นิทานอีสป | ||
1. กบเลือกนาย | ||
ในบึงมีกบฝูงใหญ่ | แฝงใบบัวบึงพฤกษา | |
แมกไม้มดแมงนานา | อาหารหาง่ายสบายใจ | |
คราหนึ่งกบชุมนุมกัน | ฝันว่ามีนายดีไหม | |
คนที่จักช่วยคุ้มภัย | ทุกตัวใคร่จักมีนาย | |
พวกกบมันเลือกผู้แทน | มีแผนส่งไปเป็นสาย | |
วอนเทพแน่วแน่มิคลาย | หมายมีผู้นำพวกมัน | |
เทพโยนขอนไม้มาให้ | บึ่งใหญ่สะท้านน่าขัน | |
ตูมตูมไม้กระแทกกระทั้น | น้ำนั้นกระเพื่อมตีฟอง | |
พวกกบแตกตื่นหลบหนี | ต่างมีความกลัวสยอง | |
ให้หลังเงียบเสียงแอบมอง | ลองส่งผู้กล้าไปดู | |
มันร้องบอกเทพส่งนาย | ท่อนไม้ลวดลายงามหรู | |
เกาะเล่นสนุกข้ารู้ | วู้วู้รีบมาพวกเรา | |
ประชาชาวกบยังหวาด | ขลาดขลาดกลัวกลัวพวกเขา | |
มินานชวนกันมาเฝ้า | ขอนไม้เร้าใจใคร่ปีน | |
กบน้อยกบใหญ่หัวเราะ | แย่งเกาะลืมไปจำศีล | |
แย่งกันกบไทยกบจีน | เหยียบตีนกันมั่วสนุกดี | |
ขอนไม้พาลอยไปทั่ว | ไม่กลัวนานไปหน่ายหนี | |
นายไม่พูดจาพาที | มิมีฤทธิ์เดชอันใด | |
ไปวอนเทพเจ้าอีกครั้ง | หวังนายแบบป้องกันภัย | |
มีความสามารถยิ่งใหญ่ | ทำได้ชี้ตายชี้เป็น | |
เทพไทรำคาญยิ่งนัก | กูจักให้มันได้เห็น | |
ส่งนกกระสามาเป็น | นายเช่นพวกมันต้องการ | |
นายนกกระสาจับปลา | เดินมาเห็นกบก็หวาน | |
จับกินมิช้ามินาน | กบพาลจะหมดสิ้นไป | |
อันความไม่รู้จักพอ | มักก่อเหตุร้ายไฉน | |
ละโมบโลภมากจัญไร | ดังไฟจักเผาตัวเอง | |
2. กระต่ายป่ากับกบ | ||
กระต่ายที่ป่าละเมาะ | ลัดเลาะทุ่งหญ้าไพศาล | |
มันออกหากินสำราญ | เบิกบานหญ้าอุดมสมบูรณ์ | |
วัวควายชาวบ้านก็มา | หากินมิเคยสิ้นสูญ | |
งอกงามมาเติมเพิ่มพูน | จำรูญจำเริญน่ายินดี | |
เสียดายบางคราวคนมา | ผวาตกใจหลบหนี | |
บ้างมุดลงรูก็มี | บ้างรี่เข้าป่าไปทัน | |
จ่าฝูงจึงเรียกประชุม | กลุ้มนักวิตกผกผัน | |
ตกใจแตกตื่นทุกวัน | ชวนกันไปโดดน้ำตาย | |
ทุกตัวเห็นพ้องรีบไป | ที่แม่น้ำใหญ่หนึ่งสาย | |
เห็นกบกระโดดวุ่นวาย | หมายหนีลงน้ำนั่นเอง | |
กระต่ายได้คิดที่จริง | สรรพสิ่งมีภัยข่มเหง | |
ทำให้ตกใจหวาดเกรง | นักเลงไม่ฆ่าตัวตาย | |
อันความทุกข์ยากลำบาก | มีมากใช่เรื่องเสียหาย | |
พบพานแก้ไขกลับกลาย | ดีกว่ายอมพ่ายก่อนทำ | |
3. กระต่ายกับเต่า | ||
กระต่ายหนุ่มน้อยในป่า | ท่าทางกระฉับกระเฉง | |
วิ่งเล่นในป่าตามเพลง | มากหมู่กันเองรื่นรมย์ | |
แล่นเหนื่อยหลบตามพุ่มไม้ | หลบไว้นอนเล่นสุขสม | |
มินานก้อนหินกลมกลม | ชวนชมกลิ้งผ่านไกล้มา | |
ที่แท้ก็คือตอเต่า | งี่เง่าต้วมเตี้ยมนักหนา | |
ทำไมเอ็งจึงชักช้า | ปัญญาคงโง่เต็มทน | |
ดูข้ารูปร่างสะสวย | ร่ำรวยปรีชามิสับสน | |
วิ่งเร็วกว่าลมทุกตน | ฉลาดกลชั้นเชิงเชี่ยวชาญ | |
เต่าฟังดังลมออกหู | ถึงตูต้วมเตี้ยมแต่หาญ | |
ทุกตัวล้วนเกิดมานาน | รู้กาลรู้คุณอุ่นใจ | |
เป็นต่ายมิควรหมิ่นเต่า | เราขอท้าทายสู้ไหม | |
มาวิ่งขันแข่งกันไป | เส้นชัยสักสิบกิโล | |
กระต่ายหัวร่อขบขัน | รับคำด้วยมันโมโห | |
ได้เลยคุณเต่าตาโต | พิโธ่เล็กน้อยได้เลย | |
เริ่มต้นเชิงเขาตรงนี้ | คือที่ออกวิ่งอย่าเฉย | |
พรุ่งนี้พร้อมกันดังเคย | กรรมการขอเอ่ยเชิญใคร | |
คุณเต่าว่าวานจิ้งจอก | บอกเขาพร้อมกันดีไหม | |
วานจงอยู่รอเส้นชัย | จักได้เป็นพยานสำคัญ | |
ทุกการเตรียมพร้อมยอมรับ | พร้อมสรรพรุ่งขึ้นขยัน | |
เต่ากระต่ายตื่นเช้ามากัน | พร้อมสรรพ์เริ่มแข่งได้เลย | |
กระต่ายแคล่วคล่องว่องไว | วิ่งไปราวลมพัดเฉย | |
ลับหายสายลมรำเพย | เต่ามันค่อยคืบคลานไป | |
กระต่ายวิ่งเร็วนักหนา | ผ่านมามินานสงสัย | |
โน่นแน่แลเห็นเส้นชัย | ดีใจแวะพักข้างทาง | |
ร่มไม้ลมพัดเย็นเย็น | ช่างเป็นหดหัวหดหาง | |
ปล่อยกายพักผ่อนปล่อยวาง | นึกอ้างสักครู่ค่อยไป | |
ลืมหลับสนิทจิตปล่อย | หลับผลอยเนิ่นนานไฉน | |
ส่วนเต่าต้วมเตี้ยมคลาไคล | จนได้เห็นกระต่ายหลับนอน | |
คลานต่อมิหยุดสุดแรง | แข็งขันอดทนทอดถอน | |
พากเพียรกำหนดบทจร | ถึงตอนสุดท้ายเส้นชัย | |
กรรมการจิ้งจอกงุนงง | ตรงมาหาเต่าสงสัย | |
กระต่ายตายแล้วหรือไร | ทำไมมิยอมวิ่งมา | |
มินานกระต่ายวิ่งตาม | ยามนี้ยิ่งแปลกนักหนา | |
ทำไมจึงเกิดชักช้า | เสียท่าคุณเต่าติดดิน | |
อันความเย่อหยิ่งจองหอง | ลำพองว่าเลิศประเสริฐศิลป์ | |
ดูถูกดูแคลนดูหมิ่น | ยินดีตามความพอใจ | |
มักเกิดผิดพลาดโดยง่าย | เสียดายความเก่งไฉน | |
ปัญญาฉลาดว่องไว | เพียงไร้คุณธรรมนำพา | |
ทำการทำกิจผิดพลาด | มิอาจแก้ไขกังขา | |
เพราะความประมาทธรรมดา | จรรยาไม่ดีนั่นแล | |
4.กระต่ายกับหนู | ||
กระต่ายหิวโซตัวหนึ่ง | ถึงคราข้าวยากหมากแพง | |
หากินยากยิ่งหน้าแล้ง | อดมือกินมื้อยากเย็น | |
ทำให้ผ่ายผอมโหดหิว | ท้องกิ่วโซเซมาเห็น | |
รูหนูสงสัยคงเป็น | ที่ซ่อนอาหารของมัน | |
ลองมุดเข้าไปจนได้ | นี่ไงข้าวเปลือกพร้อมสรรพ์ | |
เม็ดถั่วเม็ดงาสำคัญ | ของโปรดทั้งนั้นโชคตู | |
มันแอบกินเพราะหิวมาก | ลำบากหลับในรังหนู | |
ตื่นมาหิวอีกมองดู | อาหารมากมีสะดวกดาย | |
กินอิ่มนอนหลับอ้วนท้วน | ของกินยั่วยวนเหลือหลาย | |
ร่างมันโตใหญ่มากมาย | เคลื่อนกายลำบากยากเย็น | |
จักออกก็ออกมิได้ | ตัวใหญ่คับรูยากเข็น | |
พวกหนูมาพบล้อเล่น | เฮ้ยคุณต่ายจอมโจร | |
แอบกินอาหารพวกข้า | โลภาอ้วนพีเคยโผน | |
โลดแล่นเร็วไวลองโดน | หนูแทะหางเล่นไม่ไป | |
รูเล็กที่แกเห็นนั่น | มันทางมุดมาใช่ไหม | |
ตอนนี้อ้วนพีตัวใหญ่ | เลยออกมิได้สนุกเรา | |
ต้องเป็นของเล่นหนูหนู | อยู่นี่ช่วยให้คลายเหงา | |
ได้กัดได้ถีบเบาเบา | จนกว่าจักผอมค่อยไป | |
อันความโลภโมโทสัน | โทษมันมากมีขอไข | |
ชักนำทำผิดพลาดได้ | บางคราวเภทภัยตามมา | |
พึงรู้จักยั้งชั่งจิต | พึงคิดรอบคอบสอบหา | |
ควรหรือมิควรปัญญา | จักได้ไม่พลั้งพลาดแล | |
5กระต่ายกับเพื่อน | ||
กระต่ายป่าอารมณ์ดี | มีเพื่อนสัตว์ป่าหลากหลาย | |
ม้าวัวแพะแกะมากมาย | ภูมิใจโอ้อวดทั่วไป | |
กระต่ายแบบฉันเพื่อนมาก | เขาอยากเป็นมิตรแน่ไหม | |
สัตวสัมพันธ์นั่นไง | ฉันมีมากมวลแน่นอน | |
วันหนึ่งยินเสียงหมาป่า | ดังมาทั้งยังเห่าหอน | |
มันกลัวจักอาจม้วยมรณ์ | จำไปหาเพื่อนช่วยที | |
พบม้าเพื่อนเกลอช่วยหน่อย | เราคอยนายพาหลบหนี | |
ม้าบอกธุระฉันมี | ลองไปถามไถ่คุณวัว | |
กระต่ายวิ่งหามินาน | พบพานขอร้องน่าหัว | |
มันบอกกูเองก็กลัว | มิหนำมีนัดนวลนาง | |
งัวสาวสุดสวยเซกซี่ | โทษทีกลัวสาวเมินหมาง | |
ทีหลังมิขัดวัวอ้าง | ลองไปหาแพะดูเธอ | |
เดินทางเทียวหาคุณแพะ | แวะไปพบพานเสนอ | |
กลัวหมาพาหนีหน่อยเกลอ | มันร้องใกล้มาทุกที | |
อยากช่วยเหมือนกันแพะว่า | ขนข้ายามนั่งพาหนี | |
แข็งมากทิ่มตำไม่ดี | เพื่อนจักเจ็บตูดทรมาน | |
ลองถามเจ้าแกะดูนะ | ขนมันละเอียดลองขาน | |
พบมันลองขอไหว้วาน | สบายกว่ากันมากเลย | |
กระต่ายตรงไปหาแกะ | ตามแนะฟังเพื่อนเปิดเผย | |
พวกกูกลัวมิอยากเอ่ย | หมามันชอบกัดแกะเรา | |
ทันใดหมาป่ามาใกล้ | กลัวภัยด้วยความขลาดเขลา | |
ออกวิ่งรวดเร็วมิเบา | รอดพ้นความตายปลอดภัย | |
อันเพื่อนมากมวลที่มี | เพื่อนดีพึ่งพาอาศัย | |
มีน้อยหายากกระไร | ส่วนใหม่มักเป็นเพื่อนกิน | |
ทำการทำกิจน้อยใหญ่ | ครวญใคร่ทั้งศาสตร์และศิลป์ | |
ลงมือทำเองยลยิน | มักเสร็จได้ด้วยปัญญา | |
6. กวางกับเสือ | ||
กวางน้อยหากินในป่า | เล็มหญ้าใบไม้ตามประสา | |
มินานพรานไพรผ่่านมา | เห็นท่าไม่ดีหนีไป | |
นายพรานตามมิลดละ | สะกดรอยกวางอยู่ไหน | |
มินานเห็นหลังไวไว | โลดไล่มิยอมเลิกรา | |
กวางน้อยตกใจยิ่งนัก | หักหลบเข้าถ้ำผวา | |
มิรู้เป็นถ้ำพยัคฆา | หน้าตั้งวิ่งมุดเข้าไป | |
เสือโคร่งก็ตื่นตระหนก | ยกคอแอบดูสงสัย | |
เออหนอนี่มันอะไร | หรือภัยวิ่งมาหาเรา | |
ที่แท้ลูกกวางตัวจ้อย | เด็กน้อยช่วยให้คลายเหงา | |
เอ็งจักเป็นอาหารเรา | ย่อเข้าตะครุบทันที | |
ลูกกวางถึงกาลอวสาน | บันดาลคิดหาวิถี | |
หมดสิ้นคงยากครานี้ | มิมีทางรอดใดเลย | |
อันตรายมากมายนักหนอ | ถึงรออยู่นิ่งเฉยเฉย | |
มัจจุราชเชิญรถมาเกย | ยามเผยให้เห็นสะพรึงกลัว | |
ไม่เลือกเวลาเย็นเช้า | พบเข้ายามบ่ายน่าหัว | |
ยามค่ำยามดึกใช่ชั่ว | อย่ามัวประมาทจึงดี | |
7. กวางป่ากับพุ่มไม้ | ||
กวางหนุ่มถูกพรานล่า | หลบหลีกกลางป่าขุนเขา | |
วิ่งมาพบพุ่มไม้เก่า | ใบอ่อนแตกคลุมรำไร | |
แวะหลบเช่นเคยดีแน่ | นายพรานเหลือบแลอยู่ไหน | |
มิเห็นวิ่งผ่านเลยไป | กวางหนุ่มวางใจยินดี | |
ยืนนานชักหิวมากนัก | หักกิ่งไม้เล็มตรงนี้ | |
กำลังแตกใบมากมี | ยอดอ่อนรสเปรี้ยวปรีดา | |
มินานพรานกลับทางเก่า | เห็นเข้าพุ่มไม้แลหา | |
ทำไมใบหล่นแปลกตา | ที่แท้กวางหลบนั่นเอง | |
ส่องปืนนัดเดียวกวางล้ม | สมใจเพราะกวางข่มเหง | |
พุ่มไม้มีคุณมิเกรง | มัวกัดกินใบเสียเพลิน | |
พุ่มไม้ใบมิดปิดบัง | มิได้ระวังขัดเขิน | |
จนใบโปร่งบางง่ายเกิน | พรานเห็นดับดิ้นชีวา | |
อันคนอกตัญญู | มิรู้คุณคนอื่นหนา | |
มักมีเภทภัยบีฑา | เพราะว่าบาปกรรมตนแล | |
8. กากับนกยูง | ||
ยายแก้วเรียกลูกมาพบ | นิทานอีสปนี่หนา | |
มีเรื่องเกี่ยวกับอีกา | วางท่าอยากเป็นนกยูง | |
มันอยู่กลางป่ากลางดง | ทุกวันคงอยู่กับฝูง | |
จิตใจมักอวดชักจูง | ลืมทุ่งลืมป่าดงดอน | |
เห็นนกยูงขนสีสวย | งงงวยมนต์ขลังเฝ้าสอน | |
ตัวข้ามีขนอรชร | งอนงามแบบนั้นคงดี | |
ใครเห็นใครคงอิจฉา | เพราะงามสง่าราศี | |
งามกว่ากาดงพงพี | ข้านี้สูงส่งเลิศลอย | |
มันเที่ยวบินวนเลียบป่า | หาขนนกยูงใช้สอย | |
เก็บมาเสียบแซมไม่น้อย | แพรวพรายดังพลอยเลื่อมงาม | |
มันเที่ยวบินอวดนกอื่น | เขาตื่นแปลกใจไถ่ถาม | |
นั่นตัวอะไรมองตาม | ยามมองงุนงงสงกา | |
มันบินเข้าใกล้นกยูง | อยากอยู่กับฝูงเสาะหา | |
เลียบเคียงเข้าใกล้เสวนา | บรรดานกยูงในใจ | |
เจ้านี่อีกาตัวดำ | น่าขำแต่งขนแปลกไฉน | |
ทำท่าเทียบเราเข้าใจ | จิกไล่หลีกพ้นคนจร | |
โดนจิกด่าตีเจ็บปวด | รวดเร้าหลบจากสิงขร | |
บินมาหาเพื่อนในดอน | เดือดร้อนหวังพึ่งพวกตน | |
พวกกาจำได้หมอนี่ | อวดดีอวดเด่นสับสน | |
รังเกียจพวกพ้องยากจน | ลนลานอยากเป็นนกงาม | |
คงถูกขับไล่ไสส่ง | ตรงมาไม่ต้องไต่ถาม | |
ขับไล่ให้ไกลทุกยาม | เขาตามจิกตีด่าทอ | |
อันคนลืมตนลืมชาติ | ประหลาดเย่อหยิงนี่หนอ | |
ใครเขารังเกียจเหล่ากอ | ไม่อยากพบพ้อสัมพันธ์ | |
ดังกาใฝ่หงส์สูงศักดิ์ | มักอวดเขาเห็นเป็นขัน | |
เพื่อนเก่าทอดทิ้งสำคัญ | มาดมั่นสูงไปไม่ดี | |
9. กากับเหยือกน้ำ | ||
ยังมีอีกาตาดำ | เคราะห์กรรมบินไปในนา | |
ยามแล้งแดดเจิดจ้า | ร้อนจัดจนน่ารำคาญ | |
นานเข้าก็กระหาย | สายตาสอดส่องประสาน | |
ห้วยหนองขาดน้ำมานาน | แห้งผากทุกแห่งเสียดาย | |
แลเห็นกระท่อมกลางนา | แวะหาคงไม่เสียหาย | |
อาจมีตุ่มน้ำผ่อนคลาย | หิวมากจวนจักเป็นลม | |
มีตุ่มแต่ไม่มีน้ำ | ช้ำนักอีกาขื่นขม | |
เห็นเหยือกอีกใบตาคม | แวบแวบในห้องชาวนา | |
เลาะไปเห็นมีน้ำอยู่ | นิดหน่อยก้มดูหรรษา | |
ก้มลงจักดื่มสักครา | เสียดายอยู่ลึกเกินไป | |
มันคิดตรึกหาวิธี | พลันมีความคิดแจ่มใส่ | |
บินหาหินคาบเอาได้ | วางใส่ลงเหยือกทดลอง | |
หลายรอบหลายก้อนน้ำล้น | จนดื่มได้ตอบสนอง | |
ไหวพริบปัญญาดังทอง | คุณค่ามากพ้นคณนา | |
สั่งสมเอาไว้ดีนัก | ประจักษ์ยามสบปัญหา | |
หากแม้นมากมีปัญญา | สามารถช่วยได้แน่เอย | |
10. ไก่แจ้กับเหยี่ยว | ||
ไก่แจ้หนุ่มน้อยสองตัว | ชอบมั่วแก่งแย่งกันเสมอ | |
ถึงอยู่ด้วยกันยามเจอ | เธออย่ามาแย่งฉันซี | |
ลานบ้านมันเขตของฉัน | เธอนั้นที่หลังกำแพง | |
ต่างตัวต่างก็ไม่ยอม | พร้อมรบอย่ามากำแหง | |
ที่สุดก็ต้องออกแรง | ทิ่มแทงด้วยเดือยจิกตี | |
ตัวเล็กด้อยพลังพ่ายแพ้ | เจ็ดปวดนักแลถอยหนี | |
แอบอยู่ไต้ถุนรอรี | เจ็บนี้ปวดนักร้าวราน | |
ไก่แจ้ตัวใหญ่ชนะ | ประกาศก้องกูกล้าหาญ | |
ชนะศึกแย่งแดนสำราญ | เบิกบานโลกนี้ของกู | |
โก่งคอขันเอ๊กอีเอ๊กเอ๊ก | เด็กเด็กหายไปไหนสู | |
คนเก่งคนชนะมาดู | ยืนอยู่ที่ขอบกำแพง | |
บัดดลเหยี่ยวใหญ่ผ่านมา | แลหาเห็นไก่กำแหง | |
กำลังอวดเก่งอย่างแรง | เหยี่ยวโฉบสำแดงฤทธี | |
จับไก่ไปกินโดยง่าย | มันตายเพราะอวดไม่หนี | |
ตัวพ่ายออกมายินดี | ไม่มีคู่แข่งสบายใจ | |
อันการแก่งแย่งทำการ | รำคาญคนชนะจะไข | |
มักอวดเย่อหยิ่งกระไร | มักได้ดูหมิ่นดูแคลน | |
บ่อยครั้งตั้งใจประมาท | พลาดพลั้งเสียหายหลายแสน | |
ดังไก่เสียชีพเสียแดน | แม่นมั่นเย่อหยิ่งนั่นแล | |
11. ไก่ชนกับหมาจิ้งจอก | ||
มีหมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง | มันถึงเล้าไก่แลหา | |
ช่องทางจักเข้าไปคว้า | หาไก่มากินสักตัว | |
เสียดายเขาทำมั่นคง | มันงงเดินวนเวียนหัว | |
พวกไก่ต่างแตกตื่นกลัว | เห็นรั้วมั่นคงผ่อนคลาย | |
ไก่ชนตัวหนึ่งบินร่อน | เกาะคอนบนรั้วใจหาย | |
จิ้งจอกกระโจนลวดลาย | หมายจักจับมันทันใด | |
มันโจนหลบลงที่เล้า | เพื่อนเขาล้อเลียนสงสัย | |
จักจิกจิ้งจอกแล้วไซร้ | แล้วใยหลบหนีลงมา | |
ไก่ชนบอกไม่ทันเห็น | ยากเย็นหลบจิ้งจอกหนา | |
เมื่อก่อนมันเคยกัดข้า | คมเขี้ยวน่ากลัวจริงจริง | |
ยอมรับว่ายังขี้ขลาด | มิอาจสู้มันชายหญิง | |
ขออภัยยังไม่อยากทิ้ง | คอฉันให้มันคาบไป | |
อันการยอมรับความขลาด | ฉลาดระวังสงสัย | |
ผ่อนหนักผ่อนเบาเภทภัย | ดีกว่าอวดกล้าอวดดี | |
บ้างก็ประมาทเลินเล่อ | ยามเจอเรื่องยากหลบหนี | |
ปมาโทมัจจุโนปทังชี้ | สัจจธรรมจำไว้ดีแล | |
12. ไก่ได้พลอย | ||
ไก่เอ๋ยเจ้าไก่แจ้ | งามแท้ท่วงท่าสง่าเสมอ | |
ขนงามเลื่อมสลับได้เจอ | ขานขันละเมอจำเรียง | |
เพราะพริ้งเอ๊กอีเอ๊กเอ๊ก | ดังเสกมนต์เสน่ห์เสนาะเสียง | |
ไก่สาววิ่งหาคลอเคียง | จำเรียงจ๊ะจ๋าชื่นใจ | |
ชวนกันผันผายขุดคุ้ย | เขี่ยลุยหากินตรงไหน | |
ร่องรอยขุดหาคลุ้งไป | ฝุ่นได้ตลบอบอวล | |
มินานสาวไก่กระต๊าก | หายากเพชรพลอยน่าสรวล | |
เม็ดงามน้ำดีเนื้อนวล | ควรค่านับหมื่นทีเดียว | |
กุ๊กกุ๊กทุกคนมาดู | งามหรูดูดีสีเขียว | |
เขากลึงงดงามตามเกลียว | รีบเทียวมากันไวไว | |
เจ้าหนุ่มวิ่งมาหยุดอยู่ | แลดูยังคงสงสัย | |
งดงามมีค่าอันใด | ไม่อาจเทียบข้าวเปลือกเลย | |
จักกินก็กินไม่ลง | คงเก็บไว้ดูเฉยเฉย | |
ไร้ค่าไร้คุณสาวเอย | ข้าเคยพบพานมากมาย | |
ฝูงไก่ผ่านเลยหากิน | ไม่ยินไม่ยลลับหาย | |
อันคนบางคนหญิงชาย | คล้ายคล้ายกับไก่ได้พลอย | |
พบพานสิ่งดีมีค่า | กลับมีปัญญาถดถอย | |
แลเห็นมองเป็นเผือกกลอย | ค่าน้อยเลยมองข้ามไป | |
ต่อผู้ปรีชาฉลาด | สามารถค่าควรขานไข | |
รู้เลือกรู้สรรค์เร็วไว | ใช้สอยคุ้มค่าของดี | |
13. คนเดินทางกับต้นไม้ใหญ่ | ||
กลุ่มคนเดินทางกลางทุ่ง | มุ่งหาร่มไม้แลเห็น | |
ลิบลิบตรงโน้นคงเย็น | หลบเร้นบังเงาเบาแรง | |
สบายใจสนทนาพาที | หัวหน้าท่าทีกำแหง | |
ยโสโอหังชี้แจง | ต้นไม้มันด้อยราคา | |
หนามแหลมใบขมไร้ดอก | ยากบอกสรรพคุณนั่นหนา | |
กิ่งก้านคดเคี้ยวไปมา | แลหาคุณมันไม่มี | |
ต้นไม้รำคาญเลยบอก | อ้ายหอกคนไร้ศักดิ์ศรี | |
กตัญญูกตเวที | เครื่องหมายคนดีทุกคน | |
ได้รับบุญคุณจากใคร | รู้ไว้เป็นดีมิสับสน | |
ตอบแทนเป็นศรีแก่ตน | แต่คนอย่างเธอแปลกไป | |
อาศัยร่มเงาฉันแล้ว | ผ่องแผ้วดวงจิตสงใส | |
กลับมานินทาฉันไย | อย่างนี้เรียกอกตัญญู | |
14. คนตกเบ็ดกับลูกปลา | ||
ชายหนุ่มนักตกปลา | นั่งที่ท่าแต่เช้าจนสาย | |
เห็นปลามีมากมาย | มันแหวกว่ายมากมวลมี | |
แต่ปลามิติดเบ็ด | จนเอวเคล็ดน่าหน่ายหนี | |
นั่งรอดูท่าที | บ่ายคล้อยแล้วชักเหนื่อยใจ | |
กำลังจะกลับบ้าน | สายเบ็ดพาลตึงสงสัย | |
วิดเบ็ดขึ้นทันใด | ติดปลาตัวจ้อยนิดเดียว | |
ปลาน้อยร่ำร้องวิงวอน | ฟังก่อนท่านผู้ฉลาดเฉลี่ยว | |
ตัวข้ายังเด็กเล็กเชียว | เนื้อน้อยไม่พอต้มแกง | |
ปล่อยข้าไปเถอะเจ้านาย | ภายหน้ายามข้ากำแหง | |
เติบโตมีเรี่ยวมีแรง | จักมาให้จับอีกนาย | |
เจ้าหนุ่มบอกว่าน่าฟัง | แต่ยังมิเชื่อโฉมฉาย | |
ตัวเล็กตัวใหญ่วุ่นวาย | ภายหน้าหวังจับยากเย็น | |
จับได้ตัวเล็กก็ปลา | ได้มาดีแล้วที่เห็น | |
อดทนลำบากลำเค็ญ | จับได้แค่นี้พอใจ | |
อันการหวังน้ำบ่อหน้า | จักหาพบเห็นฤาไฉน | |
มักจักพลาดพลั้งมากไป | ที่ได้ดังหวังน้อยแล | |
15. คนเรือแตกกับกวี | ||
ซีโมนิดกวีแห่งเอเธนส์ | เป็นผู้เชียวชาญเชิงศิลป์ | |
กาพย์โคลงแต่งเป็นอาจิณ | ใครยินใครอ่านชื่นชม | |
บ้านอยู่ที่เกาะซีออส | สุดยอดคนดีกวีสม | |
รวยลาภรวยเกียรติชนนิยม | คารมเพราะพริ้วแพรวพราว | |
คราวหนึ่งไปเที่ยวเอเซีย | อินเดียท่องไปไม่หนาว | |
ชมบ้านชมเมืองเรื่องราว | วีรกรรมวีรชนสนใจ | |
แต่งบทสดุดียกย่อง | ผู้ครองแผ่นดินถิ่นไหน | |
ล้วนเป็นคนดีศิวิไลซ์ | กวีไขเกียรติยศขจรขจาย | |
เจ้าเมืองชอบใจให้ลาภ | ซาบซึ้งโคลงกลอนเหลือหลาย | |
เงินทองมากมีมากมาย | เสียดายห่างบ้านนานมา | |
จองเรือเดินทะเลเร่ร่อน | จักจรคืนกลับเคหา | |
ที่กรุงเอเธนส์แก้วตา | ภรรยาครอบครัวคอยรอ | |
เรือพบพายุกระหน่ำ | เคราะห์กรรมเรือแตกแลหนอ | |
ผู้คนตื่นกลัวยืนออ | บ้างขอเก็บเงินเก็บทอง | |
เพชรนิลจินดาหายาก | ค่ามากยิ่งทรัพย์ทั้งผอง | |
วุ่นวายหีบห่อจับจอง | ข้าวของพะรุงพะรัง | |
แลเห็นกวีนิ่งอยู่ | มิรู้ถอดใจไร้หวัง | |
ฤๅว่าตะลึงลืมคลัง | สมบัติเขายังมากมาย | |
เขาบอกท่านกวีรีบเข้า | เก็บเอาเพชรนิลไว้ขาย | |
เงินทองกระจัดกระจาย | ภายหน้าจักได้ใช้กัน | |
กวีใหญ่ส่ายหน้าไม่ครับ | ไม่รับเงินทองพร้อมสรรพ์ | |
ขอเพียงท่อนไม้สักอัน | โอบมันลอยคอในสายชล | |
สมบัติเรามีในหัว | มิกลัวอดตายอย่าฉงน | |
เตรียมตัวพี่น้องทุกคน | เรือวนเวียนล่มจมไป | |
หลายคนหนักหีบสมบัติ | น้ำพัดยากว่ายจริงไฉน | |
จมน้ำชีวันบรรลัย | เพราะใจโลภหลงเงินทอง | |
บางคนขึ้นฝั่งพบโจร | เลยโดนปล้นจี้ทั้งผอง | |
แก้วแหวนที่หวังครอบครอง | เลยต้องหมดตัวพอดี | |
ส่วนเซโมนิดถูกปล้น | ถึงค้นก็ไม่หน่ายหนี | |
ทรัพย์สินเงินทองไม่มี | โจรไว้ชีวีเมตตา | |
นายโจรจำโมนิดได้ | กวีใหญ่เอเธนส์นี่หนา | |
เคยอ่านผลงานท่านมา | ปรีดาได้พบท่านกวี | |
ขอโทษล่วงเกินท่านไว้ | เพียงได้พบเห็นเป็นศรี | |
จัดเลี้ยงขออภัยไมตรี | ยินดีถ้วนหน้าประชาชน | |
ของขวัญหลั่งมามอบให้ | อยากได้ผลงานการกุศล | |
บทกวีคำกลอนสอนผู้คน | แจกทุกตนทรัพย์กวีคือปรีชา | |
อันกิเลสโลภหลงปลงลำบาก | อยากได้มั่งมีวาสนา | |
สั่งสมเพชรนิลจินดา | จวบจนมรณามิปล่อยไป | |
ส่วนทรัพย์ปัญญาพาฉลาด | สามารถทำการงานไหนไหน | |
หนักเบาเสร็จสรรพเร็วไว | หาได้เงินทองมวลมี | |
โจรปล้นวิชชายากนัก | ไม่หนักส่งเสริมเติมศรี | |
สั่งสมปัญญาแหละดี | โบราณท่านชี้เป็นมงคล | |
16. คนเลี้ยงแพะกับลูกเสื่อ | ||
กระทาชายนายหนึ่งเลี้ยงแพะ | ต้อนแวะริมทางเสมอ | |
ทุ่งหญ้างอกงามที่เจอ | เพื่อนเกลอเลี้ยงแพะสบายดี | |
วันหนึ่งเข้าไปในป่า | หาไม้ทำคอกวิถี | |
เข้าไปป่าลึกมากมี | ตัดไม้มัดชี้เต็มเกวียน | |
ขากลับจับได้ลูกเสือ | แปลกเหลือหลงมาพาเหียร | |
วิ่งมาหาคนวนเวียน | จวนเจียนจักปล่อยทิ้งไป | |
นำมาเลี้ยงดูที่บ้าน | มินานแข็งแรงไฉน | |
มักสอนเสือทำจัญไร | ลักแพะมาให้ฆ่ากิน | |
ชาวบ้านแพะหายบ่อยบ่อย | ไม่น้อยเสียหายทรัพย์สิน | |
มิเคยมีใครยลยิน | มีโจรใจหินย่องเบา | |
เวรยามชาวบ้านเร่งรัด | จัดรั้วแน่นหนาพวกเขา | |
ปืนผาหน้าไม้หยิบเอา | มาเฝ้าแพะแกะปลอดภัย | |
เสือหิวขโมยลำบาก | หิวมากหาช่องทางไหน | |
ที่แท้แพะบ้านตนไง | มีให้จับกินมากมาย | |
นับนานเจ้าของสังเกต | เหตุมีแพะแกะมันหาย | |
ที่แท้เสืออันตราย | แยบคายแอบจับกินเอง | |
อันคนคิดคดไม่ซื่อ | ถือเอาประโยชน์ข่มเหง | |
เอาเปรียบคนอื่นนักเลง | มิเกรงกลัวเวรกลัวกรรม | |
สุดท้ายอันตรายหวนกลับ | ทุกข์ทับตนเองน่าขำ | |
การดีผลดีจงจำ | การชั่วจักช้ำใจแล | |
17. คนเลี้ยงวัวกับวัวที่หายไป | ||
แม่วัวตัวหนึ่งหายไป | อยู่ไหนคนเลี้ยงตามหา | |
ลัดเลาะไปตามราวป่า | ก็ยังมิเห็นแม้เงา | |
พอดีมาถึงต้นไทร | นึกได้เทพแห่งป่าเขา | |
คงช่วยเปลื้องทุกข์ให้เรา | จำลองบนบานดูที | |
แวะไปกราบไหว้ต้นไทร | ท่านผู้เกรียงไกรทรงศรี | |
ลูกช้างขอพึ่งบารมีี้ | ช่วยชี้แม่วัวหายไป | |
อยากเห็นเจ้าโจรตัวฉกาจ | บังอาจลักวัวสงสัย | |
แม้นเจอจักจับมัดไว้ | เฆี่ยนให้สักห้าสิบที | |
บัดดลพระไทรบันดาล | ให้พานพบวัวที่หนี | |
พร้อมกับโจรร้ายทันที | ราชสีห์กำลังกัดวัว | |
คนเลี้ยงหวาดกลัวตัวสั่น | พรั่นพรึงตอนมันกัดหัว | |
ท่านเทพได้โปรดข้ากลัว | ไม่เอาอีกแล้วเรื่องโจร | |
ขอเพียงรอดจากป่านี้ | บัดพลีระบำรำโขน | |
แถมวัวตัวใหญ่จักโอน | ถวายท่านเทพเจ้าปราณี | |
อันเทพบันดลบันดาล | หากท่านให้จริงนวลฉวี | |
สูเจ้าคงขอมากมี | หาได้สิ้นสุดเพียงพอ | |
ได้ของที่ชอบแย้มยิ้ม | อิ่มอกพึงใจเจียวหนอ | |
ได้สิ่งน่ากลัวตัวงอ | ขอผ่านไม่เอาไม่เอา | |
18. ความรักของนางแมว | ||
ความรักเหมือนโคถึก | พลังคึกดูห้าวหาญ | |
กล้าคิดกล้าสาบาน | กระทำได้ทุกเรื่องไป | |
นางแมวสีสวาด | มันฉลาดมิสงสัย | |
แต่แปลกหนอดวงใจ | เฝ้าหลงรักนายผู้ชาย | |
แม้ฉันเป็นผู้หญิง | รักเป็นจริงได้ดังหมาย | |
จักต้องได้แปลงรูปกาย | มิง่ายแมวเฝ้าตรึกตรอง | |
จำต้องพึ่งเทพฤทธิ์ | ประสิทธิ์อาคมสมสนอง | |
เสกให้เป็นหญิงรูปทอง | ผุดผ่องรูปพรรณพิไล | |
แมวหง่าวดั้นด้นเสาะหา | เทวาท่านอยู่หนไหน | |
บุกป่าฝ่าดงพงไพร | จนได้พบพานเทวดา | |
วิงวอนกล่าวอ้างเหตุผล | จนเทพเสกให้หรรษา | |
สาวแมวยินดีอำลา | กลับมาที่บ้านสมใจ | |
เป็นคู่สู่สมชายหนุ่ม | รักรุมเร่าร้อนยิ่งไฉน | |
คลอเคลียมิห่างไกล | สาวแมวรักใครยอดชาย | |
ผ่านไปนานวันเทพา | สงกานางแมวมิหาย | |
นิสัยคงไม่กลับกลาย | จำต้องทดลองมันดู | |
นางแนวกำลังเคลียคลอ | พะนอชายหนุ่มเห็นหนู | |
มันวิ่งผ่านเข้าประตู | ลืมตัวกลายร่างทันที | |
เป็นแมวไล่จับหนูหริ่ง | วิ่งไล่รอบห้องอย่าหนี | |
เมี้ยวเมี้ยวไล่กวดเร็วรี่ | หนูหลบหายวับกับตา | |
วิมานรักพังทลาย | ร่างกลายเป็นแมวแล้วหนา | |
นิสัยดั้งเดิมเป็นมา | ลำบากยากจักเปลี่ยนไป | |
ต้องฝึกอดทนอดกลั้น | ผูกพันจงเจตน์แก้ไข | |
แน่วแน่จึงจักผ่านได้ | ขันติมั่นไว้ดีแล ฯ | |
19. จำอวดกับชาวเมือง | ||
เศรษฐีกรุงโรมใจดี | มีใจจักเฉลิมฉลอง | |
เทศกาลรื่นเริงตามทำนอง | ป่าวร้องมีละเล่นนานา | |
อีกทั้งระบำจำอวด | ประกวดเล่นกันหรรษา | |
มุขใหม่ดีเด่นบอกมา | ถ้าเก่งจักมีรางวัล | |
ตลกจำอวดมากมาย | หญิงชายสมัครแข่งขัน | |
ถึงคราประกวดประชัน | เล่นกันครึกครื้นรื่นรมย์ | |
หลายสิบคณะผ่านไป | ยังมิมีใครเหมาะสม | |
จักได้รางวัลไปชม | มีแต่มุขแบบธรรมดา | |
ครั้นมีชายหนุ่มหนึ่ง | บอกตนมุขแนวแปลกหนา | |
ซ่อนหมูไว้ในอุรา | ให้ร้องออกมาตลกดี | |
เขาเดินไปกลางวง | คนงงหมูไม่เห็นมี | |
หนุ่มล้วงอกแล้วชี้ | ซ่อนไว้ตรงนี้คอยดู | |
แกล้งร้องอู๊ดอู๊ดเหมือนมาก | คนต่างหลากจิตเสียงหมู | |
บางคนขอค้นอยากรู้ | ไม่เห็นไม่มีแน่นอน | |
ปรบมือยกย่องเขาเก่ง | เซ็งแซ่ทุกทิศสลอน | |
ยกมือยกนิ้วบ้างวอน | ขอฟังอีกทีเป็นไร | |
มีเสียงคัดค้านบอกว่า | ของข้าแน่กว่าฟังไหม | |
ว่าแล้วกระโดดขึ้นไป | ทำเสียงอู๊ดอู๊ดอีกที | |
เหมือนกว่าคนแรกแน่นอน | แต่ตอนเขาค้นจักหนี | |
จับได้ล้วงพุงเจอดี | เพราะมีลูกหมูของจริง | |
คนชมโห่ฮาดังลั่น | บ้างขันมากมายชายหญิง | |
ดิ้นหลุดมาได้ออกวิ่ง | กลัวเขาไล่ทุบวุ่นวาย | |
คนเรานี่มันก็แปลก | มิแยกมันต่างกันหลาย | |
ของจริงของปลอมมากมาย | สมบัติมันแตกต่างกัน | |
ชื่นชมของปลอมออกหน้า | ถึงคราของจริงขบขัน | |
มันแปลกแต่จริงคนนั้น | เขาว่ามันบ้าจริงฤา | |
20. ชาวนากับงูเห่า | ||
ชาวนาใจดีหนึ่งคน | วางตนเมตตาสงสาร | |
ช่วยคนช่วยสัตว์มานาน | ชาวบ้านยกย่องว่าดี | |
วันหนึ่งไปตรวจนาข้าว | ยืดยาวหญ้ารกวิถี | |
สองข้างคันนามากมี | แบบนี้ต้องถางมากมาย | |
ถางหญ้ามินานพานพบ | งูเห่าหลบอยู่ใจหาย | |
มันคงลอกคราบผิวกาย | อันตรายผิวบางลมเย็น | |
จนทำให้มันเป็นเหน็บ | เจ็บปวดนอนนิ่งที่เห็น | |
ชาวนาเห็นงูลำเค็ญ | อยากเป็นผู้ช่วยเมตตา | |
โอเจ้านอนขดคงหนาว | ถึงคราวอบอุ่นแล้วหนา | |
โอบอุ้มแนบอกปรีดา | หลับเถิดลูกยาสบายใจ | |
งูเห่านอนซบอบอุ่น | โลหิตหมุนเวียนดีไฉน | |
คืนสภาพปกติเร็วไว | เพราะมีไออุ่นชาวนา | |
ดีใจเห็นงูขยับ | หวังจับจักปล่อยแลหา | |
ตรงที่วางงูเมตตา | ทำท่าจักวางโดยพลัน | |
งูเห่าตกใจฉกกัด | ชาวนาสะบัดหุนหัน | |
งูเลื้อยหลบหายตรงนั้น | ชาวนาตัวสั่นปวดใจ | |
พิษแผ่กระจายจนทั่ว | หน้ามืดตามัวปวดไฉน | |
ที่สุดสิ้นลมจากไป | เพราะได้เมตตาเห่าดง | |
อันคนจิตใจเป็นพาล | สันดานแก้ยากหากหลง | |
ทำคุณเมตตามั่นคง | พึงปลงจิตไว้ก่อนเลย | |
อาจได้โทษตอบแทนกลับ | ฉบับงูเห่าเปิดเผย | |
แทนคุณชาวนาดังเคย | เอ่ยไว้ในนิทานแล | |
21. ชาวนากับสัตว์เลี้ยง | ||
ชาวนาคนหนึ่งอยู่บ้าน | พายุพัดผ่านเหน็บหนาว | |
ติดอยู่หลายเดือนยืดยาว | เสบียงร่อยหรอลำเค็ญ | |
จำต้องเชือดแกะเอาเนื้อ | น่าเบื่อพายุที่เห็น | |
ทำไมหยุดยากหยุดเย็น | หลายวันเนื้อแกะหมดไป | |
เสียดายจำต้องฆ่าแพะ | ชำแหละเอาเนื้อเถือไข | |
เป็นเสบียงยามวาตภัย | ผ่านไปอีกเดือนหมดลง | |
เหลือวัวอีกตัวต้องฆ่า | พายุมันชวนพิศวง | |
ยังพัดอีกนานมั่นคง | จงใจทำร้ายชาวนา | |
สุนัขสองตัวเลี้ยงไว้ | ได้เห็นเรื่องราวปรึกษา | |
สัตว์เลี้ยงที่รักถูกฆ่า | แล้วหมาจักรอดฉันใด | |
ขืนอยู่ก็คงตายแน่ | เว้นแต่จักหลบดีไหม | |
พวกเรามาลองเสี่ยงภัย | ไปตายดาบหน้าเถอะเรา | |
สองหมาพากันหลบหลีก | ปลีกตัวไปในขุนเขา | |
เลยรอดภัยหนักเป็นเบา | ดีกว่านั่งรอความตาย | |
ยามรู้อุปสรรคปัญหา | ปัญญาแก้ไขไม่สาย | |
หนักเบาแก้ได้ไม่วาย | ผ่อนคลายด้วยสติปัญญา | |
22. ชาวนากับสิงโต | ||
ชาวนาเห็นราชสีห์ | หลงมาที่บ้านของเขา | |
สัตว์ใหญ่ดีใจมิเบา | ปิดประตูกั้นทุกทิศทาง | |
มันเดินวนเวียนไปมา | หาทางออกล้วนถูกขวาง | |
ชักหิวเห็นวัวเป็นกวาง | ล้มวัวกัดกินสบายใจ | |
วันหลังก็จับแพแกะ | กัดแทะอร่อยไฉน | |
ชาวนาเพิ่งเห็นเภทภัย | รีบปล่อยมันไปโดยดี | |
นั่งบ่นเสียดายสัตว์เลี้ยง | เมียเถียงไม่เชื่อนวลฉวี | |
ใครบอกให้ขังตัวกาลี | อัปรีย์กินหัวแกเอง | |
การคบคนพาลหรือโจร | เหมือนโอนเภทภัยข่มเหง | |
มิเคยรู้จักกริ่งเกรง | นำมาแต่เหตุอันตราย | |
23. ชาวไร่กับนกกระเรียน | ||
ชาวไร่ปลูกถั่วปลูกงา | เวลางอกงามดีไฉน | |
ติดดอกติดผลทั่วไร่ | หนักใจนกกามากมี | |
ทำหุ่นไล่กาหลายตัว | มันยังมิกลัวมิหนี | |
ไปหาซื้อแร้วเร็วรี่ | มาดักหลายที่คอยรอ | |
รุ่งขึ้นไปดูกู้แร้ว | ตามแนวที่ดักจริงหนอ | |
มีนกติดแร้วมากพอ | ทำเป็นอาหารหลายวัน | |
มีนกกะเรียนหนึ่งตัว | กลัวตายวิงวอนว่าฉัน | |
มิเคยกินถั่วงานั้น | อย่าฆ่าเราเลยท่านนาย | |
ชาวไร่บอกเราจับได้ | ในเขตหวงห้ามมันสาย | |
มิเคยปล่อยให้รอดตาย | ทำลายพืชพันธุ์ของเรา | |
อันคนเกลือกกลั้วคนพาล | สันดานดีชั่วเก่งเขลา | |
ดูยากแยกยากไม่เบา | ถูกเหมาเป็นพาลด้วยกัน | |
24. ชาวสวนกับลูก | ||
ชาวสวนมีลูกสามคน | ถึงจนแต่ขยันทำงาน | |
ฐานะพออยู่สำราญ | บ้านช่องมีเป็นของตน | |
นานเข้าชาวสวนคิดหนัก | ยามจักล่วงลับสับสน | |
เป็นห่วงลูกยาทุกคน | ผูกกลสั่งสอนแยบคาย | |
เรียกลูกมาพร้อมหน้ากัน | วันนี้พ่อดีใจหลาย | |
ลูกรักทุกคนเป็นชาย | แม้นพ่อตายไปจงฟัง | |
สมบัติอยู่ใต้ร่องสวน | ชวนกันไปดูด้านหลัง | |
ขุดเอาขึ้นมาระวัง | พ่อสั่งจำไว้ให้ดี | |
มินานชาวสวนสิ้นใจ | ทุกคนจำได้วิถี | |
สมบัติฝังดินคงมี | พ่อชี้ร่องสวนทุกคน | |
ต่างคนต่างขุดร่องสวน | ยวนใจสมบัติสับสน | |
ขุดมาสามรอบกังวล | จนใจไม่เห็นเงินทอง | |
แปลกนักพ่อไม่โกหก | ตกใจไม่พบทั้งผอง | |
หยุดคุ้ยมานึกตรึกตรอง | ยังมองไม่เห็นช่องทาง | |
เรือกสวนพืชพันธุืแตกกิ่ง | ทิ้งดอกออกช่องสะสาง | |
เต็มสวนงดงามทุกอย่าง | เก็บขายได้เงินทุกวัน | |
เงินทองไหลเข้ามิขาด | สามารถเก็บออมพร้อมสรรพ์ | |
มินานรู้เลศสำคัญ | พ่อสอนให้ขยันทำการ | |
ความฉลาดความโง่ก็ดี | หากมีความขยันอาจหาญ | |
ตั้งใจประพฤติทำงาน | บันดาลสำเร็จผลดี | |
ขอเพียงซื่อสัตย์สุจริต | รู้คิดมิยอมหน่ายหนี | |
งานหนักงานเบาทุกที | มีทำไม่เลือกเจริญแล | |
25. เด็กกับลูกเกาลัด | ||
อ้ายหนูผมจุกคนหนึ่ง | ตะลึงขวดโหลขนม | |
แม่ใส่เกาลัดเปิดดม | สุกแล้วหอมหวนโอ้โฮ | |
แกล้วงกอบเต็มกำมือ | แล้วยื้อติดปากขวดโหล | |
ดึงดันอยู่นานอาโก | ผ่านมาเห็นเข้าชอบใจ | |
อ้ายจุกเอ็งอย่าโลภมาก | ลำบากปล่อยมือดีไหม | |
หยิบทีสามลูกพอได้ | หยิบหลายหลายครั้งง่ายดี | |
ได้คิดทำตามอาโก | พิโธ่หยิบง่ายดีหลี | |
อันคนความคิดโลภมี | มักเป็นอุปสรรคการงาน | |
จักทำการใหญ่ลำบาก | โลภหากขวางกิจประสาน | |
ค่อยคิดค่อยทำควรการ | มินานเสร็จสมอารมณ์แล | |
26. เด็กจับตั๊กแตน | ||
เด็กน้อยตัวจ้อยผมจุก | ซุกซนคะนองเสมอ | |
ใจร้ายกับสัตว์ที่เจอ | มิเผลอรังแกร่ำไป | |
เจ้าตูบโดนเตะประจำ | ทำร้ายสุขนักสงสัย | |
เดินผ่านงัวควายชอบใจ | หักไม้เฆี่ยนตีรื่นรมย์ | |
วันหนึ่งเจ้าจุกลุกเดิน | เพลิดเพลินกลางสนามสุขสม | |
โลดไล่ตั๊กแตนเล่นลม | ชื่นชมจับได้มากมาย | |
ใส่ถุงขังไว้หลายตัว | ใจมัวมืดมนเหลือหลาย | |
พอใจข่มเหงสัตย์กลาย | เป็นคนใจร้ายใจดำ | |
สักครูแมลงป่องน้อย | ตัวจ้อยจุกเห็นก็ขำ | |
กระโดดตะครุบเต็มกำ | จำเรียงแมงป่องท้าทาย | |
เหวยเหวยเจ้าเด็กเกเร | อุเหม่มึงอยากฉิบหาย | |
มาต้องตัวข้าตาลาย | จักหาที่ตายหรือไร | |
ตัวข้าผิดแผกตั๊กแตน | แม้นต้องตัวข้าสงสัย | |
เอ็งอาจร่ำร้องร่ำไร | ร้องไห้ปางตายเชียวนา | |
ตั๊กแตนมากมายที่จับ | หายวับระวังกังขา | |
หลบไปข้ายังเมตตา | หาไม่ข้าสู้ไม่กลัว | |
อันคนผู้มีอำนาจ | อาจข่มคนด้อยชวนหัว | |
พวกมันหวั่นหวาดมืดมัว | เพียงชั่วขลาดเขลาเบาปัญญา | |
หากพบคนจริงคนเก่ง | ข่มเหงมิได้ดอกหนา | |
ขืนพาลสุ่มสี่สุ่มห้า | จักพาอับจนจริงแล | |
27. เด็กเลี้ยงแกะ | ||
มีเด็กเลี้ยงแกะหนึ่งคน | ชอบกลเจ้าเล่ห์เหลือหลาย | |
ชอบลวงคนอื่นวุ่นว่าย | พอใจหลอกได้ยินดี | |
คราวหนึ่งต้อนแกะไปเลี้ยง | มองเมียงไปตามวิถี | |
ทำเลใกล้ป่าพอดี | อีกด้านก็เป็นทุ่งนา | |
ปล่อยแกะแล้วออกเดินเล่น | ลมเย็นกลางทุ่งแลหา | |
ผู้คนกำลังเมื่อยล้า | ถ้าได้ตื่นเต้นคงดี | |
จักได้ลืมความเหน็ดเหนื่อย | คิดเรื่อยจนเห็นวิถี | |
จึงร้องช่วยด้วยน้องพี่ | หมาป่าไล่แกะฉันไป | |
ชาวนานับสิบยินเสียง | สำเนียงเด็กร้องสงสัย | |
หมาป่ากัดแกะเภทภัย | จำต้องไปช่วยด้วยกัน | |
หยุดงานวิ่งมาจักช่วย | ฉวยได้มีดไม้พร้อมสรรพ | |
มาถึงถามหาหมามัน | อยู่ไหนพวกฉันจัดการ | |
เด็กน้อยปรบมือหัวร่อ | คุณพ่อคุณพี่ขอขาน | |
ฉันเห็นเหน็ดเหนื่อยทำงาน | เลยหาเรื่องสนุกให้ทำ | |
เห็นวิ่งหน้าตั้งคงสนุก | หมดทุกข์หายเหนื่อยน่าขำ | |
หมาป่าหนีแล้วแหละกรรม | มันคงหวาดกลัวรีบไป | |
หลายคนก่นด่าเด็กผี | พาทีโกหกสงสัย | |
พ่อแม่มิสอนหรือไร | หลอกให้เสียการเสียงาน | |
หลายวันเลี้ยงแกะเช่นเคย | ละเลยมัวเล่นสนุกสนาน | |
หมาป่ามันมาพบพาน | ฝูงแกะไล่กัดล้มตาย | |
เด็กน้อยวิ่งไปทุ่งนา | ลุงป้าช่วยด้วยฉิบหาย | |
หมาป่ากัดแกะวุ่นวาย | ช่วยด้วยย่ำแย่จริงเจียว | |
ชาวนาหัวร่ออ้ายหนู | อย่ามาหลอกกูให้เสียว | |
มิเชื่อน้ำคำมึงเชียว | พวกเราเกี่ยวข้าวต่อไป | |
หมดท่าเสียแกะมากมาย | วอดวายเสียสัตย์ขานไข | |
โป้ปดมดเท็จจัญไร | ใครเขาจักเชื่อน้ำคำ | |
อันคนที่เสียสัจจะ | ตระบัดบ่อยจนถลำ | |
ถึงคราวพูดจริงจักช้ำ | มิมีคนเชื่อวาจา | |
28. ต้นไทรกับต้นอ้อ | ||
คราวหนึ่งพายุไต้ฝุ่น | พัดหมุนผ่านมาป่าใหญ่ | |
รุนแรงขนาดต้นไทร | หักโค่นในน้ำพัดวน | |
มินานมาติดพงแขม | แซมกอริมฝั่งฉงน | |
ลมแรงพัดมาใยทน | หลุดพ้นอยู่ได้ทั้งมวล | |
จึงเอ่ยปากถามคุณแขม | แย้มหน่อยยามลมพัดหวน | |
เมื่อคืนข้าโดนมันป่วน | ดินร่วนถอนรากถอนโคน | |
ล้มลงลอยน้ำลำธาร | ยากจัดทัดทานหิ้วโหน | |
ลดเลี้ยวเร่รอนกระโจน | ฟองน้ำฟาดโยนไปมา | |
กระทั่งพบพานพวกท่าน | ขอวานช่อยตอบปัญหา | |
เหตุใดพวกท่านนานา | มีพายุยังปลอดภัย | |
พงแขมแย้มคำบอกเล่า | ลมเบาลมแรงมิสงสัย | |
พวกเรารู้แจ้งแก่ใจ | ทำให้ต้นอ่อนลู่ลม | |
ลมพัดผ่านได้โดยง่าย | สบายอยู่ดีสุขสม | |
หาไม่ก็คงล่มจม | นิยมเช่นนี้มานาน | |
อันคนที่แข็งกระด้าง | มักร้างไมตรีที่ขาน | |
แตกหักเสียกิจเสียการ | ทุกข์ทนลนลานมาเยือน | |
สวนผู้นอบน้อมถ่อมตน | ผู้คนรักใคร่หาใดเหมือน | |
ช่วยกิจมิเคยละเลือน | มีเพื่อนพวกพ้องสบายใจ | |
29. ต้นสนกับต้นฉำฉา | ||
ในป่านานาพันธุ์ | แมกไม้มันมากมวลมี | |
ทุกพรรณงอกงามดี | ทรงคุณค่าต่างกันไป | |
ต้นเล็กคลุมดินเด่น | ร่มเงาเย็นมิสงสัย | |
ต้นสูงบังแดดไว้ | ธรรมชาติเอื้ออวยกัน | |
คุณค่าแมกไม้มี | ความเด่นดีเทพเสกสรร | |
ลางเป็นหยูกยากัน | แก้โรคได้สรรพคุณ | |
ทำสีสารพัด | บ้างกำจัดกลิ่นเฉียวฉุน | |
ไล่มดแมลงคุณ | หลายชนิดทำได้ดี | |
บางพวกงามตรงแก่น | ค่าหมื่นแสนตามวิถี | |
คราวหนึ่งในพงพี | ไม้สนป่าอ้างอวดตน | |
คุยข่มไม้ฉำฉา | เองด้อยค่าในไพรสณฑ์ | |
กิ่งก้านเปราะเสียจน | ต้องลมพัดหักง่ายดาย | |
ทรงพุ่มก็เกะกะ | กิ่งก้านระมักเสียหาย | |
เนื้อในมิมีลาย | แกด้อยค่าเสียจริงเจียว | |
ดูฉันซิแข็งแรง | ลำต้นแกร่งเนื้อในเหนียว | |
รูปทรงพุ่มดูเพรียว | ยามต้องลมเอนลู่งาม | |
เสียงสนเพราะพริ้งนัก | เธอรู้จักในโลกสาม | |
เสียงสนเพราะทุกยาม | โอ้สนเราค่าควรการ | |
ฉำฉาชื่นชมคำสน | ฉันจนปัญญาไขขาน | |
เป็นจริงดังว่ามานาน | แต่วานฟังคำฉันที | |
ถึงฉันด้อยค่าพอใจ | เภทภัยมักห่างวิถี | |
เติบโตสุขเกษมเปรมปรีดิ์ | สุขดีตามสภาพพึงใจ | |
ยามที่ชาวบ้านเข้าป่า | หาดูเสาเรือนต้นไหน | |
คานตงขื่อเคร่าต้นอะไร | เหมาะที่จักใช้การงาน | |
ทุกคนคงเล็งต้นสน | ตัดจนหมดป่าข้าขาน | |
ข้าคงมิอิจฉาพวกท่าน | เชิญให้เบิกบานต่อไป | |
อันคนที่ค่าสูงส่ง | ฐานะมั่นคงเป็นไฉน | |
มักมีศัตรูเภทภัย | แผ้วพานมิเว้นคืนวัน | |
ส่วนพวกต่ำต้อยด้อยศักดิ์ | มักอยู่สุขสบายพร้อมสรรพ | |
ศัตรูมิค่อยเห็นสำคัญ | ต่างกันต่างค่าคุณคน | |
30. เต่ากับเป็ดป่า | ||
คุณเต่าตัวหนึ่งช่างคิด | มีจิตทะเยอทะยาน | |
มันคิดคำนึงห้าวหาญ | บินผ่านบนฟ้าวิถี | |
คงเป็นหนึ่งเดียวในโลก | สบโชคสง่าราศี | |
ใครใครคงชมว่าดี | มีเต่าเก่งกล้าชำนาญ | |
แต่ปีกเราไม่มีหรอก | ต้องบอกนกกาไขขาน | |
คบหาเป็นเพื่อนวอนวาน | เขาช่วยคงเสร็จสมใจ | |
มันคอยผูกมิตรเป็ดป่า | เวลานับนานไฉน | |
มีเพื่อนคุณเป็ดจนได้ | แล้วมันก็กล่าววิงวอน | |
นี่แน่ะคุณเป็ดเพื่อนรัก | เพื่อนมักบินบนช่วยสอน | |
ยามอยูบนฟ้าคงร้อน | เพราะใกล้ตะวันกว่าเรา | |
เป็ดว่ามิร้อนดอกแก | ยามแลลงมาขุนเขา | |
ทุ่งนาป้าไม้งามเงา | งามเงื่อนสวรรค์จำลอง | |
เต่าว่าฉันอยากจะเห็น | ยากเย็นวอนเพื่อนสนอง | |
พาขึ้นบินบนอยากมอง | มันสวยแค่ไหนเพื่อนยา | |
มันหาไม้มาหนึ่งท่อน | เป็ดวอนคาบให้ดีหนา | |
สองตัวช่วยกันนำพา | หามเต่าบินบนสมใจ | |
หนักนักบินสูงลำบาก | สัตว์ป่าหากเห็นสงสัย | |
เฮ้ยเต่าเหาะเหิรยังไง | แปลกใจมาดูพวกเรา | |
คุณเต่าภูมิใจนักหนา | สัตว์ป่าพวกนี้มันเขลา | |
อ้าปากด่าพวกงี่เง่า | ฉันเต่าผู้มีปรีชา | |
ปากหลุดท่อนไม้ร่วงหล่น | กระทบบนแผ่นหินผา | |
กระดองกระจายมรณา | อนิจจาความโง่ไม่ปราณี | |
ถึงได้ลาภรวยยศศักดิ์ | ก็มักจำต้องห่างหนี | |
มิอาจครอบครองนานปี | อนิจจังวตสังขารแล | |
31. ท้องกับตัว | ||
อดีตกาลนานมา | เขาว่าอวัยวะคนเรา | |
สามารถพูดคุยกันเบาเบา | มีเรื่องบอกเล่ากันมา | |
คราวหนึ่งเขามีเรื่องกัน | ยืนยันใครทำงานหนา | |
งานหนักงานเบาเจรจา | ผมว่าฉันร้อนกว่าใคร | |
บังแดดแผดเผากลางแจ้ง | หัวแย้งคิดยากไฉน | |
หูฟังสื่อเสียงใดใด | ตาใคร่อยากรู้ดูเอา | |
ปากพูดบอกกล่าวคนอื่น | ฟันฝืนขบเคี้ยวงานเขา | |
ขาแบกพาเดินไม่เบา | มือเจ้าหยิบจับทุกอัน | |
ท้องว่าข้าก็มิรู้ | นอนอยู่นึกไปก็ขัน | |
พวกสูต้องช่วยทั้งวัน | งานฉันจึงจักดำเนิน | |
สรุปทุกคนงานหนัก | ได้พักคือท้องน่าเขิน | |
เอาเปรียบคนอื่นเหลือเกิน | แต่นี้ไปเชิญตามสบาย | |
ทุกส่วนประท้วงหยุดงาน | ประสานยากนักใจหาย | |
หัวไม่ยอมคิดวุ่นวาย | ขาไม่ยอมกรายไม่เดิน | |
แขนไม่ยอมจับอาหาร | ฟันพาลไม่เคี้ยวขัดเขิน | |
ท้องขาดอาหารหิวเกิน | ดำเนินสามวันตาลาย | |
ทุกส่วนหิวโหยหมดแรง | จำต้องแจ้งความเสียหาย | |
ประชุมของจงกลับกลาย | สื่อสายสัมพันธ์ดังเดิม | |
อันกลุ่มประชุมร่างกาย | ล้วนมีความหมายส่งเสริม | |
สนับสนุนต่อกันพูนเพิ่ม | ต่อเติมให้มีพลังงาน | |
หากมีอึดอัดขัดแย้ง | ดังแกล้งตัดทอนประสาน | |
ย่อหย่อนพลังทำงาน | การง่ายกลับยากนั่นแล | |
32. เทพารักษ์กับคนขับเกวียน | ||
ชายหนุ่มขับเกวียนกลับบ้าน | ผ่านป่าขุนเขาดงหนา | |
ข้ามห้วยหลายแห่งผ่านมา | หนทางทุรกันดาร | |
มินานก็เจอหล่มลึก | โคถึกออกแรงสงสาร | |
เกวียนมิเขยื้อนเนิ่นนาน | จวบจวนค่ำมืดน่ากลัว | |
เสือสางออกมาหากิน | ดับดิ้นแน่ตูยามสลัว | |
ภูตผีที่มองมิเห็นตัว | คงออกหากินมากมาย | |
หวาดหวั่นไหว้วอนเทพา | ช่วยข้าด้วยเถิดใจหาย | |
หากมืดกลางดงคงตาย | น่ากลัวเหลือหลายเจ้าประคุณ | |
ชายหนุ่มวิงวอนเทพเจ้า | โปรดเข้ามาช่วยเอาบุญ | |
ขอบนข้าวของเจือจุน | ข้าวปลาอาหารมากมี | |
เทพารักษ์ปรากฏกาย | วุ่นวายบนบานบายศรี | |
อ้อนวอนเสียเวลานาที | ทำไมไม่โกยโคลนเธอ | |
เอาท่อนไม้มารองเข้า | ตัวเจ้าแบกคานให้เสมอ | |
ตีวัวให้ลากอย่าเซ่อ | ออกแรงดันด้วยช่วยกัน | |
ชายหนุ่มทำตามที่แนะ | แหละแล้วเกวียนเคลื่อนพร้อมสรรค์ | |
ดีใจจักกราบเทพพลัน | หายวับไปแล้วเสียดาย | |
ยามมีอุปสรรค์ปัญหา | พึงใช้ปัญญาหลากหลาย | |
ช่วยตนนั่นดีมากมาย | ดีกว่ากราบไหว้วิงวอน | |
33. เทวดากับคนขับเกวียน | ||
อดีตกาลนานมา | ชายหนุ่มบ้านป่าขับเกวียน | |
เข้าป่าหาฟืนพากเพียร | วนเวียนบ่ายคล้อยกลับมา | |
บังเอิญเกวียนติดหล่มลึก | นึกดูใจหวาดผวา | |
ค่ำมืดในพงพนา | สัตว์ป่าดุร้ายน่ากลัว | |
ยิ่งคิดก็ยิ่งวิตก | จึงยกมือไหว่ท่วมหัว | |
บนบานข้านี้มืดมัว | ดีชั่วจักกลับอย่างไร | |
ขอวอนเทพพรหมจงช่วย | บอกด้วยจักทำไฉน | |
เกวียนข้าจักหลุดออกไป | พ้นภัยกร่อนค่ำขอวอน | |
พระไทรเจ้าที่รำคาญ | บนบานอยู่ได้จึงสอน | |
เจ้าหนุ่มบ่าแบกแพรกงอน | แส้ต้อนวัวเดินเข้าซี | |
ลองทำตามเทพท่านบอก | หลุดออกง่ายดายวิถี | |
ก่อนค่ำออกจากพงพี | ดีใจกลับบ้านได้ทัน | |
อุปสรรคนานาแม้นพบ | จักจบด้วยแรงแข็งขัน | |
ลงมือแก้ไขโดยพลัน | อย่าฝันการวอนเทพไท | |
จงอย่างอมืองอเท้า | ใครเขาจักช่วยจริงไหม | |
ช่วยตัวตนเองดีกระไร | เภทภัยผ่านพ้นด้วยดี | |
34. เทพารักษ์กับคนตัดไม้ | ||
ชายหนุ่มบ้านป่าชาวไร่ | ตัดไม้ทำฟืนค้าขาย | |
ขยันซื่อสัตย์สมชาย | ลำบากกายใจซื่อตรง | |
งานหนักเงินน้อยอดออม | ยอมทำการหนักพิศวง | |
ขับเกวียนเข้าไปในดง | คงหาตัดฟืนคืองาน | |
วันหนึ่งอาวุธหลุดมือ | ก็คือเครื่องตัดนามขวาน | |
หล่นลงตรงกลางลำธาร | เนิ่นนานนั่งเฝ้าเศร้าใจ | |
อยากลงว่ายน้ำมิเป็น | ลำเค็ญนักทำไฉน | |
ลองวอนเทพท่านท้าวไทร | โปรดได้เมตตาปราณี | |
พระไทรสงสารปรากฏ | กำหนดงมขวานสดสี | |
ขวานทองใช่ไหมเล่มนี้ | หนุ่มชี้ไม่ใช่ของตน | |
งมใหม่ขวานเงินจงดู | ของสูใช่แน่ฉงน | |
หนุ่มบอกไม่ใช่ลองค้น | ลนลานกราบไหว้เมตตา | |
พระไทรงมขวานของแท้ | หนุ่มบอกใช่แน่นี่หนา | |
คือขวานเล่มจริงของข้า | เทวาได้ช่วยเอ็นดู | |
พระไทรรู้มันสัตย์ซื่อ | บอกให้จงถือเอาหนู | |
สองเล่มยกให้จงรู้ | ชื่นชูเจ้าซื่อสัตย์จริง | |
กลับบ้านเขาลือกันทั่ว | ชายชั่วสนใจสุงสิง | |
แอบถามทำไมช่วงชิง | ยิ่งขวานเงินทองได้มา | |
ชายหนุ่มเล่าเรื่องหมดสิ้น | ชายชั่วยินดีนักหนา | |
วางแผนตัดฟืนในป่า | ถึงคราโยนขวานทิ้งไป | |
ทำท่าละห้อยสร้อยเศร้า | วอนเขาท่านเทพอยู่ไหน | |
รีบมาช่วยข้าเร็วไว | พระไทรปรากฏกายมี | |
งมเอาขวานทองส่งให้ | คงใช่ของเจ้าดูถี | |
ชายชั่วรับคำเล่มนี้ | ชี้ชัดคือขวานข้าเอง | |
พระไทรหัวเราะชอบใจ | เจ้าไม่สัตย์ซื่อข่มเหง | |
จิตใจชอบกลนักเลง | มิเกรงมิกลัวเราเลย | |
ขวานทองเราก็มิให้ | เจ้าได้ทิ้งขวานเฉยเฉย | |
มิช่วยงมให้ดังเคย | สังเวยโลกมากลากไป | |
เสียการเสียขวานเสียชื่อ | เขาลือมากคงสงสัย | |
หวังลาภลาภก็หายไกล | ยากจักไขว่คว้าคืนมา | |
35. นกกระจาบกับชาวนา | ||
นางนกกระจาบฟักไข่่ | มันใช้กอข้าวอาศัย | |
รวงข้าวจะสุกทั่วไป | ดีใจลูกน้อยเกิดมา | |
ชาวนาเดินตรวจรวงข้าว | เรื่องราวคุยกัันนั่นหนา | |
ลูกนกกระจาบยินว่า | ข้าวสุกควรเก็บเกี่ยวกัน | |
ตอนเย็นแม่นกกลับรัง | ฟังข่าวลูกนกแข่งขัน | |
ชิงเล่าเรื่องราวทุกวัน | คราวนี้หนักหนาแน่นอน | |
จึงบอกลูกน้อยจงฟัง | แม่สั่งจำไว้ที่สอน | |
ข่าวคราวชาวนาทุกตอน | เขาเล่าถึงเรื่องอันใด | |
ถัดมาแม่นกก็รู้ | หนูน้อยบอกมิสงสัย | |
เขาจักเกี่ยวข้าวแน่ใจ | กำลังไหว้วานเพื่อนกัน | |
ชวนมาลงแขกเกี่ยวข้าว | เรื่องราวแบบนี้ไม่ขัน | |
อพยพเถอะแม่คงทัน | วันนี้พวกเราจากไป | |
แม่นกบอกว่ารอก่อน | ตอนนี้มิน่าสงสัย | |
คงมิมีเหตุเภทภัย | ใจเย็นไว้ก่อนลูกยา | |
ผ่านไปอีกสองสามวัน | พลันทราบเรื่องราวอีกหนา | |
พวกเขาไม่รอใครมา | จักเก็บเกี่ยวข้าวกันเอง | |
แม่นกตกลงอพยพ | เพราะพบอาจถูกข่มเหง | |
ชาวนาคงมิยำเกรง | รังแตกกระจายแน่นอน | |
อันคนที่เป็นผู้ใหญ่ | รู้เหตุทุกข์ภัยสังหรณ์ | |
อาศัยเหตุผลทุกตอน | ตัดสินให้ควรแก่การ | |
36.นกมีหูหนูมีปีก | ||
อดีตกาลนานมา | ป่าใหญ่ส่ำสัตว์หลากหลาย | |
คราวหนึ่งเกิดเรื่องวุ่นวาย | แย่งเขตทำมาหากิน | |
สัตว์ป่ารังเกียจพวกนก | ฉกชิงผลไม้โผผิน | |
อวดดีมีปีกโบยบิน | ประกาศสงครามรบกัน | |
พวกนกเกณฑ์พลนกสู้ | พันตูทั่วป่าพร้อมสรรพ์ | |
ค้างคาวหารือโรมรัน | น่าเบื่อพี่น้องล้มตาย | |
คอยดูข้างไหนได้เปรียบ | ลองเทียบน่าชนะไม่สาย | |
จึงช่วยพวกนั้นจักง่าย | ตกลงแบบนี้พวกเรา | |
สงครามสัตว์ป่าดำเนิน | บังเอิญพวกนกบนเขา | |
นับแสนรุมล่าไล่เอา | สัตว์ป่าถอยร่นหลบไป | |
ค้างคาวบินหาทัพนก | ยืดอกอวดปีกขานไข | |
พากเราคือนกเกรียงไกร | เต็มใจช่วยรบราวี | |
มินานสัตว์ป่ารวมพล | ปรับกลการรบมิหนี | |
เสือสิงห์ช้างป่าต่างมี | เสียงกัมปนาทก้องดง | |
นกกาตกใจบินหลบ | ลิงพบค่างตีพิศวง | |
มากมียากจักร่อนลง | ค่ำคืนถูกล่าล้มตาย | |
สงครามผกผันนกถอย | ค้างคาวคอยดูใจหาย | |
ชวนกันไปพบท่านนาย | ราชสีห์แม่ทัพเชิญดู | |
พวกข้ามากันพร้อมสรรพ | เสริมทัพสัตว์ป่ามีหู | |
ยินดีร่วมขจัดศัตรู | ให้รู้ฤทธิ์เดชอย่างเรา | |
สงครามผ่านไปนานวัน | พวกมันสองฝ่ายโง่เขลา | |
เพิ่งรู้สงครามมัวเมา | ยากเอาชนะคะคาน | |
ตกลงเจรจาสงบศึก | นึกถึงค้างคาวไขขาน | |
พวกนี้ฝ่ายนกหรือหนูท่าน | ก่อนกาลรบช่วยนกกา | |
แล้วไยมารบช่วยหนู | มันอยู่ฝ่ายใดแน่หนา | |
อวดปีกยามไปพบข้า | บอกว่าเป็นนกแน่นอน | |
ราชสีห์พวกมันไปพบ | ประจบอวดหูสลอน | |
เป็นสัตว์สี่เท้านามกร | ค้างคาวออกรบกับเรา | |
ตกลงพวกนกมีหู | พวกหนูมีปีกโฉดเขลา | |
สองหัวสองใจงี่เง่า | มิน่าจักคบพวกมัน | |
ขับไล่ไปอยู่ในถ้ำ | คืนค่ำหากินพร้อมสรรพ์ | |
กลางวันเวลานอนนั้น | ห้อยหัวคือโทษสมควร | |
อันคนไม่มีสัจจะ | ละมิตรทิ้งญาติยากหวน | |
มักจักโดดเดียวเรรวน | ลำบากเพราะขาดคุณธรรม | |
37. นกอินทรีกับหมาจิ้งจอก | ||
ราชาแห่งนกอินทรี | มีคู่ทำรังอยู่สูง | |
บนยอดต้นไม้ยางยูง | ห่างฝูงนกกาปลอดภัย | |
มินานก็มีลูกน้อย | ค่อยค่อยเติบโตเจริญวัย | |
อีกวันสองวันกินได้ | ออกไปหาเยื่อคงมี | |
จิ้งจอกตัวหนึ่งตั้งท้อง | มันจ้องหาตามวิถี | |
โพรงไม้ตรงไหนบ้างมี | เร็วรี่เร่ร่อนจรมา | |
เห็นโพรงใต้ต้นไม้ใหญ่ | พอใจยึดเป็นเคหา | |
มินานก็คลอดลูกยา | หมาน้อยหกตัวพอดี | |
ฝ่ายนกยินเสียงหมาน้อย | รอคอยปลอดแม่มันหนี | |
ออกไปหากินเข้าที | อินทรีย์โฉบไปหนึ่งตัว | |
ซ่อนไว้หวังจักฝากลูก | พันผูกรักใคร่ชวนหัว | |
ทีลูกคนอื่นไม่กลัว | ทำมั่วจะจับกินกัน | |
จิ้งจอกกลับมาลูกหาย | แทบอกแตกตายลูกฉัน | |
อยู่ไหนเคยเห็นทุกวัน | แม่นั้นเจียนขาดใจตาย | |
มินานก็ได้ยินเสียง | จำเรียงจากไหนใจหาย | |
แหงนดูเสียงจากด้านปลาย | คล้ายคล้ายจากรัังอินทรี | |
เข้าใจจึงวอนคุณท่าน | สงสารข้าน้อยด้อยศรี | |
คืนลูกให้เถิดปราณี | ประทานชีวีให้ผู้เยาว์ | |
ฝ่ายนกอยู่บนยอดไม้ | กระหยิ่มในใจไม่เขลา | |
ตอบว่าข้าเองโฉบเอา | เก็บเขาทำเหยื่อลูกยา | |
คืนให้ลูกข้าก็อด | ไม่หมดลูกแกนั่นหนา | |
ยังเหลือนับดูตั้งห้า | เอ็งอย่าเสียดมเสียดาย | |
จิ้งจอกเจ็บใจเขาหมิ่น | สิ้นคิดเยาะเย้ยเสียหาย | |
หาที่ซ่อนลูกทุกราย | สบายใจแล้วจัดการ | |
คาบฟืนสะสุมโพรงไม้ | คาบไฟมาจุดประสาน | |
ควันโขมงพุ่งขึ้นมินาน | รมรังนกมารอินทรี | |
อินทรีร่อนร้องหยุดก่อน | ลูกอ่อนข้ามิอาจหนี | |
หาไม่คงสิ้นชีวี | ยินดีคืนลูกเจ้าไป | |
ขอโปรดดับฟืนดับควัน | ข้านั้นผิดขออภัย | |
อันคนผู้ที่เป็นใหญ่ | พึงใช้เมตตาปราณี | |
เห็นคนเขาด้อยต่ำกว่า | เมตตายอมรับศักดิ์ศรี | |
เขาก็หวงแหนชีวี | มิควรกดขี่ร่ำไป | |
หากแม้นเขามิทนอด | ถูกกดมากนักมิไหว | |
เขาลุกขึ้นสู้เมื่อใด | จักเกิดเภทภัยไม่ดี | |
38. นายพรานกับไก่ฟ้า | ||
ยังมีนายพรานคนหนึ่ง | ใจถึงท่องไพรดงหนา | |
เที่ยวดักจับสัตว์นานา | ได้มาทำเป็นของกิน | |
แกชอบดักจับนกไก่ | วางไว้บ่วงบาศช่องหิน | |
ริมผานกไก่โบยบิน | ผ่านมาดักดิ้นจับเอา | |
คราหนึ่งพรานป่าวางข่าย | โปรยปรายเหยื่อล่อบนเขา | |
ไก่ฟ้าบินผ่านเห็นเงา | ดังเหยื่อที่เจ้าชอบใจ | |
ถลาบินร่อลงลงพื้น | ยืนมองด้วยความสงสัย | |
อาหารมากมายเหตุใด | กองอยู่กลางไพรแปลกตา | |
เพราะความหิวโหยเป็นเหตุ | สังเกตมิเห็นปัญหา | |
มันรี่เข้าไปไม่ช้า | เสียท่าติดข่ายนายพราน | |
ยิ่งดิ้นยิ่งพัดรัดแน่น | น่าแค้นเจ็บใจไขขาน | |
เออกูนี่เสียสันดาล | ใจพาลมักเห็นแก่กิน | |
จึงต้องประสบเภทภัย | ทันใดนายพรานใจหิน | |
เข้ามาจับไก่บนดิน | ได้ยินไก่ฟ้าวิงวอน | |
นี่แน่ะพรานผู้เป็นใหญ่ | เกรียงไกรรู้ทั่วสิงขร | |
เมตตาปล่อยข้าบทจร | จักต้อนเพื่อนเพื่อนลงมา | |
หลอกติดบ่วงบาศของทาน | สำราญสุดง่ายจริงหนา | |
ขอเพียงวอนท่านปล่อยข้า | เมตตาไม่ลืมพระคุณ | |
นายพรานฟังแล้วก็ขำ | จงจำเอาไว้ใคร่หนุน | |
ตัวเจ้าไม่รู้บาปบุญ | เจือจุนผองเพื่อนไม่เป็น | |
ดีแต่จักหลอกลวงเขา | หวังเอาประโยชน์ที่เห็น | |
ปล่อยไปเป็นโทษลำเค็ญ | ดังเช่นโรคร้ายกระจาย | |
จำต้องปลงชีพบัดนี้ | มิมีทางรอดแลหาย | |
ที่สุดไก่ฟ้าตกตาย | เพราะใจมุ่งร้ายพวกมัน | |
อันคนใจคดคิดผิด | มีจิตสกปรกผกผัน | |
หมายผิดต่อพวกเดียวกัน | สักวันฉิบหายแน่นอน | |
39. นายพรานผู้ขมังธนูกับราชสีห์ | ||
ในป่าอันกว้างใหญ่ไพศาล | ส่ำสัตว์เบิกบานเป็นวิสัย | |
อุดมอาหารพงไพร | สัตว์ใหญ่สัตว์เล็กยินดี | |
อยู่มาไม่นานเกิดอาเภท | มีเหตุอันตรายในวิถี | |
เก้งกวางล้มตายวายชีวี | ด้วยมีพรานไพรใจทมิฬ | |
เทียวออกล่าสัตว์เข่นฆ่า | ไร้ความเมตตาใจหิน | |
มันบอกทำมาหากิน | ยามยินแล้วน่าเจ็บใจ | |
วันหนึ่งนายพรานออกล่า | สัตว์ป่าหลบซ่อนอยู่ไหน | |
ป่าแตกต่างหลบหลีกภัย | วิ่งเข้ากลางไพรหลบกัน | |
จ้าวป่าหลบนิ่งรอดู | พอรู้เตรียมตัวพร้อมสรรพ์ | |
จะโดดงับคอพรานพลัน | พรานลั่นบอกช้าก่อนนาย | |
เดียวส่งทูตไปขอพบ | พูดจบสู้กันไม่สาย | |
ว่าแล้วพรานวาดลวดลาย | ยิงธนูถูกข้างสิงโต | |
มันร้องเจ็บปวดวิ่งหนี | เสียทีพรานไพรโมโห | |
จิ้งจอกตัวจ้อยพาโล | ร้องโถจ้าวป่าผู้เกรียงไกร | |
ข้าเห็นท่านสู้พรานป่า | ท่านฆ่ามันแล้วฤๅไฉน | |
ศัตรูพวกเราท่านไล่ | ขับไสมันแล้วเก่งเกิน | |
ราชสีห์กัดฟันเจ็บปวด | มันอวดมันเก่งมันเขิน | |
ประมาทศัตรูบังเอิญ | ไม่รู้หนักเบาแทบวาย | |
แถมยังถูกหมาเยาะเย้ย | ตามเคยนะอ้ายฉิบหาย | |
ธนูมันปวดแทบตาย | เจ็บกายเจ็บใจไปนาน | |
40. ปลาทูนากับปลาโลมา | ||
ปลาทูนากับโลมา | ต่างว่าตัวเก่งเหลือหลาย | |
พละกำลังมากมาย | แหวกว่ายรวดเร็วทันใจ | |
ทูน่าว่าฉันเก่งกว่า | เพราะว่ารูปทรงตรงไหน | |
เพรียมกลมสมส่วนกระไร | มิอ้วนเทอะทะเหมือนเธอ | |
โลมาว่าฉันแข็งแรง | แข่งกันเล่นน้ำเสมอ | |
กล้ามเป็นมัดมัดที่เจอ | มิใคร่อวบอ้วนไร้แรง | |
สองต่างถกเถียงใครเก่ง | เร่งรัดประลองกล้าแข็ง | |
ว่ายน้ำสู้กันแจกแจง | กติกาเรียบร้อยลองดู | |
สองเก่งว่าเร็วยิ่งนัก | ยากจักแซงได้อดสู | |
โลมาโดนกระแทกปลาทู | เล่นโกงโลมากระเด็น | |
ทางโค้งตกที่หาดทราย | มากมายเร่าร้อนที่เห็น | |
ปลาทูเสียหลักลำเค็ญ | กระดอนมาตกใกล้กัน | |
สองต่างทุรนทุราย | เจียนตายพูดคุยน่าขัน | |
พวกเราประกวดประชัน | ทิฐิอวดเก่งอวดดี | |
สุดท้ายประสบเภทภัย | ไม่แตกต่างกันบัดสี | |
คงจักสูญสิ้นชีวี | ไม่มีคนเก่งซักคน | |
41. ปลาโลมากับลิงขี้คุย | ||
สมัยก่อนกลาสีเรือ | เมื่อออกทะเลไปไกล | |
มีลิงและหมาเอาไว้ | เป็นเพื่อนยามเหงากลางชล | |
คราหนึ่งล่องเรือไปไกล | นับได้หลายวันชวนฉงน | |
เหตุใดลมมันพัดวน | ท้องฟ้ามืดมัวหวั่นใจ | |
เรืออ้อมปลายแหลมกรีก | ยากหลีกลมแรงยิ่งไฉน | |
มินานประสบวาตภัย | พายุซัดใส่เรือจม | |
ต่างคนต่างเอาตัวรอด | กอดฟูกลอยคอบุญถม | |
หลายคนจมน้ำสิ้นลม | ลิงรอดแหวกว่ายวนเวียน | |
โลมาผ่านมาแลเห็น | โลดเล่นแหวกว่ายฉวัดเฉวียน | |
ให้ลิงขี่หลังพากเพียร | จักพาเข้าฝั่งปลอดภัย | |
เพราะนึกว่าช่วยเด็กน้อย | ลอยคอมุ่งตรงนึกสงสัย | |
เป็นคนเอเธนส์แน่ใจ | คงรู้ชื่อพิรุสดี | |
จึงถามว่าพ่อหนุ่มน้อย | ตอบถ้อยเรามาดูถี | |
ใช่คนเอเธนส์ไหมนี่ | สงสัยเลยถามพ่อนาย | |
ลิงน้อยได้ทีขี้โอ่ | พิโธ่ของจริงโฉมฉาย | |
พ่อแม่พี่น้องมากมาย | ล้วนอยู่เอเธนส์ทุกคน | |
ตระกูลฉันขุนนางเก่า | พวกเราได้รับฝึกฝน | |
ผู้ดีทั้งนั้นทุกตน | โลมาท่านถามทำไม | |
อ้อเป็นผู้ดีเอเธนส์ | รู้เห็นพิรุสดีไหม | |
อยากรู้มันคืออะไร | ลิงจ้อคุยใหญ่ทันที | |
แน่นอนนั่นคือเพื่อนข้า | เคยพากันเทียวแอบหนี | |
ยิงนกตกปลานานปี | เพื่อนซี้ฉันเองแหละเธอ | |
โลมาอ้ายนี่มันบ้า | ท่าเรือชื่อนี้เสมอ | |
พบคนเอเธนส์เมื่อเจอ | ถามถึงเขารู้ทุกคน | |
หมอนี่มันขี้โกหก | ตกลงดำน้ำล่องหน | |
ลิงจมแหวกว่ายน้ำวน | สุดท้ายชีพดับลับไป | |
อันการคุยโวโอ้อวด | มักชวดโชคอย่าสงสัย | |
บางคราวถึงกับมีภัย | ใครเขามิเอื้ออาทร | |
42. พรานใหม่กับคนตัดไม้ | ||
พรานหนุ่มทดลองเข้าป่า | ปืนผาหน้าไม้พร้อมสรรพ | |
จักลองวิชาสำคัญ | ร่ำเรียนจากครูพรานไพร | |
บุกป่าฝ่าดงพงหนาม | เลาะตามหุบผาเนินไศล | |
เนิ่นนานพบคนตัดไม้ | จึงได้แวะถามพี่ชาย | |
ตัดไม้แถวนี้นานเปล่า | ช่วยเล่าสัตว์ป่ามากหลาย | |
เสือสิงห์มีบ้างไหมนาย | อยากยิงสัตว์ใหญ่คงดี | |
อ๋อหากินแถวนี้มานาน | ลานตาเก้งกวางหมูหมี | |
สัตว์ใหญ่ตัวหนึ่งแถวนี้ | ราชสีห์เพิ่งจับคนไป | |
รอยเท้ายังอุ่นอยู่นั่น | พรานมั่นจงอย่าสงสัย | |
รีบตามเลยท่านเร็วไว | คงจักได้ยิงแน่นอน | |
พรานหนุ่มด้อมด้อมมองมอง | จ้องดูรอยเท้าทอดถอน | |
หันกลับอีกทางบทจร | ฝ่ายคนตัดไม้สงกา | |
อ้าวนายทางนี้ราชสีห์ | มันหนีไปโน่นแหละหนา | |
พรานหนุ่มบอกที่ฉันเข้ามา | ดูรอยบาทามันไป | |
พอแล้วดูแค่นี้แหละ | แพะแกะทางโน้นสงสัย | |
คงมีให้ยิงถมไป | ฉันไปแหละนะท่านนาย | |
อันคนอวดกล้ากำแหง | กล้าแกร่งกำลังเหลือหลาย | |
เพราะยังมิสบอันตราย | จึงกล้าอวดอ้างคุยโว | |
ยามใดประสบภัยพิบัติ | ชอบทำฮึดฮัดโมโห | |
หลบหลีกไปอวดคุยโต | มิกล้าประจันอันตราย | |
43. พวกหนูประชุมปรึกษากัน | ||
ที่บ้านกลางสวนชวนฉงน | ตายายสองคนเจ้าของ | |
แต่หนูมากมายจับจอง | ทุกห้องมันอยู่สบาย | |
ตาเฒ่าก็แสนรำคาญ | บ้านรกรุงรังเหลือหลาย | |
มันกัดมันแทะวุ่นวาย | ขี้หนูกระจายทั่วเรือน | |
จึงหาแมวโพงมาเลี้ยง | ส่งเสียงข่มขู่ดูเหมือน | |
ได้ผลหนูกลัวทั้งเดือน | บางตัวลืมเลือนจับตาย | |
สังคมพวกหนูวิกฤต | มันคิดหนทางหลากหลาย | |
ประชุมปรึกษาวุ่นวาย | เลวร้ายแย่ลงทุกที | |
ออกมาหากินลำบาก | หากแมวมันเห็นวิ่งหนี | |
หลบทันก็รอดชีวี | ไม่ดีจับได้ต้องตาย | |
มันกัดขบกินดิบดิบ | พวกพ้องมากมวลฉิบหาย | |
มิกล้าหากินวุ่นวาย | ใครมีอุบายช่วยกัน | |
บางหนูบอกจ้างมือปืน | ค่ำคืนแมวมาน่าขัน | |
ยิงโป้งตายแน่ยืนยัน | ใครกันจักเป็นมือปืน | |
หนูเก่งทรงภูมิความรู้ | ดูก่อนลำบากยากฝืน | |
แมวมันออกมาค่ำคืน | เต็มกลืนไม่ยินเสียงมัน | |
พอรู้แมวมาถึงแล้ว | ไม่แคล้วถูกจับน่าขัน | |
หากมีกระพรวนสักอัน | ผูกคอแมวนั้นคงดี | |
มันมาเมื่อไรยินเสียง | เพียงพอให้เราหลบหนี | |
ทุกหนูชื่นชมเปรมปรีดิ์ | แบบนี้ได้ผลแน่นอน | |
เซ็งแซ่ปรบมือให้เก่ง | สมชื่อนักเลงสั่งสอน | |
ฉลาดเป็นกรดบทตอน | ประชากรหนูจักสบาย | |
เฒ่าหนูประกาศช้าไว้ | อย่าเพิ่งดีใจสหาย | |
ความคิดเข้าท่าคุณชาย | แต่หมายจักทำยากเย็น | |
กระพรวนฉันพอหาให้ | แต่ใครจักอาสาเข็น | |
ไปผูกคอแมวให้เป็น | ดังเช่นสัญญาณเตือนภัย | |
เงียบกริบทั้งห้องประชุม | ต่างกลุ่มมิต้องสงสัย | |
แนวคิดเสนอใดใด | ทำได้มีค่าควรชม | |
แผนงานโครงการดีเลิศ | ประเสริฐอ่านดูงามสม | |
พอลงมือทำกลับตรม | แผนล้มหมดท่าไม่ดี | |
44. พิราบกับกา | ||
พิราบผัวเมียหนึ่งคู่ | พวกมันอยู่ในกรงขัง | |
เศรษฐีได้มาจากวัง | เลี้ยงไว้ด้วยความชื่นชม | |
เม็ดถั่วนานาอาหาร | บันดาลมาไห้เหมาะสม | |
น้ำท่าบริบูรณ์ภิรมย์ | สุขกายสบายจิตนับนาน | |
ต่อมามีลูกผูกพัน | พวกมันรู้สึกสุขสานติ์ | |
ฉลองเอิกเกริกเบิกบาน | กาดำรำคาญสิ้นดี | |
จึงบอกว่าสองเอ็งเอ๋ย | มิเคยดำริวิถี | |
ดำเนินครอบครัวมากมี | ปัญหาควรรู้เข้าใจ | |
ตอนนี้สองเจ้าต้องโทษ | ดังโจทย์จองจำจริงไหม | |
ถูกขังอยู่กรงคือภัย | จักไปจักมายากเย็น | |
อาหารก็รอเขาให้ | ทุกข์ใจลำบากยากเข็ญ | |
อิสระเสรีหลีกเร้น | ดังเช่นไม่มีหัวใจ | |
สองเจ้าทุกข์ทนข้นแค้น | ก็แสนยากเย็นยิ่งไฉน | |
ลูกน้อยเกิดมาดังไฟ | สุมให้เร่าร้อนทับทวี | |
เพราะรักเพราะหลงลูกน้อย | สองเจ้าต้องคอยส่งศรี | |
เลี้ยงดูอาหารไม่มี | จักออกนอกกรงยากเย็น | |
ลูกเจ้าก็คงลำบาก | มิยากตรึกดูรู้เห็น | |
เภทภัยเคราะห์กรรมลำเค็ญ | คงเป็นแบบนั้นแน่นอน | |
พวกเจ้ายังเฉลิมฉลอง | มาตรองคดีที่ข้าสอน | |
รู้ทันปัญหาคราจร | เร่าร้อนจักคลายเบาบาง | |
45. พ่อกับลูก | ||
ตาสิงห์ยายแก้วกลอยใจ | บ้านใต้บ้านเหนือรู้ดี | |
ลูกเต้าห้าคนต่างมี | อายุที่ไล่เลี่ยกัน | |
คนโตอายุสิบห้า | คนหล้าสิบเอ็ดเสร็จสรรพ์ | |
เสียดายไม่ค่อยสัมพันธ์ | แข่งขันเอาชนะคะคาน | |
มอบหมายช่วยกันทำกิจ | เริ่มคิดก็มักหักหาน | |
เกี่ยงกันไม่ช่วยทำงาน | สานกันไม่ติดล้มไป | |
หลายครั้งงานล่มเสียหาย | เสียดายเวลาไฉน | |
สอนยากสอนเย็นกระไร | ลองใช้มาแล้วหลายทาง | |
ตาสิงห์นึกหาวิธี | แบบนี้คงได้สะสาง | |
ประชุมลูกชายนายนาง | พลางสั่งหักกิ่งไผ่มา | |
ส่งพ่อคนละสองท่อน | ตัดทอนแค่ศอกนั่นหนา | |
มัดรวมสิบท่อนเจรจา | ลูกยาลองหักดูที | |
คนโตออกแรงแข็งขัน | มันมิหักเลยยาหยี | |
น้องสองน้องสามก็ดี | ต่างชี้มิอาจหักมัน | |
ห้าคนลองแล้วไม่หัก | ประจักษ์แจ้งใจพร้อมสรรพ์ | |
พ่อรับมาแก้ออกพลัน | ส่งให้หนึ่งอันลองดู | |
ทุกคนหักได้โดยง่าย | ความหมายฟังพ่อหนูหนู | |
สัพเพสังสังฆภูตาชู | สามัคคีสู่วุฒิสาธิกา | |
ร่วมแรงร่วมใจพลังเกิด | ประเสริฐอุปสัคหนักหนา | |
เอาชนะง่ายดายทุกครา | ข้าศึกมิอาจรอนราน | |
หากขาดรู้รักสามัคคี | มิมีพลังอาจหาญ | |
เรื่องเล็กผิดพลาดเสียงาน | พบพานศึกพ่ายยับเยิน | |
ดังไม้กิ่งเล็กรวมมัด | หักยากรวบรัดขัดเขิน | |
แยกกิ่งหักง่ายเหลือเกิน | เชิญลูกตั้งใจไตร่ตรอง | |
ทุกคนเข้าใจพ่อสอน | งามงอนเห็นควรสนอง | |
ชวนกันหันมาปรองดอง | หายข้องขุ่นเคืองร่วมกัน | |
ช่วยกิจทำการเล็กใหญ่ | ทำได้สนุกสุขสันต์ | |
ครอบครัวร่มเย็นโดยพลัน | คุณานันต์รู้รักสามัคคี | |
46. พ่อค้าเกลือกับโคต่าง | ||
วัวต่างของพ่อค้าเกลือ | เบื่อนักลากของไปขาย | |
พ่อค้าบังคับมากมาย | ยากหมายจักเว้นทำการ | |
วันหนึ่งต้องเดินทางไกล | ไปยังเมืองไกลไพศาล | |
ต่างเกลือเต็มหลังไม่นาน | เดินทางผ่านไปใกล้บึง | |
บังเอิญฝนตกทางลื่น | ยากฝืนพลัดตกไปถึง | |
ท้องน้ำท่วมหลังตะลึง | พ่อค้าดึงมันขึ้นไป | |
ต่างหลังรู้สึกเบามาก | หลากจิตลาคิดสงสัย | |
ทบทวนดูเหตุอันใด | ทำไมมันเบานักแล | |
ครั้งนี้ต่างหลังตกน้ำ | ดำมุดโดยไม่แยแส | |
แปลกจริงน้ำหนักเบาแท้ | ใช่แน่ตกน้ำจริงจริง | |
วันหลังต่างเกลือมาอีก | หลบหลีกผู้คนชายหญิง | |
ลาโง่หลบได้ออกวิ่ง | ชิงลงแช่น้ำลำธาร | |
ต่างหลังเบาเบาสบายสบาย | มันทำหลายครั้งอาจหาญ | |
เสียหายชักไม่ได้การ | พ่อค้าพบพานเลศนัย | |
วันหลั่งต่างนุ่นมาแทน | อัดแน่นเต็มที่พิสัย | |
ลาจักลากจูงดึงได้ | พาไปตามเส้นทางเดิม | |
ลาลากจูงต่างตามนาย | สบายใจมันยังฮึกเหิม | |
ถึงที่ลำธารจักเติม | น้ำเพิ่มให้ต่างเบาสบาย | |
พอถึงวิ่งลงจุ่มน้ำ | น่าช้ำนุ่นกลับแปลกหลาย | |
อุ้มน้ำหนักขึ้นมากมาย | แทบตายหลังแอ่นลำเค็ญ | |
แต่นั้นมามันก็เข็ด | งานเสร็จเรียบร้อยที่เห็น | |
อันคนชอบโกงมักเป็น | ยากเร้นกลโกงได้นาน | |
ยามใดเขารู้เห็นเหตุ | จับเลศกลได้ประสาน | |
แก้เผ็ดเสียกิจเสียการ | นิทานบอกไว้ดีแล | |
47. แพะกับคนเลี้ยง | ||
ชายหนุ่มรับจ้างเลี้ยงแพะ | แวะวนชายป่าหญ้าเขียว | |
มีแพะเกเรตัวเดียว | เทียวแอบหลบหนีร่ำไป | |
บางคราวตามหาจนทั่ว | มืดมัวแล้วมันอยู่ไหน | |
เลาะหากลางดงพงไพร | จนค่ำจึงได้พบพาน | |
กลับค่ำนายจ้างก็ด่า | มิกล้าเอ่ยคำไขขาน | |
กล้ำกลืนเอาไว้นับนาน | แพะดื้อก็ยังเกเร | |
วันหนึ่งมันหนีแต่เช้า | เข้าป่ามิยอมหันเห | |
ตามหาโซซัดโซเซ | เหนื่อยล้าจนแทบหมดแรง | |
แลเห็นวับวับเรียกหา | รีบกลับเอ็งอย่ากำแหง | |
ข้าเหนื่อยเดินจนเท้าแพง | อย่าแกล้งหลบหนีอีกเลย | |
ต้อนกลับมันยังเลี่ยงหลบ | พบแล้วยังวิ่งหนีเฉย | |
หยิบหินปาใส่ดังเคย | แม่นจริงโดนขาล้มลง | |
ต้องอุ้มมันกลับทับก่อน | ให้นอนใส่ยาพิศวง | |
บาดแผลเล็กน้อยยังงง | ทำไมเดินยากจริงเจียว | |
จึงบอกแพะน้อยปิดไว้ | อย่าได้บอกนายหวาดเสียว | |
หาไม่โดนด่าแน่เชียว | แพะน้อยหัวร่อชอบใจ | |
ก็แผลมันเจ็บเดินยาก | ลำบากแกรู้ใช่ไหม | |
นายเขาเป็นคนตาไว | เห็นได้รู้เองแน่นอน | |
ไม่เห็นจำเป็นต้องฟ้อง | ไม่ต้องมาบอกมาสอน | |
ประจักษ์พยานมันย้อน | ยันยิ่งคำบอกใดใด | |
48. แพะกับลูกแกะและหมาป่า | ||
แม่แพะเลี้ยงดูลูกแกะ | แม่แพะรักใคร่นักหนา | |
ราวกับลูกในอุรา | หลายวันเวลาผ่านไป | |
คราหนึ่งพาแกะเล็มหญ้า | ชายป่ายามเช้าสดใส | |
พลันเห็นหมาป่าตัวใหญ่ | มาใกล้ทักทายสวัสดี | |
หนูน้อยลูกแกะแปลกหนา | ใยมาอยุ่ไกลวิถี | |
ฝูงแกะอยู่ใกล้แค่นี้ | ไปซีไปหาพวกเธอ | |
ที่นี่เขาฝูงแพะ | จำไว้เป็นแกะเสมอ | |
พ่อแม่พี่แกะนะเออ | มาซีฉันจักพาไป | |
แกะน้อยรู้ทันหัวร่อ | พอทีอย่ามาขานไข | |
หมาป่าเจ้าเล่ห์แน่ไซร้ | จักใช้อุบายหลอกลวง | |
ถึงฉันเป็นแกะตัวน้อย | แม่แพะคอยดูห่วงหวง | |
เหมือนแพะพี่น้องทั้งปวง | ฉันอยู่ด้วยสุขสบายดี | |
ฉันรักแม่แพะเหมือนแม่ | จริงแท้มิคิดหลีกหนี | |
อย่ามาหลอกล่อพอที | ฉันรู้แกมิจริงใจ | |
49. มดกับนกเขา | ||
มดง่ามตัวหนึ่ง | ไต่มาถึงฝั่งห้วยหนอง | |
กำลังกระหายใคร่ลอง | ดื่มน้ำสักหยดอดนาน | |
มันไต่กิ่งไม้ลงไป | จวนได้ดื่มน้ำฮึกหาญ | |
ทันใดลมแรงพัดพาน | กิ่งหักหักพลัดตกลง | |
มันจมลำน้ำกิ่งไม้ | จำให้ต้องปล่อยประสงค์ | |
ลอยคอเข้าฝั่งมั่นคง | เสียดายพลัดตกมาไกล | |
นกเขาบนพุ่มพฤกษา | สายตาแลเห็นสงสัย | |
มิช่วยคงม้วยด้วยใจ | เด็ดกิ่งไม้แห้งแล้วโยน | |
มันลอยอยู่ใกล้มดน้อย | มดลอยมาเกาะยึดโหน | |
คลื่นน้ำซัดมาพาโดน | ซัดกิ่งเข้าฝั่งปลอดภัย | |
มดคลานเข้ามาหาฝั่ง | ระวังนกเขาอยู่ไหน | |
หวังจักกล่าวคำขอบใจ | ทันใดเหลือเห็นนายพราน | |
จดจ้องส่องปืนปลายไม้ | เภทภัยนกเขามันหาญ | |
ผู้มีพระคุณถูกราน | จำต้องช่วยตามกำลัง | |
มันรี่เข้ากัดง่ามเท้า | พรานเขาเขี่ยดินสิ้นหวัง | |
ร้องโอ๊ยตกใจเสียงดัง | นกเขาบินหลบเลี่ยงไป | |
อันความเมตตาปราณี | ดีงามมิต้องสงสัย | |
สะสมมากมวลเอาไว้ | จักได้กุศลผลดี ฯ | |
50. มดง่ามกับจักจั่น | ||
ยามเช้าหน้าฝนแจ่มใส | แดดได้ส่องแสงสดศรี | |
ฝนตกวันวานยังมี | ร่องรอยน้ำฝนฉ่ำเย็น | |
มดง่ามคึกคักขยัน | ชวนกันทำการลากเข็น | |
ข้าวเปลือกลำบากยากเย็น | ขนไปทำเป็นโกดัง | |
สะสมอาหารเก็บไว้ | ยามมีภัยแล้งภายหลัง | |
อดอยากยากแค้นระวัง | มีคลังอาหารสบายใจ | |
นับพันนับหมื่นชื่นจิต | ช่วยกิจทำการดีไฉน | |
ร้องรำทำเพลงเดินไป | มินานเสร็จได้สมควร | |
ยังมีจั๊กจั่นผอมโซ | โผเผผ่านมาน่าสรวล | |
มาขอข้าวกินมดชวน | พาทีมากมวลเจรจา | |
โอท่านจักจั่นผู้เจริญ | ยามเดินโซเซแลหา | |
อยากกินข้าวน้ำปูปลา | หน้าร้อนข้าวน้ำบริบูรณ์ | |
ตัวท่านไปทำอะไรอยู่ | มิรู้โอกาสสิ้นสูญ | |
ควรเก็บอาหารจำรูญ | เพิ่มพูนเก็บไว้เสบียง | |
จักจั่นตอบคำหน้าร้อน | เขาวอนให้ข้าส่งเสียง | |
ร้องเพลงเพราะพริ้งเพราะเพียง | เทพพรหมสำเนียงเพราะเพลิน | |
จนสิ้นหน้าร้อนยามฝน | ข้าวงอกจนสิ้นขัดเขิน | |
จักเก็บก็ยากเหลือเกิน | จำเดินมาวอนเมตตา | |
มดง่ามหัวร่อข้องจิต | ท่านคิดแต่เรื่องหรรษา | |
ร่ำร้องไม่รู้เวลา | หาข้าวหาน้ำไว้กิน | |
เมือหิวจักโทษใครเล่า | เพราะเจ้าสมควรติฉิน | |
ละเลยการงานใครยิน | มักสิ้นเมตตาปราณี | |
อันคนควรรู้จักกาล | ทำงานยามควรเสริมศรี | |
เรี่ยวแรงมากควรทำดี | สะสมไว้มีพลัง | |
หาทรัพย์ทำงานการกิจ | รู้คิดรู้หามนต์ขลัง | |
ยามเจ็บยามแก่ระวัง | อาศัยใช้ตั้งเติมตน | |
หากไม่สะสมสินทรัพย์ | จับจ่ายเกินตัวสับสน | |
ภายหน้าอาภัพอับจน | มืดมนใครจักช่วยแล | |
51. มัดแขนงไม้ | ||
ชาวนามีลูกห้าคน | หน้ามนเป็นหญิงเสียสาม | |
ชายสองต้องสอนทุกยาม | บอกให้รักใคร่สามัคคี | |
เสียดายสอนได้ไม่จำ | เวรกรรมมันน่าหน่ายหนี | |
ทะเลาะกันได้ทุกที | แม้แต่ยามกินยามนอน | |
อยู่มาวันหนึ่งนึกได้ | ไปหาไม้เรียวจักสอน | |
วิธีแบบอย่างสหกรณ์ | เอาคนละชิ้นมาดู | |
พ่อถือไม้เรียวยืนรอ | นวลลออมาแล้วอ้ายหนู | |
ดีมากนี่ไม้ของกู | หักง่ายแล้วโยนทิ้งไป | |
ทีนี้ส่งของพวกแก | เป็นแส้ห้าเส้นใช่ไหม | |
เอ้ามัดรวมกันมั่นไว้ | ส่งให้ลองหักทีละคน | |
เออมันไม่หักเลยนี่ | เพราะมีหายอันสอดสนธิ์ | |
รวมกันแข็งแรงเป็นพล | จึงยากจักหักง่ายดาย | |
ฉันใดพวกเธอพี่น้อง | หากปองรักกันมั่นหมาย | |
พลังสามัคคีมากมาย | ยากใครจะอาจทำลาย | |
52. ม้ากับลา | ||
พ่อค้ามีม้ากับลา | สินค้าต่างลาไปขาย | |
หนักหลังบรรทุกมากมาย | ส่วนม้าตัวเปล่าเดินไป | |
พ่อค้าหวังมันคงสุข | มิทุกข์ต่างหลังสงสัย | |
กลัวม้าซูบผอมรายได้ | ขายต่ำราคามิดี | |
ของหนักจึงตกแก่ลา | ฟันฝ่าไปตามวิถี | |
เหน็ดเหนื่อยวอนม้าจงมี | น้ำใจวานช่วยแบ่งเบา | |
ช่วยหน่อยหนาเพื่อนมันหนัก | ข้าชักขาสั่นใช่เขลา | |
ม้าบอกทุกหนักมิเอา | เจ็บป่วยเดี๋ยวด้อยราคา | |
จากนั้นมันก็เมินเฉย | มิเคยเหลียวแลเลยหนา | |
ปีนเขาหนักนักเจ้าลา | พลัดตกจากผาสิ้นใจ | |
พ่อค้าขนเอาสินค้า | บรรทุกหลังม้าหนักไฉน | |
จำทนลากชักกันไป | ทำไมถึงต้องเป็นเรา | |
หากแม้กูช่วยลาบ้าง | ช่วยต่างยามป่ายปีนเขา | |
คงมิพลาดพลั้งหนักเบา | ควรช่วยลาด้วยเพื่อนกัน | |
อันคนมักเห็นแก่ตัว | มืดมัวด้วยเหตุโมหัน | |
คิดได้เมื่อทุกข์ตามทัน | มันสายเสียแล้วแหละคุณ | |
53. แม่เนื้อกับนายพรานป่า | ||
แม่เนื้ออยู่ในป่าใหญ่ | เที่ยวไปทุ่งหญ้าเสาะหา | |
เลาะเล็มใบไม้เดินมา | ทุ่งหญ้าระบัดใบงาม | |
เพลินเล็มหญ้าอ่อนสนุก | ลืมทุกข์คืบคลานมาถาม | |
นายพรานถือหน้าติดตาม | แกะรอยยามนี้จวนตัว | |
จะวิ่งทุ่งโล่งโจ่งแจ้ง | ดังแสร้งให้ยิงน่าหัว | |
ฝีมือนายพรานน่ากลัว | เขาลือกันทั่วแม่นยำ | |
เหลือเห็นเซิงซุ้มเถาวัลย์ | ใบมันปกคลุมน่าขำ | |
คงพอหลบได้จดจำ | ค่อยค่อยหมอบทำคอยที | |
พรานป่าเห็นกวางลิบลิบ | หยิบหน้าไม้ถือรอรี | |
วิ่งมาหาดูตรงนี้ | ไม่มีหายไปอย่างไร | |
นายพรานถึงป่าลึกแล้ว | กวางแผ้วผ่องจิตแจ่มใส | |
นึกว่าตัวเองปลอดภัย | กัดกินใบไม้รอบตัว | |
สักครู่นายพรานย้อนกลับ | วับวับเลือนรางสลัว | |
มองเห็นกวางไพรพันพัว | มัวกินใบไม้ลืมตน | |
โก่งหน้ายิงกวางล้มตาย | เสียดายกวางไพรสับสน | |
ประมาทลืมตัวอับจน | มืดมนทำลายกำแพง | |
ใบไม้ปิดบังมันไว้ | กลับไปกัดกินกำแหง | |
ม่านกั้นเปิดเผยสำแดง | ดังแกล้งให้พรานเห็นเอง | |
ฉันใดใครเขาปกป้อง | อย่าปองทำร้ายข่มเหง | |
ผู้มีพระคุณยำเกรง | นักเลงไม่อกตัญญู | |
54. แมลงวันกับไหน้ำผึ้ง | ||
มีสาวผิวขาวสดใส | แบกไหน้ำผึ้งผ่านมา | |
หนุ่มหนุ่มร้องทักกานดา | ชายตากรุ้มกริ่มพิมพ์ใจ | |
ดีใจชายรักชายหลง | เดินตรงมิมองหนไหน | |
สะดุดท่อนฟืนทันใด | ไหหล่นตกแตกกระจาย | |
น้ำผึ้งนองพื้นไปทั่ว | สาวกลัวตกใจวิ่งหาย | |
แมงวันตอมกลิ่นมากมาย | วุ่นวายดูดดื่มกินเพลิน | |
น้ำผึ้งติดปีกติดขา | ไปมาก็ดูขัดเขิน | |
ที่สุดก็ตายยากเดิน | บังเอิญติดอยู่มากมาย | |
ที่แท้เพราะมันโลภมาก | ความอยากน้ำผึ้งเหลือหลาย | |
ลืมตัวลืมกลัวลืมตาย | วุ่นวายแต่การดื่มกิน | |
ประมาทเลินเล่อเผลอไผล | ภัยมามิเห็นโผผิน | |
เมามัวลืมตัวอาจิน | จนสิ้นชีวิตปลิดปลง | |
55. แมวกับไก่ | ||
แมวจับพ่อไก่อ้วนได้ | ตั้งใจจักกินให้หิวหาย | |
แต่เกรงเขาด่าวุ่นวาย | ว่าเป็นแมวอันธพาล | |
มันคิดเหตุผลให้ตน | จนต้องฆ่าไก่ไขขาน | |
เพราะเจ้ารบกวนชาวบ้าน | แกขันหนวกหูทุกวัน | |
ไก่เถียงเสียงฉันเพราะออก | เพียงบอกเวลาสร้างสรรค์ | |
ชาวบ้านรู้โมงยามกัน | เพราะฉันต่างหากนะเออ | |
ก็ใช่แกมีแรงขัน | เพราะนั่นกินอาหารเสมอ | |
ฉันเองก็เป็นเหมือนเธอ | ต้องกินไก่ก่อนจึงดี | |
ส่วนเรื่องบอกกาลเวลา | หาไก่ตัวอื่นแถวนี้ | |
ช่วยขับขานขันช่วยชี้ | บอกโมงบอกยามได้การ | |
แล้วมันก็กัดกินไก่ | สมใจตามเหตุที่ขาน | |
อันธรรมชาติคนพาล | ข้ออ้างมันมีมากมาย | |
อย่าคบร่วมมือร่วมกิจ | อย่าคิดคบหาเป็นสหาย | |
อยู่ห่างจักมิวุ่นวาย | สบายใจกว่ากันแน่นอน | |
56. แมวกับหนู | ||
แมวแก่เรี่ยวแรงถดถอย | จับหนูได้น้อยนักหนา | |
อดอยากหลายวันเวลา | นึกหาอุบายคงดี | |
หากเรานอนนิ่งเหมือนตาย | มิยอมโยกย้ายหลีกหนี | |
เก็บเล็บดังสิ้นชีวี | คงมีหนูยอมมาดู | |
ตอนนั้นคงจับมันง่าย | อุบายวิธีจับหนู | |
ปัญญาเรามันชั้นครู | เสร็จตูแน่นอนพวกแก | |
มีหนูหัวหน้าเห็นเข้า | เฝ้าดูมันไม่แยแส | |
กลับร้องเรียกเพื่อนมาแล | นี่แน่หนูหนูพวกเรา | |
อ้ายนี่มิใช่กระต่าย | แต่มันตัวร้ายใช่เขลา | |
เข้าใกล้มันจะตะปบเอา | มันแมวเจ้าเล่ห์แสนกล | |
อันผู้มีสติปัญญา | รู้ทันท่าทีเห็นหน | |
มองออกอุบายแยบยล | มิค่อยเสียท่าง่ายดาย | |
สุวิชาโนภวังโหติ | อริยะสงฆ์ท่านส่องฉาย | |
ผู้รู้เรียนดีมากมาย | ย่อมเจริญแน่นอนนะโยม | |
57. ยายแก่กับหมอ | ||
ยังมียายแก่คนหนึ่ง | ถึงคราวเคราะห์ร้ายถามหา | |
มีโรกรุกลามถึงตา | เป็นฝ้ามืดมัวลำเค็ญ | |
ยายวานลูกหลานพาไป | หมอใหญ่อยากรู้อยากเห็น | |
วานช่วยรักษายากเย็น | จักเซ่นเงินทองข้ามี | |
หมอตรวจดูรู้เหตุ | สังเกตมองเห็นวิถี | |
ตกลงรักษาหายดี | บ่งชี้ค่ายามันแพง | |
ยายบอกข้ามีสมบัติ | พอจัดให้ตามแถลง | |
ตกลงยายฉันจักแจง | แต่งยาไปดูทุกวัน | |
ยามหมอมาถึงที่บ้าน | ลานตาสมบัติพร้อมสรรพ | |
แบบนี้คงรักษากัน | นานครันจึงจากหายดี | |
ใส่ยาขากลับหยิบของ | เงินทองติดมือทุกที | |
สมบัติร่อยหรอมากมี | รักษาแบบนี้เนิ่นนาน | |
สมบัติหมดแล้วใส่ยา | รักษาให้หายกล่าวขาน | |
บัดดีหายแล้วขอวาน | ท่านจ่ายค่ายาให้เรา | |
ยายเห็นสมบัติหมดเกลี้ยง | รู้เพียงหมอยาหยิบเอา | |
จึงบอกไม่จ่ายดอกเจ้า | เงินเราไม่มีให้ทาน | |
หมอยาพิโรธด่ายาย | ใจร้ายจักไปฟ้องศาล | |
เขาขัดยายไปให้การ | วานบอกเรื่องราวเป็นไป | |
ข้าแต่ศาลที่เคารพ | ข้าพบเคราะห์ร้ายไฉน | |
ก่อนนั้นตาดีเห็นไกล | ในบ้านสมบัติมากมาย | |
ต่อมาตามัวกลัวบอด | อยากรอดขอให้ตาหาย | |
ไปหาหมอมามากราย | ตายายก็ยังไม่ดี | |
คุณหมอคือคนรักษา | ใส่ยาตรงตามวิถี | |
บอกว่าตายายยังมี | หายแล้วชี้ให้มองดู | |
ข้ามองไปทั่วทั้งบ้าน | รำคาญมันน่าอดสู | |
เคยเห็นสมบัติเชิดชู | ไม่รู้ไม่เห็นแปลกตา | |
แบบนี้มันคงไม่หาย | จักให้จ่ายเงินนั่นหนา | |
หากมันหายดีไม่ว่า | ข้าคงเห็นแก้วเงินทอง | |
ศาลพิเคราะห์เหตุผล | รู้กลเป็นไปสิ่งของ | |
ตายายหายดีเห็นพ้อง | ต้องจ่ายค่ายาเขาไป | |
ส่วนหมอต้องทำจนจบ | ตายายมองพบสดใส | |
สมบัติเคยมีอย่างไร | ให้ยายมองดูรับรอง | |
จากนั้นค่อยมารับโทษ | ฐานโปรดลักเอาสิ่งของ | |
ตัดสินกันตามครรลอง | ทำนองทำดีได้ดี | |
ทำชั่วก็ต้องรับชั่ว | อย่ามัวโลภหลงวิถี | |
คน่เห็นแก่ไดมากมี | ทำชั่วบาปกรรมตามมา | |
58. ราชสีห์กับลาและหมาจิ้งจอก | ||
ราชสีห์ลากับหมาจิ้งจอก | ร่วมกันออกล่าเนื้อสบสันติ์ | |
ได้กวางหนึ่งตัวสำคัญ | แบ่งปันแบบไหนจึงดี | |
ราชสีห์บอกให้เจ้าลา | รีบมาจัดการอย่าหนี | |
ลาแบ่งสามกองพอดี | ขนาดสูสีตามควร | |
จึงบอกสีหะเชิญท่าน | ประธานเลือกก่อนสงวน | |
เป็นสิทธิ์ผู้ใหญ่บรบวร | ผู้น้อยตามหลังมิเป็นไร | |
ราชสีห์มิค่อยชอบนัก | มันมิรู้จักเป็นไฉน | |
หัวหน้าลูกน้องแบบใด | แบ่งให้เท่ากันมิสมควร | |
ตะปบลาน้อยย่อยยับ | ดับชีพหนึ่งศพแย้มสรวล | |
ถึงตาจิ้งจอกเชิญชวน | ช่วยแบ่งให้ทีจักรอ | |
จิ้งจอกเลือกแบ่งสองส่วน | หนึ่งล้วนเนื้อหนังนั่นหนอ | |
เหลือไว้นิดเดียวก็พอ | บอกว่าข้าขอนิดเดียว | |
ราชสีห์พอใจยิ้มร่า | เอ็งมีปัญญาฉลาดเฉลียว | |
ร่ำเรียนจากที่ไหนเชียว | รอบรู้ยุติธรรมชำนาญ | |
จิ้งจอกบอกว่าลานั่น | สำคัญยิ่งคนบอกขาน | |
ได้รู้แจกแจงควรการ | ประมาณพอเหมาะพอดี | |
เคราะห์กรรมลำเค็ญผู้คน | เล่ห์กลมากมวลวิถี | |
เรียนรู้ศึกษามากมี | จักได้ปัญญาชำนาญ | |
รู้เหตุรู้ผลกลไฉน | หนักไปหรือเบาสืบสาน | |
ยามสบปัญหาแผ้วพาน | แก้ไขมินานพ้นไป | |
59. ราชสีห์กับวัวสี่ตัว | ||
จ้าวป่าคือราชสีห์ | มันมีพลังเหลือหลาย | |
จับเหยื่อสัตว์ป่ามากมาย | กลัวตายเมื่อพบหน้ามัน | |
คราหนึ่งพบกลุ่มวัวหนุ่ม | ชุมนุมสี่ตัวพร้อมสรรพ์ | |
แปลกดีไม่วิ่งหนีกัน | หันหน้าเตรียมพร้อมทุกตัว | |
พวกมันหันหน้าสี่ทิศ | ท้ายชิดโผล่เพียงส่วนหัว | |
ระแวดระวังมิกลัว | จ้าวป่าจำต้องหลีกไป | |
หลายคราช่วยกันดังนี้ | ราชสีห์หมดทางแก้ไข | |
เลยอยู่กันรอดปลอดภัย | ร่วมมือร่วมใจกันดี | |
อยู่มาวันหนึ่งเกิดเรื่อง | เคืองกันเพราะราชสีห์ | |
เจอเราหลบไปทุกที | มันกลัวใครแน่นะเออ | |
ต่างบอกมันกลัวฉันเอง | มันเกรงพลังฉันเสมอ | |
เขาแหลมอีกด้วยถ้าเจอ | ฉันขวิดพุงทะลุแน่นอน | |
มิมีใครยอมเชื่อใคร | จำแยกทางไปทอดถอน | |
ต่างตัวต่างออกเดินจร | ลำพังตัวเดียวสะดวกใจ | |
จ้าวปาจึงสบโอกาส | มิพลาดง่ายดายไฉน | |
จับวัวตัวเดียวกลางไพร | ไม่ช้าหมดสิ้นทุกตัว | |
อันความร่วมแรงรวมใจ | ยิ่งใหญ่พลังถ้วนทั่ว | |
อุปสรรคหักหาญไม่กลัว | ฟันฝ่าไปได้ง่ายดาย | |
ยามใดเห็นแปลกแตกต่าง | แยกข้างแยกพวกแยกสาย | |
อ่อนแรงเกราะพลังพังทลาย | ย่อมง่ายศัตรูจู่โจม | |
60. ราชสีห์กับหนู | ||
อดีตกาลนานมา | ราชาแห่งไพรราชสีห์ | |
รูปร่างกำยำล่ำพี | ยินดีพักผ่อนหลับนอน | |
แลดูเถื่อนถ้ำอำไพ | เร้นลับอยู่ในสิงขร | |
หินงอกหินย้อยอรชร | แง่งอนเงื่อนง้ำชวนชม | |
หอมกลิ่นบุปผามาลัย | เอื้องไพรลำดวนฉุนฉม | |
สุคันธ์จันจวงลอยลม | จิตจมจนเคลิ้มหลับไป | |
มินานสะดุ้งผวา | แลหาด้วยเหตุไฉน | |
ตะปบหนูน้อยทันได | ใยเอ็งเหยียบย่ำตัวกู | |
ข้าคือเจ้าแห่งป่า | เอ็งมาหมิ่นเกียรติอดสู | |
จะไปจะมาไม่ดู | เหยียบหัวย่ำหูมิเกรงเลย | |
จะกินมิพอยาไส้ | จะไล่โมโหมิเหย | |
จำจักบี้บดชดเชย | หายแค้นเอ็งเอ๋ยจงตาย | |
หนูน้อยออดอ้อนสิงโต | อย่าเคืองโมโหมากหลาย | |
ข้าน้อยผิดพลั้งวุ่นวาย | ซุกซนมักง่ายล่วงเกิน | |
อภัยข้าน้อยปล่อยเถิด | ประเสริฐควรค่าสรรเสริญ | |
เป็นบุญเป็นคุณจำเริญ | จักเชิญเทอดไว้บูชา | |
หากท่านมีกิจน้อยใหญ่ | จะขอรับใช้เรียกหา | |
แทนคุณที่ท่านเมตตา | ขอให้สัญญาลูกผู้ชาย | |
ขำก๊ากเจ้าหนูตัวจ้อย | ตัวน้อยคุยโตเหลือหลาย | |
เอ็งหรือจักช่วยผ่อนคลาย | ปัญหาให้หายคุยโต | |
เอาเถอะข้าไม่ถือสา | รีบไปเดียวข้าโมโห | |
เปลี่ยนใจกินหนูพุงโร | อย่ามัวโยเยรีบไป | |
หนูน้อยขอบคุณขอบคุณ | หมุนตัววิ่งเร็วไฉน | |
เกือบตายซะแล้วปลอดภัย | โชคดีเขาปล่อยเป็นบุญ | |
หลายวันเวลาผ่านไป | ปัจจัยแห่งป่าเกื้อหนุน | |
ส่ำสัตว์ร่มเย็นเป็นคุณ | อบอุ่นถ้วนหน้าสุขสบาย | |
จวบจนวันหนึ่งพรานป่า | เข้ามาวางบ่วงซ่อนสาย | |
ดักเนื้อเก้งกวางกลับกลาย | เจ้านายราชสีห์ติดไป | |
ด้วยพละกำลัิยังเหลือ | เมื่อดิ้นสุดแรงสงสัย | |
มิหลุดมิขาดเหตุใด | บ่วงบาศใยเหนียวเหลือเกิน | |
มันรัดเจ็บปวดครวญคราง | หมดทางนึกไปให้เขิน | |
ราชาแห่งป่าสง่าเดิน | ติดบ่วงดำเนินดังใด | |
หนูน้อยผ่านมายินเสียง | เพียงเพราะอยากรู้เหตุไฉน | |
เสียงดังโครมครามเร็วไว | วิ่งมาแอบใกล้มองดู | |
ที่แท้สัตว์ใหญ่ติดบ่วง | ดวงตาเบิกโพลงอ้ายหนู | |
ที่แท้ท่านนายของตู | รู้กิจควรทำลงมือ | |
เข้าไปบอกท่านขอรับ | ช่วยจับตึงเชือกยึดถือ | |
มั่นไว้จักช่วยให้ลือ | ไว้ชื่อหนูน้อยฟันคม | |
กัดแทะเกลียวเชือกไวว่อง | หลายร่องจำเพาะเหมาะสม | |
บ่วงขาดราชสีห์ชื่นชม | นิยมหนูน้อยขอบใจ | |
อันคนตัวเล็กมีคุณ | อุดหนุนควรค่ายิ่งไฉน | |
รูปชั่วตัวดำถมไป | ปัญญาใหญ่ยิ่งควรการ | |
ผู้น้อยผู้ใหญ่ไม่ต่าง | รู้ช่างชั้นเชิงอาจหาญ | |
ช่ำชองช่างเชียวชำนาญ | ร่วมงานร่วมใจได้คุณ | |
61. ราชสีห์กับหมาจิ้งจอก | ||
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว | ยายแก้วเล่านิทานขานไข | |
อีสปมีเรื่องสอนใจ | จำไว้เป็นคติเตือนตน | |
มีหมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง | มันพึ่งหลงทางสับสน | |
ขึ้นเขาวนเวียนวกวน | จวบจนเข้าเขตอันตราย | |
ป่าลึกเขตราชสีห์ | พอดีพบเข้าใจหาย | |
มันหมอบกับพื้นกลัวตาย | มิวายเหลือบตาแอบมอง | |
ราชสีห์เดินผ่านไปเฉย | มิเคยชายตาสนอง | |
ออกเดินถัดมาริมคลอง | เจอตัวที่สองตกใจ | |
ครานี้ลองยืนนิ่งนิ่ง | เออจริงชักหายสงสัย | |
จ้าวป่ามียศเกริกไกร | ไม่สนสัตว์เล็กอย่างเรา | |
ราชสีห์ผ่านไปอีกที | ครานี้จักมิขลาดเขลา | |
ออกเดินต่อมาเห็นเงา | เจ้าป่าสง่างามยืนมอง | |
จิ้งจอกเดินเข้าไปหา | ราชาแห่งสัตว์ทั้งผอง | |
ทักทายถามไถ่ทดลอง | จ้าวป่ายิ้มให้ใจดี | |
บอกทางจากป่าดงดิบ | ไกลลิบตรงไปวิถี | |
ยอดเขาลูกโน้นแหละมี | เพื่อนบ้านเจ้าอยู่มากมาย | |
อันความกล้าหาญอดทน | ตริตรองเหตุผลสืบสาย | |
เรื่องยากเรื่องยุ่งอาจคลาย | เป็นง่ายเพราะสติปัญญา | |
62. ราชสีห์ชันสูตรลมหายใจ | ||
ราชสีห์ผู้เป็นใหญ่ | อยู่กลางพงไพรวิถี | |
วันหนึ่งอยากรู้คดี | ลีลาแห่งลมหายใจ | |
ตัวเองมิเคยทราบกลิ่น | ยากสิ้นมันเป็นไฉน | |
จำเป็นจำต้องท่องไป | ถามใครเขาวานบอกดู | |
รุ่งขึ้นออกเดินชมป่า | ผ่านมาทักแกะนี่หนู | |
ข้าเองหายใจใคร่รู้ | บอกตูกลิ่นเป็นยังไง | |
แกะน้อยหวาดกลัวตัวสั่น | ตัวมันงุนงงสงสัย | |
เดินมาดมดูใกล้ใกล้ | บอกไปว่าเหม็นเหลือเกิน | |
ราชสีห์พอฟังก็โกรธ | กล่าวโทษแกะไปไม่เขิน | |
จับกินเสียแล้วออกเดิน | บังเอิญพบหมาหนึ่งตัว | |
ร้องถามนี่คุณหมาป่า | ข้ามีคำถามชวนหัว | |
กลิ่นลมหายใจดีชั่ว | อย่ากลัวบอกข้าหน่อยซี | |
หมาป่าก็ตื่นตกใจ | กลัวภัยยากจักหลบหนี | |
ดมดมแล้วบอกทันที | หอมหวนดีนักราชา | |
ราชสีห์รู้มันโกหก | ตกลงจับกินอีกหนา | |
ผ่านไปจิ้งจอกเดินมา | ถามหากลิ่นลมหายใจ | |
จิ้งจอกดมดูครู่หนึ่ง | จึงทำท่าจามสงสัย | |
ข้าเป็นหวัดแรงเกินไป | มิได้กลิ่นเอาเสียเลย | |
เชิญท่านไปข้างหน้าเถิด | ประเสริฐคงมีคนเผย | |
ราชสีห์มิได้เอื้อนเอ่ย | ตามเคยมันเดินผ่านไป | |
รับมือกับคนเป็นพาล | รู้การระวังแบบไหน | |
จึงจักอยู่รอดปลอดภัย | เรียกได้ความฉลาดสำคัญ | |
63. ลากับไก่และราชสีห์ | ||
ชาวไร่เลี้ยงลากับไก่ | รักใคร่กันดีนักหนา | |
ยามเช้ามักเดินเล็มหญ้า | ไก่เดินตามลาประจำ | |
วันหนึ่งมีราชสีห์ | พอดีผ่านมามันขำ | |
เห็นลาชักหิวแล้วกรรม | มันทำหมอบหมอบคลานคลาน | |
ไก่เหลือบมาเห็นจ้าวป่า | ทำท่าคงนึกว่าหวาน | |
ลาโง่ไม้รู้ภัยพาล | รีบขานขับขันเตือนไป | |
ราชสีห์ยินเสียงตระหนก | ยกหัวยืนเสียงจากไหน | |
ฤาว่าจักมีเภทภัย | จำใจวิ่งหลบทันที | |
ฝ่ายลาทันเห็นจ้าวป่า | อ้ายบ้าเห็นตูวิ่งหนี | |
ขาดคุณสมบัติผู้ดี | ต้องตีมันกลัวลนลาน | |
ลากวดราชสีห์จนทัน | แต่มันหยุดรอไขขาน | |
ลาโง่เอ็งมันแสนพาล | ควรเป็นอาหารคงดี | |
โดนกัดกินเป็นอาหารเช้า | นึกว่าเขากลัวหลบหนี | |
เพราะโง่ปัญญาไม่มี | เสียทีอวดเก่งเกินการ | |
อันคนขลาดเขลามีชัย | มีใจฮึกเหิมอาจหาญ | |
นึกว่าตนเองชำนาญ | เลยพาลประมาทร่ำไป | |
ถึงคราวมีกิจสำคัญ | ฝ่าฟันก็มิอาจไหว | |
มักต้องพ่ายแพ้เพาะภัย | อย่าได้เอาอย่างกันแล | |
64. ลากับจิ้งหรีด | ||
ลาโง่ตัวหนึ่งในป่า | เล็มหญ้ายามเช้าสุขสันต์ | |
อากาศเย็นเย็นสำคัญ | นี่นันหรีดหริ่งเรไร | |
เพราะพริ้งจี้งหรีดกรีดเสียง | เพียงพิณบรรเลงสงสัย | |
ตัวมันเล็กเล็กทำไม | ไพเราะยามร้องระงม | |
เจ้าลาเดินตรงไปหา | เพื่อนยาเพลงเพราะเหมาะสม | |
ร้องได้ไพเราะน่าชม | อบรมฝึกมาอย่างไร | |
จิ้งหรีดฟังคำขบขัน | ลามันมิรู้ฤๅไฉน | |
เสียงร้องส่ำสัตว์พงไพร | ย่อมไม่เหมือนกันธรรมดา | |
จำจักล้อเล่นเจ้าโง่ | พิโถเพื่อนใยเสาะหา | |
อยากรู้ดูด้วยปัญญา | เช้ามาข้าดื่มอันใด | |
น้ำค้างดูดดื่มชื่นจิต | ยามคิดปลอดโปร่งโล่งไฉน | |
ยามร้องเพราะพริ้งเพลงไพร | นี่ไงข้าทำมานาน | |
เจ้าลาดีใจเหลือหลาย | ขอบคุณมากมายไขขาน | |
ข้าจักฝึกฝนมินาน | ได้การสำเนียงคงดี | |
เลิกกัดกินหญ้าเด็ดขาด | ประหลาดเห็นหญ้าหลีกหนี | |
เที่ยวดูดน้ำค้างมวลมี | รูปร่างอ้วนพีกลับกลาย | |
ซูบผอมเสียงร้องแหบแหบ | แบบขาดเรี่ยวแรงเสียหาย | |
เสียงเปลี่ยนดีใจงมงาย | ที่สุดล้มตายจากไป | |
อันความโง่เขาเบาความ | ยามทำสิ่งสุดวิสัย | |
หลงผิดทำผิดเป็นภัย | พึงใช้ปัญญาจึ่งดี | |
65. ลากับรูปเคารพ | ||
ล่าต่างตัวหนึ่งโชคดี | มีโอกาสร่วมขบวนฉลอง | |
เขาจับแต่งงามดังทอง | หลังตั้งเทวรูปจักรี | |
ขบวนแห่ไปรอบเมือง | ธงทิวแดงเหลืองหลากสี | |
เพราะพริ้งแตรสังข์ดนตรี | เจ้าลามีความภูมิใจ | |
เดินผ่านผู้คนเคารพ | บ้างจบนอบน้อมดีไฉน | |
มันหยุดผงกหัวเรื่อยไป | ทำให้ชักช้าห่างขบวน | |
เจ้าของมองดูรู้เลศ | เพราะเหตุลาบ้าน่าสรวล | |
หวดตีลาบ้องอย่ากวน | เขาไหว้เทวรูปหรอกแก | |
รีบไปให้ทันกระบวนเขา | อย่าเมาลืมตนนี่แซ่ | |
จักหวดให้ตื่นดีแน่ | รีบไปอ้ายบ้าลืมตน | |
ผู้มีหัวโขนอำนาจ | มักอาจลืมตัวสับสน | |
เห็นเขาเคารพเหลือล้น | นับถือทำให้มัวเมา | |
แท้จริงเพียงเพราะยศศักดิ์ | เขารักอำนาจอย่าเขลา | |
วันใดมันหมดตัวเรา | ก็เพียงตัวตนเปล่าดาย | |
66. ลากับหมาจิ้งจอก | ||
มีลากับหมาจิ้งจอก | บอกว่ารักใคร่ใฝ่ฝัน | |
อยากเป็นเพื่อนเกลอแก่กัน | ใจมั่นเพื่อนตัวเพื่อนตาย | |
ยามทุกข์ก็ทุกข์ทั้งดู่ | ดูแลเปลื้องทุกข์สหาย | |
ยามสุขสุขสองมิคลาย | สัญญามั่นหมายดิบดี | |
สองสหายท่องไปด้วยกัน | สัมพันธ์ผูกไว้ไม่หนี | |
ดูแลแก่กันมากมี | ไมตรีปกติธรรมดา | |
จวบจนเกิดเรื่องไม่ดี | พบราชสีห์ขวัญผวา | |
จะหลบไม่ทันมันมา | จิ้งจอกพาทีเพื่อนตาย | |
พ่อแพะเพื่อนยากมีภัย | หยุดไว้รอก่อนสหาย | |
ข้าจักไปขอผ่อนคลาย | หมายไว้คงไม่ยากเย็น | |
มันวิ่งไปหาราชสีห์ | พาทีบอกความตามเห็น | |
ข้าจักหลอกลาเป็นเป็น | มาเซ่นแก่ท่านงายดาย | |
ขอเพียงท่านให้สัญญา | ปล่อยข้าละโทษฉิบหาย | |
ขอเว้นอย่าให้ถึงตาย | เจ้านายได้โปรดเมตตา | |
ราชสีห์ตกลงตรองตรึก | พลางนึกนี่มันเป็นหมา | |
เจ้าคิดเจ้าเล่ห์นานา | ชาวป่าเขารู้สันดาน | |
จิ้งจอกกลับมาหลอกเพื่อน | ทำเหมือนเรียบร้อยไขขาน | |
ราชสีห์มิใช่คนพาล | ไหว้วานยกโทษโปรดเรา | |
หลอกลาเดินไปติดหล่ม | จมโคลนติดอยู่เพราะเขลา | |
จิ้งจอกกลับไปบอกเอา | ลาโง่งี่เง่าติดโคลน | |
เชิญทานไปกินมันเถิด | ประเสริฐมันคิดจักโผน | |
หลบไปราชสีห์กระโจน | ตะปบมันโยนตกตาย | |
จัดการกินจิ้งจอกก่อน | ค่อยย้อนกินลาไม่สาย | |
สองเพื่อนสิ้นชีพวางวาย | เพราะหมายเอาตัวรอดเอง | |
มีเพื่อนชั่วช้าหน่ายหนี | อัปรีย์หาเรื่องข่มเหง | |
ความชั่วมันมิยำเกรง | มีเพื่อนนักเลงอัปมงคล | |
67. ลิงกับคนทอดแห | ||
ยังมีนักเลงทอดแห | ลอยแพทอดอยู่กลางน้ำ | |
ปลาชุมทอดแหแล้วดำ | ได้ปลาแก้มช้ำแก้มนวล | |
ปลากดปลาหลดปลาไหล | ทอดแหเหวี่ยงไปเสสรวล | |
ปลาติดขึ้นมาเป็นพรวน | ยวนใจให้ทอดเนิ่นนาน | |
ฝั่งน้ำเห็นมีต้นหว้า | หน้านี้ลูกมันสุกหวาน | |
พวกลิงสุดแสนเบิกบาน | พบพานลูกหว้าชอบใจ | |
จ่าฝูงแลเห็นตาเฒ่า | มันเบาปัญญาสงสัย | |
ตาแก่นี่ทำอันใด | เหวี่ยงไปจมน้ำเป็นแพ | |
กระโดดลงไปดำมุด | ที่สุดจับปลาจากแห | |
มันน่าสนุกของแก | อยากลองดูแน่สักคราว | |
ตาแก่ทอดแหเหนื่อยนัก | หยุดพักพอดีลูกสาว | |
มาเชิญให้รู้เรื่องราว | ข่าวว่าอยากได้สตางค์ | |
กลับไปที่พักสักครู่ | ไม่อยู่มิมีคนขวาง | |
เจ้าลิงแลเห็นช่องทาง | ลงมากางแหเหวี่ยงดู | |
แหพันหัวหางชักยุ่ง | พันคุงจากหัวแลหู | |
อีลุงตุงนังนักตู | เสียรู้ตกน้ำสิ้นใจ | |
อันคนมิรู้ประมาณ | ทำการเกินตัวไฉน | |
มักเกิดมีเหตุเภทภัย | สังวรเอาไว้ดีแล | |
68. ลูกแกะหลงฝูงกับหมาป่า | ||
แกะน้อยเล็มหญ้าเพลิดเพลิน | เดินพลัดหลงฝูงกลางเขา | |
ลัดเลาะร่มไม้บังเงา | ยังเยาว์แต่มิตกใจ | |
ยินเสียงแกะร้องแว่วมา | ดูท่าคงห่างสงสัย | |
หากมุ่งทิศทางนี้ไซร้ | คงได้เจอฝูงแน่นอน | |
เคราะห์ร้ายมันพบหมาป่า | หมดท่าเย็นไว้พ่อสอน | |
จึงออกปากไหว้วิงวอน | โอ้ท่านผู้เกรียงไกร | |
เคราะห์กรรมตามทันข้าแล้ว | มิแคล้วสิ้นชีพตักษัย | |
เป็นภักษาผู้ยิ่งใหญ่ | เยี่ยงท่านข้าพลอยยินดี | |
ก่อนตายขอท่านสักอย่าง | เขาอ้างโบราณวิถี | |
เพราะพริ้งหมาป่าเป่าปี่ | บุญมีถึงจักได้ยิน | |
ท่วงท่าทำนองไพเราะ | เหมาะจักเรียกยอดแห่งศิลป์ | |
ร่ายรำดังหนึ่งโบยบิน | หวังว่าท่านคงเอ็นดู | |
หมาป่าภาคภูมิใจนัก | กูจักแสดงอ้ายหนู | |
หยิบปี่มาเป่าอูอู | ตัวมันเคลิบเคลิ้มหลับตา | |
แกะน้อยมิรอรีแล้ว | รีบหลบหนีแจวแหละหนา | |
เพลงปี่จบลงตื่นมา | อ้าวหายหัวซะแล้วแกะเวร | |
อันลาภสักการมีมา | บางคราวบางคราที่เห็น | |
อย่ามัวระเริงหลงเล่น | จนปล่อยลอยวับหายไป | |
จักมาเสียดายภายหลัง | อย่าหวังคืนคงสงสัย | |
ดังวันเวลาคลาไคล | มีไหนย้อนกลับลับแล | |
69. ลูกปูกับแม่ปู | ||
ปูมันมีขามากมาย | แต่โชคร้ายหัวปูมันไม่มี | |
แม่ปูลูกปูชวนชี้ | ไปที่ชายหาดสนุกกัน | |
น้ำใสสะอาดน่าเล่น | ลมเย็นสนุกสุขสันต์ | |
หากินก็ง่ายแถวนั้น | มันมีอาหารมากมาย | |
ลูกปูชอบใจไปก่อน | สนุกตอนลุยโคลนใจหาย | |
เดินเซไปมาขวาซ้าย | โยกย้ายคดเคี้ยวร่องรอย | |
แม่ปูเห็นแล้วหนักใจ | ทำไมไม่อายพวกหอย | |
เดินตรงดีดีเด็กน้อย | ค่อยเดินรีบร้อนทำไม | |
ลูกปูหัวร่อแม่จ๋า | พวกข้าเดินดีสงสัย | |
เซมาแล้วก็เซไป | แปลกใจเดินดีแล้วนา | |
แม่ปูชักมีเสียงดัง | น่าชังจริงนะเด็กจ๋า | |
เดี๋ยวแม่เดินแบบดารา | จำท่าแม่แล้วเดินตาม | |
แม่ปูออกเดินแบบอย่าง | แต่ช่างแปลกกระไรไต่ถาม | |
แม่เดินคดเคี้ยวทุกยาม | ดูงามกว่าพวกหนูเดิน | |
ปูน้อยห่อร่อคิกคัก | ยากจักไปตรงให้เขิน | |
แม่แบบคดเคี้ยวเหลือเกิน | จักเชิญฝึกได้ดังใด | |
อันคนจักสอนผู้อื่น | พึงตื่นตาดูตัวไว้ | |
ตนเองสามารถทำไซร้ | จึงควรสอนให้เขาทำ | |
หาไม่ไร้ค่าคำสอน | เขาย้อนกลับมาน่าขำ | |
แม่ปูลูกปูจดจำ | พร่ำสอนตัวเองดีแล | |
70. ลูกแพะกับหมาป่า | ||
แพะน้อยตัวหนึ่งเดินมา | เล็มหญ้าเชิงเขาลำพัง | |
มันเพลิงไม่ทันระวัง | เสียงดังหมาป่าทักทาย | |
เฮ้ยเจ้าแพะตัวจ้อย | เด็กน้อยอย่าวิ่งเสียหาย | |
แม้เหงื่อเจ้าออกท่วมกาย | เหม็นหลายมันไม่น่ากิน | |
แพะน้อยตกใจได้สติ | ดำริท่านผู้มีศิลป์ | |
ข่าวว่าหากใครได้ยิน | เสียงปี่ท่านรินหลั่งเพลง | |
ถึงตายก็สมควรอยู่ | อยากรู้ไม่ควรข่มเหง | |
โปรดได้เมตตาบรรเลง | ฟังแล้วไม่เกรงกลัวตาย | |
หมาป่าชอบใจแพะน้อย | คอยฟังข้าภูมิใจหลาย | |
เป่าปี่ให้ฟังหลานชาย | ภายหลังค่อยจับเจ้ากิน | |
ตะริดติ๊ดตี่ปี่หมาป่า | พรรณนาแบบผู้มีศิลป์ | |
เพราะยิ่งใครยลใครยิน | เจิดจินตนาการเพราะเพลิน | |
หมาพรานล่าเนื้อยินเสียง | จำเรียงจึงข้ามเขาเขิน | |
มาถึงแลเห็นบนเนิน | หมาป่าเดินเป่าบรรเลง | |
หมาพรานโลดไล่หมาป่า | ว่องไวนักหนาข่มเหง | |
กลัวตายลนลานลืมเพลง | มันเร่งรีบหนีกลัวตาย | |
แพะน้อยเลยรอดปลอดภัย | หลบไปเข้าป่าลับหาย | |
อันคนทำการมากมาย | ไม่วายลืมตัวลืมตน | |
ไม่รู้ภาระหน้าที่ | มีใจเรื่องอื่นสับสน | |
มัวทำเรื่องอื่นกังวน | งานตนเสียหายมากมี | |
หมาป่าปัญญาบางเบา | หลงเงาศิลปินวิถี | |
กำลังหากินดีดี | เมาปี่เป่าเพลงเพลิดเพลิน | |
ลาภลอยตรงหน้าก็หาย | หนีตายวิ่งเข้าเขาเขิน | |
ต้องโทษตนเองโง่เกิน | บังเอิญไม่รู้จักตน | |
71. ลูกหมูกับฝูงแกะ | ||
ลูกหมูพลัดหลงแม่ | มัวชะแง้หาอาหาร | |
ขุดคุ้ยกินไผ่นาน | แม่ลับตาไม่รู้ตัว | |
จวนค่ำมันตกใจ | มองทางไหนเริ่มสลัว | |
หมอกมืดคลุมไปทั่ว | มันน่ากลัวอยู่เดียวดาย | |
ออกวิ่งตามหาแม่ | ลองแลลับจนใจหาย | |
หลงทางกลัวแทบตาย | แม่จ๋าแม่อยู่หนใด | |
มันหลงเข้ายังฝูงแกะ | แบะแบะเสียงร้องเป็นไฉน | |
ปะปนหากินเรื่อยไป | มิกล้าเปิดเผยตัวตน | |
วันหนึ่งชาวนาเจ้าของ | เมียงมองเห็นหมูชวนฉงน | |
ไล่จับมันวิ่งเวียนวน | หลบในฝูงแกะหายไป | |
พวกแกะแปลกนักบอกเล่า | เจ้าหมูหลบหลีกเป็นไฉน | |
ยืนนิ่งเขาจับเป็นไร | ใครใครก็ยืนเหมือนกัน | |
หมูน้อยตอบคำพี่ข้า | พาทีมิค่อยสร้างสรรค์ | |
เขาจับแกะด้วยสำคัญ | ตัดขนแค่นั้นพี่ยา | |
ส่วนเขาไล่จับหมูน้อย | ใช่ย่อยแค่นั้นดอกหนา | |
เขาจับไปเชือดมรณา | สถานการณ์มิเหมือนกัน | |
ยามเห็นเคราะห์กรรมคนเขา | อย่าเอาเรื่องราวเคยสรรค์ | |
ของตัวเราเองสำคัญ | จักแก้เคราะห์ได้ดุจเดียว | |
72. ลูกอ้นกับแม่อ้น | ||
มีอ้นสองตัวแม่ลูก | พันผูกอยู่ในป่าไผ่ | |
หากินกลางดงท่องไป | มุดใต้ดินดอนขุดรู | |
สงสารลูกน้อยตาบอด | แม่กอดกระซิบข้างหู | |
ตาบอดมิอาจแลดู | เราอยู่ที่มืดมิเป็นไร | |
แม่จักช่วยดูแลเจ้า | ค่ำเช้าอย่างงสงสัย | |
ตามหลังแม่จักพาไป | หากินหน่อไม้มากมาย | |
อ้นน้อยมีแม่ปกป้อง | ลำพองว่าเก่งเหลือหลาย | |
มิค่อยพบอันตราย | สุขสบายลืมโง่ลืมตัว | |
วันหนึ่งอ้นน้อยคุยโว | อวดโตอวดเก่งชวนหัว | |
แม่จ๋าตาฉันเห็นทั่ว | ไม่กลัวหลงแล้วมารดา | |
แม่อ้นรู้ลูกโอ้อวด | เจ็บปวดลองตรึกนึกหา | |
วิธีสั่งสอนลูกยา | จึงหากำยานวางลง | |
ถามลูกแม้เจ้ามองเห็น | นี่เป็นอันใดพิศวง | |
วางอยู่ข้างหน้ามองตรง | จงตอบแม่มาโดยพลัน | |
อ้นน้อยดมดมคลำคลำ | จดจำมิได้น่าขัน | |
บอกแม่ก้อนหินสำคัญ | ยืนยันถูกต้องแน่นอน | |
แม่อ้นสมเพทลูกน้อย | ตอบถ้อยหนูอ้นสั่งสอน | |
ตาบอดไม่พองามงอน | กำยานว่าก้อนหินไป | |
จมูกก็บอดสนิท | อยู่ชิดกำยานรู้ไหม | |
กลิ่นฉุนมิทราบกลิ่นใด | สงสัยเจ้าบอดจริงจริง | |
อันคนอวดดีอวดเก่ง | มักเบ่งข่มเขาชายหญิง | |
มินานเขารู้กลอกกลิ้ง | ที่แท้ชิงอวดโง่แล | |
73. ลูกโอ๊กกับฟักทอง | ||
กะทาชายนายสิง | มิเคยอยู่นิ่งสงสัย | |
คิดโน่นคิดนี่เรื่อยไป | บางครั้งก็เกินพอดี | |
อย่างเช่นมันคิดเรื่องไก่ | ออกไข่ตัวเมียหลากเสีย | |
พวกเป็ดพวกนกก็มี | แบบนี้มิแตกต่างกัน | |
ทำไมตูเป็นผู้ชาย | กลับกลายมีไข่หนอสวรรค์ | |
สร้างผิดหรือเปล่าสำคัญ | มันคิดแบบนี้แปลกคน | |
วันหนึ่งไปเที่ยวในป่า | เมื่อยล้ายามอยู่ไพรสณฑ์ | |
มองหาร่มเงาพักตน | เจอต้นไม้โอ๊กพอดี | |
เอนตัวนอนใต้ร่มไม้ | ได้เห็นลูกโอ้กหลากสี | |
ต้นโอ้กใหญ่โตกลับมี | ลูกไม้ขนาดเล็กนิดเดียว | |
ฟักทองเถาเล็กลูกใหญ่ | ทำไมโตนักฟักเขียว | |
เทวดาสร้างผิดแน่เชียว | มันถึงได้กลับแผกกัน | |
ทันใดลูกโอ้กหล่นลง | ถูกตรงหน้าผากน่าขัน | |
หัวโนหลบหลีกไม่ทัน | ฉับพลันคิดใหม่อีกที | |
ต้นโอ้กลูกเล็กเหมาะนัก | หล่นปักหน้าผากยากหนี | |
แค่ปวดแค่บวมยังมี | หยูกยาทาได้หายไป | |
แม้มันโตเท่าฟักทอง | สมองแตกแน่มิสงสัย | |
ชีพเราก็คงบรรลัย | มิทันได้สั่งญาติกา | |
สิ่งใดที่เรามิรู้ | มิคู่ควรจักสรรหา | |
ถ้อยคำวิพากย์จรรจา | ศึกษารู้ก่อนจึงควร | |
74. สามช่างซ่อมกำแพง | ||
เอกทาพาราภูวง | มีเรื่องยังคงกล่าวขาน | |
ถึงช่างผู้ชำนาญการ | หารือจักซ่อมกำแพง | |
คราวนั้นมีข่าวการศึก | มันฮึกอวดเก่งกำแหง | |
ประกาศสงครามร้อนแรง | หวาดกลัวกันทั่วทั้งบาง | |
อมาตย์มนตรีปรึกษา | พารามีสิ่งกีดขวาง | |
ค่ายคูกำแพงจัดวาง | หอรบต่างก็พอมี | |
ทุกอย่างเรียบร้อยเว้นแต่ | แลรอบกำแพงวิถี | |
ชำรุดต้องซ่อมให้ดี | มนตรีปรึกษาเร็วไว | |
มนตรีเกษตรแนะนำ | จำต้องมีอิฐมากไฉน | |
ปรับซ่อมกำแพงจึงได้ | มั่นคงแข็งแรงแน่นอน | |
เดิมเป็นช่างทำอิฐ | จึงคิดว่าเหมาะพ่อสอน | |
จำมาบอกกล่าวทุกตอน | ขอให้ที่ประชุมพิจารณ์ | |
มนตรีป่าไม้กล่าวอ้าง | ท่อนซุงจับวางขอขาน | |
ทำง่ายแข็งแรงมินาน | จักได้กำแพงสมใจ | |
เพราะเคยเป็นช่างเรือน | แนะนำจึงมิสงสัย | |
ซุงแข็งกว่าอิฐบอกให้ | ทุกฝ่ายเห็นคล้อยพาที | |
มนตรีอุตสาหกรรม | เอ่ยคำขอค้านทุกวิถี | |
อิฐเผาเราก็ไม่มี | ทำอยากอาจไม่ทันการ | |
ท่อนซุงจักเอาจากไหน | มีไหมช้างม้าประสาน | |
ลากซุงมาใช้งาน | ชักช้ามิทันศึกสงคราม | |
เราขอให้ใช้หนัง | ซ่อมผังกำแพงอย่าถาม | |
เหนียวแน่นเบาบางทุกยาม | ทนทานแน่นอนเชื่อเรา | |
ความคิดความอ่านของคน | นึกว่าตนไม่ใช่เขลา | |
รู้ดีเก่งกาจมิเบา | ล้วนขึ้นกับประสบการณ์ | |
เคยพบเคยทำก่อนมา | นึกว่าดีแล้วจึงขาน | |
ความคิดคับแคบมิชาญ | คนควรเปิดกว้างดวงใจ | |
รับรู้วิทยาหลากหลาย | มากมายสิ่งดีมีที่ไหน | |
ศึกษารอบรู้กว้างไกล | จักได้เป็นปราชญ์ฉลาดแล | |
75. หญิงชรากับสาวใช้ | ||
มีเรื่องเล่าขานคุณยาย | เป็นนายลูกจ้างสองสาว | |
ยายเฮี้ยบเขาบอกเรื่องราว | สุดยอดหาใครเทียบทัน | |
แกเลี้ยงไก่บอกเวลา | ตื่นมาอีหนูไก่ขัน | |
รีบตื่นมาทำงานกัน | ขยันหน่อยซีพวกเธอ | |
บางวันทำงานเหน็ดเหนื่อย | หลับเรื่อยลืมตื่นเสมอ | |
ไก่ขันยังนอนละเมอ | ต้องเจอน้ำสาดพอดี | |
สองสาวลองปรึกษากัน | ไก่ขันรบกวนนวลฉวี | |
หลับนอนรบกวนทุกที | แบบนี้เราต้องจัดการ | |
สองสาวเชือดไก่ต้มกิน | ไม่ยลไม่ยินไก่ขาน | |
ค่อยหลับสุขสันต์สำราญ | เบิกบานความฉลาดปัญญา | |
แต่เรื่องกลับตาลปัด | การจัดระเบียบเคหา | |
ยายไม่รู้เรื่องนาฬิกา | เวลาต้องไก่บอกยาย | |
ไก่ขันยายตื่นนานเนิ่น | บังเอิญเงียบเสียงไก่หาย | |
เลยตื่นก่อนเวลามากมาย | ปลุกเรียกสองสาวทำงาน | |
บางคืนโดนปลุกสองหน | สองคนยากจักไขขาน | |
มิกล้าขัดยายทำการ | หนักยิ่งกว่าเดิมเวรกรรม | |
อันคนคิดไม่ซื่อตรง | คงหาอุบายถลำ | |
คดโกงเอาเปรียบประจำ | มักทำนอกรีตนอกรอย | |
มินานผลกรรมตามทัน | แปรผันผลสุขถดถอย | |
กลับเป็นทุกข์โทษที่คอย | ตามทันซ้ำเติมเจ็บใจ | |
76. หนูกบกับเหยี่ยว | ||
หนูน้อยหากินใกล้หนอง | ท่องไปไม่นานได้เห็น | |
คุณกบคุยกันได้เป็น | เพื่อนเล่นเพื่อนตายชอบใจ | |
ทุกวันออกมาหากิน | ยินดีบอกวานขานไข | |
กบจับตั๊กแตนยากไซร้ | หนูไล่ตะครุบฝากมัน | |
หนูมันอยากกินข้าวเปลือก | กบเลือกทุ่งนาเลือกสรร | |
ข้าเห็นรวงข้าวสาระพัน | ไปกันเลือกเก็บกินสบาย | |
สองรักผูกพันเช่นนี้ | ยินดีรักกันสองสหาย | |
สองเราเมื่อเป็นเพื่อนตาย | ดีร้ายจักดูแลกัน | |
เสียดายที่มีอุปสรรค | ข้ามักเดินช้าน่าขัน | |
หนูเอ็งเดินวิ่งเร็วพลัน | ข้าตามไม่ทันแน่นอน | |
หนูว่าถ้าขามัดไว้ | ล่ามเชือกเอาไว้ไม่ถอน | |
ไปไหนได้ด้วยแรมรอน | ตอนสุขสุขด้วยเสมอใจ | |
ตกลงผูกขากบหนู | เป็นคู่เพื่อนตายดีไฉน | |
เพลินเที่ยวหินกันไป | ถึงหนองบึงใหญ่ยินดี | |
กบโดดลงน้ำดำดิ่ง | หนูหริ่งจมน้ำยากหนี | |
มินานจบสิ้นชีวี | มีมีอากาศหายใจ | |
นกเหยี่ยวผ่านมาแลเห็น | ดังเช่นหนูนาสงสัย | |
โฉบลงจับหนูทันใด | แถมให้กบน้อยอีกตัว | |
เหตุเพราะกบเพลินเกินสนุก | มิเห็นทุกข์เพื่อนน่าหัว | |
สุดท้ายอันตรายพันพัว | ถึงตัวฉิบหายด้วยกัน | |
77. หนูกับหอยมุก | ||
อดีตกาลนานปี | มีหนูโง่เง่าหนึ่งตัว | |
มันนึกอยากเที่ยวไปทั่ว | โลกนี้คงจักสวยงาม | |
อยากชวนเพื่อนไปด้วยกัน | สำคัญพวกเขาคงถาม | |
ติดตามคงน่ารำคาญ | เดินทางคงเดียวคงดี | |
รุ่งเช้าอากาศแจ่มใส | เดินไปบูรพาวิถี | |
นกการ่ำร้องมากมี | อึงมี่ไม่เปลี่ยวเดียวดาย | |
มองเห็นจอมปลวกใหญ่โต | โอ้โฮภูเขาใจหาย | |
แปลกดีมีอยู่มากมาย | บุญแล้วได้มาพบพาน | |
หนูอื่นไม่มีวาสนา | โลกากว้างใหญ่ไพศาล | |
เหมาะกับผู้ปรีชาชาญ | แบบข้านี่แหละแน่นอน | |
ผ่านไปได้เจอหนองน้ำ | เคยยินคำแม่กล่าวสอน | |
แบบนี้ทะเลข้าจร | มาพบคนแรกแปลกใจ | |
พวกหนูอื่นคงอิจฉา | หูตากว่ากว้างไฉน | |
ชื่อเสียงข้าคงเกริกไกร | เพราะได้รอบรู้นานา | |
มินานมาถึงแม่น้ำ | จำได้ทะเลฝันหา | |
อยากเห็นทะเลตัวข้า | บุญพาได้พบสมใจ | |
มาถึงทะเลริมหาด | ประหลาดมันกว้างจริงไฉน | |
อันนี้มหาสมุทรมองไป | ไกลสุดลูกหูลูกตา | |
มันเพลินลัดเลาะชายหาด | ทรายสะอาดชวนฝันหรรษา | |
ชื่นชมลมเย็นพัดมา | หอยมุกปากอ้าแปลกใจ | |
ตรงกาบคงมีอาหาร | บันดาลให้หิวสงสัย | |
ลองมุดไปดูทันใด | หอยงับกาบไว้เวรกรรม | |
อันพวกงี่เง่าเต่าตุ่น | ลงทุนท่องโลกน่าขำ | |
เห็นผิดรู้ผิดประจำ | ยังทำเป็นเก่งอวดดี | |
ถึงคราวพบพานอุปสรรค | ก็มักหมดท่ายากหนี | |
อวดกล้าอวดเด่นมากมี | ที่แท้ต่ำต้อยราคา | |
78. หมากับเงา | ||
มีหมาหนุ่มน้อยหนึ่งตัว | เดินทั่วตามตลาดอาจหาญ | |
ทำเหมือนมันตรวจตามกาล | เช้าผ่านตลาดสดทุกวัน | |
สายหน่อยมันโผล่ที่วัด | พบหมาจรจัดพร้อมสรรพ์ | |
คืนค่ำไปบาร์ผับพลัน | อเนกอนันต์อาหารดีดี | |
ยามเช้าวันจันทร์ปกติ | ดำริตลาดใหญ่ไม่หนี | |
พบเนื้อก้อนใหญ่เข้าที | คาบได้เร็วรี่รีบไป | |
หลบหลีกจนออกนอกบ้าน | มินานแม่น้ำลึกไหล | |
ขวางทางสะพานท่อนไม้ | พาดให้เดินข้ามแคบเกิน | |
ค่อยค่อยไต่ไปดูเท้า | พลาดเข้าตกน้ำนึกเขิน | |
คงเปียกหากมัวคิดเพลิน | เดินไม่ระวังตกลง | |
แลดูสายน้ำใครหนา | เหมือนหมางี่เง่าพิศวง | |
คาบเนื้อก้อนโตงุนงง | แปลกตรงใหญ่กว่าของเรา | |
แบบนี้มันมาท้าทาย | หมายจักแย่งเนื้อของเขา | |
ปล่อยเนื้อจากปากมิเอา | จักเข้าแย่งเนื้อจากมัน | |
เนื้อหลุดลงน้ำจมหาย | อ้ายบ้าก็คงหุนหัน | |
ปล่อยเนื้อหลุดปากเช่นกัน | เนื้อสันอย่างดีหายไป | |
เดินข้ามถึงฝังหวังแย่่ง | มันแปลงกายวับสงสัย | |
ลับหายพร้อมเนื้อก้อนใหญ่ | อดได้กินเนื้อก้อนโต | |
อันลาภสักการน้อยนิด | ใกล้ชิดในมือในโถ | |
มีค่าอย่าพาลพาโล | โมหะอยากได้ไกลมือ | |
หาไม่จักพลอยเสื่อมลาภ | เนื้อติดปากคาบไม่ถือ | |
หลุดลอยไปได้เสียชื่อ | เขาลือโง่เง่านักแล | |
79. หมาจิ้งจอกกับแกะและผู้ตัดสิน | ||
ยังมีจิ้งจอกเจ้าเล่ห์ | เกเรหาเรื่องแกะเขา | |
บอกว่าเป็นหนี้ไม่เบา | หลายแสนไม่ใช้สักที | |
มันตามไปทวงถึงถิ่น | ได้ยินแล้วหนาอย่าหนี | |
แกะงงไม่รู้ไม่ชี้ | มิเคยไปยืมเงินใคร | |
ฉันกินแต่หญ้าหาง่าย | มากมายมองดูทางไหน | |
มิอดมิอยากทำไม | จักเป็นหนี้สินกับเอ็ง | |
จิ้งจอกว่าเอ็งปากแข็ง | เป็นหนี้ยังแกล้งข่มเหง | |
มาทวงกลับร้องตะเบ็ง | อวดว่าไม่เคยยืมเรา | |
แบบนี้ต้องหาบัณฑิต | ช่วยคิดไปพึ่งพวกเขา | |
พวกนี้เที่ยงธรรมบรรเทา | รอบรู้กฏหมายคดี | |
จิ้งจอกชวนแกะเข้าป่า | ไปหาตลาการวิถี | |
หนึ่งนั้นคือเจ้าอินทรีย์ | ยังมีหมาป่าอีกตัว | |
จิ้งจอกบรรยายคำฟ้อง | เรียกร้องกล่าวโทษชวนหัว | |
แกะเป็นหนี้มันพันพัว | มึนมัวไม่ยอมใช้คืน | |
อินทรีย์ปรึกษาหมาป่า | ประกาศอาญายากฝืน | |
เป็นหนี้ถึงจนทนกลืน | ใช้เขาจึงถูกจึงควร | |
บอกปัดผัดผ่อนไม่ได้ | ไล่เรียงระบอบสอบสวน | |
โทษหนักมาตราประมวล | ประหารเร็วพลันอาญา | |
พวกมันจัดการฆ่าแกะ | ชำแหละกินกันหรรษา | |
อันพวกโง่เขลาปัญญา | ย่อมตกเป็นเหยื่อชนพาล | |
แถมยังฉลาดแกมโกง | เชื่อมโยงผิดถูกประสาน | |
ยกเป็นข้ออ้างดักดาน | ประกอบบาปกรรมเนืองเนือง | |
80. หมาจิ้งจอกกับคนตัดไม้ | ||
ยังมีหมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง | ถึงคราวอับจนนักหนา | |
พรานไพรมันไล่กวดมา | สุนัขล่าเนื้อติดตาม | |
มันวิ่งหนีสุดชีวิต | เพียงคิดพบใครได้ถาม | |
ขอความช่วยเหลือสักยาม | เพียงพ้นอยู่รอดชีวี | |
มินานพบคนตัดไม้ | แวะไปช่วยเราบ้างถี | |
พรานไพรสุนัขมากมี | กวดตามมานี้แน่นอน | |
วอนหาที่หลบภัยบ้าง | บอกทางปลอดภัยได้สอน | |
พระคุณครานี้อาทร | วันหน้าทดแทนเมตตา | |
ชายคนตัดไม้ชี้บอก | นึกออกในบ้านฉันหนา | |
ข้างเตียงหลบดีเพื่อนยา | นอกนั้นข้าจักจัดการ | |
สักครูพวกไล่มาถึง | เขาจึงบอกได้ไขขาน | |
ไม่เคยพบเห็นมานาน | จิ้งจอกที่ท่านติดตาม | |
แอบชี้มือไปในบ้าน | นายพรานมิรู้มิถาม | |
ออกเดินผ่านไปในยาม | สักครู่ก็หายลับไป | |
จิ้งจอกออกมาจักหลับ | ลาลับมิยอมขานไข | |
มิยอมขอบคุณใดใด | เจ้าบ้านสงสัยครามครัน | |
จึงถามจิ้งจอกเนรคุณ | ทำบุญแล้วไม่สร้างสรรค์ | |
ช่วยแกไม่รู้คุณกัน | วันหน้าอย่าพบกันเลย | |
จิ้งจอกขำขันพลันตอบ | ทำชอบพึงทำเปิดเผย | |
มิใช่ปากดีแกล้งเอ่ย | จักช่วยให้รอดปลอดภัย | |
แต่มือชี้บอกศัตรู | สัญญาณให้รู้ตรงไหน | |
ข้าซ่อนหวาดกลัวจับใจ | ทำได้ลงคอหนอคน | |
เขาเรียกพวกมือถือสาก | พวกปากถือศีลสับสน | |
อย่างนี้ยังมาอวดตน | ทำคุณแบบไหนน่าอาย | |
81. หมาจิ้งจอกกับจระเข้ | ||
อตีตากาเล | ยังมีจรเข้หนึ่งตัว | |
ชอบอวดเก่งนักเก่งหนา | ศักดาสูงส่งเกินใคร | |
คนอื่นมิอยากเป็นเพื่อน | เพราะคุยเลอะเลือนนั่นเอง | |
วันหนึ่งมันเจอจิ้งจอก | จึงบอกคุยโขมงโฉงเฉง | |
พวกข้าสกุลนักเลง | เขาเกรงกันทั่วตัวจริง | |
ผิวหนังเหนียวกัดมิเข้า | เจ้าชู่เก่งเที่ยวเกี้ยวหญิง | |
ปู่ชาลวันเคยชิง | สองสาวตะเภาแก้วตะเภาทอง | |
ไตรเทพเวทมนต์เชิงเชี่ยว | เทียวไปไตรภพทั้งผอง | |
ต้นตระกูลคือเทพเรืองรอง | นามก้องท่านไดใหญ่โต | |
จิ้งจอกยินแล้วหัวร่อ | พอแล้วชักมีโมโห | |
เทพไดซอรัสฮิปโป | พวกไดโนเสาร์ล่ะซี | |
ดูรูปหาหล่อยากนัก | อัปลักษณ์น่าอายหน่ายหนี | |
ชอบแช่น้ำเน่าตลอดปี | ทั้งขี้ทั้งเยี่ยวจัญไร | |
แหมยังมีหน้ามาอวด | ตะกวดหล่อกว่าไหนไหน | |
ห่างห่างฉันหน่อยรีบไป | คลืนใส้มันเหม็นขี้ฟัน | |
อันคนขี้โม้โอ้อวด | เขาสวดว่ามิสร้างสรรค์ | |
คุณค่ามิมีสักอัน | ต่ำชั้นด้อยค่าน่าอาย | |
82. หมาจิ้งจอกกับนกกระสา | ||
เขาว่าพวกหมาจิ้งจอก | กลิ้งกลอกเจ้าเล่ห์เหลือหลาย | |
มีเรื่องร่ำลือมากมาย | จนกลายมาเป็นตำนาน | |
นี่ก็เรื่องของจิ้งจอก | เขาบอกเล่าไว้ไขขาน | |
อีสปเชี่ยวเชิงนิทาน | เคยอ่านเคยรู้เรื่องราว | |
เจ้าหนุ่มจิ้งจอกในดง | หลงเคี้ยวกินปลาหน้าหนาว | |
ก้างปลาติดคอชิ้นยาว | ยากคราวสำรอกออกมา | |
มันติดมิยอมหลุดออก | ไปบอกเพื่อนเพื่อนเสาะหา | |
ให้ช่วยจัดการก้างปลา | ต่างหมดปัญญาช่วยมัน | |
จนคออักเสบปวดร้าว | เคยห้าวเหี้ยมหาญน่าขัน | |
เจ็บป่วยครวญครางทุกวัน | สำคัญนกฮูกตาโต | |
ได้ยินเสียงครางสงสาร | ไปวานหมอซิพิโถ | |
ชื่อนกกระสาพาโล | เอ็งโง่ทำไมมิไป | |
จิ้งจอกฟังคำจำจด | ทนอดเจ็บปวดไฉน | |
คลินิกกระสามิไกล | มันได้พบหมอมินาน | |
หมอนกกระสาตรวจสอบ | ระบอบระเบียนไขขาน | |
ให้อ้าปากดูรู้การ | ชำนาญดึงก้างออกมา | |
ปากยาวประโยชน์ดีมาก | ลำบากแค่ลองแลหา | |
เห็นก้างประจักษ์แก่ตา | มิช้าดึงออกได้พลัน | |
เจียดยาแก้ปวดให้ด้วย | ค่าช่วยรักษาพร้อมสรรพ์ | |
คิดเพียงสองร้อยช่วยกัน | สำคัญจิ้งจอกเปลี่ยนใจ | |
มันบอกสองร้อยน้อยนิด | คิดเทียบคุณข้าอสงไขย | |
ยามเจ้ายื่นปากเข้าไป | ข้ายอมอดให้เมตตา | |
ไม่กินเจ้าเป็นจานเด็ด | เหมือนเป็ดเหมือนไก่นั่นหนา | |
บุญคุณที่ไว้ชีวา | มากกว่าสองร้อยแน่นอน | |
ยังจะมาถามให้จ่าย | อยากตายหรือไรใครสอน | |
เพราะข้าเมตตาอาวรณ์ | หาไม่ม้วยมรณ์แน่จริง | |
อันคนนิสัยพวกพาล | สันดานรังแกชายหญิง | |
เอาเปรียบข่มเหงยากยิ่ง | จักแก้จักสอนยากเย็น | |
หารู้คุณใครโดยง่าย | เสียดายที่รู้ที่เห็น | |
กลับตัวยากยิ่งจักเป็น | ดังเช่นจิ้งจอกนั่นแล | |
83. หมาจิ้งจอกกับแพะ | ||
เรื่องราวจิ้งจอกเจ้าเล่ห์ | สนเท่ห์ใจนักเหลือหลาย | |
เขาให้สวมบทผู้ร้าย | มากมายตำนานดำเนิน | |
วันหนึ่งวิ่งไล่จับสัตว์ | ลัดเลาะดักเลียบเขาเขิน | |
กะรอกกะแตมัวเพลิน | บังเอิญจับได้ยินดี | |
อิ่มท้องภูมิใจตนฉลาด | สามารถจับสัตว์ศักดิ์ศรี | |
เพราะด้วยปัญญามากมี | ยากหนีพ้นมือแห่งเรา | |
กระหยิ่มยิ้มย่องพองขน | วิ่งวนแวะเวียนเนินเขา | |
มินานตกบ่องี่เง่า | ที่แท้ยังเยาว์ปัญญา | |
ขอบบ่อก็สูงเกินนัก | ยากจักปีนพ้นเสาะหา | |
วิธีหลุดพ้นนานา | หมดท่าจิ้งจอกถอดใจ | |
จำเกาะข้างบ่อนิ่งนิ่ง | ประวิงกำลังสงสัย | |
คงมีทางรอดปลอดภัย | ไม่นานแพะโง่โผล่มา | |
เห็นบ่อหิวน้ำเหลือหลาย | มันหมายดื่มกินแลหา | |
แลเห็นจิ้งจอกจมชลา | สงกาสอบถามเรื่องราว | |
น้ำลึกหรือตื้นตรงกลาง | บอกบ้างใยหน้าซีดขาว | |
จิ้งจอกเจ้าเล่แพรวพราว | เลยลวงแพะโง่จงดู | |
รสน้ำฉ่ำเย็นสดชื่น | ข้ายืนเฝ้านานเหิงสู | |
หวานหอมหากแกอยากรู้ | รออยู่กระโดดลงมา | |
เจ้าแพะโง่เง่ากระหาย | ลืมตายยินดีนักหนา | |
กระโดดลงบ่อมิช้า | เสียท่าจิ้งจอกมันไป | |
จิ้งจอกกระโดดขี่หลัง | ขึ้นฝั่งรวดเร็วไฉน | |
แพะโง่ประสบเภทภัย | เพราะไร้สติไต่ตรอง | |
ยามพบสบกิจน้อยใหญ่ | ควรใคร่ก่อนตอบสนอง | |
รอบคอบดีตามครรลอง | หาไม่จักต้องเภทภัย | |
84. หมาจิ้งจอกกับเม่น | ||
หมาจิ้งจอกหิวน้ำเห็นธาร | ลนลานดีใจเหลือหลาย | |
มิดูน้ำไหลมากมาย | ลืมตายกระโจนลงไป | |
ดื่มกินอิ่มแล้วผวา | น้ำมันพัดพาแรงไฉน | |
ติดอยู่ซอกหินดิ้นใหญ่ | ยังไม่หลุดรอดออกมา | |
ต้องรอน้ำลดอีกนาน | บันดาลเจ็บปวดนักหนา | |
แง่หินขูดขีดกายา | เลือดซึมทั่วหน้าเจ็บใจ | |
ฝูงเหลือบซ้ำเติมดูดเลือด | นึกเดือดยากดิ้นไฉน | |
จำปล่อยพวกมันดูดไป | ทนไว้นิ่งอยู่คอยรอ | |
เจ้าเม่นผ่านมาท่าน้ำ | นึกขำแลเห็นโอหนอ | |
จิ้งจอกทุกข์ทนมากพอ | อยากขอช่วยไล่เหลือบมัน | |
จิ้งจอกขอบคุณไม่ต้อง | หากลองคิดดูพร้อมสรรพ | |
ดูดเลือดอิ่มถ้วนหน้ากัน | พลันเกาะนิ่งอยู่นั่นแล | |
หากไล่มันไปแล้วไซร้ | ฝูงใหม่มาตามกระแส | |
ดูดเลือดอีกครั้งคงแด | ตายแน่น้องเอ๋ยปล่อยวาง | |
อันความทุกข์ยากใดใด | ควรใคร่ตริตรองสะสาง | |
อาจต้องรับทุกข์น้อยพลาง | ละข้างทุกข์หนักปล่อยไป | |
ความฉลาดผ่อนหนักเป็นเบา | เป็นเชาวน์ควรมีดีไฉน | |
จักช่วยผ่านพ้นผองภัย | สอนใจทุกผู้ดีแล | |
85. หมาจิ้งจอกกับราชสีห์ | ||
ยังมีสุนัขจิ้งจอก | กลอกกลิ้งเจ้าเล่ห์เหลือหลาย | |
ฟังว่ามันอยากมีนาย | หมายว่าเป็นเจ้าสิงโต | |
มันเข้าไปหาราชสีห์ | พาทีอย่าเพิ่งโมโห | |
ข้าขอรับใช้คงโก้ | ใช่พาลพาโลจริงใจ | |
ท่านเดินป่าเขาจักช่วย | เดินด้วยมีกิจไหนไหน | |
ยินดีอาสารับใช้ | แล่นไล่ล่าสัตว์ยินดี | |
ตกลงสิงโตรับไว้ | คนใช้จิ้งจอกสามสี | |
ถึงวันผ่านเข้าพงพี | มันวิ่งเร็วรี่ติดตาม | |
สักครู่ได้กลิ่นสาบเนื้อ | ไม่เบื่อมิเคยเข็ดขาม | |
พุ่มไม้ข้างหน้าคุกคาม | ยามเห่าเนื้อวิ่งออกมา | |
ราชสีห์จับได้อิ่มท้อง | มองดูขอบใจเจ้าหนา | |
จมูกดีช่วยตามไล่ล่า | กวางป่ายากรอดเงื้อมมือ | |
จิ้งจอกภูมิใจนายชม | นิยมคำยอนับถือ | |
คราวหลังข้าขอไว้ชื่อ | ให้ลือไล่จับเนื้อเอง | |
วันหนึ่งได้พบกวางใหญ่ | จิ้งจอกออกไล่ข่มเหง | |
กระโดดขี่หลังไม่เกรง | มันเร่งจักกัดกวางไพร | |
กวางพาวิ่งหนีสุดฤทธิ์ | มาติดหน้าผาสงสัย | |
วิ่งอ้อมผ่านหน้าพรานใหญ่ | จึงได้ถูกปืนนายพราน | |
ล้มตายทั้งกวางทั้งหมา | เขาว่าเรื่องราวกล่าวขาน | |
ทะนงตัวเกินไปไม่นาน | จักพานประสบพบภัย | |
วางตัวพอดีมีสมถะ | รู้จักจังหวะแบบไหน | |
ควรทำควรละกิจใด | รู้ไว้เป็นอุดมมงคล | |
86. หมาจิ้งจอกกับหน้ากาก | ||
นิทานจิ้งจอกกลอกกลิ้ง | มากจริงจนนึกกังขา | |
มันเลวเขาจึงนินทา | มิมีดีบ้างหรือไร | |
เรื่องนี้เล่าว่ามันฉลาด | สามารถเชี่ยวชาญขานไข | |
คราวหนึ่งมันแอบเข้าไป | หากินที่บ้านดารา | |
เคยได้ขนมนมเนย | เลยรุกอีกทีลองหา | |
ของกินคงมีปูปลา | เจ้าของไม่อยู่สดวกดี | |
ได้ของกินอิ่มเดินดู | อยากรู้ทางหลบหลีกหนี | |
ห้องหับเขาจัดมากมี | มาถึงที่ห้องแต่ตัว | |
แลเห็นหน้าคนงามสง่า | แปลกตามีแต่ส่วนหัว | |
มันจ้องมองดูน่ากลัว | ตกใจกระโจนออกมา | |
ลองนึกอีกทีสงสัย | ทำไมเงียบเสียงเจียวหนา | |
ถ้าคนคงร้องออกมา | บ่นด่าไล่กวดไล่ตี | |
เลยย่องกลับไปดูใหม่ | ได้รู้หน้ากากหลากสี | |
ข้างในกลวงกลวงแปลกดี | ไม่มีอะไรน่ากลัว | |
อันภาพที่ตามองเห็น | บางทีเป็นเรื่องชวนหัว | |
ดูงามสง่าถ้วนทั่ว | แท้จริงแค่ภาพลวงตา | |
บางคนท่วงทีดังปราชญ์ | คงฉลาดคนอยากคบหา | |
ตัวจริงกลับด้อยปัญญา | มันน่าหัวร่อจริงแล | |
87. หมาจิ้งจอกหมาป่าและม้า | ||
โบราณเขาว่าจิ้งจอก | กลับกลอกเจ้าเล่ห์เหลือหลาย | |
ตัวเล็กกลโกงมากมาย | คุณยายท่านเล่านิทาน | |
ลูกหมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง | ถึงเล็กแต่มันอาจหาญ | |
กล้าพูดกล้าทำชำนาญ | ฉลาดทันการทันกล | |
มีเพื่อนเป็นลูกหมาป่า | ปัญญาค่อนข้างสับสน | |
คิดช้าไม่ค่อยทันคน | อวดตนว่าเป็นผู้ดี | |
วันหนึ่งจิ้งจอกเดินเล่น | เห็นม้าชาวบ้านวิ่งหนี | |
ผ่านมาใกล้มันรอรี | ท่วงทีสง่าเหลือเกิน | |
มันกลับเจอเพื่อนหมาป่า | บอกข้าเดินเล่นตรงเนิน | |
พบตัวแปลกตามันเดิน | เล็มหญ้ากินเพลินข้าดู | |
รูปหล่อคล้ายข้าแต่ตัวใหญ่ | คืออะไรข้าอายอดสู | |
นึกมิออกยากบอกให้รู้ | มันอยู่ตรงโน้นน่ะนาย | |
หมาป่ายืดอกไม่ยาก | ลำบากข้าไปเดี๋ยวหาย | |
ข้ารู้ปัญญามากมาย | เพื่อนชายมาไปดูกัน | |
สักครู่ก็มาเห็นม้า | จิ้งจอกวางท่าขบขัน | |
ร้องถามตัวใหญ่สำคัญ | เอ็งมันตัวอะไรบอกที | |
ม้ามองลูกหมาทั้งคู่ | ย่อมรู้ไม่ประสาประสี | |
แกล้งบอกที่เกือกข้ามี | ชื่อที่ช่างสลักชัดเจน | |
จิ้จอกมองหน้าเพื่อนรัก | รู้จักฉันใดไม่เห็น | |
หนังสืออ่านได้ยากเย็น | เป็นคนไม่ได้ร่ำเรียน | |
หมาป่าภูมิใจไว้ข้า | ผ่านมาปอหกขีดเขียน | |
อ่านได้ไม่ยากพากเพียร | แก่มันเซียนสอบตกประจำ | |
หมาป่าเดินดูใกล้ใกล้ | จักอ่านให้ชัดชักขำ | |
เลยโดนม้าถีบเคราะห์กรรม | เพราะทำเป็นเก่งวิชชา | |
ความรู้ร่ำเรียนทุกคน | แต่กลการใช้ให้หา | |
ฉลาดคิดฉลาดกลปัญญา | พึ่งพาเชาวน์ชาญเฉพาะตน | |
คนโง่ก็เรียนรู้ได้ | ยามใช้ยุ่งยากสับสน | |
ใช้ผิดยุ่งยากวนวน | เล่ห์กลฝึกไว้ได้แหละดี | |
88. หมาจิ้งจอกหางด้วน | ||
หมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง | ถึงคราวเคราะห์หามยามร้าย | |
เคยเที่ยวลักไก่มากมาย | ผู้คนเบื่อหน่ายระวัง | |
เขาวางกับดักเอาไว้ | มีไก่ชาวบ้านจับขัง | |
ในเล้ารอบข้างยายยัง | กับตั้งเรียงรายหลายอัน | |
ที่สุดก็พลาดจนได้ | กลไกกับดักผลักผัน | |
งับหางจิ้งจอกขาดพลัน | มันดิ้นหลุดรอดออกไป | |
แผลหายหลายวันเจ็บนัก | หางเคยน่ารักพิสมัย | |
กลายเห็นหางกุดเสียใจ | ไฉนจึงช่างมาเป็น | |
พอดีนึกออกอุบาย | สุนัขทั้งหลายมาเห็น | |
หางด้วนน่าอายลำเค็ญ | เว้นแต่หางด้วนทุกตน | |
จำต้องเรียกประชุมใหญ่ | ฟังไว้โปรดอย่าสับสน | |
ข้ามีเรื่องราวชอบกล | ช่วยให้หลุดพ้นทุกข์ใจ | |
หาวยาวพ่วงพีดีดอก | แต่พอตัดออกดีไฉน | |
คล่องตัวเดินเหินว่องไว | เสีอไล่ก็ยากจักทัน | |
เพราะรักเอ็นดูพวกเรา | สูเจ้ามาตัดพร้อมสรรพ์ | |
หางกุดคุณค่าสาระพัน | ฉันแจ้งประจักษ์ชัดเจน | |
เซ็งแซ่หลายตัวสนับสนุน | ขอบคุณหัวหน้าข้าเห็น | |
อยากตัดข้าอยากจักเป็น | เช่นท่านหางกุดคงงาม | |
หมาใหญ่ตัวหนึ่งได้ยิน | ผินหน้าสงสัยไถ่ถาม | |
เห็นชอบวิ่งเร็วทุกยาม | เชื่อตามที่ท่านบอกมา | |
แต่ที่เคยทราบก่อนนี้ | ตอนที่ยืนเดินยากหนา | |
ทำให้พวกเราเดินช้า | แถมยังขาเป๋สิ้นดี | |
ไม่จริงจักเดินให้ดู | เสียรู้เสียศักดิ์เสียศรี | |
เขาเห็นหางด้วนทันที | หมาใหญ่จึงชี้เรื่องราว | |
ที่แท้เอ็งโดนตัดหาง | มาอ้างดำว่าเป็นขาว | |
หมาหมาส่งเสียงเกรียวกราว | เป็นเรื่องฉาวโฉ่น่าอาย | |
อันคนปกติทำชั่ว | กลัวคนอื่นทราบเสียหาย | |
อ้างชั่วเป็นดีกลับกลาย | เรื่องร้ายว่างามหลอกลวง | |
หากคนเขารู้เท่าทัน | อาจเสียเพื่อนรักเพื่อนหวง | |
ยามเขารู้กันทั้งปวง | ทักท้วงได้อายไม่ดี | |
89. หมาดุ | ||
ชาวบ้านเลี้ยงหมาตัวหนึ่ง | ดื้อดึงดุร้ายนักหนา | |
ชอบแอบกัดคนนานา | เจ้าขอระอาเหลือเกิน | |
จึงหากระพรวนผูกคอ | ดังเสียงเกราะลอเพราะพลิน | |
ไว้บอกเวลามันเดิน | บังเอิญให้คนได้ยิน | |
จักได้เตรียมตัวต่อสู้ | ย่อมรู้วิธีตัดสิน | |
มีไม้สักท่อนก้อนดิน | ปาบินใส่หัวมันไป | |
เจ้าหมายินดีเหลือหลาก | หายากเครื่องประดับสดใส | |
สุดยอดงามสง่าวิไล | เที่ยวได้อวดเขาชื่นชม | |
คุณหมาสาวสาวเชื่อสนิท | อยากชิดพาทีดีสม | |
พี่ท่านสง่างามนิยม | พรหมท่านส่งพี่ลงมา | |
สุนัขหนุ่มหนุ่มกลุ้มจิต | เห็นสาวใกล้ชิดอิจฉา | |
ทำไมนายของพวกข้า | ไม่มาให้ผูกสักอัน | |
ความทราบถึงหมาผู้ใหญ่ | รู้นัยเรื่องที่หมาฝัน | |
จึงบอกกล่าวเรื่องสำคัญ | ต่างกันกับเธอรู้มา | |
เขาผูกระพรวนที่คอ | เทียวจ้อยินดีนักหนา | |
ทำไมลองใช้ปัญญา | เพราะหมาตัวนั้นดุเกิน | |
เขาติดสัญญาณเตือนจิต | เพียงคืดข้ายังนึกเขิน | |
ยามมันจักวิ่งจักเดิน | บังเอิญกระพรวนดังไกล | |
ผู้คนเขาจักรู้ตัว | มิกลัวเตรียมการไหนไหน | |
ก้อนดินอิฐหินเตรียมไว้ | หมาไล่ต้องโดนเจ็บตัว | |
อันคนประพฤติไม่ดี | เขามีเครื่องหมายน่าหัว | |
ตั้งชื่อนักเลงน่ากลัว | ยังมัวมาอวดว่าดี | |
90. หมาป่ากับแกะโง่ | ||
กาละครั้งหนึ่งนานแล้ว | ยายแก้วเล่านิทานขานไข | |
อีสปหลายเรื่องชอบใจ | จำไว้หมาป่าแสนกล | |
นับแต่เจ้าของฝูงแกะ | หมั่นแวะมาเฝ้าทุกหน | |
จับแกะยากเย็นกลัวคน | ลำบากลำบนจริงจริง | |
มีหมาเลี้ยงแกะมาช่วย | สุดซวยเหลือเกินน้องหญิง | |
หมาป่าคุยกันติติง | บ้างนิ่งนึกหาอุบาย | |
จ่าฝูงนึกออกบอกได้ | จักให้เป็นทูตโฉมฉาย | |
เธอสาวเธอสวยแพรวพราย | พูดจาน่าเชื่อศรัทธา | |
สุนัขสาวสวยรับคำ | จดจำอุบายไปหา | |
พบพานฝูงแกะเจรจา | ตัวข้าเป็นทูตไมตรี | |
พวกหมาในป่าส่งสาร | ถึงท่านแกะศักดิ์ทรงศรี | |
เมื่อก่อนพวกเราไม่ดี | ราวีพวกท่านระราน | |
ไมตรีสองฝ่ายห่างเหิน | ยากเกินที่จักประสาน | |
พวกเราสำนึกบาปพาล | หวังท่านโปรดได้อภัย | |
สองฝ่ายเป็นมิตรชิดเรือน | เป็นเหมือนญาติกันขานไข | |
สะดวกจักมาจักไป | มิต้องกลัวภัยระราน | |
มิต้องให้หมามันคุม | น่ากลุ้มมันเห่ามันหาญ | |
ขู่กัดท่านแกะรำคาญ | ควรไล่จากบ้านพวกเรา | |
อยากเดินเที่ยวดงบ้านข้า | มีหมาพวกฉันไม่เหงา | |
สนุกเที่ยวชมไพรไม่เบา | เชิญท่านเข้าป่าตามสบาย | |
แกะเขลาหลงเชื่อคำหวาน | เลยพาลพวกหมาไม่หาย | |
ต้อนหน้าต้อนหลังวุ่นวาย | หลายตัวหลบลี้หลีกไป | |
พบพวกหมาป่าพาเที่ยว | สนุกเชียวมินึกสงสัย | |
ตกเย็นมาส่งเข้าใจ | เชื่อได้เขามีไมตรี | |
ฝูงแกะหลงชื่อมากเข้า | หูเบาชวนกันแอบหนี | |
หลายตัวหลงป่าพงพี | มีบ้างหมาป่าจับไป | |
อันคนขาดเขลาปัญญา | ถูกล่าถูกหลอกมิสงสัย | |
เชื่อง่ายเชื่อเร็วเชื่อใจ | ประสบพบภัยง่ายดาย | |
91. หมาป่ากับลูกแกะ | ||
ส่ำสัตว์ในป่าใหญ่ | อาศัยลำธารกระหาย | |
เร่าร้อนลอยธารคลาคลาย | ดื่มกินน้ำเย็นสบายดี | |
ลูกแกะลอยเล่นทวนน้ำ | สำราญลืมภัยลืมหนี | |
เหนือน้ำหมาป่าคอยที | ตะโกนด่าแกะบ้าจริง | |
ชาติชั่วลุยน้ำลุยโคลน | กระโจนเล่นยังกับหญิง | |
น้ำขุ่นเมือไรจักนิ่ง | กูยิ่งกระหายอยู่เลย | |
แกะน้อยร้องตอบนายท่าน | วานดูมั่งอย่าทำเฉย | |
ต้นน้ำที่ท่านดังเคย | ไหลมาที่ข้านี่นา | |
แล้วมันจักขุ่นอย่างไร | หมาป่าว่าจริงของแก | |
ปีกลายข้ายังจำได้ | ใช่เอ็งลอยกวนกระแส | |
น้ำขุ่นข้าหิวย่ำแย่ | ดื่มน้ำไม่ได้เพราะเธอ | |
แกะน้อยหัวร่องอหงาย | ปีกลายที่อ้างน่ะเหรอ | |
ข้ายังมิเกิดนะเออ | จะทำน้ำขุ่นอย่างไร | |
หมาป่าบอกอย่าพูดมาก | ถ้าหากเอ็งยังสงสัย | |
ชาติก่อนจริงแท้ประไร | เอ็งกวนน้ำขุ่นแน่นอน | |
ว่าแล้วจับแกะกัดกิน | ดับดิ้นในอุ้งมือมาร | |
วิสัยคนพาลมีเหตุ | หาเลศทำชั่วบอกขาน | |
มากมายข้ออ้างทำการ | สันดานแก้ยากจริงแล | |
92. หมาไล่เนื้ออายุมาก | ||
เจ้าดำเป็นหมาล่าเนื้อ | เมื่อหนุ่มกำยำล่ำสัน | |
นายพรานให้ความสำคัญ | เห็นมันเป็นหมาเทวดา | |
วันไหนจักไปไล่เนื้อ | ดีเหลือเจ้าดำเรียกหา | |
ดำเอ๋ยลูกพ่อตามมา | เดินป่าล่าเนื้อด้วยกัน | |
ทุกคราวมิเคยผิดหวัง | พลังเจ้าดำดังฝัน | |
ไล่เนื้อด้วยดีตามทัน | เสร็จมันทุกทีร่ำไป | |
นายพรานรักมากดังลูก | พันผูกมิเคยสงสัย | |
ผ่านมาล่วงเลยแก่วัย | เจ้าดำไม่หนุ่มดังเดิม | |
หูตาฝ้าฟางไม่ชัด | ติดขัดกำลังไม่เสริม | |
เขี้ยวก็โยกคลอนยากเติม | มันเริ่มแก่เฒ่าตามกาล | |
วันหนึ่งเดินป่าล่าหมู | นายชี้ให้ดูไขขาน | |
ลูกพ่อไล่กัดอย่านาน | นายพรานสั่งให้ติดตาม | |
เจ้าดำไล่ทันไม่ช้า | หมูป่าหันสู้น่าขาม | |
สู้ตายขบกัดเต็มกราม | ถึงหามเจ้าหมีเจ็บใจ | |
นายพรานมาถึงมิช้า | ร้องด่าเจ้าหมีเหตุไหน | |
ปล่อยหมูหลุดออกหนีไป | เงื้อไม้จักฟาดให้ตาย | |
เจ้าดำช้ำใจยิ่งนัก | ยากจักให้รู้ความหมาย | |
บัดนี้ตัวมันกลับกลาย | แก่เฒ่าวุ่นวายในใจ | |
ถึงตีจนตายก็ยาก | ลำบากหมดแรงสงสัย | |
ความดีที่เคยทำไว้ | ทำไมหมดค่าหนอนาย | |
อันคนเป็นผู้นำเขา | พึงเอาใจใส่มุ่งหมาย | |
ยามดีใช้งานวุ่นวาย | ยามร้ายอาฆาตตัดรอน | |
ความดีมีคุณค่ามาก | หารู้จักใช้ได้สอน | |
ให้เขาคำนึงบทตอน | เป็นพรส่งเสริมสวัสดี | |
93. หมาอยู่ในรางหญ้า | ||
เจ้าด่างหมาหนุ่มพ่วงพี | หน้าตาดูดีหลากลาย | |
นิสัยค่อนข้างใจร้าย | มักง่ายคนเขานินทา | |
วันหนึ่งมันไปคอกงัว | เดินทั่วแวะเวียนแลหา | |
อาจได้ของกินนานา | รางหญ้ามันมีสิ่งใด | |
แปลกดีมีหญ้านุ่มนัก | จักลองนอนดูดีไหม | |
มิช้าล้มนอนเร็วไว | หลับใหลสบายตัวสบายกาย | |
เจ้าวัวเดินมาที่คอก | กลอกตาแลดูที่หมาย | |
รางหญ้าจักกินให้สบาย | วุ่นวายหมาหลับในราง | |
จึงปลุกเจ้าหมารีบตื่น | ข้ายืนรอนานอย่าขวาง | |
ลุกแล้วออกไปเจ้าด่าง | แกช่างไม่รู้ที่นอน | |
เจ้าด่างไล่งับไม่ยอม | มันพร้อมต่อสู้เห่าหอน | |
วัวแสนรำคาญกล่าววอน | สั่งสอนไอ้ด่างหน้าลาย | |
เอ็งมันลูกหมาหวงก้าง | กีดขวางตัวข้าเสียหาย | |
เอ็งไม่กินหญ้าวุ่นวาย | ทำคล้ายหวงแหนนักแล | |
เหมือนคนที่เห็นแก่ตัว | มัวหวงทำไม่แยแส | |
จนเสียประโยชน์มากแท้ | แน่นอนโลกเขานินทา | |
94. หมูป่ากับลาโง่ | ||
ลาหนุ่มจอมซุกซน | เห็นผู้คนมิหลีกหนี | |
ทำเก่งอยากอวดดี | เป็นผู้กล้ามิกลัวใคร | |
อยู่ป่าก็คะนอง | ชอบลองเล่นเป็นวิสัย | |
ลืมตัวลืมกลัวภัย | พบสัตว์ร้ายมิเกรงกลัว | |
วันหนึ่งพบหมู่ป่า | มันทำหน้าอยากเล่นหัว | |
เข้าใกล้ทักทายมั่ว | ไฮ้นี่ตัวสบายดี | |
หมูป่ายังงุนงง | มันหลงลืมหรือไรนี่ | |
เพื่อนลาเรามิมี | จึงหลบลี้เลี่ยงเลยไป | |
ลาโง่มิยอมปล่อย | คอยดักหน้าจักไปไหน | |
เพื่อนหมูรีบร้อนใย | คุยกันก่อนนะเพื่อนยา | |
วันวานเพื่อนไปเที่ยว | ในไพรเขียวถิ่นใดหนา | |
สนุกไหมบอกมา | ข้าอยากรู้หมูบอกที | |
หมูป่านึกรำคาญ | ไม่ไขขานเดินหลบหนี | |
ลาโง่มีรอรี | ตามเซ้าซี้น่ารำคาญ | |
ร้องบอกไม่มีเพื่อน | ที่แชเชือนแลอาจหาญ | |
พูดจาวาทะการ | ไร้สาระไม่เคยมี | |
ลาโง่ยังมิถอย | คอยตามต่อมิถอยหนี | |
หมู่ป่าวิ่งเร็วรี่ | จักขบกัดให้วางวาย | |
ฉุกใจหมูได้คิด | ปลิดชีพลาโมโหหาย | |
สาระไร้ลวดลาย | ไร้คุณค่ามิควรการ | |
อดกลั้นหลบหลีกหนี | ยังดีกว่าเสาะสืบสาน | |
คบคนผู้เป็นพาล | เสียเวลาเสียการงาน | |
95. หมูป่ากับหมาจิ้งจอก | ||
หมูป่ากำยำล่ำสัน | เขี้ยวมันยาวโง้งน่าขาม | |
มันชอบลับเขี้ยวคมกราม | สัตว์ป่าเห็นแล้วเกรงกลัว | |
วันหนึ่งมันแทงเปลือกไม้ | หวังได้ลับเขี้ยวส่วนหัว | |
ทำเป็นประจำฝึกตัว | มิได้ประมาทขลาดใคร | |
หมาป่าผ่านมามองเห็น | ลองเล่นพี่หมูจริงไหม | |
เห็นทำทุกวันแปลกใจ | ใยเสียเวลาลับคม | |
ในป่าแห่งนี้ใครเล่า | เขาจักเทียบพี่เหมาะสม | |
ว่องไวไปมาปานลม | กล้าแกร่งเทียมท่านมิมี | |
พรานไพรก็มิเคยผ่าน | ใครจักหาญเทียบรัศมี | |
สบายใจได้เลยคุณพี่ | มิต้องลับเขี้ยวเสียเวลา | |
แบบฉันสบายมากลองดู | หมูร้องอู๊ดอู๊ดอ้ายหมา | |
แบบเอ็งคนประมาทนี่นา | ระวังจักพลาดเสียที | |
หมูอย่างเราใช่เขลาขลาด | มิประมาทลับเขี้ยวทุกวิถี | |
ยามเกิดเภทภัยราวี | พร้อมเข้าต่อตีทุกเวลา | |
อปมาโทอมตังปะทัง | พึงยังไม่ประมาทนั่นหนา | |
ให้เกิดมีพร้อมถ้วนหน้า | เพราะเป็นมรรคาที่ไม่ตาย | |
96. ห่านออกไข่เป็นทอง | ||
ชาวนาเลี้ยงห่านไว้หนึ่งคู่ | ดูแลด้วยดีเสมอมา | |
วันหนึ่งห่านตกไข่มา | แปลกตาเป็นทองเนื้อดี | |
ลองนำไปขายร้านค้า | เขาให้เงินมาตามวิถี | |
ราคาทองคำอย่างนี้ | คงเป็นเศรษฐีมิยากเย็น | |
ขายไข่ทองคำมานาน | เบิกบานร่ำรวยได้เห็น | |
เมื่อก่อนชาวนาลำเค็ญ | มาเป็นพ่อเลี้ยงหน้าบาน | |
วันหนึ่งปรีกษายายเฒ่า | สองเราหารือไขขาน | |
หากผ่าเอาทองท้องห่าน | คงได้ไข่ทองมากมาย | |
มิต้องรอทีละฟอง | นวลน้องว่าไงโฉมฉาย | |
ยินดีเห็นด้วยคุณยาย | ต่างฝ่ายก็โลภพอกัน | |
จับห่านมาเชือดทั้งคู่ | แหวะดูหาไข่น่าขัน | |
มีแต่ตับไตใส้มัน | แถมขี้ห่านนั้นเหม็นจริง | |
ไม่มีไข่ทองให้ขาย | วุ่นวายโลภมากชายหญิง | |
มักชวดจากลาภขอติง | ควรรู้ถึงความพอเพียง | |
97. โหรคนหนึ่ง | ||
คราหนึ่งเล่าเรื่องโหรา | ปรีชาเชิงเชี่ยวชาญศิลป์ | |
ศาสตร์เรื่องดาวดาวยลยิน | รอบรู้ตำแหน่งโคจร | |
กลางวันอ่านคัมภีร์ | ราตรีดวงดาวสลอน | |
ติดตามตำแหน่งทุกตอน | โหรารอบรู้จริงเจียว | |
คืนหนึ่งฟ้าโล่งปลอดเมฆ | โหรเอกเกิดเรื่องหวาดเสียว | |
เดินพลัดตกบ่อนั่นเชียว | ปีนขึ้นมิได้เวรกรรม | |
รุ่งเช้าชาวบ้านมาเห็น | ลากเข็นขึ้นมาน่าขำ | |
เขาว่าท่านโหรด้วยซ้ำ | ดีแต่มองหาดวงดาว | |
รู้หมดทุกดวงบนฟ้า | ปัญญาไม่เคยสืบสาว | |
ถนนหนทางมิยาว | ทำไมไม่รู้บ่อมี | |
ทางเดินดวงดาวรู้หมด | จำจดได้ทุกวิถี | |
แต่ทางตัวเองจรลี | กลับหลงมิเคยจดจำ | |
อันคนหลงใหลมัวเมา | เขาเก่งเรื่องนั้นน่าขำ | |
เรื่องอื่นมักเขลาหนอกรรม | เหมือนดังโหรานั่นแล | |
98. อีกากับหอยกาบ | ||
อีกาตาดำตัวหนึ่ง | บินผ่านบึงใหญ่ได้เห็น | |
หอยกาบตัวใหญ่ลุยเลน | เดินขึ้นริมฝั่งสนใจ | |
บินมาค่อนวันโหยหิว | ท้องกิ่วเหนื่อยยิ่งไฉน | |
มันโฉบลงมาทันใด | หอยกาบหุบเปลือกซ่อนตัว | |
กาจิกกาบหอยเนิ่นนาน | มันพาลมิแตกน่าหัว | |
ทำไมมันแข็งน่ากลัว | มิได้กินแน่หนอกู | |
ทันใดกาแก่ตัวหนึ่ง | มาถึงก็พูดกรอกหู | |
ลองเปลี่ยนวิธีใหม่ดู | จักรู้มันแสนง่ายดาย | |
คาบหอยบินบนเวหา | ปล่อยทิ้งลงมาเปลือกหาย | |
รับรองเปลือกแตกกระจาย | โดนหินตรงโน้นแน่นอน | |
มันรีบทำตามเขาแนะ | แกะหอยตามที่กาสอน | |
คาบหอยบินไปทางดอน | ลานหินเบื้องล่างปลอยลง | |
บินวนกลับมาหาหอย | เห็นเพียงร่องรอยพิศวง | |
เศษเปลือกกระจายนึกงง | เนื้อหอยมิเห็นหายไป | |
โน่นแน่ะกาเฒ่าตัวเก่ง | มันเร่งกินหอยสงสัย | |
หมดแล้วอ้ายหนูขอบใจ | ร้องบอกโบยบินลับตา | |
อันคนชอบแนะระวัง | บางครั้งมุ่งหวังสืบหา | |
อยากไห้ตอบแทนนานา | พึงใช้ปัญญาพิจารณ์ | |
99. อึ่งอ่างกับวัว | ||
ท้องนาน้ำแห้งขอดนัก | มีปลักหลุมพอหลงเหลือ | |
น้ำขังนิดหน่อยจุนเจือ | สัตว์น้ำอาศัยไม่ตาย | |
อึ่งอ่างกับลูกหลายร้อย | ลอยคอในแอ่งกระหาย | |
แม่อึ่งกระวนกระวาย | ออกหาสายธารในนา | |
หากแอ่งเดิมน้ำขอดแห้ง | ฝนแล้งต่อไปผวา | |
ต้องย้ายเสาะแหล่งชลธา | จากมาแต่เช้าจนเย็น | |
กล่าวถึงแม่วัวเขาเก | โซเซกินหญ้ามาเห็น | |
แอ่งน้ำเล็กเล็กช่างเป็น | หญ้างอกเร้นอยู่มากมาย | |
แม่วัวเล็มหญ้าไปทั่ว | มันมั่วย่ำอยู่จนสาย | |
ลูกอึ่งถูกย่ำจนตาย | สุดท้ายเหลือเพียงหนึ่งตัว | |
แม่อึ่งกลับมายามเย็น | มาเห็นยามมืดสลัว | |
เศร้าสร้อยเสียงสั่นระรัว | น่ากลัวมันเรื่องอันใด | |
ลูกน้อยบอกว่าอึ่งโอ่ง | ตัวโย่งสูงยิ่งไฉน | |
เหยียบย่ำพี่น้องตายไป | เหลือไว้เพียงข้าตัวเดียว | |
แม่อึ่งชักไม่ชอบจิต | มันคิดใหญ่แค่ไหนเชียว | |
ลองเบ่งพองตัวสักเที่ยว | หน้าตาบูดเบี้ยวพองลม | |
ถามลูกคงใหญ่เท่านี้ | ลูกชี้ยังไม่เหมาะสม | |
หกเที่ยวแม่เบ่งให้ชม | อกตรมยังไม่พอดี | |
สุดท้ายเบ่งสุดแรงเกิด | ระเบิดอกตายคาที่ | |
ตับไตใส้พุงมากมี | กระเด็นยากชี้ส่วนใด | |
อันความพอดีพอควร | ชวนคิดศึกษาไฉน | |
อย่าทำเกินตัวเกินไป | อาจจักมีภัยอันตราย | |
100. แอนโดรคลีสกับสิงโต | ||
เอนโรลิสเป็นทาส | ทำงานราชที่วังหลวง | |
แต่เช้ายันค่ำงานทั้งปวง | ต้องเสร็จตามสั่งทุกงาน | |
ยามค่ำต้องขังกันหนี | แบบนี้นับนานหลายสิบปี | |
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอนาคต | มืดหมดเสียสิ้นศักดิ์ศรี | |
มิต่างจากสัตว์คงมี | สักวันจักหนีออกไป | |
ครั้นแล้วโอกาสมาถึง | มันจึงหลบหนีเร็วไฉน | |
ปีนออกนอกกำแพงได้ | วิ่งวิ่งเข้าไพรพนา | |
หลายวันคงไกลอักโข | เอนโดรลิสจึงเดินเสาะหา | |
ที่พักเป็นถ้ำกลางป่า | สายตาเหลือบเห็นสิงโต | |
หนีเสือปะสิงห์หรือนี่ | ภัยมีอีกน่าโมโห | |
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดพิโธ่ | วิ่งหนีทันใดกลัวตาย | |
แลหลังเห็นมันนิ่งอยู่ | อยากรู้ทำไมใจหาย | |
แอบย่องกลับมามิวาย | กล้ากล้ากลัวกลัวเพ่งมอง | |
เห็นมันนอนนิ่งเหยี่ยดขา | ท่าทางคงปวดมีหนอง | |
มันครางเบาเบาเสียงร้อง | คงต้องช่วยมันสักครา | |
เดินไปลูบขาขอดู | ได้รู้มีหนามปักหนา | |
บ่งหนามดึงออกคลายคลา | คัดหนองออกแล้วปวดคลาย | |
ราชสีห์ขอบคุณที่ช่วย | ด้วยใจซาบซึ้งเหลือหลาย | |
เลียมือเลียเท้าเจ้านาย | ข้าคงรอดตายแน่นอน | |
ชวนนายไปอยู่ที่ถ้ำ | คืนค่ำมิได้ทอดถอน | |
ข้าวปลาอาหารอาวรณ์ | ราชสีห์มีให้มากมวล | |
ต่อมาถูกจับทั้งคู่ | แต่อยู่ต่างกันผันผวน | |
สัตว์ใส่กรงขังก็ควร | แต่คนล่ามโซ่หนีคดี | |
พิพากษาลงโทษให้ตาย | หมายให้สิงโตคาบหนี | |
ไปเป็นอาหารเข้าที | แบบนี้จึงควรโทษมัน | |
เขามัดเอนโดรลีสไว้ | ปักไม้กลางลานแล้วขัน | |
ด้วยเชือดมันแน่นกลางวัน | แล้วปล่อยราชสีห์ออกมา | |
มันกลับหมอบนิ่งดมดู | คงรู้เจ้านายนี่หนา | |
มันกลับยินดีปรีดา | เลียแข้งเลยขาเจ้านาย | |
พระราชาให้ไต่สวน | กระบวนรู้ความไม่สาย | |
คนดีมิสมควรตาย | ปล่อยให้พ้นทาสจากไป | |
ราชสีห์ปล่อยคืนสู่ป่า | กลับมาที่เนินไศล | |
คนดีทำดีพลังใจ | ยิ่งใหญ่ผู้คนเมตตา |
วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558
นิทานอีสป100เรื่อง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น