วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

กฐินขันธ์



ยายอยากทำบุญกฐิน
..........19 กันยายน 2560 ไป รพ.ทรวงอกกับยาย ขากลับก็ขึ้นทางด่วน ที่ด่านตรงงามวงศ์วาน มุ่งหน้ามาทางพระราม 9 ดินแดง เจอรถติดบนทาง ด่วน ติดหนักมากกว่าจะถึงด่านอโศก รามอินทราเกือบชั่วโมง ปกติไม่ถึง สามสิบนาที หลุดออกมาได้ ก็มุ่งไปทางสุวรรณภูมิ ทางกลับบ้านแปดริ้ว มาทางมอเตอร์เวย์ เครื่องบินเยอะวันนี้ แต่ไม่มีปัญหาหรอก คนละเส้นทาง เราไปบนถนน เขาไปทางอากาศ ปวดท้องฉี่มากเลยคนเบาหวานมักมี อาการปวดฉี่บ่อย เลยขอแวะด่านเก็บเงิน เพราะเคยแวะประจำ เขามีห้อง น้ำไว้บริการเหมือนปั้มน้ำมันนั่นแหละ แต่ยังไม่ถึงด่านลาดกระบัง เจอที่พัก ทางหลวงพิเศษ จำได้นี่ก็เคยแวะ ที่พักรถ มีห้องน้ำใหญ่โต ก็สะดวกดี
........ออกมาเห็นป้ายข้างถนน มีป้ายวัดปนอยู่หลายสิบป้าย ชวนปิดทอง ฝังลูกนิมิตร ไถ่ชีวิตโคกระบือ อ้อมีป้ายใหม่ชวนทอดกฐิน ยายก็เลยชวน คุยเรื่องกฐิน เห็นเขาทำบุญกฐินก็อยากทำบ้าง สมัยก่อนปู่ย่าตายายเคย พาทำบุญกฐิน ตกสมัยเรายังไม่เคยทำเลย ถามทราบว่า บ้านเป็นเจ้าภาพ บ่อย เพราะตาทวด เป็นเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อพระอินทราสา อ้อเคย อ่านประวัติเจอชื่อนี้ บ้านอยู่ตรงบ้านเลขที่ 6 หน้าวัดโสธรนั่นแหละ โหนี่ หลานเจ้าเมืองนะนี่ ถามต่อเคยไปร่วมงานกฐินนับครั้งไม่ถ้วน
........ทำบุญกฐินบ่อย รู้ไหมล่ะว่าบุญกฐิน เขาทำอะไรถึงเป็น กฐิน และ ทำไมรอออกพรรษาก่อนค่อยทำบุญกฐินกัน ยายตอบง่าย ๆ ไม่ต้องคิดยาก ไม่รู้จ้า....ไปบ่อยนึกว่าจะรู้ สมัยตาเป็นวัยรุ่น งานกฐินมีเทศน์สองธัมมาสน์ หัวเรื่อง กฐินขันธ์ ตอนบวชก็เคยขึ้นธัมมาสน์ ปีละ 3-4 งาน กฐินกว่าครึ่ง
นอกนั้นก็ทำบุญฌาปนกิจ ทำบุญบวชนาค เราสนทนากันเพื่อสอนชาวบ้าน ในเรื่องต่อไปนี้.......
...........1. ประวัติความเป็นมาของบุญกฐิน
...........2. กฐินเป็นงานของใคร พระหรือโยม
...........3. อยากทำบุญกฐิน ทำอย่างไร
...........4. เรื่องเบ็ดเตล็ด อื่น ๆ
............แค่ 4 หัวข้อก็ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมง จะเล่าย่อ ๆพอรู้ความ ให้ยายฟัง มีพระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ถึงเมืองสาเกตุเข้าพรรษาพอดี เหลือทางอีก 6 โยชน์ ประมาณ 90 กิโลเมตร หยุด 3 เดือนออกพรรษาก็เดินทางต่อ ถึงวัดเชตวันได้เฝ้าสมใจ ช่วงนี้ 29 วันนับแต่ออกพรรษา เป็นจีวรกาล คือเวลาหาผ้าผัดเปลี่ยนประจำปี ของ พระภิกษุ สมัยนั้นไม่มีโรงงานทอผ้า ชาวบ้านทอผ้าใช้เอง ตลาดร้านผ้า หายากมาก พระจะแสวงหาผ้าที่ชาวบ้านเข้าทิ้ง  ที่เรียก ปังสุกุล คือผ้าเปื้อนฝุ่น มีบางเผ่าเขาใช้ผ้าพันศพหลาย ๆ รอบเอาไปทิ้งป่าช้า ไม่เผา ศพเน่าเปื่อย ผ้ายังอยู่ เปื้อนมาก เรียกผ้าปังสุกุล เอาไปซักล้างสะอาดก็นำไปใช้ได้ ฉะนั้น การหาผ้าจึงเป็นเรื่องใหญ่ หมดเวลา 29 วัน ต้องรออีกปี จึงจะถึงเขตหาผ้าปีถัดไป พระพุทธเจ้าเห็นความยุ่งยากจะเกิดกับพระ 30 รูป มาจากต่าง ถิ่นด้วย น่าจะหาผ้าไม่ทันเวลา จึงอนุญาตให้ทำกิจกรรมสามัคคี ตัดเย็บผ้า ช่วยกัน แจ้งให้ทราบว่า ถ้าพวกเธอที่อยู่จำพรรษาในอาวาสเดียวกัน มี พรรษาไม่ขาด ช่วยกันหาผ้า มาตัดเย็บจีวรให้เสร็จ 1 ผืน ใน 1 วัน มอบ ให้พระรูปหนึ่งนำไปครอง ถือว่าทำกิจกรรมสามัคคีเสร็จ ให้อานิสงส์ ผ่อน ผันพระวินัย 5 เรื่อง ที่สำคัญคือ ขยายจีวรกาลออกไปอีก 3 เดือน ต่อมา เรียกกิจกรรมเย็บจีวรสามัคคีนี้ว่า กฐิน
..........ทำกฐิน ทำอย่างไร ฟังให้ดีนะ คนทำกฐินคือพระภิกษุ และเป็น พระอยู่จำพรรษาที่วัดเดียวกัน พรรษาไม่ขาด มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป 4 รูปคือคณะสงฆ์สามัคคี อีก 1 รูป เป็นบคคลที่จะครองผ้า มีจำนวนครบ ประชุมกันจะทำกฐิน พระรูปไหนจะครองผ้า แยกออก ให้ชัดเจน จากนั้น ก็นัดวันเวลาตัดเย็บผ้ากัน ถึงวันนัดก็มีผ้ามาประชุมกัน คณะสงฆ์ประชุม แจ้งให้ทราบว่ามีผ้าแล้ว ต้องการจะตัดเย็บผ้ากฐิน เพื่อมอบถวายพระรูปนี้ คณะสงฆ์ก็มีมติเห็นชอบ จากนั้นก็ให้เวลาช่วยกันจัดทำจีวรให้พร้อมจะผลัดเปลี่ยน พระที่จะครองก็ดำเนินการต่อจนเปลี่ยนผ้าใหม่เรียบร้อย และไป รายงานต่อที่ประชุมสงฆ์ว่า กระผมได้รับผ้ากฐินแล้วและได้อนุโมทนากฐิน แล้วจึงขอรายงานต่อคณะสงห์เพื่อทราบ คณะสงฆ์ก็อนุโมทนา จบกิจกรรม การทำกฐิน ได้รับอานิสงส์ 5 ข้อ และจีวรกาลของคณะสงฆ์วัดนี้ก็ขยายไป
จนถึงกลางเดือนสี่ กิจกรรมที่ทำสังเกตนะยาย พระทำกันเอง โยมไม่ได้ ยุ่งหรอก
.........ฉันอยากทำบุญกฐินนี่ ทำอย่างไร ก็ที่เล่าถึงการทำกฐินของพระ ท่านเย็บผืนเดียวแล้วถวายกันไปครองผ้าผืนนั้น ดังนั้นทำบุญกฐินมีผ้าผืน เดียวก็ถวายกฐินได้ ที่เห็นเขาถวายผ้าไตร ก็ 3 ผืน ให้พระเลือกเอง จะ ใช้ผืนไหนเป็นผ้ากฐิน ที่เราเห็นข้าวของมากมายเวลาไปถวายกฐิน เรียก ของบริวารกฐิน ไม่ได้จำกัดจะถวายอะไรมากมายขนาดไหน อ้อเว้นแต่ ของที่ไม่เหมาะกับพระ ไม่ควรเอาไปถวาย เมื่อรวบรวมจตุปัจจัยไทยทาน พอแล้วก็นำไปถวายที่วัด ในช่วง กฐินกาล คือ จีวรกาลนั่นเอง หมดเขต ก็เพ็ญเดือนสิบสอง ถวายเสร็จก็จบ ต่อไปก็เป็นการทำกฐินหน้าที่ของพระ เราจะอยู่รอดูก็ได้ ไม่ดูก็ไม่เป็นไร
........มีคนบอกว่าบุญกฐินต้องถวายในเขตจีวร ออกพรรษาไปจนถึงเพ็ญ เดือนสิบสอง เพราะเป็นช่วงเวลาพระผัดเปลี่ยนจีวร หาผ้ามาตัดเย็บจีวร ถ้าถวายนอกเขตนี้จะเป็นบุญกฐินไหม ทำกิจกรรมถวายทานทำได้ตลอดปี จะเรียกบุญอะไรก็เรียกไป เพราะโยมทำอย่างไรก็ไม่เป็น "กฐิน" ถวายใน เขตกฐิน ก็เป็นแค่การทำบุญถวายผ้า ในคำถวายก็บอกไว้แล้วว่า"เมื่อรับแล้ว ได้โปรดกราลกฐินด้วยผ้านี้"เพราะพระทำกฐินได้ ไม่ใช่โยมทำ เราแค่เอา ผ้าไปถวาย พระสะดวกมีผ้าพร้อมจะทำกฐิน ดังนั้นเราจะถวายผ้า เวลาไหน ก็ได้ สมมติ ไม่มีโยมมาจองกฐินเลย พระในวัดมีตั้ง 10 รูป วิตกกันใหญ่ จะได้อานิสงส์ไหม จีวรกาลจะขยายออกไปอีก 3 เดือนได้ไหม ถ้าท่าน เจ้าอวาส เข้าใจพระวินัยเรื่องกฐิน ก็ทำกฐินกันได้เลย ไม่ต้องรอโยม
.......ประชุมนัดวันเวลาทำผ้ากฐิน ไปหาผ้ามารวมกัน เลือกทำจีวร สังฆาฏิ หรือสบง เสร็จถวายรองเจ้าอาวาสปัดเปลี่ยนแล้วมารายงานคณะสงฆ์ ร่วม อนุโมทนา แค่นี้จบ ได้อานิสงส์กฐิน จีวรกาลขยายไปถึงกลางเดือน สี่ สมัยผมบวชอยู่ เจ้าคณะจังหวัดท่านสำรวจวัดไหนมีพระ 5 รูปขึ้นไป ไม่มี โยมถวายกฐิน ท่านมีหนังสือแจ้งความประสงค์ไปถึงเจ้าอาวาส จะนำผ้า กฐินไปถวาย ให้ประชุมทำกฐินได้ วันนัดก็มีรถยนต์จากศึกษาธิการจังหวัด นำไปถวาย ผ้า 1 ไตร ถังสังฆทานเท่าจำนวนพระเณร ปัจจัยท่านศึกษา
ใสซองไว้ไม่ได้ดู วันเดียวตระเวณถวาย 5 วัด ถวายเสร็จรับพรแล้วก็ลา ไม่รอดูหรอก กลับวัดก็สองทุ่ม พักหายเหนื่อยก็ไปอีก แรก ๆก็ไม่เข้าใจ ทำไมต้องไปถวายผ้าและบอกให้วัดทำกฐิน พอดูระเบียบวิธีกฐินก็เข้าใจ
........ทำบุญกฐิน ไม่เป็นกฐิน มีด้วยเหรอ อันนี้คุยกันมากในหมู่ผู้รู้ ถ้า บังเอิญไม่ได้ศึกษาจริง ๆจัง ๆ จะเห็นตั้งแต่ ห้ามรับผ้าจากมือโยม ต้อง ทอดวางผ้า พระมาสวดก่อนค่อยยกไป นี่ก็เพราะฟังมาไม่วิเคราะห์วิจัย ก็เพราะกฐินแรก ที่พระชาวเมืองงปาฐาทำนั่น ใครเอาผ้าไปถวาย หากันมา เอง ตัดเย็บเอง ได้ผ้าหนึ่งผืน ถวายพระอาจารย์รูปหนึ่งไปผัดเปลี่ยน พระที่เหลืออนุโมทนา ผ้าผืนที่ช่วยกันตัดเย็บนั่นเรียกผ้ากฐิน ดังนั้น ถวายกฐินยังไงก็ยังไม่เป็นผ้ากฐิน จะยื่นมือรับ หรือใส่พานรับ ก็ยังไม่เป็น ผ้ากฐิน ผ้าเก่าที่อยู่ในตู้ เอาออกมาตัดเย็บทำผ้ากฐินก็เป็นกฐินได้ เพราะ เป็นกฐิน ไม่เป็นกฐิน อยู่ที่พระเป็นผู้ทำ โยมถวายแล้วกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องห่วง
.........ใช่เลยตาไม่ต้องห่วง ด้านหน้านี่มันพนัสนิคมนะ ไม่ใช่ด่านบ้านเรา เออใช่ แวะด่านบางปะกงโดน 45 บาท ทำไมไม่ 35 บาทล่ะตา เขาปรับ 10 บาทน่ะยาย ออกด่านฉะเชิงเทรา 35 บาท มาออกนี่เพิ่ม 10 บาท ก็ ขำ ๆนะ โม้จนลืมทางออก เลี้ยวรถไปพนัสนิคม ถึงแยกพานทองมีตลาสด ดักทางไม่ให้ไป ก็ต้องจอดซิครับ ผู้ตรวจการตลาดสดลงไปตรวจทุกแผง เลย ได้ไก่ย่าง ส้มตำ เนื้อหมูแดดเดียว แกงหน่อไม้ ผักบุ่ง ผัดสเม็ด ฯลฯ เต็มหอบ หิ้วไปใส่ท้ายรถ 3 รอบ ค่อยผ่านสี่แยกนั้นได้ วิ่งระมาสัก 10 นาที ถึงเทศบาลที่เราไปบ่อย ๆจำได้ ถามแวะอีกไหม ยายให้กลับบ้าน ก็วิง 30 นาที ก็ถึงบ้านแล้วครับ จบเหอะยาวมากแล้ว ทีหลังอย่าชวนคุยแล้วกัน เดี๋ยวหลงทางอีก 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น