วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา


                                                                        ภาพจากกูเกิ้ล

                                                                       ๏ เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา
                             รับกฐินภิญโญโมทนา        ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย 

---------------------------
........เดือนสิบเอ็ดแล้ว นึกถึงนิราศภูเขาทองของท่านสุนทรภู่ ที่เริ่มพูดถึงเดือนสิบเอ็ดเกี่ยวกับกิจกรรมสำคัญคือเรื่อง ธุระพระวสา และรับกฐิน ตรง กับเรื่องที่อยากเขียนพอดี เอาทีละเรื่องแล้วกัน พระวสาที่ท่านกล่าวหมายถึง ช่วงพรรษา 3 เดือน ตั้งแต่กลางเดือนแปดไปจบกลางเดือนสิบเอ็ด เข้าเขต กฐินต่อเนื่องกันไป ทำให้เดือนสิบเอ็ดครึ่งหนึ่งอยู่ในเขตการอยู่จำพรรษา อีกครึ่ง หนึ่งอยู่ในเขตจีวรกาล ซึ่งเป็นเขตอนุญาตให้ทำบุญกฐินได้
........การอยู่จำพรรษาคือกาลเวลาที่กำหนดให้พระภิกษุงดจาริกไปมา ให้อยู่ ณ สถานที่ชัดเจนตลอดเวลาสามเดือน ของฤดูฝน พรรษา วัสสา แปลว่าฤดูฝน สาเหตุที่พระพุทธเจ้ากำหนดให้หยุดจากริก ก็เกี่ยวข้องกับ เรื่องฝน เล่าว่าพระภิกษุสมัยก่อนนิยมท่องเที่ยวไปตามป่าเขาและชนบท หน้าฝนก็ยัง
ไม่หยุด เดินทางก็ไม่สะดวก กระทบต่อการทำไร่ทำนาชาวบ้าน หยุดงานไปต้อนรับพระหลายวัน จนเกิด มีสำนวนพระเหยียบย่ำข้าวกล้าเสียหาย ท่าน พอ.ปิ่น มุทุกัณฑ์ เล่าถึงเรื่องนี้ว่า พระส่วนมากเป็นลูกชาวไร่ชาวนา คงไม่กล้า เหยียบย่ำข้าวกล้าชาวบ้านแน่ มีคนตำหนิ ทำไมพระภิกษุไม่หยุดจาริก ทราบ 

ถึงพระพุทธเจ้า ทรงพิจารณาแล้วเห็นชอบให้พระภิกษุหยุดจำพรรษา 3 เดือนคือ เริ่มหลังวันอาสาฬห
บูชาคือ แรม 1 ค่ำเดือนแปด ปีอธิกมาสก็เลื่อนไป แปดที่ 2 ปัจจุบัน ตีความ พรรษาแรกแรม 1 ค่ำเดือน
แปด พรรษาหลังแรม 1 ค่ำ เดือนเก้า
.........พระท่านทำวัตรเช้าเสร็จ อธิษฐานพรรษาได้เลย อธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูป นั่นแหละ มีรูปเดียว ก็ทำการอธิษฐานไปเลย มีหลายรูปก็อฐิษฐานต่อพระเถระ ดูจาก คำอธิษฐานพรรษา ว่า
..........."อิมัสะมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ ” หรือ
...........“อิมัสะมิง วิหาเร อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ ”
............แปลความว่า ข้าพเจ้า จะอยู่จำพรรษา ตลอดสามเดือน ที่อาวาสนี้(ที่วิหารนี้) อาววาส หมายถึง วัด วิหารหมายถึงอาคาร เลือกใช้ให้ถูกแล้วกัน เพราะ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้จำพรรษาได้    คือสถานที่อยู่อาศัยปลอดถัย จากฝนและสัตว์ที่มีอันตรายต่าง ๆ มีเฉพาะที่ห้ามไม่ควรจำพรรษา เช่น
กระท่อมผี กรด เต้น ตุ่มน้ำ โพรงไม้ ค่าคบไม้เป็นต้น ตลอดสามเดือนให้พัก อยู่ ณ ที่ที่ได้อธาฐานพรรษา มีเหตุจำเป็น ขออนุญาตไปได้คราวละ 7 วัน เช่น บิดามารดา สหธรรมิก เจ็บป่วย สหธรรมมิก อยากสึก มีกิจสงฆ์ต้องไปช่วย โยมนิมนต์ไปรับไทยทาน ไประงับอธิกรณ์ (ต้องอาบัติทุกฏ พรรษาไม่ขาด) ครบสามเดือนออกพรรษาโดยอัตโนมัติ หมดระยะเวลา แค่มีการปวารณา นิยมกระทำกันช่วงวันออกพรรษา
..........ปวารณาคือการประกาศยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ไม่คำนึงถึง อายุพรรษา ตำแหน่งหน้าที่ ประเพณีที่มีเฉพาะสังคมพระภิกษุเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังใช้ได้อยู่รึเปล่า ถ้าใช้กันอยู่ถือว่าเยี่ยมยอด       คำปวารณา ว่า "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต    อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิฯ" 

.................."ทุติยัมปิ สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิฯ" 
................."ตติยัมปิ สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมัน  โต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิฯ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อ .สงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าว ตักเตือน กระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี...
.........เรื่องที่ 2 บุญกฐิน ออกพรรษาแล้วเข้าสู่เขตการแสวงหาผ้าผัดเปลี่ยน พระวินัยกำหนดระยะเวลา  ให้ หลังออกพรรษา แรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึง เพ็ญเดือน 12 รวมเวลา 29 (14-15) วัน อนุญาตให้แสวงหาผ้า มาตัดเย็บ เป็นไตรจีวร เพื่อเปลี่ยนของเก่าที่ใช้มาครบรอบปีพอดี เคยพบเรื่องพระภิกษุชาว ปาฐา 30 รูป เดินทางมาเฝ้า แต่มาถึงเมืองสาเกต เข้าพรรษาพอดี เลยหยุด ที่ตรงนั้นพอออกพรรษา   รีบเดินทางต่อ ทาง 6 โยชน์(96 กม.) เดินทาง หลายวัน พระพุทธเจ้าเห็นความทุลักทุเลและความ ยุ่งยากในการหาจีวร เพราะเวลาเหลือน้อยลงเลยอนุญาตให้ช่วยกันทำกฐิน อนุญาตให้พวกเธอ ที่อยูจำพรรษาด้วยกัน สามัคคีทำผ้าไตรจีวร 1 ผืน สบง จีวรหรือสังฆาฏิ เสร็จ 1 ผืน ถวายพระรูปหนึ่งไปผัดเปลี่ยน ทั้งหมดทำให้เสร็จในวันเดียว จะได้รับอานิสงส์ 5 ประการ เที่ยวไปไม่บอกลาได้ไม่อาบัติ อยู่ปราศจาก ไตรจีวร ได้ไม่อาบัติ ฉันคณะโภขนาได้ไม่อาบัติ เก็บอดิเรกจีวรได้ไม่อาบัติ จีวรใด ๆที่มีผู้ ถวายเป็นของพวกเธอเท่านั้น ไม่ต้องแบ่งอาคันตุกะ ที่ยอด เยี่ยมมากคือขยายจีวรกาลออไปถึงกลางเดือนสาม
........ตามประวัติบุญกฐิน ดูเป็นกิจของพระภิกษุ แม้ชาวบ้านได้ยึดเอามา จัดเป็นประเพณีทำบุญไป    แล้วก็ตาม เช่นนำกองกฐินไปถวายพระ มีข้อจำกัด หลายอย่างที่ควรทราบ ถือต้องถวายช่วงเวลาจีวรกาลเท่านั้น 29 วันนับแต่ ออกพรรษา ต้องทำเป็นกิจสามัคคีของสงฆ์ 4 รูป เป็นคณะสงฆ์ประกาศญัติ
ตัดเย็บผ้าเสร็จในวันเดียว พระ1 รูป เป็นผู้รับเปลี่ยนผ้าใหม่ อย่างนี้ถึงจะ เป็นกฐินโดยสมบูรณ์ตามพระวินัยกำหนด ถ้าขาดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็ไม่ใช่ กฐิน เช่นพระไม่ได้จำพรรษาด้วยกัน ขาดองค์ประกอบ ความสามัคคีของพระ ที่จำพรรษาด้วยกัน ดูประวัติพระชาวปาฐา 30 รูปจำพรรษาที่เมืองสาเกตุด้วย กัน นั่นแหละชัดเจนดี ทำไมต้องทำวันเดียวให้เสร็จ เพราะพระพุทธเจ้าจะให้ อานิสงส์ที่สามัคคีช่วยกันทำ
........พระที่วัดทำกฐินเองได้ไหม หรือต้องรอคนมาถวายก่อน อันนี้แน่นอน ทำได้ ถ้าอยู่จำพรรษาไม่ น้อยกว่า 5 รูป ประชุมกันกำหนดวันทำกฐินกันได้ ช่วยกันทำใหเสร็จใน 1 วัน ถวายพระรูปหนึ่งไป   ครองและอนุโมทนา ก็เป็น กฐินและได้อานิสงส์เช่นกันเท่ากับที่ชาวบ้านนำกฐินมาถวาย แต่เงินอาจ ไม่มีถวาย เท่านั้นเอง
........ผ้าผืนไหนเป็นผ้ากฐิน ผ้าที่พระได้รับอนุญาตให้มีไว้ใช้ 3 ผืนที่เรียก ไตรจีวรนั่นแหละ คือ อันตร วาสก (สบง ใช้นุ่ง) อุตราสงค์ (จีวร ผ้าห่ม) และ สังฆาฏิ(ซ้อนห่มเมื่ออากาศหนาวเย็น) นอกจากนี้ถือ เป็นส่วนเกิน ดังนั้นการ ตัดเย็บผ้ากฐิน จะเลือกตัดเย็บเพียงผืนเดียว เพราะกลัวไม่เสร็จในวันเดียว   ส่วนมากเลือ อันตรวาสกเพราะผืนแคบ ใช้ผ้าน้อย เย็บเสร็จเร็วกว่าผืนอื่น ปัจจุบันมีจักรเย็บผ้า เลือก   ผืนไหนก็ไม่เป็นปัญหา สมัยก่อนช่วยกันเย็บแบ่ง กันเย็บเป็นขันธ์ ๆ แต่ละขันธ์ก็จะมีสองส่วน เย็บประกอบเป็นผืนผ้า มีขันธ์ กลาง ขันธ์รองข้างละ 2 รวมเป็นห้าขันธ์ แล้วมีผ้าเย็บรอบเรียกอนุวาตะ       ยากเหมือนกัน คนเย็บต้องมีแบบจะเย็บ 5 ขันธ์ 9 ขันธ์ 








.........เย็บจีวรสมัยมีจีวรสำเร็จรูป ทำได้ง่าย เพราะจีวรเป็นรูปร่างดีอยู่แล้ว เพียงเลือกเอาผืนที่ดูดีหน่อย มาตรวจดูต้องปรับซ่อมตรงไหนบ้าง ตะเข็บไม่ สวยเลาะออกเย็บใหม่ ด้ายเปราะรื้อเย็บใหม่ จนมั่นใจว่าได้จีวรที่เรียบร้อย สวมใส่สบาย ก็เรียกการตัดเย็บจีวรได้เหมือนกัน เคยเห็นเขาเอาผ้าด้ายดิบ ไปถวายกฐินกัน เล่นตัดเย็บกันทั้งวันได้ผ้าผืนเดียว ถามว่าที่เหลือล่ะ ตัด เย็บแบบผ้ากฐินกันรึเปล่า เปล่าเลยซื้อจากร้านสังฆภัณฑ์สวยกว่าผ้ากฐินซะอีก มีผืนเดียวเท่านั้นแหละที่ทำเป็นเคร่งตัดเย็บย้อม พระเณรในวัดเป็นร้อย ใช้ผ้าสำเร็จรูปกันทั้งนั้น การตัดเย็บก็แค่ตรวจดูความเรียบร้อยเนื้อผ้าตะเข็บ สีก็ไม่ต้องย้อม มาจากโรงงานเรียบร้อยดี
..........ผมเคยรับเป็นคนครองผ้ากฐิน เลือกผ้าสบงมาทำผ้ากฐิน เลาะตะเข็บ ออกสัก 10 เซ็นต์ กรรไกรขลิบผ้าที่มันยุ่งกันออกนิดหน่อยแล้วเย็บใหม่ โยม เดินมาถามทำอะไรหลวงพี่ เย็บผ้า เขาเดินหนีไปสักครู่สีกาสาว ๆมาถาม พระ ตอบเสียงหวานเลย เย็บสบงจ้า...มัคทายกต่อเลยเสร็จยังล่ะ เสร็จแล้ว  งั้น
นิมนต์ไปอนุโมทนากฐินได้แล้ว ชาวบ้านฉลาดกว่าเราอีก ไม่เตี้ยมเราก่อน เลย กว่าจะได้คำตอบที่เขาต้องการ
.........ความจำเป็นของกฐิน สมัยก่อนผ้าหายาก การหาผ้ามาตัดเย็บและ ผัดเปลี่ยนให้แล้วเสร็จใน 1 เดือนลำบากเหมือนกัน กฐินจึงมีความสำคัญ เพราะช่วยขยายเวลาออกไปอีก 3 เดือน ปัจจุบันไม่มีความยุ่งยากในการ แสวงหาผ้ามาตัดเย็บจีวร แถมมีจีวรสำเร็จวางขายทั่วไป จีวรที่ชาวบ้านนำ ไปถวายวัดก็มีมากมาย จนพระไม่มีปัญญาจะใช้ให้หมด กฐินไม่น่าจะจำเป็น กลับเป็นเรื่องเงินทองมากกว่า เวลาคนไปปักกฐินจะมีคำถามว่า มีเงินถวาย วัดสักเท่าไร ถ้าน้อยก็บอกมีคนจองแล้ว เป็นแบบนี้ไป .
.......สนทนากันเล่น ๆ ถึงเดือนสิบเอ็ด สมัยก่อนเป็นเรื่องสำคัญ หนุ่มสาว ตั้งตารอวันออกพรรษา รอบุญกฐิน วันเวลาทำให้คนยุ่งทำการงานมากขึ้นจน ไม่ค่อยมีเวลานึกถึงเรื่องประเพณีวัดวาอารามสักเท่าไร   ต่อไปคงไม่เป็นพิธี เขาพรรษา ออกพรรษา เพราะวัดร้างไม่มีพระประจำ กฐินก็ถวายไม่ได้ มี พระไม่   ครบองค์ วัดที่มีพระก็หาเจ้าภาพยากเพราะเงื่อนไขเงินภวายวัด มีน้อยก็อายไม่กล้าไปทอดกฐิน คง    เป็นไปตามยุคสมัย แต่น่าสนใจเรื่อง วัดวาศาสนามีปัญหารุมเร้ามากเหลือเกิน ไม่มีคนจัดการที่ดีพอ หลายแห่ง มีชาว บ้านเข้าไปจัดการวัดแทนพระ เออไม่เคยเห็นก็มีข่าวให้เห็นบ่อย ๆ

3 ความคิดเห็น: