|
วินัยบัญญัติ |
|
|
อนุศาสน์ ๘ อย่าง |
|
|
นิสสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ |
|
|
ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต
เรียกนิสสัย มี ๔ อย่าง |
|
|
คือ เที่ยวบิณฑบาต ๑
นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๑ อยู่โคนไม้ ๑ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑. |
|
|
กิจที่ไม่ควรทำ
เรียกอกรณียกิจ มี ๔ อย่าง |
|
|
คือ เสพเมถุน ๑
ลักของเขา ๑ ฆ่าสัตว์ ๑ พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ๑ กิจ ๔ อย่างนี้
บรรพชิตทำไม่ได้. |
|
|
สิกขาของภิกษุมี ๓
อย่างคือ |
|
|
ศีล สมาธิ ปัญญา |
|
|
ความสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย
ชื่อว่า ศีล |
|
|
ความรักษาใจมั่น
ชื่อว่าสมาธิ |
|
|
ความรอบรู้ในกองสังขาร
ชื่อว่าปัญญา. |
|
|
โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม |
|
|
เรียกว่า อาบัติ |
|
|
อาบัตินั้นว่าโดยชื่อ
มี ๗ อย่าง คือ |
|
|
ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส
๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฎ ๑ ทุพภาสิต ๑. |
|
|
ปาราชิกนั้น
ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากภิกษุ |
|
|
สังฆาทิเสสนั้นต้องเข้าแล้ว
ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ |
|
|
อาบัติอีก ๕ อย่างนั้น
ภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึงพ้นได้ |
|
|
อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติเหล่านี้
๖ อย่าง คือ |
|
|
ต้องด้วยไม่ละอาย
๑ |
|
|
ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ
๑ |
|
|
ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง
๑ |
|
|
ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร
๑ |
|
|
ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร
๑ |
|
|
ต้องด้วยลืมสติ ๑ |
|
|
ข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม
ซึ่งยกขึ้นเป็นสิกขาบท |
|
|
ที่มาในพระปาติโมกข์
๑ |
|
|
ไม่ได้มาในพระปาติโมกข์
๑ |
|
|
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้น
คือ |
|
|
ปาราชิก ๔ |
|
|
สังฆาทิเสส ๑๓ |
|
|
อนิยต ๒ |
|
|
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
๓๐ |
|
|
ปาจิตตีย์ ๙๒ |
|
|
ปาฏิเทสนียะ ๔ |
|
|
เสขิยะ ๗๕ |
|
|
รวมเป็น ๒๒๐ |
|
|
นับทั้งอธิกรณสมถะด้วยเป็น
๒๒๗. |
|
|
ปาราชิก ๔ |
|
|
๑. ภิกษุเสพเมถุน
ต้องปาราชิก |
|
|
๒.
ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก ต้องปาราชิก. |
|
|
๓.
ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องปาราชิก. |
|
|
๔.
ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม (คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์) ที่ไม่มีในตน ต้องปาราชิก. |
|
|
สังฆาทิเสส ๑๓ |
|
|
๑.ภ
ิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส. |
|
|
๒.
ภิกษุมีความกำหนดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส. |
|
|
๓.
ภิกษุมีความกำหนดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง ต้องสังฆาทิเสส |
|
|
๔.
ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส. |
|
|
๕.
ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส. |
|
|
๖.
ภิกษุสร้างกุฎีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ
จำเพาะเป็นที่อยู่ |
|
|
ของตน
ต้องทำให้ได้ประมาณ โดยยาวเพียง ๑๒ คืบพระสุคต โดยกว้างเพียง ๗ คืบ วัดใน |
|
|
ร่วมใน
และต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี |
|
|
ต้องสังฆาทิเสส |
|
|
๗.
ถ้าที่อยู่ซึ่งจะสร้างขึ้นนั้น มีทายกเป็นเจ้าของ ทำให้เกินประมาณนั้นได้
แต่ต้องให้ |
|
|
สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน
ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ต้องสังฆาทิเสส |
|
|
๘. ภิกษุโกรธเคือง
แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล |
|
|
๙. ภิกษุโกรธเคือง
แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส. |
|
|
๑๐.
ภิกษุพากเพียรเพื่อจะทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อ |
|
|
จะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น
ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส |
|
|
๑๑.
ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง
สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ |
|
|
ละข้อที่ประพฤตินั้น
ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส. |
|
|
๑๒. ภิกษุว่ายากสอนยาก
ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น |
|
|
ถ้าไม่ละ
ต้องสังฆาทิเสส. |
|
|
๑๓.
ภิกษุประทุษร้ายตระกูล คือประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับว่าติเตียนสงฆ์
ภิกษุ |
|
|
อื่นห้ามไม่ฟัง
สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส. |
|
|
อนิยต ๒ |
|
|
๑.
ภิกษุนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อได้มาพูดขึ้นด้วยธรรม ๓
อย่าง |
|
|
คือ ปาราชิก
หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใด
ให้ปรับอย่างนั้น |
|
|
หรือเขาว่าจำเพาะธรรมอย่างใด
ให้ปรับอย่างนั้น. |
|
|
๒.
ภิกษุนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อได้มาพูดขึ้นด้วยธรรม ๒
อย่าง คือ |
|
|
สังฆาทิเสส
หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น หรือเขาว่า |
|
|
จำเพาะธรรมอย่างใด
ให้ปรับอย่างนั้น. |
|
|
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
๓๐ |
|
|
แบ่งเป็น ๓ วรรค
มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท |
|
|
จีวรวรรค ที่ ๑ |
|
|
|
|
|
๑.
ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้เพียร ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าล่วง ๑๐ วันไป
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๒.
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ. |
|
|
๓.
ถ้าผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ๆ ประสงค์จะทำจีวร แต่ยังไม่พอ
ถ้ามีที่หวังว่าจะได้มาอีก พึงเก็บ |
|
|
ผ้านั้นไว้ได้เพียงเดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าเก็บไว้ให้เกินเดือนหนึ่งไป แม้ถึงยังมีที่หวังว่า |
|
|
จะได้อยู่
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๔.
ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี
ซึ่งจีวรเก่า ต้องนิสสัคคิย |
|
|
ปาจิตตีย์. |
|
|
๕.
ภิกษุรับจีวรแต่มือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๖.
ภิกษุของจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่มี |
|
|
สมัยที่จะขอจีวรได้
คือ เวลาภิกษุมีจีวรอันโจรลักไป หรือมีจีวรอันฉิบหายเสีย. |
|
|
๗.ในสมัยเช่นนั้น
จะขอเขาได้ก็เพียงผ้านุ่งผ้าห่มเท่านั้น ถ้าขอให้เกินกว่านั้น ได้มา ต้อง |
|
|
นิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๘.
ถ้าคฤหัสถ์ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา เขาพูดว่า เขาจะถวายจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้
ภิกษุนั้นทราบ |
|
|
ความแล้ว
เข้าไปพูดให้เขาถวายจีวร |
|
|
๙.
ถ้าคฤหัสถ์ผู้จะถวายจีวรแก่ภิกษุมีหลายคน แต่เขาไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา
ภิกษุไปพูดให้ |
|
|
เขารวมทุนเข้าเป็นอันเดียวกัน
ให้ซื้อจีวรที่แพงว่าดีกว่าที่กำหนดไว้เดิม ได้มา ต้องนิสสัคคิย |
|
|
ปาจิตตีย์. |
|
|
๑๐. ถ้าใคร ๆ
นำทรัพย์มาเพื่อค่าจีวรแล้วถามภิกษุว่า ใครเป็นไวยาวัจกรของเธอ ถ้าภิกษุต้อง |
|
|
การจีวร
ก็พึงแสดงคนวัดหรือ อุบาสกว่า ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ครั้นเขามอบ |
|
|
หมายไวยาวัจกรนั้นแล้ว
สั่งภิกษุว่า ถ้าต้องการจีวร ให้เข้าไปหาไวยาวัจกร ภิกษุนั้นพึงเข้าไป |
|
|
หาเขาแล้วทวงว่า
เราต้องการจีวร ดังนี้ ได้ ๓ ครั้ง ถ้าไม่ได้จีวร ไปยืนแต่พอเขาเห็นได้ ๖ ครั้ง |
|
|
ถ้าไม่ได้ขืนไปทวงให้เกิน
๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. ถ้าไปทวงและ |
|
|
ยืนครบกำหนดแล้วไม่ได้จีวร
จำเป็นต้องไปบอกเจ้าของเดิมว่า ของนั้นไม่สำเร็จประโยชน์ |
|
|
แก่ตน
ให้เขาเรียกเอาของเขาคืนมาเสีย. |
|
|
|
|
|
โกสิยวรรคที่ ๒ |
|
|
๑.ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมเจือด้วยไหม
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๒.ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๓.ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่
พึงใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน ขนเจียมขาวส่วนหนึ่ง ขนเจียมแดงส่วน |
|
|
หนึ่ง
ถ้าใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนขึ้นไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๔.ภิกษุหล่อสันถัตใหม่แล้ว
พึงใช้ให้ได้ ๖ ปี ถ้ายังไม่ถึง ๖ ปี หล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ |
|
|
. เว้นไว้แต่ได้สมมติ. |
|
|
๕.ภิกษุจะหล่อสันถัต
พึงตัดเอาสันถัตเก่าคืบหนึ่งโดยรอบมา ปนลงในสันถัตที่หล่อใหม่ เพื่อ |
|
|
จะทำลายให้เสียสี
ถ้าไม่ทำดังนี้ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๖.เมื่อภิกษุเดินทางไกล
ถ้ามีใครถวายขนเจียม ต้องการก็รับได้ ถ้าไม่มีใครนำมา นำมาเองได้ |
|
|
เพียง ๓ โยชน์
ถ้าให้เกิน ๓ โยชน์ไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๗.ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ
ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม ต้องนิสสัคคิย |
|
|
ปาจิตตีย์. |
|
|
๘.ภิกษุรับเองก็ดี
ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดี ทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน |
|
|
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๙.ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ
คือของที่เขาใช้เป็นทองและเงิน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๑๐.ภิกษุแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคฤหัสถ์
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปัตตวรรคที่ ๓ |
|
|
๑.บาตรนอกจากบาตรอธิษฐานเรียกอติเรกบาตร
อติเรกบาตรนั้น ภิกษุเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน |
|
|
เป็นอย่างยิ่ง
ถ้าให้ล่วง ๑๐ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๒.ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่ถึง
๑๐ นิ้ว ขอบาตรใหม่แต่คฤหัสถ์ ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ได้ |
|
|
มา
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๓.ภิกษุรับประเคนเภสัชทั้ง
๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง |
|
|
๗ วันเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าให้ล่วง ๗ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๔.เมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่อีกเดือนหนึ่ง
คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๗ จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน |
|
|
ได้
เมื่อฤดูร้อนเหลืออยู่อีกกึ่งเดือน คือตั้งแต่ขึ้นค่ำหนึ่งเดือน ๘ จึงทำนุ่งได้
ถ้าแสวงหาหรือ |
|
|
ทำนุ่งให้ล้ำกว่ากำหนดนั้นเข้ามา
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๕.ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว
โกรธ ชิงเอาคืนมาเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นชิงเอามาก็ดี ต้องนิสสัคคิย |
|
|
ปาจิตตีย์. |
|
|
๖.ภิกษุขอด้ายแต่คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา
เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคิย |
|
|
ปาจิตตีย์. |
|
|
๗.ถ้าคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา
สั่งให้ช่างหูกทอจีวร เพื่อจะถวายแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุไป |
|
|
กำหนดให้เขาทำให้ดีขึ้นด้วยจะให้รางวัลแก่เขา
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. |
|
|
๘.ถ้าอีก ๑๐
วันจะถึงวันปวารณา คือตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ถ้าทายกรีบจะถวายผ้าจำนำ |
|
|
พรรษา ก็รับเก็บไว้ได้
แต่ถ้าเก็บไว้เกินกาลจีวรไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. กาลจีวรนั้นดังนี้ |
|
|
ถ้าจำพรรษาแล้วไม่ได้กรานกฐิน
นับแต่วันปวารณาไปเดือนหนึ่ง คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน |
|
|
๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒
ถ้าได้กรานกฐินนับแต่วันปวารณาไป ๕ เดือน คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง |
|
|
เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน
๔. |
|
|
๙.ภิกษุจำพรรษาในเสนาสนะป่าซึ่งเป็นที่เปลี่ยว
ออกพรรษา แล้ว อยากจะเก็บไตรจีวรผืน |
|
|
ใดผืนหนึ่งไว้ในบ้าน
เมื่อมีเหตุก็เก็บไว้ได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้ให้เกิน ๖ คืน |
|
|
ไป
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ได้สมมติ. |
|
|
๑๐.ภิกษุรู้อยู่
น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ |
|
|
|
|
|
ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท |
|
|
มุสาวาทวรรคที่ ๑ มี
๑๐ สิกขาบท |
|
|
๑.พูดปด
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๒.ด่าภิกษุ
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๓.ส่อเสียดภิกษุ
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๔.ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน
ถ้าว่าพร้อมกัน ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๕.ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกันกับอนุปสัมบัน
เกิน ๓ คืน ขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๖.ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับผู้หญิง
แม้ในคืนแรก ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๗.ภิกษุแสดงธรรมแก่ผู้หญิง
เกินกว่า ๖ คำขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์. [๑] |
|
|
๘.ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
แก่อนุปสัมบัน ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๙.ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน
ต้องปาจิตตีย์. [๒] |
|
|
๑๐.ภิกษุขุดเองก็ดี
ใช้ให้ผู้อื่นขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดิน ต้องปาจิตตีย์ |
|
|
|
|
|
*****๑.
เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย |
|
|
๒.เว้นไว้แต่ได้สมมติ |
|
|
|
|
|
ภูตคามวรรคที่ ๒ มี ๑๐
สิกขาบท |
|
|
๑.ภิกษุพรากของเขียวเกิดอยู่กับที่
ให้หลุดจากที่ ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๒.ภิกษุประพฤติอนาจาร
สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งพูดกลบเกลื่อนก็ดี นิ่งเสียไม่พูดก็ดี |
|
|
ถ้าสงฆ์สวดประกาศข้อความนั้นจบ
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๓.ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทำการสงฆ์
ถ้าเธอทำโดยชอบ ติเตียนเปล่า ๆ |
|
|
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๔.ภิกษุเอาเตียง ตั่ง
ฟูก เก้าอี้ ของสงฆ์ไปตั้งในที่แจ้งแล้ว เมื่อหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บ |
|
|
เองก็ดี
ไม่ใช่ให้ผู้อื่นเก็บก็ดี ไม่มอบหมายแก่ผู้อื่นก็ดี ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๕.ภิกษุเอาที่นอนของสงฆ์ปูนอนกุฎีสงฆ์แล้ว
เมื่อหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช่ |
|
|
ให้ผู้อื่นเก็บก็ดี
ไม่มอบหมายแก่ผู้อื่นก็ดี ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๖.ภิกษุรู้อยู่ว่า
กุฎีนี้มีผู้อยู่ก่อน แกล้งไปนอนเบียด ด้วยหวังจะให้ผู้อยู่ก่อนคบแคบใจเข้า |
|
|
ก็จะหลีกไปเอง
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๗.ภิกษุโกรธเคืองภิกษุอื่น
ฉุดคร่าไล่ออกจากกุฎีสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๘.ภิกษุนั่งทับก็ดี
นอนทับก็ดี บนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี อันมีเท้าไม่ได้ตรึงให้แน่น ซึ่งเขาวางไว้ |
|
|
บนร่างร้านที่เขาเก็บของในกุฎี
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๙.ภิกษุจะเอาดินหรือปูนโบกหลังคากุฎี
พึงโบกได้แต่เพียง ๓ ชั้น ถ้าโบกเกินกว่านั้น ต้องปา |
|
|
จิตตีย์. |
|
|
๑๐.ภิกษุรู้อยู่ว่า
น้ำมีตัวสัตว์ เอารดหญ้าหรือดิน ต้องปาจิตตีย์ |
|
|
|
|
|
โอวาทวรรคที่ ๓ มี ๑๐
สิกขาบท |
|
|
๑.ภิกษุที่สงฆ์ไม่ได้สมมติ
สั่งสอนนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๒.แม้ภิกษุที่สงฆ์สมมติแล้ว
ตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้วไป สอนนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๓.ภิกษุข้าไปสอนนางภิกษุณีถึงในที่อยู่
ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่นางภิกษุณีเจ็บ. |
|
|
๔.ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นว่า
สอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๕.ภิกษุให้จีวรแก่นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ
ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน. |
|
|
๖.ภิกษุเย็บจีวรของนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติก็ดี
ใช้ให้ผู้อื่นเย็บก็ดี ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๗.ภิกษุชวนนางภิกษุณีเดินทางด้วยกัน
แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ทางเปลี่ยว. |
|
|
๘.ภิกษุชวนนางภิกษุณีลงเรือลำเดียวกัน
ขึ้นน้ำก็ดี ล่องน้ำก็ดี ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ข้ามฟาก. |
|
|
๙.ภิกษุรู้อยู่ฉันของเคี้ยวของฉัน
ที่นางภิกษุณีบังคับให้คฤหัสถ์เขาถวาย ต้องปาจิตตีย์. เว้น |
|
|
ไว้แต่คฤหัสถ์เขาเริ่มไว้ก่อน. |
|
|
๑๐.ภิกษุนั่งก็ดี
นอนก็ดี ในที่ลับสองต่อสอง กับนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
โภชนวรรคที่ ๔ มี ๑๐
สิกขาบท |
|
|
๑.อาหารในโรงทานที่ทั่วไปไม่นิยมบุคคล
ภิกษุไม่เจ็บไข้ ฉันได้แต่เฉเพาะวันเดียวแล้ว ต้อง |
|
|
หยุดเสียในระหว่าง
ต่อไปจึงฉันได้อีก ถ้าฉันติด ๆ กันตั้งแต่สองวันขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๒.ถ้าทายกเขามานิมนต์
ออกชื่อโภชนะทั้ง ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ |
|
|
อย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าไปรับของนั้นมาหรือฉันของนั้นพร้อมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ต้อง |
|
|
ปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่สมัย คือ เป็นไข้อย่าง ๑ หน้าจีวรกาลอย่าง ๑ เวลาทำจีวรอย่าง ๑
เดินทาง |
|
|
ไกลอย่าง ๑
ไปทางเรืออย่าง ๑ อยู่มากด้วยกันบิณฑบาตไม่พอฉันอย่าง ๑ โภชนะเป็นของ |
|
|
สมณะอย่าง ๑. |
|
|
๓.ภิกษุรับนิมนต์แห่งหนึ่ง
ด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ไปฉันในที่นิมนต์ |
|
|
นั้น ไปฉันเสียที่อื่น
ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ยกส่วนที่รับนิมนต์ไว้ก่อนนั้นให้แก่ภิกษุอื่น |
|
|
เสีย
หรือหน้าจีวรกาลและเวลาทำจีวร. |
|
|
๕.ภิกษุฉันค้างอยู่
มีผู้เอาโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้า มาประเคน ห้ามเสียแล้ว ลุก |
|
|
จากที่นั่งนั้นแล้ว
ฉันของเคี้ยวของฉันซึ่งไม่เป็นเดนภิกษุไข้ หรือไม่ได้ทำวินัยกรรม ต้อง |
|
|
ปาจิตตีย์. |
|
|
๖.ภิกษุรู้อยู่ว่า
ภิกษุอื่นห้ามข้าวแล้ว [ตามสิกขาบทหลัง] คิดจะยกโทษเธอ แกล้งเอาของเคี้ยว |
|
|
ของฉันที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้
ไปล่อให้เธอฉัน ถ้าเธอฉันแล้ว ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๗.ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารในเวลาวิกาล
คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงวันใหม่ |
|
|
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๘.ภิกษุฉันของเคี้ยวของฉันที่เป็นอาหารซึ่งรับประเคนไว้ค้างคืน
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๙.ภิกษุขอโภชนะอันประณีต
คือ ข้าวสุก ระคนด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย |
|
|
ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม
ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ปวารณา เอามาฉัน ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๑๐.ภิกษุกลืนกินอาหารที่ไม่มีผู้ให้
คือยังไม่ได้รับประเคน ให้ล่วงทวารปากเข้าไป ต้อง |
|
|
ปาจิตตีย์.
เว้นไว้แต่น้ำและไม้สีฟัน. |
|
|
|
|
|
อเจลกวรรคที่ ๕ มี ๑๐
สิกขาบท |
|
|
๑.ภิกษุให้ของเคี้ยวของฉัน
แก่นักบวชนอกศาสนา ด้วยมือตน ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๒.ภิกษุชวนภิกษุอื่นไปเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน
หวังจะประพฤติอนาจาร ไล่เธอกลับมาเสีย |
|
|
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๓.ภิกษุสำเร็จการนั่งแทรกแซง
ในสกุลที่กำลังบริโภคอาหารอยู่ ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๔.ภิกษุนั่งอยู่ในห้องกับผู้หญิง
ไม่มีผู้ชายอยู่เป็นเพื่อน ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๕.ภิกษุนั่งในที่แจ้งกับผู้หญิงสองต่อสอง
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๖.ภิกษุรับนิมนต์ด้วยโภชนะทั้ง
๕ แล้ว จะไปในที่อื่นจากที่นิมนต์นั้น ในเวลาก่อน |
|
|
ฉันก็ดี
ฉันกลับมาแล้วก็ดี ต้องลาภิกษุที่มีอยู่ในวัดก่อนฉันก็ดี ถ้าไม่ลาก่อนเที่ยวไป |
|
|
ต้องปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่สมัย คือจีวรกาล และเวลาทำจีวร |
|
|
๗.ถ้าเขาปวารณาด้วยปัจจัยสี่เพียง
๔ เดือน พึงขอเขาได้เพียงกำหนดนั้นเท่านั้น |
|
|
ถ้าของให้เกินกว่ากำหนดนั้นไป
ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีก หรือปวารณา |
|
|
เป็นนิตย์. |
|
|
๘.ภิกษุไปดูกระบวนทัพที่เขายกไปเพื่อจะรบกัน
ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุ. |
|
|
๙.ถ้าเหตุที่ต้องไปมีอยู่
พึงไปอยู่ได้ในกองทัพเพียง ๓ วัน ถ้าอยู่ให้เกินกว่ากำหนดนั้น |
|
|
ต้องปาจิตตีย์ |
|
|
๑๐.ในเวลาที่อยู่ในกองทัพตามกำหนดนั้น
ถ้าไปดูเขารบกันก็ดีหรือดูเขาตรวจพลก็ดี |
|
|
ดูเขาจัดกระบวนทัพก็ดี
ดูหมู่เสนาที่จัดเป็นกระบวนแล้วก็ดี ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สุราปานวรรคที่ ๖ มี
๑๐ สิกขาบท |
|
|
๑.ภิกษุดื่มน้ำเมา
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๒.ภิกษุจี้ภิกษุ
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๓.ภิกษุว่ายน้ำเล่น
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๕.ภิกษุหลอนภิกษุให้กลัวผี
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๖.ภิกษุไม่เป็นไข้
ติดไฟให้เป็นเปลวเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นติดก็ดีเพื่อจะผิง ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
ติดเพื่อเหตุอื่น
ไม่เป็นอาบัติ. |
|
|
๗.ภิกษุอยู่ในมัชฌิมประเทศ
คือ จังหวัดกลางแห่งประเทศอินเดีย ๑๕ วัน จึงอาบน้ำ |
|
|
ได้หนหนึ่ง
ถ้ายังไม่ถึง ๑๕ วันอาบน้ำ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็น. ในปัจจันต |
|
|
ประเทศ
เช่นประเทศเราอาบน้ำได้เป็นนิตย์ ไม่เป็นอาบัติ. |
|
|
๘.ภิกษุได้จีวรใหม่มา
ต้องพินทุด้วยสี ๓ อย่าง คือ เขียวคราม โคลน ดำคล้ำ อย่างใด |
|
|
อย่างหนึ่งก่อน
จึงนุ่งห่มได้ ถ้าไม่ทำพินทุก่อนแล้วนุ่งห่ม ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๙.ภิกษุวิกัปจีวรแก่ภิกษุหรือสามเณรแล้ว
ผู้รับยังไม่ได้ถอนนุ่งห่มจีวรนั้น ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๑๐.ภิกษุซ่อนบริขาร
คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ประคดเอว สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ของ |
|
|
ภิกษุอื่น
ด้วยคิดว่าจะล้อเล่น ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
|
|
|
สัปปาณวรรคที่ ๗ มี ๑๐
สิกขาบท |
|
|
๑.ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๒.ภิกษุรู้อยู่ว่า
น้ำมีตัวสัตว์ บริโภคน้ำนั้น ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๓.ภิกษุรู้อยู่ว่า
อธิกรณ์นี้สงฆ์ทำแล้วโดยชอบ เลิกถอนเสียกลับทำใหม่ ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๔.ภิกษุรู้อยู่
แกล้งปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๕.ภิกษุรู้อยู่
เป็นอุปัชฌายะอุปสมบทกุลบุตรผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๖.ภิกษุรู้อยู่
ชวนพ่อค้าผู้ซ่อนภาษีเดินทางด้วยกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๗.ภิกษุชวนผู้หญิงเดินทางด้วยกัน
แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๘.ภิกษุกล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า
ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวด |
|
|
ประกาศข้อความนั้นจบ
ต้องปาจิตตีย์ |
|
|
๙.ภิกษุคบภิกษุเช่นนั้น
คือ ร่วมกินก็ดี ร่วมอุโบสถสังฆกรรมก็ดี ร่วมนอนก็ดี ต้อง |
|
|
ปาจิตตีย์. |
|
|
๑๐.ภิกษุเกลี้ยกล่อมสามเณรที่ภิกษุอื่นให้ฉิบหายแล้ว
เพราะโทษที่กล่าวคัดค้าน |
|
|
ธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า
ให้เป็นอุปัฏฐากก็ดี ร่วมกินก็ดี ร่วมนอนก็ดี ต้องปาจิตตีย์ |
|
|
|
|
|
สหธรรมิกวรรคที่ ๘ มี
๑๒ สิกขาบท |
|
|
๑.ภิกษุประพฤติอนาจาร
ภิกษุอื่นตักเตือน พูดผัดเพี้ยนว่า ยังไม่ได้ถามท่านผู้รู้ก่อน |
|
|
ข้าพเจ้าจักไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้
ต้องปาจิตตีย์.ธรรมดาภิกษุผู้ศึกษา ยังไม่รู้สิ่งใด |
|
|
ควรจะรู้สิ่งนั้น
ควรไต่ถามไล่เลียงท่านผู้รู้. |
|
|
๒.ภิกษุอื่นท่องปาติโมกข์อยู่
ภิกษุแกล้งพูดให้เธอคลายอุตสาหะ ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๓.ภิกษุต้องอาบัติแล้วแกล้งพูดว่า
ข้าพเจ้าพึ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่าข้อนี้มาในพระปาติ |
|
|
โมกข์
ถ้าภิกษุอื่นรู้อยู่ว่า เธอเคยรู้มาก่อนแล้วแต่แกล้งพูดกันเขาว่า พึงสวดประกาศ |
|
|
ความข้อนั้น
เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้ว แกล้งทำไม่รู้อีก ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๔.ภิกษุโกรธ
ให้ประหารแก่ภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๕.ภิกษุโกรธ
เงื้อมือดุจให้ประหารแก่ภิกษุอื่น ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๖.ภิกษุโจทก์ฟ้องภิกษุอื่น
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๗.ภิกษุแกล้งก่อความรำคาญให้เกิดแก่ภิกษุอื่น
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๘.เมื่อภิกษุวิวาทกันอยู่
ภิกษุไปแอบฟังความ เพื่อจะได้รู้ว่าเขาว่าอะไรตนหรือพวก |
|
|
ของตน ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๙.ภิกษุให้ฉันทะ
คือความยอมให้ทำสังฆกรรมที่เป็นธรรมแล้ว ภายหลังกลับติเตียน |
|
|
สงฆ์ผู้ทำกรรมนั้น
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๑๐.เมื่อสงฆ์กำลังประชุมกันตัดสินข้อความข้อหนึ่ง
ภิกษุรูปใดอยู่ในที่ประชุมนั้น |
|
|
จะหลีกไปในขณะที่ตัดสินข้อนั้นยังไม่เสร็จ
ไม่ให้ฉันทะก่อนลุกไปเสีย ต้อง |
|
|
ปาจิตตีย์. |
|
|
๑๑.ภิกษุพร้อมกับสงฆ์ให้จีวรเป็นบำเหน็จ
แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งแล้ว ภายหลัง |
|
|
กลับติเตียนภิกษุอื่นว่า
ให้เพราะเห็นแก่หน้ากัน ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๑๒.ภิกษุรู้อยู่
น้อมลาภที่ทายกเขาตั้งใจจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
|
|
|
รัตนวรรคที่ ๙ มี ๑๐
สิกขาบท |
|
|
๑.ภิกษุไม่ได้รับอนุญาตก่อน
เข้าไปในห้องที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จอยู่กับ |
|
|
พระมเหสี
ต้องปาจิตตีย์. |
|
|
๒.ภิกษุเห็นเครื่องบริโภคของคฤหัสถ์ตกอยู่
ถือเอาเป็นของเก็บได้เองก็ดี |
|
|
ให้ผู้อื่นถือเอาก็ดี
ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ของนั้นตกอยู่ในวัด หรือในที่อาศัย |
|
|
ต้องเก็บไว้ให้แก่เจ้าของ
ถ้าไม่เก็บ ต้องทุกกฎ. |
|
|
๓.ภิกษุไม่บอกลาภิกษุอื่นที่มีอยู่ในวัดก่อน
เข้าไปบ้านในเวลาวิกาล ต้อง |
|
|
ปาจิตตีย์.
เว้นไว้แต่การด่วน. |
|
|
๔.ภิกษุทำกล่องเข็ม
ด้วยกระดูกก็ดี ด้วยงาก็ดี ด้วยเขาก็ดี ต้องปาจิตตีย์. ต้อง |
|
|
ต่อยกล่องนั้นเสียก่อน
จึงแสดงอาบัติตก. |
|
|
๕.ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง
พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่ |
|
|
ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้
ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึง |
|
|
แสดงอาบัติตก. |
|
|
๖.ภิกษุทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น
ต้องปาจิตตีย์. ต้องรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก. |
|
|
๗.ภิกษุทำผ้าปูนั่ง
พึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้นยาว ๒ คืบ พระสุคต |
|
|
กว้างคืบครึ่ง
ชายคืบหนึ่ง ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ |
|
|
ประมาณเสียก่อน
จึงแสดงอาบัติตก. |
|
|
๘.ภิกษุทำผ้าปิดแผล
พึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้น ยาว ๔ คืบพระสุคต |
|
|
กว้าง ๒ คืบ
ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณเสีย |
|
|
ก่อน จึงแสดงอาบัติตก. |
|
|
๙.ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝน
พึงทำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้นยาว ๖ คืบพระสุคต |
|
|
กว้าง ๒ คืบครึ่ง
ถ้าทำให้เกินกำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณ |
|
|
เสียก่อน
จึงแสดงอาบัติตก. |
|
|
๑๐.ภิกษุทำจีวรให้เท่าจีวรพระสุคตก็ดี
เกินกว่านั้นก็ดี ต้องปาจิตตีย์. ประมาณ |
|
|
จีวรพระสุคตนั้น ยาว ๙
คืบพระสุคต กว้าง ๖ คืบ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสีย |
|
|
ก่อน จึงแสดงอาบัติตก. |
|
|
|
|
|
ปาฏิเทสนียะ ๔ |
|
|
๑.ภิกษุรับของเคี้ยวของฉันแต่มือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ
ด้วยมือของตนมาบริโภค ต้อง |
|
|
ปาฏิเทสนียะ. |
|
|
๒.ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์
ถ้ามีนางภิกษุณีมาสั่งทายกให้เอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ถวาย เธอพึงไล่ |
|
|
นางภิกษุณีนั้นให้ถ้อยไปเสีย
ถ้าไม่ไล่ ต้องปาฏิเทสนียะ. |
|
|
๓.ภิกษุไม่เป็นไข้
เขาไม่ได้นิมนต์ รับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็น |
|
|
เสขะ มาบริโภค
ต้องปาเทสนียะ. |
|
|
๔.ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าเป็นที่เปลี่ยว
ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวของฉัน ที่ทายกไม่ได้ |
|
|
แจ้งความให้ทราบก่อน
ด้วยมือของตนมาบริโภค ต้องปาฏิเทสนียะ. |
|
|
|
|
|
เสขิยวัตร |
|
|
วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาเรียกว่าเสขิยวัตร
เสขิยวัตรนั้น จัดเป็น ๔ หมวด หมวดที่ ๑ เรียก |
|
|
ว่าสารูป หมวดที่ ๒
เรียกว่าโภชนปฏิสังยุต หมวดที่ ๓ เรียกว่าธัมมเทสนาปฏิสังยุต หมวด |
|
|
ที่ ๔ เรียกว่า
ปกิณณกะ. |
|
|
|
|
|
สารูปที่ ๑ มี ๒๖ |
|
|
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักนุ่งห่มให้เรียบร้อย. ไปในบ้าน. |
|
|
๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักนุ่งห่มให้เรียบร้อย. ไปนั่งในบ้าน. |
|
|
๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักปิดกายด้วยดี ไปในบ้าน. |
|
|
๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักปิดกายด้วยดี ไปนั่งในบ้าน. |
|
|
๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักระวังมือเท้าด้วยดี ไปในบ้าน. |
|
|
๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักระวังมือเท้าด้วยดี ไปนั่งในบ้าน. |
|
|
๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักมีตาทอดลง ไปในบ้าน |
|
|
๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักมีตาทอดลง ไปนั่งในบ้าน |
|
|
๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เวิกผ้า ไปในบ้าน |
|
|
๑๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เวิกผ้า ไปนั่งในบ้าน |
|
|
๑๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่หัวเราะ ไปในบ้าน |
|
|
๑๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่หัวเราะ ไปนั่งในบ้าน |
|
|
๑๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน |
|
|
๑๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปนั่งในบ้าน |
|
|
๑๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่โคลงกาย ไปในบ้าน |
|
|
๑๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่โคลงกาย ไปนั่งในบ้าน |
|
|
๑๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่ไกวแขน ไปในบ้าน |
|
|
๑๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่ไกวแขน ไปนั่งในบ้าน |
|
|
๑๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่สั่นศีรษะ ไปในบ้าน |
|
|
๒๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่สั่นศีรษะ ไปนั่งในบ้าน |
|
|
๒๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน |
|
|
๒๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปนั่งในบ้าน |
|
|
๒๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน |
|
|
๒๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน |
|
|
๒๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้าไปในบ้าน |
|
|
๒๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โภชนปฏิสังยุตที่ ๒ มี
๓๐ |
|
|
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ. |
|
|
๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร. |
|
|
๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก |
|
|
๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจับรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร. |
|
|
๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ. |
|
|
๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร. |
|
|
๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง. |
|
|
๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก. |
|
|
๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป. |
|
|
๑๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากจะได้มาก. |
|
|
๑๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน. |
|
|
๑๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ. |
|
|
๑๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก. |
|
|
๑๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม. |
|
|
๑๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก เราจักไม่อ้าปากไว้ท่า. |
|
|
๑๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอานิ้วมือสอดเข้าปาก. |
|
|
๑๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อข้าวอยู่ในปาก เราจักไม่พูด. |
|
|
๑๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่โยนคำข้าเข้าปาก. |
|
|
๑๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว. |
|
|
๒๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย. |
|
|
๒๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง. |
|
|
๒๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตรหรือในที่นั้น ๆ. |
|
|
๒๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันแลบสิ้น |
|
|
๒๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ. |
|
|
๒๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ. |
|
|
๒๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันเลียมือ. |
|
|
๒๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันขอดบาตร. |
|
|
๒๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก. |
|
|
๒๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ. |
|
|
๓๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน. |
|
|
|
|
|
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตที่
๓ มี ๑๖ |
|
|
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีร่มในมือ. |
|
|
๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีไม่พลองในมือ. |
|
|
๓.ฯลฯ มีศัสตราในมือ. |
|
|
๔.ฯลฯ มีอาวุธในมือ. |
|
|
๕.ฯลฯ สวมเขียงเท้า. |
|
|
๖.ฯลฯ สวมรองเท้า. |
|
|
๗.ฯลฯ ไปในยาน. |
|
|
๘.ฯลฯ อยู่บนที่นอน. |
|
|
๙.ฯลฯ นั่งรัดเข่า. |
|
|
๑๐.ฯลฯ พันศีรษะ. |
|
|
๑๑.ฯลฯ คลุมศีรษะ |
|
|
๑๒.ฯลฯ
เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะ. |
|
|
๑๓.ฯลฯ
เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง. |
|
|
๑๔.ฯลฯ เรายืนอยู่
จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่. |
|
|
๑๕.ฯลฯ
เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า. |
|
|
๑๖.ฯลฯ
เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในทาง. |
|
|
|
|
|
ปกิณณกะที่ ๔ มี ๓ |
|
|
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะ. |
|
|
๒.ฯลฯ เราไม่เป็นไข้
จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะบ้วนเขฬะ ลงในของเขียว. |
|
|
๓.ฯลฯ เราไม่เป็นไข้
จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลงในน้ำ. |
|
|
|
|
|
อธิกรณ์ ๔ |
|
|
๑.ความเถียงกันว่า
สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย เรียกวิวาทาธิกรณ์. |
|
|
๒.ความโจทกันด้วยอาบัตินั้น
ๆ เรียกอนุวาทาธิกรณ์. |
|
|
๓.อาบัติทั้งปวง
เรียกอาปัตตาธิกรณ์. |
|
|
๔.กิจที่สงฆ์จะพึงทำ
เรียกกิจจาธิกรณ์. |
|
|
|
|
|
อธิกรณสมถะ มี ๗ |
|
|
ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ทั้ง
๔ นั้น เรียกอธิกรณสมถะ มี ๗ อย่าง คือ:- |
|
|
๑.
ความระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ในที่พร้อมหน้าบุคคล ในที่พร้อม |
|
|
หน้าวัตถุ
ในที่พร้อมหน้าธรรม เรียก สัมมุขาวินัย. |
|
|
๒.
ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ว่า เป็นผู้มีสติเต็มที่
เพื่อจะไม่ให้ |
|
|
ใครโจทด้วยอาบัติ
เรียกสติวินัย. |
|
|
๓.
ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุ ผู้หายเป็นบ้าแล้วเพื่อจะไม่ให้ใครโจท |
|
|
ด้วยอาบัติที่เธอทำในเวลาเป็นบ้า
เรียกอมูฬหวินัย. |
|
|
๔.
ความปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ เรียกปฏิญญาตกรณะ |
|
|
๕.
ความตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ เรียกเยภุยยสิกา. |
|
|
๖. ความลงโทษแก่ผู้ผิด
เรียกตัสสปาปิยสิกา. |
|
|
๗.
ความให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระความเดิม เรียกติณวัดถารกวินัย. |
|
|
สิกขาบทนอกนี้
ที่ยกขึ้นเป็นอาบัติถุลลัจจัยบ้าง ทุกกฎบ้าง ทุพภาสิตบ้าง เป็นสิกขาบท |
|
|
ไม่ได้มาในพระปาติโมกข์. |
|