วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พระรัตนตรัย

                                   ถ่ายตอนไปเที่ยวชมเมืองโบราณ สมุทปราการ



 ........พระรัตนตรัย คือที่พึ่งของคนที่นับถือพุทธศาสนา มีศักดิ์เทียบกับสรณะของศาสนาอื่น ๆ คือ
 นับถือ พระรัตนตรัยแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปเสาะหาที่พึ่งอย่างอื่น ๆ อีก อ้อ หมายถึงที่พึ่งแบบเทพ
 แบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั่นแหละ ส่วนที่พึ่งแบบพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็ดีเป็นปกติมีได้ไม่ใช่ข้อจำกัด มารู้จัก
 พระรัตนตรัยกัน คำว่ารัตนตรัย แยกเป็น รัตนะแปลว่า แก้ว ตรัย แปลว่า 3 เป็นการเรียกสิ่งที่เรา
 เคารพนับถือว่าดีงามเหมือนแก้ว มี 3 อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ท่านมีดีอย่างไร
 ถึงชื่นชมกันนักว่าเป็น รัตนะ ถ้าอยากรู้รายละเอียด ไปท่องจำบทสวดดู คนแต่งบรรยายไว้ดีมาก
 ล้วนแต่คุณความดีของแต่ละรัตนะนั่นเอง จะขอคัดบทแปลจากหนังสือสวดมนต์ โดยสรุปย่อ ดังนี้
........บท อิติปิโส ภควา บรรยายคุณของพระพุทธเจ้า ดังนี้
        1. อรหํ เป็นพระอรหันต์
        2. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
        3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
        4. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
        5. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
        6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
        7. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นสาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
        8. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
        9. ภควา เป็นผู้มีโชค
........บทสวากขาโต บรรยายคุณของพระธรรมไว้ ดังนี้
        1.  สะวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
        2.  สันทิฏฐิโก    ผู้ปฏิบัติ จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง คือ ผู้ใดบรรลุ  ผู้นั้นย่อมรู้ได้เอง
        3.  อะกาลิโก หมายถึง  ไม่ประกอบด้วยกาล  คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ปฏิบัติและบรรลุ
        ได้เสมอ
        4.  เอหิปัสสิโก    หมายถึง   ควรเรียกให้มาดู  คือ เชิญชวนให้มาชม มาพิสูจน์ ศึกษา
        5.  โอปะนะยิโก   หมายถึง  ควรน้อมนำเข้ามา  คือ ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อม
         ใจเข้าไปให้ถึง
        6.  ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ    หมายถึง  อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน 
........บทสุปฏิปันโน บรรยายคูรพระสงฆ์ ไว้ดังนี้
         1.สุปฏิปันโน ปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา  ปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
         2.อุขุปฏิปันโน  เป็นผู้ปฏิบัติตรง เช่นไม่ปฏิบัติลวงโลก  ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด 
         3.ญายปฏิปันโน  เป็นผู้ปฏิบัติถูกทางคือ ปฏิบัติมุ่งธรรม ปฏิบัติถูกต้องเป็นสำคัญ
         4.สามีจิปฏิปันโน  เป็นผู้ปฏิบัติสมควรคือ  ปฏิบัติน่านับถือ  สมควรได้รับความเคารพ
         5.อาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่สิ่งของคำนับ คือ  ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย
         6.ปาหุเนยโย  เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ คือ ผู้ปฏิบัติงามเช่นนี้ ปในบ้านเมืองใด ย่อม
         ควรแก่การต้อนรับ
         7.ทักขิเณยโย  เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาควรแก่สิ่งของทำบุญ คือ ได้รับประโยชน์ตาม
         ที่ถูกที่ควร
         8.อัญชลีกรณีโย  เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือ พระสงฆ์เป็นผู้มีความดีอยู่ในสันดาน
         9.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ  เป็นเนื้อนาบุญของโลก คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์
         ควรทำบุญด้วย
……….พระพุทธเจ้า พระธรรม ความหมายชัดเจนแล้ว คงไม่ต้องขยายความอีก จะจับประเด็น
รัตนะที่ 3 คือพระสงฆ์ ตามบทสรรเสริญคุณพระสงฆ์ ท่านระบุชัดเจนว่าหมายถึงสงฆ์
ประเภทไหน ตรงคำว่า ยทิทังจัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐปุริสปุคลา   มี บุรุษ 4 คู่ จัดเป็นบุคคล
8 ประเภท  คื อริยบุคคล 4 คู่  8 ประเภท คือท่านจัดเป็น มรรค 1 และผล 1 ได้แก่ โสดาบัน 2
สกิทาคามี 2 อนาคามี 2 และอรหันต์ 2 ทั้งหมดจึงมี 8 ตรงตามที่ระบุในบทสรรเสริญคุณ
พระสงฆ์
........พระสงฆ์ โดยนัยที่กล่าวในบทสวดนี้ หมายถึงท่านที่เป็นอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป
ซึ่งมีทั้งฆราวาส และบรรพชิต เช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถปิณฑิกเศรษฐี พระเจ้า
พิมพิสารเป็นต้น อริยบุคคลที่เป็นบรรพชิต มีทั้งภิกษุ ภิกษุณี
........พระสงฆ์ ปัจจุบัน นิยมเรียกพระภิกษุ เป็นการเรียกให้เกียรติอย่างสูง เพราะความจริง
บวชแล้วก็เป็นนักบวชสังกัดพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าท่านใช้คำ "ภิกษุ" เรียกนักบวชใน
ศาสนาของท่าน ทุกคนที่บวชท่านจะเรียกภิกษุ ส่วนจะเป็น สาวกสังโฆ ได้หรือไม่ก็ไปดูคุณสมบัติ
ว่าเข้าเกณฑ์ จัตตาริ ปุริสยุคานิ หรือยัง
........พระสงฆ์ตามความหมายธรรมดา ๆ หมายถึงหมู่คณะ ของพระ คือพระภิกษุ เช่นเรียก
คณะสงฆ์ไทยหมายถึงพระภิกษุนิกายเถรวาท ในประเทศไทย คณะสงฆ์พม่า คณะสงฆ์ลังกา
ก็หมายถึงกลุ่มพระภิกษุในประเทศนั้น ๆ เป็นต้น
........มีเพื่อนเห็นคนตำหนิพระภิกษุออกทางสือออนไลน คงไม่ชอบใจเลยท้วงว่าคนไทยเราไม่
นิยมตำหนิติเตียนพระภิกษุสงฆ์ ระวังจะมีบาปกรรม ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน  ใจความทำนองนี้
กระผมเคยพบเห็นในหนังสือชาดกต่าง ๆ และได้เห็นชาวบ้านเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ เวลาพระทำผิด
ก็เอาแต่ซุบซิบนินทา ไม่กล้าทักท้วง ทำให้พระที่ไม่เคร่งต่อพระธรรมวินัย ได้ใจ กู่ไม่กลับก็เยอะ
........ความจริงพระภิกษุ เป็นคนที่ชาวบ้านยกย่องให้เป็นคนพิเศษ บวชยังไม่ออกจากอุโบสถเลย
พ่อแม่ก้มกราบเท้าลูกได้ ควรสำนึกได้นะว่า ยังไม่มีความดีอะไรที่น่ากราบไหว้หรอก อย่าภูมิใจ
ผิด ๆ รีบไปศึกษาระเบียบวินัยปฏิบัติ ทำความเป็นพระภิกษุให้สมบูรณ์จะดีกว่า สมัยกระผมบวช
วัดเรามีหลวงปู่อายุร้อยเศษรูปเดียว ท่านไม่มีโอกาสสอนระเบียบวินัยให้ มีโยมที่เคยเป็นเจ้าอาวาส
มาแนะนำให้ศึกษา เอกสาร ตำรา ตรงไหนไม่เข้าใจก็ซักถาม แกก็อธิบายให้ฟัง พระเณรทำไม่ดี
แกก็ตำหนิ เช่นโยมเขาชวนไปฉันข้าวป่า ที่เกาะกลางน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ กลับมาแกก็ตำหนิว่าไม่ควร
ไป เพราะโยมเขาไปลากอวนจับปลามาทำอาหารถวายเพล เราก็อึ้งสิ เพราะถูกของเขา ดังนั้นการ
ตำหนิ ทักท้วง กรณีพระภิกษุ ทำไม่ถูกไม่ควร ทำได้ครับ ทำเพื่อสร้างสรรค์ ช่วยให้พระระมัดระวัง
ไม่ทำผิดธรรมเนียมประเพณี ดีกว่าปล่อยเป็นแบบชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น