Item Bank
ขุนทอง ศรีประจง
คลังข้อสอบ เป็นหลักการที่ดี น่าจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผมเคยมีความคิดอยากจะทำ ด้วยการหยิบข้อสอบ ที่ครูใช้สอบกลางภาค ปลายภาค นำมาวิเคราะห์หาค่า p ค่า r แล้วจะเก็บเข้า Bank พอดีเจอข้อสอบบางข้อมา จากแบบฝึกที่สำนักพิมพ์เขาทำจำหน่าย เลยหมดแรง พอดีได้ออกไปทำงานที่จังหวัด ไม่มีคนช่วยสานต่อเลยปิดโครงการ ไป เสียดายเหมือนกัน วันนี้ได้เขียนถึงการวิเคราะห์ข้อสอบไปแล้ว ก็อยากเลยไปถึงคลังข้อสอบ บ้าง
..........คลังข้อสอบที่ผมอยากได้คือที่เก็บรวบรวมข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 - 5 ตัวเลือก โดยเก็บเป็นรายข้อ รายวิชา แยกเป็นรายจุดประสงค์การเรียน เมื่อก่อนต้องใช้วิธีพิมพ์บัตร กระดาษแข็ง ขนาด กระดาษ A 4 ตัด 4 ส่วน ใช้เป็นบัตร เก็บข้อสอบ 4 ข้อ พร้อมรายละเอียด แต่เดี๋ยวนี้ โปรแกรมเอกเซล สามารถนำมาประยุกต์ใช้แทนบัตรเก็บข้อสอบได้
ตัวอย่างคลังข้อสอบที่ใช้ตารางเอกเซล ข้อละ 5 บรรทัด ตารางหนึ่งยาว 1,048,576 บรรทัด เก็บได้ 2 แสน ข้อ เหลือเฟือ เวลาต้องการ ก็ใช้ความสามารถโปรแกรม ค้นหาเฉพาะรายวิชา เฉพาะระดับชั้น ได้ จึงคิดว่าน่าจะสะดวกสำหรับครูที่คิดอยากทำ
..........วิธีดำเนินการ เพียงแค่ครูพิถีพิถันการออกข้อสอบ เก็บข้อมูลอย่างมีหลักการ มีตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ สรุปผลได้ชัดเจนว่าจุดประสงค์ขอไหน ออกข้อสอบวัด กี่ข้อ สร้างข้อสอบ 4-5 ตัวเลือก แล้วนำไปใช้ทดสอบกับนักเรียนตามปกติ ทดสอบเสร็จ ก็จัดเก็บข้อมูลการทดสอบมาวิเคราะห์หาความยากง่าย เพื่อบันทึกลงคลังข้อสอบ ถ้านักเรียนที่สอบ ไม่เกิน 100 คน ควรใช้ทั้งหมด นำคะแนนมาเรียงอันดับ แบ่งครึ่งเป็นกลุ่มสูง กลุ่มต่ำ นำไปกรอบตารางวิเคราะห์หาค่า p ค่า r ได้ ถ้านักเรียนเกิน 100 คน 10-20 อาจตัดใจเอามาวิเคราะห์หมดก็ได้ หรือจะใช้วิธีสุ่ม เช่น นักเรียน 300 ทำสลาก 1 2 3 สุ่มจับ 1 ใบ จับได้เลข 3 เลือกคนที่อยู่ลำดับที่ 3 จับใหม่ ได้หมายเลข 1 คือคนที่ได้ลำดับที่ 4 ต่อไปสลากของหมายเลข 7 8 9 คือจับทีละ 3 ฉบับ เลือก เอา 1 จนได้ครบ 100 ฉบับ เป้นตัวแทนของ 300 ฉบับ นำไปใช้กับตารางวิเคราะห์
..........ตารางวิเคราะห์ แนะนำให้ใช้ตารางเอกเซล เริ่มแต่คีย์ข้อมูลกระดาษคำตอบนักเรียนทีละฉบับ ซึ่งยากพอสมควร แต่ก็คุ้ม เพราะพอบันทึกเสร็จ ผล คะแนนที่ได้ ค่า pและค่า r ก็ปรากฏให้เห็นทันที ไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลข แถมแม่นยำด้วย
ตารางวิเคราะห์ข้อสอบกลุ่มสูงกลุ่มตำ ออกแบบเหมือนกัน ใช้ร่วมกันได้ ข้อสำคัญ การใส่สูตรคำนวณ และการคัดลอก สูตร ตรวจสอบให้ดีว่าสูตรถูกต้องและคัดลอกไปแล้วก็ถูกต้อง ผลวิเคราะห์จะได้ไม่ผิดพลาด สะดวกจริง ๆครับ หลังการวิเคราะห์ข้อสอบ ทำให้เราได้ทราบว่า ข้อสอบที่เราเขียนกับมือ เป็นข้อสอบที่ ยาก ง่าย แค่ไหน ดูค่า p r มี ความสามารถจำแนกเด็กเก่งไม่เก่งได้ดีหรือไม่ ดูค่า r แล้วบันทึกผลการใช้ลงในแบบเก็บข้อสอบในคลัง ข้อสอบบางข้อ สถิติดี ก็เก็บไว้ใช้ได้เลย ส่วนข้อที่บกพร่องก็ปรับปรุงแก้ไข นาน ๆเข้าครูก็จะมีข้อสอบวัดจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อเดียว มีหลายคำถาม
หลายตัวเลือก แต่ละข้อมีประวัติการนำไปใช้ และประวัติค่าสถิติจากการวิเคราะห์ จนพบว่าข้อสอบจำนวนหลายร้อยข้อเป็นข้อสอบ ที่มีคุณภาพดี แวลาเลือกมาทำแบบทดสอบ ครูก็นำตารางวิเคราห์จุดประสงค์ไปเลือกเอาข้อสอบจากคลังได้เลย กำหนดได้ด้วย ว่าจะเอาข้อสอบแบบยาก ปานกลาง หรือง่าย หน่อย อยากทำแบบทดสอบคู่ขนาน ก็ทำได้ วัดจุดประสงค์การเรียนข้อเดียวกัน ค่า p r ใกล้เคียงกัน เพราะมีให้เลือกหลายข้อ คลังข้อสอบช่วยได้ครับ
ปล การอ้างอิงเซลในตารางเอกเซล เป็นการกำหนดให้เซลที่เราต้องการ แสดงผลเหมือนเซลที่เราอ้างอิง เช่น ผมพิมพ์ชื่อ ผมไว้ที่ เซล B100 ผมอยากให้ชื่อปรากฏที่เซล B200 ด้วยวิธีอ้างอิงเซล ผมเอาเมาส์คลิกเซล B200 ตามด้วยแตะแป้นเครื่อง หมายบวก แล้วเมาส์เลื่vนไปเซล B100 พบชื่อพอดี เมาส์คลิก B100 เคาะแป้น Enter จบ ชื่อโผล่เซล B200 ได้เลย เรียกว่าอ้าง อิงเซล เราใช้วิธีเดียวกันนี้ อ้างอิงเซลที่มีสูตร ฟังชั่น ต่าง ๆ ได้ครับ
การคัดลอก ปกติเราจะเลือกเซลต้นฉบับแล้วใช้คำสั่งคัดลอกก่อ จากนั้นไปเลือกที่จะวาง ค่อยใช้คำสั่งวาง สิ่งที่คัดลอกไว้ จะปรากฏให้เห็น ลองเลือกที่วางมากกว่า 1 เซลดูว่าผลจะเป็นอย่างไร วิธีนี้แหละครับเราใช้คัดลอกสูตร ฟังชั่น ที่ใช้แบบเดียวกัน เช่นจะรวมคะแนนนักเรียน 120 คน เราใช้ฟังชั่นเฉเพราะเลขที่ 1 จากนั้นคัดลอกสูตรไปใช้กับคนอื่น ๆ มันง่ายใช่ไหม ลองดูสิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น