๏..ทักกันถึงวันเสาร์....................โชคลาภเข้าเทพอวยพร | ||
เคราะห์เข็นอย่ารานรอน................อุดมสินทรัพย์สักการ | ||
๏..ภารกิจเจริญรุ่ง...................... สมดังมุ่งเสกประสาน | ||
พัฒนาเร็วทุกงาน........................สฤษดิ์สมจินตนา | ||
๏..ร่ำรวยทรัพย์ศฤงคาร.................พรหมบันดาลสบหรรษา | ||
ครอบครัวเปรมปรีดา.....................ศิริสวัสดิ์อภินันท์ | ||
๏..ธรรมมะจตุพิธ........................เจริญนิตย์เป็นสุขสันต์. | ||
อายุยืนยาวมั่น............................ผุดผ่องพรรณพิศพิไล | ||
๏..สุขกายสบายจิต......................ทุนนิมิตขัดเคืองไข | ||
ห่างหายมลายไป.........................ด้วยพลังกฤษฎา | ||
๏..เห็นข่าวแพร่ทางเฟซ................เดชเงินทองฤทธิ์จริงหนา | ||
ทำลายพระสิ้นท่า........................เรื่องเงินทอนนอนตาราง | ||
๏..ความผิดเรื่องทรัพย์สิน...............เคยได้ยินยากสะสาง | ||
ปาราชิกท่านวาง...........................ขโมยทรัพย์มาสกเดียว | ||
๏..ประมาณสามร้อยบาท................ขาดจากพระน่าหวาดเสียว | ||
วันบวชสอนให้เชียว.......................อกรณีย์มิควรทำ | ||
๏..หาใช่เฉพาะเงิน......................ไปล่วงเกินรวมเป็นกรรม | ||
เหมือนลักเงินทองซ้ำ....................ประมวลมีผิดเหมือนกัน | ||
๏..ลักแก้วแหวนสิ่งของ..................ผองเสื้อผ้ามิสร้างสรรค์ | ||
รวมค่าเป็นร้อยพัน........................ปาราชิกได้แน่นอน | ||
๏..อีกพวกเลี่ยงภาษี......................ตัวอย่างมีวินัยสอน | ||
ผ่านด่านพ่อค้าวอน.......................ฝากเพชรพลอยท่านหลวงตา | ||
๏..รู้อยู่เขาไม่ตรวจ.......................พวกนักบวชเขาปรึกษา | ||
ผ่านด่านขอคืนมา.........................ท่านเมตตาใส่ย่ามมี | ||
๏..ประมาณหลายร้อยบาท...............ตามที่คาดค่าภาษี | ||
ทำให้เสียหายชี้...........................ปาราชิกได้เช่นกัน | ||
๏..รับเงินมิควรได้.........................บอกเอาไว้มิสร้างสรรค์ | ||
เงินเดือนหลวงจ่ายนั้น....................สำหรับพวกอธิการ | ||
๏..ตำแหน่งมีชัดเจน......................ใครที่เป็นเขาประสาน | ||
ภวายเพราะทำงาน........................นิตยภัตต์เป็นประจำ | ||
๏..แอบอ้างรับแทนเขา....................บาปมิเบาครุกรรม | ||
ปาราชิกกระทำ.............................เพื่อเงินทองมิกี่พัน | ||
๏..อีกเรื่องรับเงินทอง.....................อาบัติต้องก็นึกขัน | ||
เห็นว่าเรื่องสำคัญ..........................เคร่งมิเคร่งเรื่องมันมี | ||
๏..วินัยห้ามเอาไว้.........................สะสมไปพิษวิถี | ||
ร่ำรวยเหมือนอัคคี..........................เดี๋ยวโดนไหม้ภัยแก่ตัว | ||
๏..เห็นทำเลี่ยงบาลี.......................เขียนเป็นปี้แจกชวนหัว | ||
กระดาษถวายจัว...........................เรียกว่าใบปวารณา | ||
๏..รับไปก็รับทรัพย์........................อาบัตินับพึงศึกษา | ||
เหมือนเชคที่รับมา.........................ค่าเหมือนรับตัวเงินทอง | ||
๏..อีกท่านฉันไม่จับ........................มีโยมรับแทนสนอง | ||
อย่าลืมบัญชีต้อง..........................รายงานฉันทุกวันไป | ||
๏..ก็เหมือนฝากเข้าแบงค์.................เขาเปลียนแปลงมิสงสัย | ||
ถวายสมุดให้................................คงพ้นผิดใช่เงินทอง | ||
๏..ความจริงมีอีกข้อ........................ท่านพอใจเลขทั้งผอง | ||
มันเพิ่มเลขชวนมอง........................ร้อยพันหมื่นมันชื่นใจ | ||
๏..นั่นแหละนิสสัคคีย์......................ปาจิตตีย์แน่ไฉน | ||
ยินดีเงินทองไซร้...........................ที่เขาเก็บฝากเพื่อตน | ||
๏..วันหนึ่งเห็นภาพข่าว....................พวกสาวสาวคงสับสน | ||
ตักบาตรซองมงคล..........................หลายร้อยบาทเธอยินดี | ||
๏..หลวงตาเรียกกลับก่อน.................นี่งามงอนตรวจดูถี | ||
สอนว่าทำแบบนี้............................พระอาบัติบาปนะคุณ | ||
๏..ถ่ายคลิพชัดชัดด้วย....................ช่วยจัดมุมเถิดเอาบุญ | ||
เออแปลกคนคอยลุ้น.......................คืนเงินไปใช่ใหญ่โต | ||
๏..เงินทองของท่านห้าม..................อย่ามองข้ามทำยะโส | ||
เป็นพระนึกว่าโก้............................สามร้อยบาทขาดคอเชียว | ||
๏..ท่านจึงห้ามรับไว้........................สะสมภัยน่าหวาดเสียว | ||
เคร่งศีลอย่าปีนเกลียว......................ภัยเงินทองมันมากมี | ||
๏..อ่านข่าวเรื่องเงินทอน...................แถมอีกตอนโกงวิถี | ||
อุดหนุนหลวงเขาดี..........................ถวายให้สาธุการ | ||
๏..เห็นว่าเงินค่าหัว.........................พระกับจัวเขาประสาน | ||
กี่รูปนับประมาณ.............................ก็จ่ายให้ตามบัญชี | ||
๏..ตัวเลขจำนวนคน........................มักชอบกลแปลกวิถี | ||
ตรงไปตรงมาดี..............................อย่าให้เพี้ยนเกินกว่าจริง | ||
๏..ยาวแล้วเรื่องเงินทอง...................อ่านแล้วตรองเพื่อนชายหญิง | ||
บาปบุญแค่ขอติง............................ระวังไว้ก่อนทำบุญ |
วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ทักกันวันเสาร์
วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
พระรัตนตรัย
ถ่ายตอนไปเที่ยวชมเมืองโบราณ สมุทปราการ
........พระรัตนตรัย คือที่พึ่งของคนที่นับถือพุทธศาสนา มีศักดิ์เทียบกับสรณะของศาสนาอื่น ๆ คือ
นับถือ พระรัตนตรัยแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปเสาะหาที่พึ่งอย่างอื่น ๆ อีก อ้อ หมายถึงที่พึ่งแบบเทพ
แบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั่นแหละ ส่วนที่พึ่งแบบพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็ดีเป็นปกติมีได้ไม่ใช่ข้อจำกัด มารู้จัก
พระรัตนตรัยกัน คำว่ารัตนตรัย แยกเป็น รัตนะแปลว่า แก้ว ตรัย แปลว่า 3 เป็นการเรียกสิ่งที่เรา
เคารพนับถือว่าดีงามเหมือนแก้ว มี 3 อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ท่านมีดีอย่างไร
ถึงชื่นชมกันนักว่าเป็น รัตนะ ถ้าอยากรู้รายละเอียด ไปท่องจำบทสวดดู คนแต่งบรรยายไว้ดีมาก
ล้วนแต่คุณความดีของแต่ละรัตนะนั่นเอง จะขอคัดบทแปลจากหนังสือสวดมนต์ โดยสรุปย่อ ดังนี้
........บท อิติปิโส ภควา บรรยายคุณของพระพุทธเจ้า ดังนี้
1. อรหํ เป็นพระอรหันต์
2. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
4. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
5. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
7. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นสาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
8. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
9. ภควา เป็นผู้มีโชค
........บทสวากขาโต บรรยายคุณของพระธรรมไว้ ดังนี้
1. สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
2. สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติ จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง คือ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมรู้ได้เอง
3. อะกาลิโก หมายถึง ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ปฏิบัติและบรรลุ
ได้เสมอ
4. เอหิปัสสิโก หมายถึง ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม มาพิสูจน์ ศึกษา
5. โอปะนะยิโก หมายถึง ควรน้อมนำเข้ามา คือ ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อม
ใจเข้าไปให้ถึง
6. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน
........บทสุปฏิปันโน บรรยายคูรพระสงฆ์ ไว้ดังนี้
1.สุปฏิปันโน ปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
2.อุขุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง เช่นไม่ปฏิบัติลวงโลก ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด
3.ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทางคือ ปฏิบัติมุ่งธรรม ปฏิบัติถูกต้องเป็นสำคัญ
4.สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควรคือ ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพ
5.อาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่สิ่งของคำนับ คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย
6.ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ คือ ผู้ปฏิบัติงามเช่นนี้ ปในบ้านเมืองใด ย่อม
ควรแก่การต้อนรับ
7.ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาควรแก่สิ่งของทำบุญ คือ ได้รับประโยชน์ตาม
ที่ถูกที่ควร
8.อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือ พระสงฆ์เป็นผู้มีความดีอยู่ในสันดาน
9.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นเนื้อนาบุญของโลก คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์
ควรทำบุญด้วย
……….พระพุทธเจ้า พระธรรม ความหมายชัดเจนแล้ว คงไม่ต้องขยายความอีก จะจับประเด็น
รัตนะที่ 3 คือพระสงฆ์ ตามบทสรรเสริญคุณพระสงฆ์ ท่านระบุชัดเจนว่าหมายถึงสงฆ์
ประเภทไหน ตรงคำว่า ยทิทังจัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐปุริสปุคลา มี บุรุษ 4 คู่ จัดเป็นบุคคล
8 ประเภท คื อริยบุคคล 4 คู่ 8 ประเภท คือท่านจัดเป็น มรรค 1 และผล 1 ได้แก่ โสดาบัน 2
สกิทาคามี 2 อนาคามี 2 และอรหันต์ 2 ทั้งหมดจึงมี 8 ตรงตามที่ระบุในบทสรรเสริญคุณ
พระสงฆ์
........พระสงฆ์ โดยนัยที่กล่าวในบทสวดนี้ หมายถึงท่านที่เป็นอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป
ซึ่งมีทั้งฆราวาส และบรรพชิต เช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถปิณฑิกเศรษฐี พระเจ้า
พิมพิสารเป็นต้น อริยบุคคลที่เป็นบรรพชิต มีทั้งภิกษุ ภิกษุณี
........พระสงฆ์ ปัจจุบัน นิยมเรียกพระภิกษุ เป็นการเรียกให้เกียรติอย่างสูง เพราะความจริง
บวชแล้วก็เป็นนักบวชสังกัดพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าท่านใช้คำ "ภิกษุ" เรียกนักบวชใน
ศาสนาของท่าน ทุกคนที่บวชท่านจะเรียกภิกษุ ส่วนจะเป็น สาวกสังโฆ ได้หรือไม่ก็ไปดูคุณสมบัติ
ว่าเข้าเกณฑ์ จัตตาริ ปุริสยุคานิ หรือยัง
........พระสงฆ์ตามความหมายธรรมดา ๆ หมายถึงหมู่คณะ ของพระ คือพระภิกษุ เช่นเรียก
คณะสงฆ์ไทยหมายถึงพระภิกษุนิกายเถรวาท ในประเทศไทย คณะสงฆ์พม่า คณะสงฆ์ลังกา
ก็หมายถึงกลุ่มพระภิกษุในประเทศนั้น ๆ เป็นต้น
........มีเพื่อนเห็นคนตำหนิพระภิกษุออกทางสือออนไลน คงไม่ชอบใจเลยท้วงว่าคนไทยเราไม่
นิยมตำหนิติเตียนพระภิกษุสงฆ์ ระวังจะมีบาปกรรม ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ใจความทำนองนี้
กระผมเคยพบเห็นในหนังสือชาดกต่าง ๆ และได้เห็นชาวบ้านเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ เวลาพระทำผิด
ก็เอาแต่ซุบซิบนินทา ไม่กล้าทักท้วง ทำให้พระที่ไม่เคร่งต่อพระธรรมวินัย ได้ใจ กู่ไม่กลับก็เยอะ
........ความจริงพระภิกษุ เป็นคนที่ชาวบ้านยกย่องให้เป็นคนพิเศษ บวชยังไม่ออกจากอุโบสถเลย
พ่อแม่ก้มกราบเท้าลูกได้ ควรสำนึกได้นะว่า ยังไม่มีความดีอะไรที่น่ากราบไหว้หรอก อย่าภูมิใจ
ผิด ๆ รีบไปศึกษาระเบียบวินัยปฏิบัติ ทำความเป็นพระภิกษุให้สมบูรณ์จะดีกว่า สมัยกระผมบวช
วัดเรามีหลวงปู่อายุร้อยเศษรูปเดียว ท่านไม่มีโอกาสสอนระเบียบวินัยให้ มีโยมที่เคยเป็นเจ้าอาวาส
มาแนะนำให้ศึกษา เอกสาร ตำรา ตรงไหนไม่เข้าใจก็ซักถาม แกก็อธิบายให้ฟัง พระเณรทำไม่ดี
แกก็ตำหนิ เช่นโยมเขาชวนไปฉันข้าวป่า ที่เกาะกลางน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ กลับมาแกก็ตำหนิว่าไม่ควร
ไป เพราะโยมเขาไปลากอวนจับปลามาทำอาหารถวายเพล เราก็อึ้งสิ เพราะถูกของเขา ดังนั้นการ
ตำหนิ ทักท้วง กรณีพระภิกษุ ทำไม่ถูกไม่ควร ทำได้ครับ ทำเพื่อสร้างสรรค์ ช่วยให้พระระมัดระวัง
ไม่ทำผิดธรรมเนียมประเพณี ดีกว่าปล่อยเป็นแบบชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
........พระรัตนตรัย คือที่พึ่งของคนที่นับถือพุทธศาสนา มีศักดิ์เทียบกับสรณะของศาสนาอื่น ๆ คือ
นับถือ พระรัตนตรัยแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปเสาะหาที่พึ่งอย่างอื่น ๆ อีก อ้อ หมายถึงที่พึ่งแบบเทพ
แบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั่นแหละ ส่วนที่พึ่งแบบพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็ดีเป็นปกติมีได้ไม่ใช่ข้อจำกัด มารู้จัก
พระรัตนตรัยกัน คำว่ารัตนตรัย แยกเป็น รัตนะแปลว่า แก้ว ตรัย แปลว่า 3 เป็นการเรียกสิ่งที่เรา
เคารพนับถือว่าดีงามเหมือนแก้ว มี 3 อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ท่านมีดีอย่างไร
ถึงชื่นชมกันนักว่าเป็น รัตนะ ถ้าอยากรู้รายละเอียด ไปท่องจำบทสวดดู คนแต่งบรรยายไว้ดีมาก
ล้วนแต่คุณความดีของแต่ละรัตนะนั่นเอง จะขอคัดบทแปลจากหนังสือสวดมนต์ โดยสรุปย่อ ดังนี้
........บท อิติปิโส ภควา บรรยายคุณของพระพุทธเจ้า ดังนี้
1. อรหํ เป็นพระอรหันต์
2. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
4. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
5. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
7. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นสาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
8. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
9. ภควา เป็นผู้มีโชค
........บทสวากขาโต บรรยายคุณของพระธรรมไว้ ดังนี้
1. สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
2. สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติ จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง คือ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมรู้ได้เอง
3. อะกาลิโก หมายถึง ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ปฏิบัติและบรรลุ
ได้เสมอ
4. เอหิปัสสิโก หมายถึง ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม มาพิสูจน์ ศึกษา
5. โอปะนะยิโก หมายถึง ควรน้อมนำเข้ามา คือ ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อม
ใจเข้าไปให้ถึง
6. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน
........บทสุปฏิปันโน บรรยายคูรพระสงฆ์ ไว้ดังนี้
1.สุปฏิปันโน ปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
2.อุขุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง เช่นไม่ปฏิบัติลวงโลก ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด
3.ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทางคือ ปฏิบัติมุ่งธรรม ปฏิบัติถูกต้องเป็นสำคัญ
4.สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควรคือ ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพ
5.อาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่สิ่งของคำนับ คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย
6.ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ คือ ผู้ปฏิบัติงามเช่นนี้ ปในบ้านเมืองใด ย่อม
ควรแก่การต้อนรับ
7.ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาควรแก่สิ่งของทำบุญ คือ ได้รับประโยชน์ตาม
ที่ถูกที่ควร
8.อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือ พระสงฆ์เป็นผู้มีความดีอยู่ในสันดาน
9.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นเนื้อนาบุญของโลก คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์
ควรทำบุญด้วย
……….พระพุทธเจ้า พระธรรม ความหมายชัดเจนแล้ว คงไม่ต้องขยายความอีก จะจับประเด็น
รัตนะที่ 3 คือพระสงฆ์ ตามบทสรรเสริญคุณพระสงฆ์ ท่านระบุชัดเจนว่าหมายถึงสงฆ์
ประเภทไหน ตรงคำว่า ยทิทังจัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐปุริสปุคลา มี บุรุษ 4 คู่ จัดเป็นบุคคล
8 ประเภท คื อริยบุคคล 4 คู่ 8 ประเภท คือท่านจัดเป็น มรรค 1 และผล 1 ได้แก่ โสดาบัน 2
สกิทาคามี 2 อนาคามี 2 และอรหันต์ 2 ทั้งหมดจึงมี 8 ตรงตามที่ระบุในบทสรรเสริญคุณ
พระสงฆ์
........พระสงฆ์ โดยนัยที่กล่าวในบทสวดนี้ หมายถึงท่านที่เป็นอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป
ซึ่งมีทั้งฆราวาส และบรรพชิต เช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถปิณฑิกเศรษฐี พระเจ้า
พิมพิสารเป็นต้น อริยบุคคลที่เป็นบรรพชิต มีทั้งภิกษุ ภิกษุณี
........พระสงฆ์ ปัจจุบัน นิยมเรียกพระภิกษุ เป็นการเรียกให้เกียรติอย่างสูง เพราะความจริง
บวชแล้วก็เป็นนักบวชสังกัดพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าท่านใช้คำ "ภิกษุ" เรียกนักบวชใน
ศาสนาของท่าน ทุกคนที่บวชท่านจะเรียกภิกษุ ส่วนจะเป็น สาวกสังโฆ ได้หรือไม่ก็ไปดูคุณสมบัติ
ว่าเข้าเกณฑ์ จัตตาริ ปุริสยุคานิ หรือยัง
........พระสงฆ์ตามความหมายธรรมดา ๆ หมายถึงหมู่คณะ ของพระ คือพระภิกษุ เช่นเรียก
คณะสงฆ์ไทยหมายถึงพระภิกษุนิกายเถรวาท ในประเทศไทย คณะสงฆ์พม่า คณะสงฆ์ลังกา
ก็หมายถึงกลุ่มพระภิกษุในประเทศนั้น ๆ เป็นต้น
........มีเพื่อนเห็นคนตำหนิพระภิกษุออกทางสือออนไลน คงไม่ชอบใจเลยท้วงว่าคนไทยเราไม่
นิยมตำหนิติเตียนพระภิกษุสงฆ์ ระวังจะมีบาปกรรม ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ใจความทำนองนี้
กระผมเคยพบเห็นในหนังสือชาดกต่าง ๆ และได้เห็นชาวบ้านเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ เวลาพระทำผิด
ก็เอาแต่ซุบซิบนินทา ไม่กล้าทักท้วง ทำให้พระที่ไม่เคร่งต่อพระธรรมวินัย ได้ใจ กู่ไม่กลับก็เยอะ
........ความจริงพระภิกษุ เป็นคนที่ชาวบ้านยกย่องให้เป็นคนพิเศษ บวชยังไม่ออกจากอุโบสถเลย
พ่อแม่ก้มกราบเท้าลูกได้ ควรสำนึกได้นะว่า ยังไม่มีความดีอะไรที่น่ากราบไหว้หรอก อย่าภูมิใจ
ผิด ๆ รีบไปศึกษาระเบียบวินัยปฏิบัติ ทำความเป็นพระภิกษุให้สมบูรณ์จะดีกว่า สมัยกระผมบวช
วัดเรามีหลวงปู่อายุร้อยเศษรูปเดียว ท่านไม่มีโอกาสสอนระเบียบวินัยให้ มีโยมที่เคยเป็นเจ้าอาวาส
มาแนะนำให้ศึกษา เอกสาร ตำรา ตรงไหนไม่เข้าใจก็ซักถาม แกก็อธิบายให้ฟัง พระเณรทำไม่ดี
แกก็ตำหนิ เช่นโยมเขาชวนไปฉันข้าวป่า ที่เกาะกลางน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ กลับมาแกก็ตำหนิว่าไม่ควร
ไป เพราะโยมเขาไปลากอวนจับปลามาทำอาหารถวายเพล เราก็อึ้งสิ เพราะถูกของเขา ดังนั้นการ
ตำหนิ ทักท้วง กรณีพระภิกษุ ทำไม่ถูกไม่ควร ทำได้ครับ ทำเพื่อสร้างสรรค์ ช่วยให้พระระมัดระวัง
ไม่ทำผิดธรรมเนียมประเพณี ดีกว่าปล่อยเป็นแบบชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ทักกันวันพฤหัส 22 กพ.61
ภายนี้ถ่ายนานแล้ว ที่บ้านคุณเหน่ง ลูกชายที่จตุโชติ สายไหม
--------------------------------------
กาพย์ยานี 11 | ||
๏..ทักกันวันพฤหัส....................มีพรจัดส่งไปถึง | ||
ผองเพื่อนที่คำนึง....................แลญาติมิตรชนทั่วไป | ||
๏..ขอให้เกษมสันต์..................อภินันท์พิสุทธิ์ใส | ||
แคล้วคลาดปราศทุกข์ภัย............ประสบสุขทุกผู้คน | ||
๏..ร่ำรวยลาภเงินทอง................ผองชนรักทุกสถล | ||
มากยิ่งสิ่งมงคล.......................ศิริสวัสดิ์วิวัฒน์บวร | ||
๏..การงานธุรกิจ......................ล้วนสัมฤทธิ์สโมสร | ||
จำเริญเทพอวยพร.....................พรหมประสิทธิ์วิวิธชัย | ||
๏..จักเล่าวิปัสสนา....................เปิดตำราคำขานไข | ||
พุทธประวัติไซร้........................สิทธัตถะบรรพชา | ||
๏..เพราะหวังโมกขธรรม..............จำออกบวชสืบเสาะหา | ||
ไปพบท่านหลวงตา....................พระดาบสฝึกอบรม | ||
๏..อาราฬดาบส.........................เรียนได้หมดตามเหมาะสม | ||
จตุฌานนิยม............................จบหลักสูตรท่านหลวงตา | ||
๏..ไปต่อสำนักใหม่.....................หวังจักได้ลองศึกษา | ||
อุททกะดาบสมา.......................ขอร่ำเรียนอีกสี่ฌาน | ||
๏..รวมแปดสมาบัติ.....................มิรวบรัดจนแตกฉาน | ||
สมถกรรมญาน...........................จบเท่านี้ยังมิพอ | ||
๏..ทรงฌานใจสงบ......................มิพบทุกข์จริงสิหนอ | ||
ออกฌานมันยังรอ.......................ทุกข์ติดต่ออีกร่ำไป | ||
๏..อำลาหาสำนัก........................อยากรู้จักมีอีกไหม | ||
โมกขธรรมเป็นฉันใด....................เสาะสืบสิ้นทั่วดินแดน | ||
๏..ได้พบเหล่าฤาษี.....................พวกชีไพรปิติแสน | ||
ความหวังมิคลอนแคลน.................ที่สุดได้เห็นช่องทาง | ||
๏..เป็นแบบทรมาน......................บีบสังขารคอยสะสาง | ||
ให้ทุกข์มิจืดจาง...........................ยิ่งลำบากเทพชื่นชม | ||
๏..มหาเทพจะให้พร.....................เมื่อถึงตอนที่เหมาะสม | ||
เป็นแบบที่นิยม............................ปฏิบัติกันทั่วไป | ||
๏..ท่องมาหลายเขคแคว้น...............ลุถึงแดนเขตอันไหน | ||
อุรุเวลเขตนั่นไง...........................สังกัดเสนานิคม | ||
๏..ฝั่งเนรัญชลา...........................ชลธาก็เหมาะสม | ||
โพธิ์ไทรก็รื่นร่ม............................จึงยับยั้งบำเพ็ญเพียร | ||
๏..ขบฟันกดแนบแน่น..................นานเหลือแสนจนคลื่นเหียน | ||
หน้ามืดมึนวิงเวียน..........................แล้วลองเปลี่ยนลิ้นกดดู | ||
๏..เพดานปากลิ้นกด......................มิกำหนดลมออกหู | ||
นับนานเหงื่อพรั่งพรู.......................ยังมิรู้เรื่องอันใด | ||
๏..ลองเปลี่ยนลดอาหาร..................วันคืนผ่านเหนื่อยไฉน | ||
ซูมผอมแทบดับไป.........................ทรมานหนักยิ่งเกิน | ||
๏..โมกขธรรมยังมิเห็น.....................มิใช่เป็นทางขัดเขิน | ||
เลิกกลับมาจำเริญ..........................หนทางใหม่นึกทบทวน | ||
๏..ทานข้าวมีกำลัง.........................ตั้งสติลองนึกหวน | ||
องค์ฌานเพียงชักชวน......................ใจตั้งมั่นอุปจาร | ||
๏..ตามดูตามรู้เห็น...........................รูปนามเป็นสองผสาน | ||
เกิดขึ้นอยู่มินาน..............................ก็ดับไปเกิดใหม่มา | ||
๏..อยากให้มันยั่งยืน........................ลำบากฝืนยิ่งนักหนา | ||
บังคับมินำพา.................................ที่แท้เป็นอนิจจัง | ||
๏..แถมทุกข์อนันตตา.......................เป็นมรรคามิจีรัง | ||
ตัณหามีพลัง......... .......................ก่อภพชาติทุกข์นั่นแล | ||
๏..นิโรธสามตัณหา..........................ด้วยมรรคาตรงกระแส | ||
ครบสี่อริยะแท้...............................องค์สัมมาสัมพุทโธ | ||
๏..เพราะรู้อริยสัจ...........................พลวัฒน์เตวิชโช | ||
ปัญญาอนุตตโร..............................เส้นทางนี้วิปัสสนา | ||
๏..สอนให้ตั้งสติ............................วิริยะแสวงหา | ||
รูปนามตามมรรคา...........................สี่ปัฏฐานหนึ่งที่กาย | ||
๏..สองฐานเวทนา...........................จิตตามมาสามที่หมาย | ||
สติมั่นมิคลาย................................ฐานที่สี่ธรรมมารมณ์ | ||
๏..สติปัฏฐานสี่..............................ช่องทางนี้จึงเหมาะสม | ||
วิปัสสนานิยม.................................พัฒนาสติชาญ | ||
๏..จำนงเห็นไตรลักษณ์....................เดินตามมรรคมุ่งยังฐาน | ||
อริยสัจจการ..................................บรรลุได้ในปลายทาง | ||
๏..สาธุจบการเล่า............................ด้วยยังเขลายากจักสาง | ||
ตำราหยิบมากาง...........................เขียนบอกเล่าเท่านั้นแล ฯ |
วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ทักกันวันพุธ 21 กพ.61
ขุนทอง ศรีประจง
ทักกันวันพุธ 21 กพ.61 | ||
๏..ทักกันเมื่อวันพุธ..............วิสุทธิ์ใจไมตรีสรรพ์ | ||
ส่งพรให้ถึงกัน.....................คณามิตรญาติกา | ||
๏..ขอจงเกษมศรี.................สุขเปรมปรีดิ์สบหรรษา | ||
ยืนมั่นขวัญชีวา....................ห่างทุกโศกผองโรคภัย | ||
๏..กอปรการธุรกิจ.................ล้วนสัมฤทธิ์วิเศษสมัย | ||
เรืองรุ่งจำเริญไว...................อุดมสรรพทรัพย์ศฤงคาร | ||
๏..ครอบครัวสุขเปรมปรีดิ์.........เกษมศรีเกษมศานติ์ | ||
ทุกคนล้วนเบิกบาน................สุขสวัสดิ์พิพัฒนา | ||
๏..ขอพูดกรรมฐาน.................ฟังอาจารย์ให้ศึกษา | ||
สมถหลักวิชา........................อบรมใจให้มั่นคง | ||
๏..หลับตามสังเกตรู้...............ดูซิใจพิศวง | ||
มันวิ่งมิดำรง.........................อยู่กับที่ยากจริงเจียว | ||
๏..ชอบตามสิ่งรอบล้อม............ยอมวิ่งตามชวนหวาดเสียว | ||
รูปเสียงกลิ่นรสเชียว................ห้าผัสสะธรรมารมณ์ | ||
๏..ตัวเราหกช่องทาง...............ต่างสัมผัสเป็นคู่สม | ||
ตารูปหูเสียงดม......................กลิ่นจมูกลิ้นรสแล | ||
๏..สัมผัสทางกายา..................ธัมมารมณ์ตามกระแส | ||
พุ่งถึงตรงใจแท้......................คู่สัมผัสหกประการ | ||
๏..ใจเราชอบตามนะ................ยามผัสสะมาพบพาน | ||
เดี๋ยวละเดี๋ยวผสาน..................นิ่งยากเย็นหนอคุณใจ | ||
๏..มินิ่งขาดพลัง.....................มิระวังอย่าสงสัย | ||
สมควรฝึกเอาไว้.....................สมาธิจักเป็นคุณ | ||
๏..ฝึกจับใจจดจ่อ....................หาเหยื่อล่อเป็นเครื่องหนุน | ||
อารมณ์สมถะบุญ....................สี่สิบอย่างเชิญเลือกกัน | ||
๏..ตัวอย่างกสิณสิบ.................หยิบมาใช้ว่าสร้างสรรค์ | ||
อสุภสิบหลากพรรณ.................อนุสสติสิบพอดี | ||
๏..จตุรพรหมวิหาร...................อีกรูปฌานตรองวิถี | ||
อรูปนับอย่างมี........................สี่ประการเป็นอารมณ์ | ||
๏..อาหารปฏิกูล......................ธาตุเพิ่มพูนสี่สิบสม | ||
ขยันฝึกน่าชม........................สมาธิจักเกิดมี | ||
๏..คุณใจจับอารมณ์.................เลิกนิยมคอยหลบหนี | ||
แน่วแน่เป็นหนึ่งมี....................สมาธิสามประการ | ||
๏..แรกแรกขณิกะ....................ฝึกต่อนะใจหยุดฐาน | ||
จักเกิดอุปจาร.........................ระดับสองชวนชื่นชม | ||
๏..มิท้อขยันยิ่ง.......................ฝึกเอาจริงทางเหมาะสม | ||
อัปปนาน่านิยม.......................ใจแน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว | ||
๏..ปลายทางคือองค์ฌาน...........จักผ่านถึงฉลาดเฉลียว | ||
รูปสี่ระดับเชียว........................อรูปสี่รวมแปดฌาน | ||
๏..ครบแปดสมาบัติ..................ท่านสอนชัดกรรมฐาน | ||
สมถะฝึกยาวนาน......................จบที่แปดนี้นั่นแล | ||
๏..เมื่อคราวสิทธัตถะ.................ละสมบัติมิแยแส | ||
ออกบวชใจแน่วแน่....................แสวงหาโมกขธรรม | ||
๏.. อาราฬดาบส......................มีบอกบทที่แนะนำ | ||
รูปฌานสี่จดจำ.........................บรรลุได้มิช้านาน | ||
๏..อุททกะดาบส......................ร่ำเรียนหมดจนเชี่ยวชาญ | ||
อรูปสี่ครบฌาน.........................สมาบัติแปดพอดี | ||
๏..หลักสูตรสมถะ.....................วิริยะพากเพียรมี | ||
สมาบัติเป็นตัวชี้........................ผลของวัตรปฏิบัติการ | ||
๏..ส่วนทางวิปัสนา....................มีเวลาค่อยไขขาน | ||
สมถะหนักเอาการ.....................บอกเล่ายากไม่เบาแลฯ |
วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ทักกันวันอาทิตย์
สุราคนางค์ 28 | ||
…………………………………….๏..ทักทายอาทิตย์ | ||
พี่น้องผองมิตร..................ทุกผู้ทุกนาม | ||
ร่ำรวยลาภยศ....................ปรากฏติดตาม | ||
ทุกโมงทุกยาม..................เกษมเปรมปรีดิ์ | ||
…………………………………….๏..อายุยืนยาว | ||
ผ่องพรรณพิศพราว.............สบสันต์สุขี | ||
มากมวลหมู่มิตร.................สลักจิตไมตรี | ||
เริงรื่นฤดี.........................บำเทิงเริงใจ | ||
…………………………………….๏..เพียบพลเพียงคช | ||
อินทร์พรหมกำหนด............เสกสมเกรียงไกร | ||
ถึงมีอุปสรรค....................หักหาญลุได้ | ||
โดยฤทธิ์สิทธิชัย................อันเป็นมงคล | ||
…………………………………….๏..ขอกล่าวถึงบุญ | ||
อยากได้เป็นทุน................อริยะแก่ตน | ||
หนึ่งทานมัย......................ท่านไขยุบล | ||
มีสองชอบกล....................อามิสทาน | ||
…………………………………….๏..อีกหนึ่งให้ธรรม | ||
พึงก่อประจำ.....................บุญเกิดดวงมาน | ||
ชำระมลทิน.......................บาปกลิ่นมินาน | ||
ตระหนี่ขัดขาน....................เจือจางจากใจ | ||
…………………………………….๏..ตระหนี่โลภา | ||
สิ่งของทานมา...................เพื่อชะจางไป | ||
พึงทานบ่อยบ่อย................จิตค่อยสดใส | ||
เพ็ญบุญทานมัย..................สั่งสมบารมี | ||
…………………………………….๏..ส่วนธรรมทาน | ||
รูปธรรมจัดการ...................เลือกสิ่งเป็นศรี | ||
ให้ทานมากบุญ..................เป็นคุณความดี | ||
เมตตาปรานี.......................เพิ่มพูนกรุณา | ||
…………………………………….๏..บ้างให้อภัย | ||
มากมวลน้ำใจ....................ย่อมได้บุญญา | ||
แนะนำสั่งสอน....................บทตอนวิชชา | ||
คือให้ปัญญา......................เลิศยิ่งเป็นบุญ | ||
…………………………………….๏..สองสีลมัย | ||
กุศลมากได้......................ถือศีลเกิดคุณ | ||
พึงปฏิบัติ.........................เคร่งครัดจักหนุน | ||
แบบพระเณรปุน..................ถือศีลตลอดกาล | ||
…………………………………….๏..ยกเว้นยามหลับ | ||
วางศีลไม่นับ.....................ตื่นมามินาน | ||
รักษ์ศีลสืบต่อ....................เก่งพอชำนาญ | ||
ศีลจักประสาน....................สติมั่นคง | ||
…………………………………….๏..เจออุปสรรค | ||
ศีลอาจแตกหัก.................สติประสงค์ | ||
รู้ตัวละเว้น......................เป็นศีลเจตน์จง | ||
สติดำรง.........................ช่วยศีลได้ดี | ||
…………………………………….๏..ทุกเช้าตื่นมา | ||
ตั้งจิตเจตนา.....................รักษ์ศีลวิถี | ||
ปกติใจมั่น........................ผูกพันศีลมี | ||
ทุกหนแห่งชี้.....................ศีลอยู่กับเรา | ||
…………………………………….๏..กายทุจริต | ||
เพียงแค่จักคิด..................กลัวผิดศีลเข้า | ||
ทุรวจี.............................นี่บาปมิเบา | ||
ศีลช่วยบรรเทา..................มิให้ล่วงเกิน | ||
…………………………………….๏..เกิดศีลมัย | ||
บุญเกิดที่ใจ......................อบอุ่นเพลิดเพลิน | ||
ใจดีใจเย็น........................เห็นน่าสรรเสริญ | ||
ศีลควรจำเริญ.....................ทุกที่ทุกกาล | ||
…………………………………….๏..ภาวนามัย | ||
อบรมที่ใจ.......................ฝึกกรรมฐาน | ||
ใจตั้งมั่งคง.......................ดำรงได้นาน | ||
อุบายเชี่ยวชาญ.................สมาธิเกิดมี | ||
…………………………………….๏..ขณิกะเริ่มต้น | ||
อุปจารบัดดล....................ฝึกฝนด้วยดี | ||
อัปปณาเกิดเห็น.................ถือเป็นศักดิ์ศรี | ||
สมาธิเยี่ยมมี.....................อาจเดินถึงฌาน | ||
…………………………………….๏..วิปัสสนา | ||
สมถะฝึกมา.....................สมาธิไขขาน | ||
เปลี่ยนมาทำกิจ................จิตสติวิชาน | ||
รู้ตัวชำนาญ......................ตามติดพฤติกรรม | ||
…………………………………….๏..กายนุปัสสนา | ||
ตามรู้ตามมา.....................ยืนเดินกระทำ | ||
นั่งนอนก็รู้........................ตามดูประจำ | ||
สติเก่งทำ........................ตามทันทุกที | ||
…………………………………….๏..เวทนาเกิด | ||
สติก็เลิศ.........................ตามรู้มิหนี | ||
จิตตานุปัส.......................สติลัดตามดี | ||
ธรรมาเกิดมี.....................สติรู้ทันการณ์ | ||
…………………………………….๏..สติทั้งสี่ | ||
พระครูเคยชี้.....................นี่คือปัฏฐาน | ||
กายและเวทนา..................จิตธรรมผสาน | ||
ครบสี่ประการ....................มั่นคงจำเริญ | ||
…………………………………….๏..บุญกิริยา | ||
สามอย่างเล่ามา................สังเขปขอเชิญ | ||
นักบุญสนใจ.....................พึงได้ดำเนิน | ||
คงดีเหลือเกิน...................เลือกทำตามควร | ||
ปิดทองและฝังลูกนิมิต
.....ช่วงนี้เพื่อนบ้านชวนไปทำบุญปิดทองและฝังลูกนิมิต เป้าหมายเก้าวัด บอกจะได้บุญมากมาย ก็คงใช่ วัดเดียวก็ได้บุญมาก เก้าวัดก็เก้าเท่าไง แต่ถามหน่อยว่า พระหาลูกนิมิตมาตั้งเก้าลูก เอามาฝังทำอะไร ถ้าตอบได้ก็อาจไปด้วย ตอบไม่ได้ ไปกล้บมาค่อยมาบอกแล้วกัน.... ผลก็คือไม่ได้ไป ก็เลยเขียนถึงลูกนิมิตและการฝังลูกนิมิตให้อ่านเล่นกันครับ (ใช้กาพย์สุรางคนางค์ 32 นะครับ ไม่ใช่ 28 จัดวรรค
ตอนง่ายดี)
ขุนทอง ศรีประจง
17 กพ.2561
-------------------------
สุราคนางค์ 32 | ||
๏..ทักทายวันเสาร์.............โศกเหงาพึงหาย | ||
เคราะห์เข็นอย่ากราย..........ไพรีอย่าราน | ||
ขอจงเกษมศรี..................เปรมปรีดิ์สุขศานติ์ | ||
เริงรื่นชื่นบาน....................ทุกผู้ทุกนาม | ||
๏..จตุโรธัมมา...................อายุวัณณัง | ||
สุขะพลัง..........................ครบพรงดงาม | ||
ร่ำรวยลาภยศ.....................ปรากฏติดตาม | ||
จำเริญทุกยาม....................เสริมศรีมงคล | ||
๏..ขอคุยเรื่องบุญ................มากคุณเขาเชิญ | ||
นิมิตจำเริญ........................ปิดทองเวียนวน | ||
ฝังลูกนิมิต.........................ยามคิดสับสน | ||
ก้อนหินชอบกล...................ทำไมต้องมี | ||
๏..เรื่องของวินัย...................บอกไว้ชัดเจน | ||
ประชุมสงฆ์เกณฑ์.................ขอบเขตดูดี | ||
กำหนดชัดอ้าง.....................กว้างยาวให้เห็น | ||
ขอบเขตนั่นเป็น....................สีมาเรียกกัน | ||
๏..พระราชทาน....................การสงฆ์ทูลขอ | ||
ได้แล้วมิรอ.........................ปักเขตเร็วพลัน | ||
จัดหานิมิต...........................วิจิตรงามสรรพ์ | ||
ชวนปิดทองนั้น.....................ดูแล้วงามดา | ||
๏..ใช้ลูกนิมิต......................เป็นกิจของสงฆ์ | ||
ปักกลางให้ตรง....................แปดทิศรอบมา | ||
ทิศละหนึ่งลูก......................ทักผูกเสาะหา | ||
แปดลูกติดตรา......................นิมิตเขตแดน | ||
๏..รวมลูกนิมิต.....................จมติดดินลง | ||
มองดูก็งง..........................เห็นยากเหลือแสน | ||
ต้องมีเครื่องหมาย.................ใบคล้ายแบบแปลน | ||
เสมาตามแผน......................ฝังโผล่ข้างบน | ||
๏..คณะสงฆ์สวดทัก..............เริ่มปักตรงไหน | ||
สวดถามออกไป...................ตรงนี้บอกผล | ||
หลักเขตสีมา......................ขออย่าสับสน | ||
นิมิตที่ค้น..........................ปักไว้บอกมา | ||
๏..เถระผู้รู้.........................บอกดูทันใด | ||
ขอเรียนสงฆ์ไซร้..................นิมิตเขตหนา | ||
ลูกหินกลมกลม...................ลูกนี้เจ้าข้า | ||
บอกเขตตีตรา.....................ด้านนี้ชัดเจน | ||
๏..ทักวนรอบโบสถ์...............เทียวโจทก์สอบถาม | ||
นิมิตครบตาม.......................เก้าลูกครบเกณฑ์ | ||
อาคารประชุม.......................ทุกมุมที่เห็น | ||
สมบูรณ์ใช้เป็น.....................อุโบสถสีมา | ||
๏..เมือทำสังฆกรรม...............กระทำในโบสถ์ | ||
ประชุมกล่าวโทษ.................พระล่วงอาญา | ||
อาบัติหนักยิ่ง.......................ท้วงติงหนักหนา | ||
ร่วมกันพบพา.......................สงฆ์พร้อมเพรียงกัน | ||
๏..อุปสมบท........................กำหนดให้ทำ | ||
เป็นสังฆกรรม.......................ในโบสถ์พร้อมสรรพ์ | ||
กฐินถวาย............................ภายในโบสถ์พลัน | ||
สังฆกรรมนั้น........................เรียบร้อยดีงาม | ||
๏..สรุปเรื่องนิมิต....................สงฆ์คิดเขตแดน | ||
ชื่นชมเหลือแสน....................ราชาให้ตาม | ||
ที่ขอขึ้นไป...........................ได้วิสุงคาม | ||
ปักเขตไต่ถาม.......................เก้าลูกจัดมา | ||
๏..นิมิตก้อนกลม....................ชวนชมเท่าบาตร | ||
กลึงแต่งพิลาส.......................ฝังเขตอาณา | ||
เรียกเขตของโบสถ์..................โปรดทานสังฆา | ||
ฝังกลางเรียกว่า......................นิมิตประธาน | ||
๏..แปดลูกแปดทิศ..................ผูกติดรอบวน | ||
มองมิเห็นหน.........................มันจมดินดาน | ||
ปักใบเสมา............................หาง่ายได้ขาน | ||
ล่างลงใต้ลาน........................นิมิตหินแล | ||
๏..จบเรื่องนิมิต.......................เพียงคิดอยากไข | ||
เห็นคนชอบไป.......................ทำบุญกระแส | ||
เขาบอกบุญมาก .................... หายากจริงแน่ | ||
พอถามกลับแปล.....................มิออกบอกมา | ||
๏..ปักเขตอุโบสถ....................ประโยชน์ของสงฆ์ | ||
ทำให้มั่นคง...........................นิมิตศิลา | ||
มิใช่เรื่องแปลก.......................แยกได้สิหนา | ||
สุดแสนธรรมดา......................บอกให้ เอาบุญ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)