ขุนทอง ศรีประจง
ทักกันวันพุธ 21 กพ.61 | ||
๏..ทักกันเมื่อวันพุธ..............วิสุทธิ์ใจไมตรีสรรพ์ | ||
ส่งพรให้ถึงกัน.....................คณามิตรญาติกา | ||
๏..ขอจงเกษมศรี.................สุขเปรมปรีดิ์สบหรรษา | ||
ยืนมั่นขวัญชีวา....................ห่างทุกโศกผองโรคภัย | ||
๏..กอปรการธุรกิจ.................ล้วนสัมฤทธิ์วิเศษสมัย | ||
เรืองรุ่งจำเริญไว...................อุดมสรรพทรัพย์ศฤงคาร | ||
๏..ครอบครัวสุขเปรมปรีดิ์.........เกษมศรีเกษมศานติ์ | ||
ทุกคนล้วนเบิกบาน................สุขสวัสดิ์พิพัฒนา | ||
๏..ขอพูดกรรมฐาน.................ฟังอาจารย์ให้ศึกษา | ||
สมถหลักวิชา........................อบรมใจให้มั่นคง | ||
๏..หลับตามสังเกตรู้...............ดูซิใจพิศวง | ||
มันวิ่งมิดำรง.........................อยู่กับที่ยากจริงเจียว | ||
๏..ชอบตามสิ่งรอบล้อม............ยอมวิ่งตามชวนหวาดเสียว | ||
รูปเสียงกลิ่นรสเชียว................ห้าผัสสะธรรมารมณ์ | ||
๏..ตัวเราหกช่องทาง...............ต่างสัมผัสเป็นคู่สม | ||
ตารูปหูเสียงดม......................กลิ่นจมูกลิ้นรสแล | ||
๏..สัมผัสทางกายา..................ธัมมารมณ์ตามกระแส | ||
พุ่งถึงตรงใจแท้......................คู่สัมผัสหกประการ | ||
๏..ใจเราชอบตามนะ................ยามผัสสะมาพบพาน | ||
เดี๋ยวละเดี๋ยวผสาน..................นิ่งยากเย็นหนอคุณใจ | ||
๏..มินิ่งขาดพลัง.....................มิระวังอย่าสงสัย | ||
สมควรฝึกเอาไว้.....................สมาธิจักเป็นคุณ | ||
๏..ฝึกจับใจจดจ่อ....................หาเหยื่อล่อเป็นเครื่องหนุน | ||
อารมณ์สมถะบุญ....................สี่สิบอย่างเชิญเลือกกัน | ||
๏..ตัวอย่างกสิณสิบ.................หยิบมาใช้ว่าสร้างสรรค์ | ||
อสุภสิบหลากพรรณ.................อนุสสติสิบพอดี | ||
๏..จตุรพรหมวิหาร...................อีกรูปฌานตรองวิถี | ||
อรูปนับอย่างมี........................สี่ประการเป็นอารมณ์ | ||
๏..อาหารปฏิกูล......................ธาตุเพิ่มพูนสี่สิบสม | ||
ขยันฝึกน่าชม........................สมาธิจักเกิดมี | ||
๏..คุณใจจับอารมณ์.................เลิกนิยมคอยหลบหนี | ||
แน่วแน่เป็นหนึ่งมี....................สมาธิสามประการ | ||
๏..แรกแรกขณิกะ....................ฝึกต่อนะใจหยุดฐาน | ||
จักเกิดอุปจาร.........................ระดับสองชวนชื่นชม | ||
๏..มิท้อขยันยิ่ง.......................ฝึกเอาจริงทางเหมาะสม | ||
อัปปนาน่านิยม.......................ใจแน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว | ||
๏..ปลายทางคือองค์ฌาน...........จักผ่านถึงฉลาดเฉลียว | ||
รูปสี่ระดับเชียว........................อรูปสี่รวมแปดฌาน | ||
๏..ครบแปดสมาบัติ..................ท่านสอนชัดกรรมฐาน | ||
สมถะฝึกยาวนาน......................จบที่แปดนี้นั่นแล | ||
๏..เมื่อคราวสิทธัตถะ.................ละสมบัติมิแยแส | ||
ออกบวชใจแน่วแน่....................แสวงหาโมกขธรรม | ||
๏.. อาราฬดาบส......................มีบอกบทที่แนะนำ | ||
รูปฌานสี่จดจำ.........................บรรลุได้มิช้านาน | ||
๏..อุททกะดาบส......................ร่ำเรียนหมดจนเชี่ยวชาญ | ||
อรูปสี่ครบฌาน.........................สมาบัติแปดพอดี | ||
๏..หลักสูตรสมถะ.....................วิริยะพากเพียรมี | ||
สมาบัติเป็นตัวชี้........................ผลของวัตรปฏิบัติการ | ||
๏..ส่วนทางวิปัสนา....................มีเวลาค่อยไขขาน | ||
สมถะหนักเอาการ.....................บอกเล่ายากไม่เบาแลฯ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น