. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๓๑๗. | ||
นวกะ คือ หมวด ๙ | ||
มละ คือ มลทิน ๙ อย่าง | ||
โกรธ ๑ | ||
ลบหลู่บุญคุณท่าน ๑ | ||
ริษยา ๑ | ||
ตระหนี่ ๑ | ||
มายา ๑ | ||
มักอวด ๑ | ||
พูดปด ๑ | ||
มีความปรารถนาลามก ๑ | ||
เห็นผิด ๑. | ||
อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๕๒๖. | ||
ทสกะ คือ หมวด ๑๐ | ||
อกุศลกรรมบถ ๑๐ | ||
จัดเป็นกายกรรม คือทำด้วยกาย ๓ อย่าง | ||
๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือฆ่าสัตว์. | ||
๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย. | ||
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม. | ||
จัดเป็นวจีกรรม คือทำด้วยวาจา ๔ อย่าง | ||
๔. มุสาวาท พูดเท็จ. | ||
๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด. | ||
๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ. | ||
๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ. | ||
จัดเป็นมโนกรรม คือทำด้วยใจ ๓ อย่าง | ||
๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา. | ||
๙. พยาบาท ปองร้ายเขา. | ||
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม. | ||
กรรม ๑๐ อย่างนี้ เป็นทางบาป ไม่ควรดำเนิน. | ||
ที.มหา. ๑๐/๓๕๖. ที.ปาฏิ. ๑๑/๒๘๔. ม.มู. ๑๒/๕๒๑. | ||
กุศลกรรมบถ ๑๐ | ||
จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง | ||
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง. | ||
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย. | ||
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม. | ||
จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง | ||
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ. | ||
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด. | ||
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ. | ||
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ. | ||
จัดเป็นมโนกรรม ๓ อย่าง | ||
๘. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา. | ||
๙. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา. | ||
๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม. | ||
กรรม ๑๐ อย่างนี้เป็นทางบุญ ควรดำเนิน. | ||
ที. มหา. ๑๐/๓๕๙. ที ปาฏิ. ๑๑/๒๘๔. ม. มู. ๑๒/๕๒๓. | ||
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง | ||
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน. | ||
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล. | ||
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา. | ||
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่. | ||
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ. | ||
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ. | ||
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ. | ||
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม. | ||
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม. | ||
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง. | ||
สุ.วิ. ๓/๒๕๖. อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิ. ๒๙. ตฏฺฏีกา. ๑๗๑. | ||
ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ๑๐ อย่าง | ||
๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ | ||
เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ. | ||
๒. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย. | ||
๓. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ | ||
ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้. | ||
๔. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่. | ||
๕. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่. | ||
๖. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น. | ||
๗. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัวเราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว. | ||
๘. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่. | ||
๙. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรายินดีในที่สงัดหรือไม่. | ||
๑๐. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน | ||
ในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง. | ||
องฺ. ทสก. ๒๔/๙๑. | ||
นาถกรณธรรม คือ ธรรมทำที่พึ่ง ๑๐ อย่าง | ||
๑. ศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย. | ||
๒. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้สดับรับฟังมาก. | ||
๓. กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม. | ||
๔. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย. | ||
๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุสามเณร | ||
๖. ธัมมกามตา ความใคร่ในธรรมที่ชอบ. | ||
๗. วิริยะ เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี. | ||
๘. สันโดษ ยินดีด้วยผ้านุ่ง ผ้าห่ม อาหาร ที่นอน ที่นั่ง และยา ตามมีตามได้. | ||
๙. สติ จำการที่ได้ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้. | ||
๑๐. ปัญญา รอบรู้ในกองสังขารตามเป็นจริงอย่างไร. | ||
องฺ. ทสก. ๒๔/ ๒๗. | ||
กถาวัตถุ คือ ถ้อยคำที่ควรพูด ๑๐ อย่าง | ||
๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย. | ||
๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้. | ||
๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ. | ||
๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่. | ||
๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร. | ||
๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล. | ||
๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ. | ||
๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา. | ||
๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส. | ||
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส. | ||
องฺ. ทสก. ๒๔/๑๓๘. | ||
อนุสสติ คือ อารมณ์ควรระลึก ๑๐ ประการ | ||
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า. | ||
๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม. | ||
๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์. | ||
๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตน. | ||
๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว. | ||
๖. เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา. | ||
๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน. | ||
๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่า ไม่งาม น่าเกลียดโสโครก. | ||
๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก. | ||
๑๐. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์. | ||
วิ. ฉอนุสฺสติ. ปม. ๒๕๐. | ||
ปกิณณกะ คือ หมวดเบ็ดเตล็ด | ||
อุปกิเลส คือ โทษเครื่องเศร้าหมอง ๑๖ อย่าง (๑) | ||
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง. | ||
๒. โทสะ. ร้ายกาจ. | ||
๓. โกธะ โกรธ. | ||
๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้. | ||
๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน. | ||
๖. ปลาสะ ตีเสมอ คือยกตัวเทียมท่าน. | ||
๗. อิสสา ริษยา คือเห็นเขาได้ดี ทนอยู่ไม่ได้. | ||
๘. มัจฉริยะ ตระหนี่. | ||
๙. มายา มารยา คือเจ้าเล่ห์. | ||
๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด. | ||
๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ. | ||
๑๒. สารัมภะ แข่งดี. | ||
๑๓. มานะ ถือตัว. | ||
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน. | ||
๑๕. มทะ มัวเมา. | ||
๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ. | ||
ม. มู. ๑๒/๒๖-๒๗,๖๕. | ||
๑. ในธัมมทายาทสูตร ( ม. มู. ๑๒/๒๖-๒๗ ) ข้อ ๑ ว่า โลภะ ข้อ ๑ ว่า โทสะ ในวัตถุปมสูตร | ||
( ม. มู. ๑๒/๖๕ ) ข้อ ๑ ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ข้อ ๒ ว่า พยาปาทะ. นอกนั้นเหมือนกัน. | ||
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ | ||
สติปัฏฐาน ๔ | ||
สัมมัปปธาน ๔ (ปธาน ๔). | ||
อิทธิบาท ๔ | ||
อินทรีย์ ๕ | ||
พละ ๕ | ||
โพชฌงค์ ๗ | ||
มรรคมีองค์ ๘ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น